Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะแทรกซ้อนโรคเท้าช้าง (Complications of Lymphatic Filariasis),…
ภาวะแทรกซ้อนโรคเท้าช้าง (Complications of Lymphatic Filariasis)
ปอด
เกิดภาวะ Tropical pulmonary eosinophilia (TPE) จากปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันชนิด immediate hypersensitivity ต่อ antigens ของ microfilaria
อาการ
ไอเวลากลางคืน หอบ หายใจมีเสียง wheeze และมีไข้
เกิดจากพิษของยา
ขึ้นอยู่กับขนาดของยาหรือปฏิกิริยาไวต่อยาของผู้ป่วยแต่ละราย
ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ง่วงนอน เบื่ออาหาร และคลื่นไส้อาเจียน
ขา
ระบบน้ำเหลืองบริเวณขาถูกรบกวนจนเกิดจากการอักเสบและอุดตันของท่อทางเดินน้ำเหลือง ส่งผลให้ขาบวมโตขึ้น ผิวหนังบริเวณขาจะมีลักษณะเป็นผื่นแดงบวมแข็ง ต่อมาค่อย ๆ หนาตัวขึ้น
เมื่อขาเกิดการโตหรือบวมขึ้นก็จะมีแห้งและแตกเกิดขึ้น ส่วนบริเวณที่เป็นรอยพับจะเกิดการอับชื้นทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
อวัยวะที่มีการบวมโตจะมีความรู้สึกน้อยลง อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุจนกลายเป็นแผลเปิด แผลเรื้อรังได้
ไต
เมื่อมีการอักเสบของระบบน้ำเหลืองขึ้นทำให้มีการหนาตัวของผนังท่อน้ำเหลือง เป็นผลให้เกิดการอุดตันของระบบน้ำเหลือง มีการโป่งพองออกและเกิดการคั่งของน้ำเหลืองภายในช่องท้อง ทำให้ในที่สุดน้ำเหลืองแตกออกแล้วไหลไปยังอวัยวะข้างเคียง ไตเกิดความเสียหาย น้ำเหลืองที่แตกออกปนออกมากับปัสสาวะทำให้ปัสสาวะสีขาวขุ่น เรียกว่า chyluria
อวัยวะเพศ
เกิดการอุดกั้นทางเดินน้ำเหลืองบริเวณอวัยวะเพศ ส่งผลให้มีการคั่งของน้ำเหลืองจนทำให้เกิดการอักเสบ บวมโต ตอนแรกจะนุ่ม ต่อไปจะหนา แข็ง
คลำได้เป็นก้อนขรุขระอาจมีน้ำเหลืองแตกซึมออกมาจากหลอดน้ำเหลืองชั้นตื้น ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นเปียกชื้น ก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
ผู้หญิงจะพบอาการบวมของปากช่องคลอด (vulva)
ผู้ชายจะพบว่าถุงอัณฑะบวมและมีขนาดใหญ่มาก เรียกว่า โรคเท้าช้างถุงอัณฑะ (Scrotal elephantiasis)
เกิดอาการภูมิแพ้
เมื่อ microfilaria ในโลหิตถูกทำลาย สารโปรตีนจาก microfilaria ที่ตายแล้วจะทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้
ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ เวียนศีรษะ เบื่ออาหาร และคลื่นไส้อาเจียน
การติดเชื้อฉวยโอกาส (opportunistic infection)
บริเวณอวัยวะที่บวมโตจะเกิดภูมิต้านทานแบคทีเรีย เป็นการเสริมกับภูมิต้านทานต่อพยาธิ ทำให้เกิดความรุนแรงของโรคมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อซ้ำจากแบคทีเรียหรือเชื้อราได้
แขน
จากการอุดกั้นระบบทางเดินน้ำเหลืองบริเวณแขนทำให้เกิดการอักเสบ เกิดการคั่งของน้ำเหลืองจน ทำให้เนื้อเยื่อรอบ ๆ แขนเกิดอาการบวมโตขึ้น ผิวหนังก็จะแข็งและหนาตัวขึ้น
แขนที่บวมโตขึ้น ผิวหนังก็จะแห้งและแตก ส่วนบริเวณที่เป็นรอยพับจะเกิดการอับชื้นทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
ความรู้สึกจะน้อยลงซึ่งเป็นผลมาจากแขนที่บวมโตขึ้น
อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุจนกลายเป็นแผลเปิด แผลเรื้อรังได้
โรคเท้าช้าง
(Lymphatic filariasis or Elephantiasis)
เกิดจากพยาธิตัวกลมในกลุ่มฟิลาเรีย (Filaria) ได้แก่ Wuchereria bancrofti, Brugia malayi และ B. timori
สำหรับประเทศไทย พบพยาธิฟิลาเรีย 2 ชนิด คือ W. Bancrofti และ B. malayi
พยาธิฟิลาเรียชนิด Wuchereria bancrofti
มักทำให้เกิดการบวมโตที่อวัยวะสืบพันธุ์หรืออวัยวะที่อยู่สูงกว่าหัวเข่า
พยาธิชนิด Brugia malayi
มักทำให้เกิดการบวมโตที่ขาต่ำว่าเข่า
เป็นโรคติดต่อที่มียุงหลายชนิดเป็นพาหะนำโรค
ยุงพาหะนำเชื้อ W. bancrofti
ยุงกลุ่มยุงลาย (Aedes spp.) ยุงรำคาญ (Culex quinquefasciatus) และยุงก้นปล่อง (Anopheles spp.)
ยุงพาหะนำเชื้อ B. malayi
ยุงเสือ (Mansonia spp.)
จะมีอาการแสดงที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของระบบน้ำเหลือง เช่น ท่อน้ำเหลืองอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ มีอาการไข้ ท่อน้ำเหลืองขยายพร้อมกับมีอาการอุดตันที่ท่อทางเดินน้ำเหลือง ก่อให้เกิดพังผืดและมีน้ำเหลืองคั่งจึงเป็นผลทำให้อวัยวะบริเวณนั้นเกิดการบวมโตขึ้น
ผลสุดท้าย
ถึงแม้ว่าผู้ป่วยโรคเท้าช้างส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตแต่พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยระยะเรื้อรังของโรคเป็นเหตุให้เกิดภาวะทุพพลภาพและพิการอย่างถาวร
พยาธิเหล่านี้พบได้เฉพาะภูมิประเทศร้อนชื้น (tropical climate)
ที่มาของข้อมูล :
ต้องจิตร ถันชมนาง. (2555). โรคเท้าช้าง. วันที่สืบค้น 5 มิถุนายน 2563, จาก
https://gs.kku.ac.th
ผิวพรรณ มาลีวงษ์และวันชัย มาลีวงษ์. (2555). มหันตภัยร้าย โรคเท้าช้าง. วันที่สืบค้น 5 มิถุนายน 2563, จาก
https://emerging.kku.ac.th
สุรางค์ นุชประยูร. (2551). โรคเท้าช้าง (Lymphatic filariasis). วันที่สืบค้น 5 มิถุนายน 2563, จาก
http://filariasis.md.chula.ac.th
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี. (2561). โรคเท้าช้าง. วันที่สืบค้น 5 มิถุนายน 2563, จาก
http://odpc5.ddc.moph.go.th
นางสาวกัญญาวรรณ ศรีพิณท์ รหัสนักศึกษา 613701005 เลขที่ 6 ห้อง A