Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การบริหารคุณภาพทางการพยาบาล, นายชญาวัต ไกรบำรุง เลขที่ 15…
บทที่ 7
การบริหารคุณภาพทางการพยาบาล
การเชื่อมโยงการใช้ RM, QA , CQI และการวิเคราะห์ก้างปลา(Fish bone)
การบริหารความเสี่ยง (Risk management: RM) กับการประกันคุณภาพ(Quality Assurance: QA) และการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง(Continuous Quality Improvement: CQI) เป็นการพัฒนาให้เกิดคุณภาพ คำว่า “คุณภาพ” คือความเป็นเลิศ คือสิ่งที่ดีที่สุด การบริการรักษาพยาบาลที่เป็นเลิศ คือ การได้รับการตอบสนองด้านบริการ เช่น การต้อนรับ ระยะเวลารอคอย ค่ารักษาพยาบาล คุณภาพการรักษาพยาบาล เช่น การวินิจฉัยโรคถูกต้อง การดูแลรักษาพยาบาล การให้คำแนะนำ การส่งต่อการรักษา ซึ่ง Noriaki Kano กล่าวว่าคุณภาพมี 2 ลักษณะ ได้แก่ คุณภาพที่ต้องมี คือการนำมาตรฐานวิชาชีพและ QA มาตอบสนอง และคุณภาพที่ประทับใจ คือสิ่งที่เกินความคาดหวังของผู้รับบริการ สิ่งที่ดีที่สุดของการบริการพยาบาล คือ ผลผลิต(0utcomes) ของการบริการพยาบาล ซึ่งผลที่เกิดขึ้นมีทั้งผลลัพธ์ที่พึงปรารถนา(Intended outcome) และผลลัพธ์ที่ไม่พึงปรารถนา (Adverse outcome)
ผังก้างปลา (Fish Bone Diagram) หรือแผนผังอิชิกาว่า (Ishikawa Diagram)
ประโยชน์
ช่วยให้วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาได้อย่างมีเหตุผล เจาะลึกถึงสาเหตุรากเหง้า (root cause)
ใช้ศึกษา ทำความเข้าใจ หรือทำความรู้จักกับกระบวนการอื่น ๆ เพราะว่าโดยส่วนใหญ่พนักงานจะรู้ปัญหาเฉพาะในพื้นที่ของตนเท่านั้น แต่เมื่อมีการ ทำผังก้างปลาแล้ว จะทำให้เราสามารถรู้กระบวนการของแผนกอื่นได้ง่ายขึ้น
ใช้เป็นแนวทางในการระดมสมอง ซึ่งจะช่วยให้ทุกๆ คนให้ความสนใจในปัญหาของกลุ่มซึ่งแสดงไว้ที่หัวปลา
วิธีการสร้างแผนผังก้างปลา
1.กำหนดประโยคปัญหาที่ต้องแก้ไขมาเขียนไว้ที่หัวปลา
2.เขียนลูกศรชี้ที่หัวปลาแทนกระดูกสันหลังของปลา
3.เขียนก้างใหญ่ให้ลูกศรวิ่งเข้าสู่กระดูกสันหลัง เพื่อระบุถึงกลุ่มใหญ่ของสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา
4.เขียนก้างกลางแยกออกจากก้างใหญ่เพื่อแสดงสาเหตุของก้างใหญ่-เขียนก้างเล็กแยกออกจากก้างกลางเพื่อแสดงสาเหตุของก้างกลาง-เขียนก้างย่อยแยกออกจากก้างเล็กเพื่อแสดงสาเหตุของก้างเล็ก
5.ระดมสมองหาสาเหตุของปัญหาโดยการตั้งคำถามทำไมๆๆๆๆ ซ้ำๆกัน 5-7 ครั้ง ในการเขียนก้างย่อยๆ พร้อมทั้งเขียนข้อความแสดงสาเหตุของปัญหาลงในก้างระดับต่างๆ ทำไปจนกระทั่งระบุถึงสาเหตุที่เป็นรากเหง้าของปัญหาได้ หรือจนกระทั่งไม่มีใครเสนอความคิดเห็นอีก จัดลำดับความสำคัญของสาเหตุ และใช้แนวทางการปรับปรุงที่จำเป็น
วิธีการสร้างผังก้างปลาอาจใช้หลักทางการบริหารมาการกำหนดปัจจัย
M Man คนงาน หรือพนักงาน หรือบุคลากร
M Machine เครื่องจักรหรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวก
M Material วัตถุดิบหรืออะไหล่ อุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในกระบวนการ
M Method กระบวนการทำงาน
E Environment อากาศ สถานที่ ความสว่าง และบรรยากาศการทำงาน
เทคนิคการกำหนดหัวข้อปัญหาที่หัวปลา
การกำหนดหัวข้อปัญหาควรกำหนดให้ชัดเจนและมีความเป็น ควรกำหนดหัวข้อปัญหาในเชิงลบ เช่น อัตราการติดเชื้อแผลผ่าตัด อัตราการเกิดพลัดตกหกล้ม หากเป็นด้านบวกเราจะนำไปเป็นความภาคภูมิใจ
ข้อควรระวังในการใช้แผนภาพก้างปลา
สาเหตุความผันแปรในก้างปลาต้องมาจากการระดมสมอง ภายใต้หลักการ 3 จริง คือสถานที่เกิดเหตุจริง ด้วยของจริง ภายใต้สภาวะแวดล้อมจริง
แผนภาพก้างปลาหน้างาน ต้องคำนึงถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นจริง
ข้อความที่ระบุในก้างปลาเป็นเพียง สมมุติฐานของสาเหตุ ไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง อย่าพึ่งหาคนผิด
การนำผลการวิเคราะห์ไปใช้
เมื่อได้สาเหตุของปัญหาแล้ว เลือกสาเหตุที่เชื่อว่าน่าจะสามารถแก้ปัญหาตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้มาวางแผนแก้ไขปัญหาต่อไป โดยใช้ Deming cycle (Plan-Do- Check-Act: P-D-C-A)
การวิเคราะห์อุบัติการณ์ทางคลินิก ควรพิจารณาถึงปัจจัย
ปัจจัยที่ตัวผู้ป่วย ปัจจัยเกี่ยวกับงาน ปัจจัยเกี่ยวกับตัวบุคคล ปัจจัยเกี่ยวกับทีม ปัจจัยแวดล้อมในการทำงาน ปัจจัยเกี่ยวกับองค์กรและการทำงาน
การบริหารความเสี่ยง(Risk Management: RM)
ความเสี่ยง(Risk) คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง มีโอกาสที่จะประสบความสูญเสียหรือสิ่งที่ไม่พึงประสงค์
การบริหารความเสี่ยง(Risk Management) คือการบริหารจัดการที่วางแผนสำหรับมองไปข้างหน้าและมีกิจกรรมเพื่อป้องกันความล้มเหลวที่เกิดขึ้น
วัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยง
เพื่อให้เกิดการรับรู้ ตระหนัก เข้าใจและหาวิธีการจัดการที่เหมาะสมให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
เพื่อสร้างกรอบแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้บริหารจัดการความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้น
เพื่อเพิ่มคุณค่าให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร
เพื่อให้มีระบบการติดตามผลการดำเนินการบริหารความเสี่ยงและเฝ้าระวังความเสี่ยงใหม่ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้
ประโยชน์ของการบริหารความเสี่ยง
ได้ปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจ
ได้ปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานทั้งภายในองค์กรและกับภายนอกองค์กร
ได้ปรับปรุงระบบการสื่อสารและการแบ่งปันความรู้ในองค์กร
มีระบบรายงานการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมทั้งภายในองค์กรและการนำเสนอสู่ภายนอก
มีการจัดสรรทรัพยากรไปบริหารความเสี่ยงในจุดที่ถูกต้อง
กระบวนการบริหารความเสี่ยง
การค้นหาความเสี่ยง(Risk indentification)
1.1 สำรวจความเสี่ยงของหน่วยงาน จะหาความเสี่ยงได้อย่างไร
หลังเกิดเหตุการณ์ไม่พึ่งประสงค์ มองอดีต
ก่อนเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ มองปัจจุบัน
1.2 ระบุความเสี่ยงอย่างไร
1.3 เทคนิคที่ใช้ระบุความเสี่ยง
1.4 การจำแนกประเภทความเสี่ยงภายในโรงพยาบาล ประเภทของความเสี่ยง ความเสี่ยงทั่วไป(Non Clinical Risk), ความเสี่ยงทางคลินิก(Common Clinical Risk), 3. ความเสี่ยงทางคลินิกเฉพาะโรค(Specific Clinical Risk)
1.5 ประเภทของเหตุการณ์ที่มีความเสี่ยง
ก.เหตุการณ์ที่พึงระวัง (Sentinel event : SE),ข.เหตุการณ์ไม่พึ่งประสงค์(Averse event : AE)
การประเมินความเสี่ยง การระบุปัจจัยเสี่ยงและวิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างเป็นระบบในการตัดสินใจรวมถึงการจัดลำดับความสำคัญว่าเหตุการณ์ใด หรือเงื่อนไขใดมีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุ ประสงค์ของหน่วยงาน
การกําหนดเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน เป็นการกําหนดเกณฑ์ที่จะใช้ในการประเมินความเสี่ยงได้แก่ ระดับโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง(Likelihood) ระดับความรุนแรงของผลกระทบ (Impact) และระดับของความเสี่ยง (Degree of Risk)
ระดับโอกาส
5 สูงมาก 1 เดือนต่อครั้งหรือมากกว่า
4 สูง 1-6 เดือนต่อครั้ง แต่ไม่เกิน 5 ครั้ง
3 ปานกลาง 1 ปีต่อครั้ง
2 น้อย 2-3 ปีต่อครั้ง
1 น้อยมาก 5 ปีต่อครั้ง
ระดับความรุนแรง
5 รุนแรงสูง มีการสูญเสียทรัพย์สินอย่างมหันต์มีการบาดเจ็บถึงชีวิต
4 ค่อนข้างรุนแรง มีการสูญเสียทรัพย์สินมากมีการบาดเจ็บสาหัสถึงขั้นพักงาน
3 ปานกลาง มีการสูญเสียทรัพย์สินมากมีการบาดเจ็บสาหัสถึงขั้นหยุดงาน
2 น้อย การสูญเสียทรัพย์สินพอสมควรมีการบาดเจ็บรุนแรง
1 น้อยมาก มีการสูญเสียทรัพย์สินเล็กน้อยไม่มีการบาดเจ็บรุนแรง
ระดับความเสี่ยง (Risk Level)
1-2 มีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงต่ำ
3-6 มีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงปานกลาง
7-12 มีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงสูง
13-25 มีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงสูงมาก
การประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยง เป็นการนําความเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยงแต่ละปัจจัยที่ระบุไว้มาประเมินโอกาส(Likelihood) ที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงต่าง ๆ และประเมินระดับความรุนแรงหรือมูลค่าความเสียหาย(Impact) จากความเสี่ยง
การวิเคราะห์ความเสี่ยงเมื่อพิจารณาโอกาส/ความถี่ที่จะเกิดเหตุการณ์(Likelihood) และความรุนแรงของผลกระทบ(Impact)ของแต่ละปัจจัยเสี่ยงแล้วให้นําผลที่ได้มาพิจารณาความสัมพันธ์
การจัดลําดับความเสี่ยง(Risk profile) เมื่อได้ค่าระดับความเสี่ยงแล้ว ให้นํามาจัดลําดับความรุนแรงของความเสี่ยงเพื่อพิจารณากําหนดกิจกรรมการควบคุมในแต่ละสาเหตุของความเสี่ยงที่สําคัญให้เหมาะสม
การจัดการความเสี่ยง (Risk Responses) หมายถึงการกำหนดแนวทางดำเนินงานเพื่อลดโอกาสที่เกิดที่เกิดความสูญเสียและนำผลจากการประเมินความเสี่ยงมาจัดทำแผนจัดการบริหารความเสี่ยงตามลำดับ
1) การยอมรับความเสี่ยง (Risk Acceptance)
2) การลด/การควบคุมความเสี่ยง (Risk Reduction)
3) การกระจายความเสี่ยง หรือการโอนความเสี่ยง (Risk Sharing)
4) หลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance)
การติดตามและการประเมินผล(Monitoring & Evaluation) หมายถึง กระบวนการควบคุมคุณภาพการปฏิบัติงานและประเมินผลและการปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงเพิ่มเติมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยการติดตามการประเมินผลตามระยะเวลาที่กำหนด โดยประเมินจากมาตรฐาน ตัวชี้วัดบริหารความเสี่ยง โดยมีการทบทวนความเสี่ยง จัดทำ Risk profile อาจใช้ Deming cycle (P-D-C-A)
นายชญาวัต ไกรบำรุง เลขที่ 15 รหัสนักศึกษา 603101015