Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัจจัยส่วนบุคคลของมารดา ความเชื่อ ค่านิยมและพฤติกรรมของมารดา …
ปัจจัยส่วนบุคคลของมารดา ความเชื่อ ค่านิยมและพฤติกรรมของมารดา สิ่งแวดล้อมที่ส่งผล ต่อมารดาและทารกในระยะหลังคลอด
การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาผสมผสานในการดูแลสุขภาพมารดาและทารก
วิธีการอยู่ไฟมีวิธีการคือให้มารดาหลังคลอดนอนบนแคร่สำหรับอยู่ไฟใช้ก้อนเส้าประคบท้อง เพื่อให้มดลูกแห้งและเข้าอู่
การอยู่ไฟหลังคลอด ขึ้นอยู่กับวิธีการคลอดหากเป็นการคลอดปกติทางช่องคลอดไม่ได้ผ่าตัดคลอดหรือทำหมันไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคใด ๆ ก็สามารถอยู่ไฟได้
บทบาทมารดา บิดา บุตรคนก่อนและบุคคลในครอบครัว
หลังคลอดคุณพ่อมือต้องเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระการเลี้ยงดูลูก เช่น การอาบน้ำให้ลูก เปลี่ยนผ้าอ้อม
การล้างขวดนม การซักผ้า การทำงานบ้าน การเปลี่ยนเวรช่วงกลางคืน ขณะที่ลูกตื่นกินนม และที่สำคัญคุณพ่อต้องสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วง 6 เดือนหลังคลอด
การที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้องมีแรงจูงใจ
อะไรคือแรงจูงใจ ในครอบครัว เช่น เพราะรักและห่วงสุขภาพของลูก จึงตัดสินใจเลิกบุหรี่ กลัวลูกจะได้กลิ่นและควันบุหรี่ เป็นต้น
วิถีการดำเนินชีวิตของมารดาหลังคลอดที่เปลี่ยนแปลงไป
ห้ามรับประทานมะละกอดิบ เพราะยางมะละกอจะทำให้เกิดอาการคัน
มีความเชื่อในเรื่องของอาหารแสลง เช่น ผักชะอม กบ เขียด เนื้อควาย ไข่เป็ด ส้มตำ ไข่มดแดง และปลาร้า เพราะเชื่อว่ารับประทานแล้วจะแพ้คลื่นไส้อาเจียน
ห้ามรับประทานทุเรียนเพราะจะทำให้ร้อนใน
ห้ามรับประทานหน่อไม้ดอง เพราะจะทำให้ท้องเสีย
ห้ามรับประทานกล้วยแฝดและมะขามคั่วจะทำให้คลอดลูกยาก
ความเชื่อเรื่องการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดส่วนใหญ่จะห้ามไปร่วมงานศพ เพราะสิ่งลี้ลับจะมาทำอะไรที่ไม่ดีต่อสุขภาพมารดาและทารก
การใช้ยาและสมุนไพรหลังคลอดมีความเชื่อเรื่องการรับประทานหัวปลี เพื่อบำรุงน้ำนมการรับประทานขิง ข่า หัวว่านไฟ ตะไคร้ เพื่อบำรุงเลือดและขับลม
การเปลี่ยนแปลงด้านสรีรวิทยาและจิตสังคมของมารดาในระยะหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและสรีรวิทยาของมารดา
น้ำคาวปลา (Lochia)
น้ำคาวปลาคือสิ่งที่ขับออกมาจากแผลภายในโพรงมดลูกตรงบริเวณที่รกเคยเกาะอยู่มีลักษณะเป็นน้ำเลือดปนน้ำเหลืองคล้ายน้ำคาวปลาลักษณะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของแผลที่มีการซ่อมแซมเพื่อเกิดเป็นเยื่อบุโพรงมดลูกตามปกติมีฤทธิ์เป็นด่าง
การเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุโพรงมดลูกและบริเวณรกเกาะ
หลังจากรกและเยื่อหุ้มเด็กคลอดแล้วจะเกิดรอยแผลที่บริเวณรกลอกตัวมีขนาดประมาณ 8 X 9 เซนติเมตรการหายของแผลเกิดจากเยื่อบุมดลูก (Endometrial tissue)เจริญขึ้นมาแทนที่ดิซิดิวอะเบซัลลิส (Decidua basalis) ซึ่งยังคงอยู่ในมดลูกหลังจากรกและเยื่อหุ้มเด็กแยกออกไปแล้วในระยะ 2 – 3 วันหลัง
ผนังหน้าท้อง (Abdominal wall)
จะอ่อนนุ่มและปวกเปียกในวันแรกๆหลังคลอดกล้ามเนื้อหน้าท้องจะ ยังไม่สามารถพยุงอวัยวะภายในช่องท้องได้เต็มที่ทั้งนี้เนื่องจากผนังหน้าท้องถูกยืดขยายเป็นเวลานาน
อาการปวดมดลูก (Afterpain)
มีสาเหตุจากการหดรัดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อมดลูกประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์เกิดในหญิงครรภ์หลังส่วนในครรภ์แรกปกติจะไม่มีอาการปวดมดลูกเนื่องจากกล้ามเนื้อมดลูกยังมีความตึงตัวสูง
การมีประจำเดือนหลังคลอด
มารดาหลังคลอดแต่ละรายจะมีประจำเดือนตามปกติในระยะเวลา 4-6 สัปดาห์ ยกเว้น มารดาที่ให้นมทารกสม่ำเสมอ อาจจะไม่มีประจำเดือนหลังคลอดมากกว่า 6 สัปดาห์
มดลูก (Uterus)
มดลูกที่มีการยืดขยายมากขณะตั้งครรภ์ (ประมาณ 11 เท่าของก่อนตั้งครรภ์) จะลดขนาดลงในทันทีที่ เด็กและรกคลอดแล้วมดลูกจะมีน้ำหนักประมาณ 1,000 กรัมกว้าง 12 ซม.ยาว 5 ซม. หนา 8 – 10 ซม.
ฝีเย็บ (Perineum)
ฝีเย็บจะมีลักษณะบวมและอาจมีเลือดออกใต้ผิวหนังจากการที่หลอดเลือดฝอยฉีกขาด Labia minora และ labia majera เหี่ยวและอ่อนนุ่มมากขึ้นหากมารดาหลังคลอดได้รับการทำความสะอาด
การเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆ
ระบบเลือด
ปริมาณเลือด (Blood volume) จะลดลงทันทีจากการสูญเสียเลือดภายหลังคลอดโดยปริมาณเลือดจะลดลง จากระดับ 5 – 6 ลิตรในระยะก่อนคลอดจนถึงระดับ 4 ลิตรเท่าคนปกติใน 4 สัปดาห์
การไหลเวียนเลือด ใน 2–3 วันแรกหลังคลอดจะเพิ่มขึ้นประมาณ 15–30 %
ความดันเลือดและชีพจร
ความดันโลหิตจะใกล้เคียงกับตอนไม่ตั้งครรภ์แต่อาจมีค่าความดันโลหิตต่ำได้จากการเสียเลือดมากกว่าปกติจนทำให้ปริมาณเลือดน้อยเกินไป (Hypovolemia)
การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเลือดยังมีผลให้ชีพจร ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอดจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติคือประมาณ 50 – 70 ครั้งต่อนาที
ระบบหายใจ
ขนาดของช่องท้องและช่องทรวงอกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระยะหลังคลอดทำให้ความจุภายในช่องท้องและกะบังลมลดลงปอดขยายได้ดีขึ้นการหายใจสะดวกขึ้น
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
หลังคลอดปริมาณเลือดจะลดลงทันทีแล้วค่อยๆลดลงเรื่อย ประมาณ 3 – 4 สัปดาห์หลังคลอดปริมาณเลือดจึงจะลดลงสู่ระดับปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์
ระหว่างคลอดจะเสียเลือดประมาณ 300 – 400 ซีซี
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในระยะหลังคลอดมี 3 ประการคือ
การไหลเวียนของเลือดระหว่างมดลูกกับรกสิ้นสุดลงลดขนาดของแวสคิวอะเนด (Vascularbed) ของมารดา 10 – 15 %
หน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนของรกสิ้นสุดเป็นการตัดตัวกระตุ้นที่ทำให้หลอดเลือดขยาย
มีการเคลื่อนย้ายของน้ำนอกหลอดเลือดที่สะสมระหว่างตั้งครรภ์
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ
ขณะทารกผ่านช่องทางคลอดจะท้าให้เกิดการบาดเจ็บของท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ
หลังคลอดใหม่ๆมารดาจึงมักถ่ายปัสสาวะลำบากและจะเป็นมากขึ้น
การทำงานของไต(Renal function)
ในระยะตั้งครรภ์ทำให้ไตทงานเพิ่มขึ้นในทางตรงข้ามระยะหลังคลอดเมื่อระดับฮอร์โมนลดลงไตก็จะท้างานลดลง
การทำงานของไตจะกลับสู่สภาพปกติใน 4 – 6 สัปดาห์
น้ำหนักลด(Weight Loss)
เมื่อถึง 6 สัปดาห์หลังคลอดก็จะมีน้ำหนักตัวคงที่เหมือนระยะก่อนตั้งครรภ์
ระบบต่อมไร้ท่อ
ฮอร์โมนของรก(Placental hormone)
หลังคลอดระดับฮอร์โมนจากรกในพลาสมา (Plasma) จะลดลงอย่างรวดเร็วภายใน24 ชั่วโมงจะตรวจหาระดับฮอร์โมนฮิวแมนคอริโอนิคโซมาโทแมมโมโทรฟิน (Human ChorionicSomatomammotropin = HCS) ไม่ได้และประมาณปลายสัปดาห์แรกหลังคลอด
ระดับของฮอร์โมนฮิวแมนคอริโอนิคโกนาโดโทรพิน (Human Chorionic Gonadotropin = HCG) จะลดลง
ฮอร์โมนเกี่ยวกับการเจริญเติบโต(Growth hormone)
หญิงระยะหลังคลอดจะมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำภายในสัปดาห์แรกหลังคลอด
ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอดเป็นช่วงระยะปรับเปลี่ยนฮอร์โมนและฮอร์โมนต่างๆที่ เกี่ยวกับการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรทให้เข้าสู่ภาวะปกติ
หญิงระยะหลังคลอดเองถ้าไม่เกิดปัญหาใดๆต่อมไทรอยด์จะกลับสู่ภาวะปกติเหมือนตอนไม่ตั้งครรภ์ภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด
ระบบทางเดินอาหาร
มารดามักรู้สึกตัวและกระหายน้ำในระยะ 2 – 3 วันแรกมักมีความอยากอาหารและดื่มน้ำมาก
จะท้องผูกจากการที่สูญเสียแรงดันภายในช่องท้อง
การเคลื่อนไหวของลำไส้ช้า
ระบบภูมิคุ้มกัน
ในช่วงที่เจ็บ ครรภ์และคลอดเป็นช่วงที่เสี่ยงต่อการส่งผ่านเลือดจากทารกไปสู่มารดา
ระบบผิวหนัง
อุณหภูมิ
ในขณะคลอดจะมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นเล็กน้อยโดยประมาณ 37.8o C แต่ไม่เกิน 38oC แล้วจะลดลงสู่ปกติใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
ในวันที่ 3 – 4 หลังคลอดอุณหภูมิจะสูงกว่า 38oC และจะหายใน 24 ชั่วโมงหรือเมื่อลดการคัดตึงของเต้านม
การติดเชื้อเกิดขึ้นในระบบใดระบบหนึ่งของร่างกายมารดาเช่นการอักเสบที่เยื่อบุโพรงมดลูก เต้านมอักเสบ
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตสังคมของมารดา
พบปัญหาทางอารมณ์ในเรื่องสัมพันธภาพระหว่างสามี - ภรรยาเนื่องจากภรรยาต้องให้ความสนใจและใกล้ชิด
การปรับบทบาทใหม่ของสมาชิกในครอบครัวสตรีหลังคลอดเป็นบุคคลที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด
มารดาหลังคลอดที่มีอาการทางจิตใจและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปส่วนใหญ่มักมีอารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดและร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุซึมเศร้าและวิตกกังวลสูงขึ้น
การส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก
•Taking-hold phase ระยะนี้จะอยู่ในช่วง 4-10 วันหลังคลอด
• Letting-go phase เป็นช่วงที่ต่อเนื่องจาก Taking-hold phase
• Taking-in phase เป็นระยะ 1-3 วันแรกหลังคลอดในช่วงนี้จึงสนใจต่อตนเอง มีความต้องการพึ่งพา (Dependency needs)
การประเมินภาวะสุขภาพของมารดาหลังคลอด
Background ศึกษาถึงภูมิหลังของมารดาสิ่งที่ต้องประเมิน
1.1 ด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยซักประวัติเกี่ยวกับชื่ออายุของมารดารายได้ของครอบครัวสถานภาพสมรส ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวสิ่งแวดล้อมความเชื่อ
1.3 การคลอดเกี่ยวกับวันเวลาที่เด็กเกิดระยะและชนิดของการคลอดการเสียเลือด
1.4 ภาวะแทรกซ้อนในระยะหลังคลอดครรภ์ก่อนๆเช่นเต้านมอักเสบตกเลือดติดเชื้อ
1.5 บุตรคนก่อนๆเช่นการเลี้ยงดูชนิดของนมที่ใช้เลี้ยงทารกความเจ็บป่วยที่เกิดกับบุตร
1.2 การตั้งครรภ์เกี่ยวกับประวัติตั้งครรภ์ครั้งก่อนและรวมทั้งความเจ็บป่วยและภาวะผิดปกติจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์อายุครรภ์ประวัติการตั้งครร
Body Conditionประเมินภาวะร่างกายทั่วไป
2.1 ภาวะซีดประเมินจากเยื่อบุตาเล็บและระดับ Hb, Hct (ถ้าเสียเลือดมาก)
2.2 การเคลื่อนไหวร่างกายการลุกจากเตียงเร็วหลังคลอดจะช่วยส่งเสริมสุขภาพกระตุ้นการไหลเวียนเลือด
2.3 การอักเสบของหลอดเลือดดำและการอุดตันของหลอดเลือด
2.4 ความต้องการพักผ่อนระยะหลังคลอดใหม่ๆมารดามักมีอาการอ่อนเพลียจากการสูญเสียพลังงาน
2.5 ความต้องการอาหารและน้ำในระยะหลังคลอดมารดาอาจมีการขาดน้ำ (Dehydration)
2.6 ความสะอาดของร่างกายในระยะหลังคลอดร่างกายของมารดาจะขับน้ำออกทางผิวหนังจ้านวนมาก ทำให้มารดาหลังคลอดรู้สึกรำคาญไม่สุขสบายเนื่องจากมีเหงื่อออกมาก
2.7 น้ำหนักระหว่างวันที่ 3 – 5 หลังคลอดร่างกายของมารดาจะมีการขับปัสสาวะและเหงื่อมากน้ำหนักของมารดาหลังคลอดอาจลดลงประมาณ 2 – 2.5 กิโลกรัม
Body Temperature and blood pressureสัญญาณชีพ
3.1 อุณหภูมิในระยะหลังคลอดมารดาอาจมีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นเล็กน้อยไม่เกิน 38oCหลัง24 ชั่วโมงไปแล้ว หรืออุณหภูมิคงสูงอยู่ถึง 2 วัน
3.2 ชีพจรในระยะหลังคลอดมารดาจะมีชีพจรในอัตราปกติแต่บางรายชีพจรอาจเต้นช้าอาจเกิดจากการมีปริมาณการไหลเวียนของเลือดลดลง
3.3 หายใจในระยะหลังคลอดมารดาหายใจได้สะดวกขึ้นและเป็นปกติแต่ถ้ามารดาหายใจเร็วหรือหายใจผิดปกติอาจเกิดจากโรคของระบบทางเดินหายใจ
3.4 ความดันเลือดในระยะหลังคลอดจะมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
Breast and Lactationเต้านมและการหลั่งน้ำนม สิ่งที่ต้องประเมินคือ
เต้านมหัวนม
การหลั่งน้ำนม
ชนิดของน้ำนม
ระยะ 2 สัปดาห์หลังคลอดอาจมีอาการคัดตึงกดเจ็บเล็กน้อยอาจมีน้ำนมออกมาเล็กน้อยขนาดเต้านมเท่ากับเวลาตั้งครรภ์
ระยะ 2–3 วันหลังคลอดเริ่มมีการคัดตึงเนื่องจากมีการคั่งของน้ำเหลืองและเลือดเต้านมแข็งกดเจ็บหัวนม อาจแข็งตึงและมีสีแดงมากขึ้นถ้าให้บุตรดูดนม
ระยะ 4–7 วันจะมีการผลิตน้ำนมมากขึ้นภายใน 3 – 5 วันจะค่อยๆเปลี่ยนจากน้ำนมเหลืองไปเป็นน้ำนม
ระยะ 8 วันขึ้นไปน้ำนมจะเพิ่มมากจากการดูดของทารกนอกจากการคัดตึงที่เกิดจากการคั่งของเลือดและน้ำเหลืองหรือมีการคั่งของน้ำนมแล้ว
Belly and Fundusหน้าท้องและยอดมดลูก
5.1 กล้ามเนื้อเร็คทัสและผนังหน้าท้องในระยะหลังคลอดกล้ามเนื้อเร็คทัสจะหดตัวลงแต่ยังแยกออกจากกัน ซึ่งในระยะแรกหลังคลอดผนังหน้าท้องจะอ่อนนุ่มและปวกเปียกเมื่ออยู่ในท่ายืน
คำแนะนำ ในการบริหารร่างกายวิธีตรวจทำดังนี้
ให้มารดานอนหงายราบไม่หนุนหมอนผู้ตรวจวางปลายนิ้วเรียงชิดกันต่ำกว่าสะดือเล็กน้อยให้มารดายกศีรษะคางชิดอกยื่นคางออกมาให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้มือทั้งสองวางแนบชิดล้าตัวไม่เกาะเตียงหรือสิ่งใดๆ สำหรับพยุงตัวทั้งสิ้นเพื่อให้กล้ามเนื้อท้องตึงเต็มที่
ขณะมารดายกศีรษะให้คางชิดอกผู้ตรวจกดปลายนิ้วมือเบาๆเข้าไปในช่องท้องจะรู้สึกว่ากล้ามเนื้อหน้าท้องเป็นแผ่น 2 ข้างมาพบกันตรงกึ่งกลางถ้ากล้ามเนื้อหน้าท้องมีความตึงตัวเพียงพอที่จะมาชิดกันได้เมื่อกดปลายนิ้วลงไปจะรู้สึกว่ามีแรงต้าน
5.2 มดลูกจะต้องประเมินระดับยอดมดลูกการหดรัดตัวของมดลูกตำแหน่งและอาการปวดมดลูก24 ชั่วโมงหลังคลอดมดลูกจะเริ่มกระบวนการกลับคืนสู่สภาพเดิม
4-7 วันหลังคลอดในปลายสัปดาห์แรกจะคล้ายอดมดลูกได้ตรงระดับหัวเหน่าไม่รู้สึกถึงการหดรัดตัวของมดลูกอีกต่อไปแต่ถ้าคล้ามดลูกรู้สึกเจ็บปานกลาง
8-14 วันหลังคลอดจะคล้ามดลูกไม่ได้ทางหน้าท้องแต่ถ้าคลำพบมดลูกทางหน้าท้องหรือมดลูกไม่ลดขนาดหรือมดลูกไม่เข้าอู่อาจเป็นข้อบ่งชี้ถึงความผิดปกติของกระบวนการกลับคืนสู่สภาพเดิม
2-3 วันหลังคลอดระดับยอดมดลูกจะลดขนาดประมาณ ½ - 1 นิ้วต่อวันการดูดนมของทารกและการหลั่งออกซิโทซินจะกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกถ้าคลำมดลูกจะไม่รู้สึกเจ็บ
Bladder กระเพาะปัสสาวะต้องประเมินเกี่ยวกับ
กระเพาะปัสสาวะเต็ม
การขับถ่ายปัสสาวะ
การคั่งค้างของปัสสาวะ
Bleeding & Lochiaเลือดและน้ำคาวปลา
ถ้ามีกลิ่นเหม็นเน่า (Foul lochia) อาจเกิดจากการติดเชื้อ
– ถ้าน้ำคาวปลาเป็นสีแดงตลอดในระยะแรกๆหลังคลอด (Persistant red lochia) อาจเกิดการตกเลือดจากเศษรกค้างส่วนการตกเลือดหลังคลอด
ถ้ามีกลิ่นเหม็นอับอาจเนื่องจากการรักษาความสะอาดไม่ดี
ถ้าระยะ Lochia serosa หรือ Alba นานอาจเกิดจากเยื่อบุมดลูกอักเสบ(Endometritis) โดยเฉพาะถ้ามีไข้ ปวดท้องและกดเจ็บ
Botton ฝีเย็บและทวารหนัก สิ่งที่ต้องประเมิน
บริเวณอวัยวะสืบพันธ์ภายนอก
บริเวณทวารหนัก
บริเวณแผลฝีเย็บ
Bowel Movementการทำงานของล้าไส้ประเมินจากการขับถ่ายอุจจาระใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
Bluesภาวะด้านจิตใจการปรับตัวของมารดา
ระยะระหว่างพึ่งพาและไม่พึ่งพาใช้เวลาประมาณ 10 วันมารดาพร้อมที่จะปรับวิถีชีวิตของตนเองสนใจตนเองน้อยลงและสนใจทารกมากขึ้นพึ่งพาตนเองมากขึ้น
ระยะพึ่งตนเองส่วนมากมักเป็นระยะที่มารดากลับบ้านแล้วได้ทำหน้าที่การเป็นมารดาได้มากแล้วแต่ในมารดาหลังคลอดบางรายปรับตัวไม่ได้อาจมีภาวะซึมเศร้าซึ่งอาจเกิดในระยะ 10 วันหลังคลอด
ระยะพึ่งพามารดาจะมีพฤติกรรมแบบนี้ในระยะ 1–2 วันหลังคลอดโดยมุ่งที่ตนเองสนใจแต่ความต้องการ สุขภาพและความสุขสบายของตนเองมีความต้องการพึ่งพาผู้อื่น
Babyทารกมีการประเมินและตรวจร่างกายดังนี้
11.5 ทวารหนักตรวจดูการขับถ่ายอุจจาระของทารกในระยะแรกจะถ่ายขี้เทาแล้วจึงค่อยๆเปลี่ยนมาเป็นลักษณะของอุจจาระ
11.6 อวัยวะสืบพันธุ์และรูเปิดของท่อปัสสาวะ
11.4 สะดือตรวจดูว่าสะดือแห้งดีหรือไม่มีเลือดหรือหนองออกหรือไม่
11.7 ลักษณะทั่วไปตรวจดูลักษณะทั่วไปของทารกเช่นการเคลื่อนไหวของร่างกายแขนขามือเท้า
11.3 ผิวหนังปกติทารกเกิดใหม่จะมีผิวสีชมพูแต่ในระยะ 2–3 ชั่วโมงแรกหลังคลอดมือและเท้าอาจเขียวได้
11.2 การหายใจตรวจดูลักษณะการหายใจการเคลื่อนไหวของทรวงอก
11.1 ศีรษะและใบหน้า
Boning & Attachment
12.1 สัมพันธภาพระหว่างมารดา–ทารกในช่วงเวลาที่เหมาะสม
12.2 สัมพันธภาพระหว่างสมาชิกของครอบครัวประเมินการปรับตัวของสมาชิกในครอบครัวกับบทบาทใหม่ในชีวิตประจ้าวัน
การพยาบาลมารดาและทารกในระยะหลังคลอด
3.4 การทำกิจกรรมต่างๆ
มารดาหลังคลอดงดการท้างานที่ออกแรงจนรู้สึกเหนื่อย
ไม่ยกของที่มีน้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม
ควรกลับไปทำงานตามปกติหลังคลอด 3 เดือน
สามารถบีบเก็บน้ำนม วางแผนการให้มีการหลั่งน้ำนมต่อเนื่องได้ตลอดมากกว่า 6 เดือน
3.3 การให้นมบุตร
สตรีหลังคลอดควรล้างมือให้สะอาดก่อนให้นมทารกหากร่างกายมารดาสะอาดเพียงพอแล้วไม่จำเป็นต้องเช็ดหัวนมเพราะการไม่เช็ดหัวนมจะท้าให้ทารกที่ดูดนมมารดาได้รับ Normal Flora จากหัวนม
3.2 การออกกำลังกาย
หลังคลอดภายใน 7 วันใช้ท่าบริการ การหายใจ บริหารช่องอก,กล้ามคอ, หลัง,ไหล่ ส่วนบริเวณฝีเย็บ ช่องท้องและเชิงกราน
ไม่ยกของที่มีน้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม
ไม่หักโหมมากเกินจนรู้สึกเหนื่อยมาก ใจสั่น
3.1 การพักผ่อน
ช่วง 2 สัปดาห์แรกกลางคืนควรได้หลับพักนาน 6–8 ชั่วโมงและควรหลับกลางวันขณะทารกหลับประมาณ ½ - 1 ชั่วโมงทุกวันสำหรับการทำงานในระยะ 6 สัปดาห์ หลังคลอดควรทำงานที่ออกแรงน้อย
3.5 การรับประทานอาหาร
สตรีหลังคลอดสามารถรับประทานอาหารได้ทุกชนิดยกเว้นของหมักดองอาหารรสจัดและอาหารที่มี แอลกอฮอล์ผสมอยู่เพราะสารเหล่านี้ถูกขับออกมาทางน้ำนมสู่ทารกได้สตรีหลังคลอดที่เลี้ยงทารกด้วยนม ตนเองมีความต้องการสารอาหารมากกว่าในระยะตั้งครรภ์
3.6 การรักษาความสะอาดร่างกาย
สตรีหลังคลอดยังมีแผลในโพรงมดลูกแผลฝีเย็บมีน้ำคาวปลาไหลตลอดเวลารวมทั้งมีเหงื่อออกมากจึงควรแนะน้าให้หญิงหลังคลอดรักษาความสะอาดของร่างกายอยู่เสมอควรอาบน้ำวันละ 2 – 3 ครั้ง ใช้วิธีตักอาบไม่ควรลงไปแช่ในน้ำ
3.7 การมีเพศสัมพันธ์
งดการมีเพศสัมพันธ์ภายหลัง 4–6 สัปดาห์
3.8 การคุมกำเนิด
การคุมกำเนิดชนิดถาวรได้การท้าหมันชายและการทำหมันหญิงจะใช้ในกรณีที่คู่สามีภรรยามีบุตรเพียงพอ แล้วสำหรับการท้าหมันหญิงระยะเวลาที่เหมาะสมคือภายใน 72 ชั่วโมงหลังคลอด
การคุมกำเนิดชนิดชั่วคราวได้แก่
2.1 Norplant เป็น Progestins ที่ช่วยยับยั้งการตกไข่
2.2 ยาเม็ดคุมกำเนิดมี 2 ประเภทคือประเภทที่มีสาร Progestogenเพียงอย่างเดียว
2.3 ห่วงอนามัยเวลาที่เหมาะสมสำหรับการใส่ห่วงอนามัย
2.4 ถุงยางอนามัยเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ดีอีกวิธีหนึ่งสำหรับการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว