Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของหลอดเลือดและการไหลเวียนเลือด, นางสาวกนกอร เสริมราษฎร์ เลขที่…
ความผิดปกติของหลอดเลือดและการไหลเวียนเลือด
ความดันโลหิตสูง
จำนวนเลือดที่ออกจากหัวใจ (Cardiac output) และความต้านทานหลอดเลือด (Peripheral vessel resistant)
สูตร = จำนวนเลือดที่ออกจากหัวใจ * ความต้านทานหลอดเลือด
มี 2 ประเภท
ไม่ทราบสาเหตุ (Essential or primary hypertension) เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย
(Secondary hypertension) เช่น โรคเกี่ยวกับไต ต่อมหมวกไต
White coat hypertension ความดันโลหิตสูลที่พบในคนปกติ ที่ได้รับการวัดความดันโลหิตจากเจ้าหน้าที่สุขภาพ
ถ้าคนเหล่านี้ได้รับยาลดความดันโลหิตสูงจะอันตรายมาก
Isolated systolic hypertension
เป็นความดันโลหิตที่สูงตัวใดตัวหนี่ง
ในขณะที่อีกตัวมีค่าปกติ
มักพบในคนสูงอายุ
เชื่อว่ามีสาเหตุมาจากปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจลดลงหรือภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis)
Masked hypertension เป็นลักษณะความดันโลหิตสูง
เมื่อวัดโลหิตที่โรงพยาบาลจะปกติ แต่เมื่อกลับไปอยู่บ้านระดับความดันโลหิตจะสูงผิดปกติ
การแบ่งระดับ
ระดับขั้นของความดันโลหิตสูง มี 3 ระดับ ดังนี้
Prehypertension ระดับความดันโลหิตอยู่ในช่วง 120/80-139/89 mmHg
Stage 1 ระดับความดันโลหิตอยู่ในช่วง 140/90-159/99 mmHg
Stage 2 ระดับความดันโลหิตตั้งแต่ 160/100 mmHg เป็นต้นไป
• ระดับความดันโลหิตที่สูงมากขั้นวิกฤติ (Hypertensive crisis) คือมีระดับความดันโลหิตตั้งแต่ 180/110 mmHg เป็นต้นไป แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. Hypertensive urgency
มีความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ 180/110 mmHg เป็นต้นไป
แต่ยังไม่มีอวัยวะเป้าหมายที่สำคัญถูกทำลาย
(Target organ damaged)
2. Hypertensive emergency
มีความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ 180/110 mmHg เป็นต้นไป และ
มีสัญญาณของอวัยวะเป้าหมายที่สำคัญถูกทำลาย
(Target organ damaged) เช่น ตา ไต หัวใจ สมองและหลอดเลือด
พยาธิสภาพ
ตัวรับความดันโลหิตและตัวรับเคมีในหลอดเลือดแดง (Arterial baroreceptor and chemoreceptor)
ตัวรับคาโรติดไซนัส เอออร์ต้า
ทำให้หลอดเลือดดำขยายตัว หัวใจเต้นช้าลง
ระบบซิมพาเธติคให้ทำงานลดลง
ลดการทำงานของหัวใจเต้นช้าลงบีบตัวลดลงความดันโลหิตลดลง
ตัวรับเคมีในหลอดเลือดแดงอยู่ที่ เมดัลลาของสมอง หลอดเลือดคาโรติดและเอออร์ติกบอดี้ ไวต่อการเปลี่ยนแปลงออกซิเจน
ทำให้เกิด Reflex ลดความดันเลือดลง
การควบคุมปริมาตรสารน้ำในร่างกาย มีกระบวนการคือ
เมื่อร่างกายมีสารน้ำและโซเดียมสูงขึ้น
ไตขับน้ำและเกลือออกจากร่างกายระดับความดันโลหิตลดลง
ในทางตรงข้ามถ้ามีน้ำและโซเดียมในร่างกายน้อยไตจะ
ดูดน้ำและโซเดียมกลับมากขึ้น
การควบคุมตัวเองของหลอดเลือด
เป็นการปรับตัวของหลอดเลือดเมื่อปริมาตรของเลือดเปลี่ยนแปลง
มีการหดและขยายส่งผลต่อระดับความดันโลหิตโดยตรง
ระบบเรนิน-แอนจิโอเทนซิน
• เรนินสร้างจากไต สามารถเปลี่ยนแอนจิโอเทนซิโนเจนให้เป็นแอนจิโอเทนซิน 1 (Angiotensin 1)
• แอนจิโอเทนซิน คอนเวิร์สติ้ง ฮอร์โมน (Converting enzyme) เปลี่ยน แอนจิโอเทนซิน 1 เป็น แอนจิโอเทนซิน 2 ซึ่งมีฤทธิ์ให้
หลอดเลือดหดตัว กระตุ้นการหลั่งอัลโดสเตอโรน (Aldosterone) ของต่อมหมวกไต (Adrenal grand) โดยรวมมีผลเพิ่มการทำงานของซิมพาเธติค ยับยั้งการขับโซเดียมออกจากร่างกาย และเพิ่มความต้านทางหลอดเลือดส่วนปลาย
อาการ
ปวดศีรษะ มักจะปวดที่ท้ายทอย โดยเฉพาะช่วงเช้าหลังตื่นนอน และมักค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปเอง
เวียนศีรษะ มึนงง ซึ่งอาจเกิดจากสมองขาดเลือดชั่วขณะ อาจมีอาการคล้ายจะเป็นลม
หายใจลำบากขณะออกแรงหรือทำงานหนัก หรือหายใจลำบากขณะนอนราบ (มักพบในผู้ป่วยที่ภาวะแทรกซ้อนในหัวใจ)
มีอาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือหลอดเลือดเอออร์ต้าฉีกขาด
- ผลกระทบของการที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน
มีการทำลายผนังหลอดเลือดแดง ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงอ่อนแอ (weak) และโป่งพอง (aneurysm) และอาจแตกในที่สุด
ถ้ามีรอยแตกเล็ก ๆ ที่ผนังหลอดเลือด จะเป็นที่สะสมของไขมัน โปรตีน แคลเซียม และอื่น ๆ เมื่อสะสมมาก ๆ จะทำให้ หลอดเลือดตีบแคบ เกิดลิ่มเลือดและอุดตันในที่สุด
การทำงานของหัวใจมากขึ้น
มีการทำลายของอวัยวะสำคัญได้แก่ สมอง ตา ไต หัวใจ เช่น Stroke, ACS, CKD
การจัดการภาวะ Hypertensive Urgency
• สามารถให้ยาลดความดันโลหิตทางปากได้
• เป้าหมายการลดความดันโลหิตเบื้องต้นคือ 160/110 mmHg ภายในเวลาเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน
• Mean arterial pressure (MAP) (คำนวนจากสูตร คือ [(2xdiastic) + systolic]/3) ควรลดไม่เกิน 25% ภายใน 24 ชั่วโมงแรก
หลีกเลี่ยงการให้ยาลดความดันโลหิตในปริมาณสูง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตที่ต่ำลงอย่างเฉียบพลันโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยขาดน้ำ และผู้ป่วย CVD และ PAD
เป้าหมายในการลด MAP ลง 10% ใน 1 ชั่วโมงแรก และ 2-3 ชั่วโมงต่อมา 15%
การลดความดันโลหิตลงเร็วเกินไปจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือ สมองมีเลือดไปเลี้ยงน้อย
• ผู้ป่วยที่มีภาวะ Pressure natriuresis มักมีภาวะขาดน้ำนอกเซล (Intravascular volume depletion) ให้หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มขยายหลอดเลือดเพราะจะทำให้ความดันโลหิตต่ำได้
• ผู้ป่วยเล่านี้ควรได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อรักษาปริมาณน้ำของร่างกายไว้ และหยุดกระบวนของ renin-angiotensin system (RAS)
การรักษา
มีเป้าหมายในการลดความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 140/90 mmHg
การรักษาแบบไม่ใช้ยา
การควบคุมอาหาร คือ ส่งเสริมให้รับประทาน DASH diet เน้นการรับประทานที่มีกากใยสูง ผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง นมพร่องมันเนย โปรตีนคุณภาพสูง เช่น ปลา ลดเกลือ รับประทานไขมันพืชไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง
การลดเกลือไม่เกิน 2400 mg/day
การลดน้ำหนัก น้ำหนักลด 1 กิโลกรัม จะสามารถลดระดับความดันโลหิตลงได้ 2-3 mmHg
การออกกำลังกาย การออกกำลังกายโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ประเภท Aerobic exercise จะช่วยให้การทำงานของหัวใจและหลอดเลือดดีขึ้น
การลดความเครียด การจัดการอารมณ์ที่ดี โดยเฉพาะ ความเครียดและซึมเศร้า จะช่วยให้ลดความดันโลหิตลงได้
งดแอลกอฮอล์และบุหรี่
2.การรักษาโดยการใช้ยา
โรคหลอดเลือดสมอง Stroke
- สรีรภาพของสมอง
ได้รับเลือดที่สูบฉีดจากหัวใจไปเลี้ยงโดยเลือดได้นำออกซิเจน กลูโคส และสารอาหารต่าง ๆ ไปเลี้ยง ดังนั้นเมื่อมีความผิดปกติของหลอดเลือดไปเลี้ยงสมอง มีผลต่อการทำลายของเซลล์สมอง
โดยปกติ สมองมีเลือดมาเลี้ยงประมาณ 50 - 55 มล. /100 กรัมของสมอง/ นาที
ถ้า<18 มล. /100 กรัมของสมอง/ นาที เซลล์สมองจะเสียหน้าที่ทางสรีระ
ถ้า <15 มล./100 กรัมของสมอง/ นาที จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์สมองอย่างถาวร
ประเภทของ Stroke
Ischemia stroke เป็นภาวะ Stroke ที่เกิดมากที่สุดประมาณ 80% ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงสมองลดลง ประกอบด้วย
1.1 Thrombosis เกิดจากการที่ผนังหลอดเลือดแดงผิดปกติเช่น หนาขึ้น แข็ง และไม่ยืดหยุ่น เกิดขึ้นที่หลอดเลือดแดงใหญ่หรือหลอดเลือดแดงเล็ก
Large artery มักพบว่ามีการตีบของหลอดเลือดแดงที่ Right or left carotid artery หรือ right or left vertrabral artery
Small artery บางครั้งเรียกว่า Lacunar infarction เกิดการตีบของหลอดเลือดเล็ก ๆ ที่ไปเลี้ยงสมอง มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน ๆ
1.2 Emboli การเกิด Stroke จากลิ่มเลือด ซึ่งสาเหตุของการเกิด ลิ่มเลือดมีสาเหตุจาก
การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ เช่น CHF หรือ MI ที่มีผลต่อการสูบฉีดเลือดไม่ดี เกิดเลือดไหลวนเวียนอยู่ในหัวใจ เกิดเป็นลิ่มเลือดขึ้น
การเต้นของหัวใจผิดปกติ ได้แก่ AF
เยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis)
Hemorrhagic stroke เป็นภาวะ Stroke ที่เกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก ประกอบด้วย
Intracerebral hemorrhage เป็นภาวะเลือดออกในเนื้อสมอง มักมีสาเหตุจาก uncontrolled HT, trauma, Bleeding disorder, vascular malfunction, drug abuse
Subarachnoid hemorrhage เกิดจากหลอดเลือดแดงที่ผิวสมองแตก (anurysm rupture) มักมีสาเหตุจาก สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ความดันโลหิตสูง พันธุกรรม ยาและสารพิษอื่น ๆ
อาการ
ระยะเฉียบพลัน (Acute stage) เป็นระยะ 24 - 48 ชั่วโมง ผู้ป่วยมีอาการหมดสติ มีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง ระบบการหายใจและการทำงานของหัวใจผิดปกติ
2.ระยะหลังเฉียบพลัน (Post acute stage) เป็นระยะที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการคงที่ 1- 14 วัน
ระยะฟื้นฟูสภาพ (Recovery stage) 3 เดือนแรก
สมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA)
เกิดขึ้นชั่วขณะโดยมีสาเหตุมาจากการขาดเลือดและหายเป็นปกติในเวลาภายใน 24 ชั่วโมง
• มีอาการอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด อยู่ประมาณ 2-30 นาที
- 10-15% จะเกิดโรคหลอดเลือดสมองภายใน 3 เดือนหลังเกิด TIA ครั้งแรก
การประเมินผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ประวัติ
• ระยะเวลาที่มีอาการ conscious, unconscious
การเจ็บป่วยในช่วงที่ผ่านมา เช่นอุบัติเหตุ ผ่าตัด
ประวัติโรคหลอดเลือดสมอง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
ความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง
การตรวจร่างกาย
• อ่อนแรงของร่างกายครึ่งซีกชาครึ่งซีก
เวียนศีรษะ ร่วมกับเดินเซ
• ตามัว หรือ มองเห็นภาพซ้อน
• พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง
ปวดศีรษะ อาเจียน
ซึม ไม่รู้สึกตัว
การตรวจพิเศษ ได้แก่ CT scan, angiogram, MRI
การรักษา
การรักษา Ischemic Stroke ที่เกิดจากลิ่มเลือดหรือการอุดตัน ตีบแคบของเส้นเลือด
1.1 ให้ยาละลายลิ่มเลือดต้องมีข้อบังชี้ในการรักษาครบทุกข้อดังต่อไปนี้ จึงสามารถให้ยาละลายลิ่ม เลือดผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันภายใน 3 ชั่วโมง (4.5 ชม.)
มีอาการทางระบบประสาทที่สามารถวัดได้โดยใช้ NIHSS จะประเมินโดยแพทย์เป็นส่วนใหญ่
ผล CT scan ของสมองไม่พบเลือดออก
1.2 การให้ยา ASA 48 ชั่วโมงหลังได้รับยาฉีด
1.3 การให้การพยาบาลขณะและหลังในยาละลายลิ่มเลือด
1.4 ผู้ป่วย/ญาติเข้าใจประโยชน์หรือโทษที่จะเกิดจากการรักษา และยินยอมให้การรักษาโดยใช้ยา ละลายลิ่มเลือด
ในกรณีที่เป็น Stroke ประเภทที่หลอดเลือดแตกและมีเลือดออกในสมอง ต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการพยาบาลก่อนและหลังผ่าตัดเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการพยาบาลผู้ป่วยที่มีความดันในสมองสูง
ข้อห้ามของการให้ยาละลายลิ่มเลือด
มีอาการของโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันที่ไม่ทราบเวลาที่เริ่มเป็นอย่างชัดเจน
มีอาการเลือดออกใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง (subarachnoid hemorrhage)
มีอาการทางระบบประสาทที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว (NIHSS < 4) หรือ มีอาการทางระบบประสาท อย่างรุนแรง (NIHSS >18)
มีอาการชัก
ความดันโลหิตสูง (SBP≥ 185 mmHg, DBP≥ 110 mmHg)
มีประวัติเลือดออกในสมองหรือ มีประวัติเป็น Stroke/Head injury ภายใน 3 เดือน History of prior intracranial hemorrhage, neoplasm, or vascular malformation
ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด (heparin หรือ warfarin) ภายใน 48 ชั่วโมงหรือตรวจพบ ความผิดปกติของเกล็ดเลือดอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ มีค่า Partial-thromboplastin time ผิดปกติ มีค่า Prothrombin time มากกว่า 15 วินาที มีค่า International normalized ratio (INR) มากกว่า 1.5
มีปริมาณเกล็ดเลือดน้อยกว่า 100,000/mm
มี Hct น้อยกว่า 25%
Thrombopheblitis
สาเหตุ
อ้วน ตั้งครรภ์ ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
• อาการ ปวดบริเวณที่เกิดหลอดเลือดอักเสบ บวม แดง มีการขาดเลือดของอวัยวะที่มีการอุดตัน เช่น อวัยวะส่วนปลายบวม ซีด ปวดน่องเวลากระดกนิ้ว (Homann’s sign) หลอดเลือดดำตื้น ๆ แข็ง บาง แตกง่าย อาจพบคลำชีพจรปลายเท้าได้เบาลง
การรักษา
ให้ยาขยายหลอดเลือด และยาละลายลิ่มเลือด เช่น Heparine, coumarin
ถ้ารักษาด้วยยาไม่ได้ผลทำการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหรือเอาก้อนเลือดออก
การพยาบาล
ห้ามวิ่ง เดินนาน หรือยกน้ำหนัก
ใส่ผ้ายืดหรือถุงน่องรัดขาไว้ สังเกตอาการเลือดออกจากการได้รับยาละลายลิ่มเลือด
ห้ามใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน
ดูแลป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำโดยการจัดการปัจจัยเสี่ยง
ลดน้ำหนัก
หลอดเลือดดำอุดตัน (Deep venous Thrombosis)
หลอดเลือดดำจะนำเลือดที่ใช้แล้วกลับสู่หัวใจ โดยอาศัยการบีบตัวของกล้ามเนื้อ ร่วมกับลิ้นในหลอดเลือดดำ หลอดเลือดดำที่ขามี 2 ชนิดคือหลอดเลือดดำที่ผิว superficial veinที่สามารถเห็นได้ด้วยตา ซึ่งจะนำเลือดจากผิวไปสู่หลอดเลือดดำส่วนลึก deep vein ซึ่งจะอยู่ในกล้ามเนื้อ หลอดเลือดดำลึกก็จะนำเลือดไปยังหลอดเลือดดำใหญ่ในท้อง inferior venacava
ปกติเลือดในหลอดเลือดดำจะไหลเวียนอยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อมีภาวะที่เลือดดำหยุดไหลเวียนและจับแข็งตัว Thrombosis ในหลอดเลือด เกิดที่เส้นเลือดผิวตื้นๆ มีอาการบวมและปวด แต่ถ้าอุดตันหลอดเลือดหัวใจหรือปอด ซึ่งอันตรายถึงชีวิต
สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
หลอดเลือดดำได้รับอันตราย เช่น อุบัติเหตุกระดูกหัก กล้ามเนื้อถูกกระแทก หรือ การผ่าตัด หรือติดเชื้อ
โรคระบบเลือดที่มีการไหลเวียนช้าลง เช่น ยืน นั่งหรือนอนนาน หลังผ่าตัด อัมพาต การเข้าเผือก การที่ต้องนั่งรถ รถไฟเครื่องบิน หรือนั่งไขว่ห้าง
การที่เลือดมีการแข็งตัวง่าย
อื่น ๆ เช่น การใช้ยาคุมกำเนิด ฉีดยาเสพติด การตั้งครรภ์ หลังคลอด โรคมะเร็ง โรคทางพันธุกรรมบางโรค
มีความบกพร่องของลิ้นกั้นหลอดเลือดดำมาแต่กำเนิด หรือผนังหลอดเลือดดำอ่อนแอมาแต่กำเนิด
ภาวะหัวใจล้มเหลว ตับแข็ง
อาการ
• อาการที่สำคัญคือ ล้าขา ปวดตื้อ ๆ
บวม
เนื่องจากการไหลกลับของเลือดไม่ดีมักจะบวมข้างเดียว บางรายอาจจะเห็นเส้นเลือดโปงพอง อาจจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือเป็นตะคริวพบได้ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย โดยเฉพาะเวลากระดกข้อเท้าจะทำให้ปวดมากขึ้น เมื่อกดบริเวณน่องก็จะทำให้ปวด
• ถ้าเป็นที่ขาจะมีสีผิวคล้ำเนื่องจากมีการสกัดกั้นการไหลเวียนกลับของเลือดจากลิ่มเลือดที่อุดตัน
• ผู้ป่วยอาจจะมาพบแพทย์ด้วยเรื่องหอบเหนื่อย เนื่องจากลิ่มเลือดไปอุดในปอด
การประเมิน
• บวมเท้าที่เป็นข้างเดียว และอาจจะกดเจ็บบริเวณน่อง เมื่อจับปลายเท้ากระดกเข้าหาตัวโดยที่เข่าเหยียดตรง (เรียกการตรวจนี้ว่า Homans Sign)
อาจจะตรวจพบว่าหลอดเลือดดำโป่งและอาจจะคลำได้ ถ้าเส้นเลือดอักเสบเวลาคลำจะปวด
ไข้ต่ำๆ
การรักษา
4 more items...
การอักเสบของผนังหลอดเลือดดำร่วมกับการอุดตันโดยลิ่มเลือดที่หลอดเลือดดำ
หลอดเลือดอักเสบเฉียบพลัน (TAO)
เป็นภาวะที่หลอดเลือดแดงและดำทั้งขนาดกลางและเล็ก บริเวณแขนและขาอักเสบแบบเฉียบพลัน โดยไม่ทราบสาเหตุ
อาการ
ในระยะแรก
มีอาการปวดบริเวณขา และหลังเท้ารุนแรง อาจมีอาการปวดน่องร่วมด้วยเวลาเดิน เดินไม่ได้ไกล เป็นตะคริวบ่อยที่เท้าและน่อง หลังเดินหรือออกกำลังกาย อาการหายไปเมื่อพัก อาการเหล่านี้เรียกว่า Intermittent Claudication
ในระยะต่อมาจะมีแผลเรื้อรัง ตามนิ้วมือ นิ้วเท้า ในที่สุดอาจถูกตัดนิ้วมือและเท้าได้
การรักษา/พยาบาล
มีเป้าหมายเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนปลายได้ดีขึ้น
งดสูบบุหรี่
รักษาแผลเรื้อรังที่เท้า
ให้ยาขยายหลอดเลือด แก้ปวด ตามอาการ
ให้ยา NSIAD เมื่อมีอาการหลอดเลือดดำอักเสบ
การรักษาโดยการผ่าตัด
การคำนวน ABI = Ankle pressure/Brachial pressure (highest)
การแปลค่า ABI มากกว่าหรือเท่ากับ 1 ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการตีบตันของหลอดเลือด
ABI อยู่ในช่วง 0.4 – 0.8 Claudication
ABI น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.3 Rest pain
หมายเหตุ
ปกติความดันโลหิตบริเวณข้อเท้าจะเท่ากับหรือสูงกว่าความดันโลหิตค่าบนที่วัดที่แขน (Systolic pressure)
หลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ
(Peripheral arterial disease/PAD/Arterial occlusion)
พยาธิสรีระสภาพ
• Arterial Occlusion หมายถึง เป็นโรคหลอดเลือดแดงอุดตัน โดยสาเหตุที่พบบ่อยคือ ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) เกิดจากการสะสมไขมันในผนังหลอดเลือดจนทำให้เกิดการตีบตัน หรือเกิดจากมีสิ่งแปลกปลอม เช่น ลิ่มเลือดหลุดไปอุดหลอดเลือด ทำให้เกิดการขาดเลือดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง
สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
มีไขมันในเลือดสูง,ความดันโลหิตสูง,เบาหวาน,การสูบบุหรี่,อายุ ชาย > 45 ปี, หญิง > 55 ปี,ความอ้วน (BMI > 30 kg/m2), Homocysteine สูง สูง, Homocysteine สูง
อาการ
• มักมาด้วยปวดขามากเป็นพัก ๆ เมื่อออกแรงเมื่อเดิน (Intermittent Claudication)
อยู่เฉย ๆ ก็ปวด (Rest pain) บ่งบอกอาการที่รุนแรง
• อาการเนื้อตายแห้ง (Ulceration/Gangrene)
Pain ปวด
Pallor ซีด
Pulselessness คลำชีพจรไม่ได้
Paralysis อ่อนแรง
Paresthesia ชาและรู้สึกเจ็บน้อยลง
การประเมิน
การตรวจร่างกาย คลำชีพจรของหลอดเลือดแดงทุกแห่งที่คลำได้ เช่น Superficial Femoral หรือ Popiteal หรือหลอดเลือดที่หลังเท้าหรือที่คอ
ตรวจแขนขา สังเกตลักษณะสีผิว แผลเนื้อตาย การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังและเล็บ
คลำเพื่อประเมินอาการอักเสบ ปวด บวม แดง อุณหภูมิ
คลำชีพจรส่วนปลายได้แรงไม่เท่ากันทั้ง 2 ข้างของร่างกาย
แขนขาข้างนั้นไม่มีขนหรือเล็บผิดรูป
มือเท้าที่เป็นจะเย็น ยิ่งยกแขนขาข้างที่ผิดปกติก็จะยิ่งซีดมากขึ้น แต่ถ้าพักแล้วจะเริ่มแดงขึ้น (Raising pale, resting rubor)
• การตรวจด้วยเครื่องวัดความดันโลหิต โดยใช้ cuff พันขา แล้วบีบระดับปรอทสูงกว่าความดันซีส โตลิก ปล่อยทิ้งไว้ 5 นาที ยกขานั้นสูงประมาณ 75 - 80 องศา แล้วลดระดับปรอท คนปกติจะเห็นผิวหนังแดง จนถึงบริเวณนิ้วเท้าภายใน 2-5 นาที แต่ถ้าหลอดเลือดแดงอุดตันปฏิกริยานี้จะเกิดขึ้นช้าและอาจแดงไปไม่ถึง ส่วนปลายเท้า นิ้วเท้า Venous Filling จะช้า
การรักษา
8 more items...
หลอดเลือดดำขอด (Varicosevein)
• ความผิดปกติของหลอดเลือดดำให้ผิวหนัง (Superficial vein) เกิดจากลิ้นกั้นในเลือดเลือดเสียหน้าที ทำให้การไหลเวียนเลือดผิดปกติ ไม่สามารถไล่เลือดให้ไหลกลับสู่หัวใจได้หมด จึงเกิดการคั่งของเลือดในหลอดเลือดดำ ทำให้หลอดเลือดดำขยายตัวกว้างใหญ่ขึ้น ยาวขึ้นและหงิกงอ คดเคี้ยว พบได้บ่อยบริเวณขา น่อง ข้อเท้า และหลังเท้า ถ้าเป็นที่หลอดเลือดที่อยู่ตื้น ๆ (Great Saphenous Vein) การเรียกชื่อแตกต่างไปตามตำแหน่งที่เกิด ถ้าเกิดที่น่องเรียก หลอดเลือดขอด ถ้าเกิด ที่บริเวณทวารหนัก เรียก ริดสีดดวงทวาร เกิดที่หลอดอาหารส่วนปลาย เรียก Esophageal Varices
สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
ความผิดปกติของหลอดเลือดดำให้ผิวหนัง (Superficial vein) เกิดจากลิ้นกั้นในเลือดเลือดเสียหน้าที ทำให้การไหลเวียนเลือดผิดปกติ ไม่สามารถไล่เลือดให้ไหลกลับสู่หัวใจได้หมด จึงเกิดการคั่งของเลือดในหลอดเลือดดำ ทำให้หลอดเลือดดำขยายตัวกว้างใหญ่ขึ้น ยาวขึ้นและหงิกงอ คดเคี้ยว พบได้บ่อยบริเวณขา น่อง ข้อเท้า และหลังเท้า ถ้าเป็นที่หลอดเลือดที่อยู่ตื้น ๆ (Great Saphenous Vein) การเรียกชื่อแตกต่างไปตามตำแหน่งที่เกิด ถ้าเกิดที่น่องเรียก หลอดเลือดขอด ถ้าเกิด ที่บริเวณทวารหนัก เรียก ริดสีดดวงทวาร เกิดที่หลอดอาหารส่วนปลาย เรียก Esophageal Varices
อาการ
• ปวดตื้อ ๆ บริเวณขา กล้ามเนื้อเป็นตะคริว บ่อย
มีอาการเมื่อยล้าขามากผิดปกติ
ถ้าเป็นเส้นเลือดขอดในระดับรุนแรง จนมีหลอดเลือดอุดตัน จะมีอาการบวมปวด ขามีสีคล้ำ
อาจมีแผลที่เท้าจากการขาดเลือดไปเลี้ยงเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ และติดเชื้อได้ง่าย
การรักษา
1.รักษาแบบประคับประคอง
2.การผ่าตัดนำหลอดเลือดที่ขอดออก
2.1 หลังผ่าตัดพยาบาล
• ควรตรวจสอบเกี่ยวกับการตกเลือด (Hemorrhage)
• ควรคลำ pedal pedis pulse
ตรวจการทำหน้าที่ของ Motorและ Sensory ของขาทุก 2 ชั่วโมง เป็นเวลานาน 8 ชั่วโมงหลังผ่าตัด
คลายผ้ายืดวันละ 3 ครั้ง และพันใหม่ทุกครั้ง
เมื่อผู้ป่วยฟื้นแล้วสามารถเดินได้ตั้งแต่วันแรก แต่ต้องพันขาและสวมถุงน่องไว้นานประมาณ 1 เดือน
เวลานอนควรยกขาขึ้น นอกจากนี้ควรออกกำลังกายขาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เลือดบริเวณขาไหลเวียนดีขึ้น
2.2 ซึ่งหลังผ่าตัดต้องให้แนะนำเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ได้แก่
ห้ามนั่งไขว่ห้าง
ออกกำลังกายเป็นประจำ และออกกำลังขาโดยการนอนยกขาสูง
ลดน้ำหนัก
หลีกเลี่ยงการยืนนาน ๆ
ห้ามสวมเสื้อผ้าคับ รัดแน่นที่ขา ขาหนีบ เอว เนื่องจากจะทำให้การไหลเวียนเลือดไม่สะดวก
สวม Elastic stocking
รับประทานอาหารเส้นใยสูง หลีกเลี่ยงอาการท้องผูก
ลุกเคลื่อนไหว ทุก 35-45 นาที เมื่อนั่งนาน หรือเดินทางด้วยเครื่องบิน
เดินระยะสั้น ๆ อย่างน้อยทุก 45 นาที เมื่อเดินทางด้วยรถยนต์
นางสาวกนกอร เสริมราษฎร์ เลขที่ 3 รหัสนักศึกษา 612501003