Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดแต่ละชนิด,…
การดูแลเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดแต่ละชนิด
1 ประเมินความผิดปกติของเม็ดเลือด เช่น ฮีโมโกลบินน้อยกว่า 10-20 กรัม เม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 5,000 – 10,000 mm3
สอนให้รู้จักหลีกเลี่ยง ควันหรือสิ่งที่จะระคายเคืองต่อเยื่อบุจมูกและกระตุ้นให้มีการออกกําลังกายให้ปอดขยายตัวได้เต็มที่
ในเด็กที่ใส่สายยางสวนปัสสาวะทิ้งไว้ตลอดเวลา ควรสอนวิธีรักษาความสะอาดละการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะอย่างเข้มงวด
สอนญาติให้ระวังเรื่องสายยางและบริเวณที่ฉีดยา (Central venous catheter)
ระมัดระวังของมีคม หรือของเล่นที่จะทําให้เกิดบาดแผลได้ ดูแลผิวหนังไม่ให้มีรอยขีดข่วน หรือจุดเลือดออก
ตรวจสอบอาการนําของการติดเชื้อ
เลือกกิจกรรมการเล่นที่ไม่เสี่ยงและไม่ใช้ออกซิเจนมาก เช่น ฟังเพลง ดูวีดีโอ เล่นเกมส์ต่าง ๆ ระบายสี เป็นต้น
สอนเด็กให้รู้จักวิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะหัด สุกใส เริม และงูสวัด เพราะจะทําให้มี อาการรุนแรงมากขึ้น
การฉีดยาต้องใช้เข็มที่คม และเล็ก ใช้เวลาที่รอยเข็มประมาณ 3-5 นาที
ควรจัดห้องเฉพาะให้เด็กถ้าสามารถจัดได้
ใช้แปรงสีฟันที่นุ่มไม่ทําให้เกิดระคายเคืองต่อเหงือก
ห้ามผู้ที่ติดเชื้อทางเดินหายใจเข้าเยี่ยมเด็กป่วย
หลีกเลี่ยงการวัดปรอททางก้นหรือสวนอุจจาระ เพราะเส้นเลือดที่ทวารหนักเปราะและแตกง่าย
การรักษาความสะอาดของร่างกาย ของใช้ สิ่งแวดล้อม
หลีกเลี่ยงการใช้ยา Aspirin เพราะจะไม่มีผลต่อเกล็ดเลือดโดยตรง
2 ประเมินความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น เยื่อบุปากอักเสบ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และการเผาผลาญในร่างกายสูง เนื่องจากผลข้างเคียงของยาซึ่งจะต้องมีการระมัดระวังดูและเป็นพิเศษ
ควรให้บ้วนปากด้วยน้ําเกลืออุ่น ๆ ไม่ใช้ยาจะระคายเคืองต่อเยื่อบุได้
บางรายต้องใช้ยาป้ายปากที่มีส่วนผสมของยาชา ก่อนมื้ออาหารเพื่อลดความเจ็บปวด
วางแผนการให้อาหารและนม ควรเลือกอาหารที่มีกากน้อย ย่อยง่าย มีโปรตีน ไวตามิน และให้แคลอรี่สูง หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดที่จะระคายเคืองเยื่อบุได้
ควรจัดอาหารให้เด็กเลือก 1-2 อย่าง จัดอาหารเหลวระหว่างมื้ออาหารหลักหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นจะทําให้คลื่นไส้ได้ งดอาหารที่มีส่วนผสมของแคฟีอีนและอาหารที่มีสีแดง ในเด็กบางรายจะชอบเครื่องดื่ม
ที่เย็น ๆ
รายที่อาเจียนจะต้องประเมินภาวะขาดน้ำ และชั่งน้้ำหนักทุกวัน เพื่อการประเมินปริมาณน้ำทางหลอดเลือดดํา
การคํานวณน้ําเพื่อชดเชยการสูญเสียไปกับอาเจียนและอุจจาระจะนิยมใช้ 100 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม สําหรับน้ําหนักตัวสิบกิโลกรัมแรก 50 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม
เด็กโตสอนให้รู้จักวิธีตวงน้ําดื่มและอาหารเหลวด้วยตนเอง
สอนเด็กและบิดา – มารดาที่จะงดอาหารที่มีแก็สมาก ๆ ไขมันมากหรือมีเส้นใยมาก
สอนให้สังเกตเกี่ยวกับอาการผิดปกติที่แสดงถึงความไม่สมดุล ของอีเลคโทรไลต์ เช่น เวียนศีรษะหน้ามืด ไม่สุขสบาย หายใจเร็ว ชาตามปลายมือเท้า หรือสั่นกระตุก
3 ประเมินอาการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย (Body image) เช่น ผมร่วง ผิวหนังสีเข้มใบหน้ากลม น้ำหนักเพิ่ม จากการคั่งของเกลือและน้ํา บางรายมีกล้ามเนื้ออ่อนแอ
จัดสิ่งทดแทน เช่น หมวกหรือผ้าคลุมผม วิกผมโดยเฉพาะวัยรุ่น และให้เด็กทราบว่าผมจะขึ้นมาใหม่ เมื่อหยุดยา 3-6 เดือน
ในรายที่กล้ามเนื้ออ่อนแรงจะต้องช่วยด้านการนวดกล้ามเนื้อ การออกกําลังกายหรือส่งต่อฝ่ายกายภาพบําบัด ซึ่งอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นหลังหยุดยา
ให้เด็กได้ระบายความรู้สึกต่อสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างอิสระ
สอนวิธีดูแลรักษาความสะอาดของผิวหนังที่สีเปลี่ยนแปลงไป
4 ช่วยดูแลให้เด็กได้รับยาเคมีอย่างถูกวิธี
ตรวจผู้ป่วยก่อนให้ยา เช่น ชั่งน้ําหนัก ดูอาการอ่อนเพลีย ตับม้ามโต การขับถ่ายปัสสาวะ อาการเจ็บป่วยร่วมด้วย ดูค่าเม็ดเลือดแดง ขาว และเกล็ดเลือดทุกครั้ง
เตรียมยาจะต้องป้องกันมิให้ละอองของยาแพร่กระจายไปในอากาศไม่ว่าจะหักหลอดยา ดูดยา หรือ ใส่ฟองอากาศ ควรใช้ก๊อสหุ้มตามรอยข้อต่อของเข็มฉีดยา
ให้ยาทางหลอดเลือดดํา ควรใช้เข็มเบอร์เล็กให้สารน้ําก่อนจึงฉีดยาเข้าอย่างช้า ๆ หลังฉีดให้สารน้ําทางหลอดเลือดดําตามอีกเพื่อลดการค้างของยาในหลอดเลือดซึ่งจะเกิดการอักเสบได้
เมื่อยารั่วซึมออกนอกเส้นเลือดจะต้องหยุดทันที พยายามดูดออกและประคบด้วยความเย็นนาน 15-20 นาทีทุก 1 ชั่วโมง ประมาณ 1 วัน ยกเว้นยาชื่อวินคริสตินควรใช้น้ําร้อนจะช่วยลดการอักเสบของ
ผิวหนังได้บ้าง
ติดตามผลการตรวจเลือดก่อนให้ยาโดยเฉพาะ C.B.C และ Blood chemistry เพราะอาจจะต้อง งดยา ถ้าเด็กซีด เม็ดเลือดขาวต่ํา หรือหน้าที่ของตับผิดปกติ
นางสาวจันทราทิพย์ แก้วไข่ เลขที่ 91 รหัส 602601013