Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริหารคุณภาพทางการพยาบาล - Coggle Diagram
การบริหารคุณภาพทางการพยาบาล
๑. แนวคิดและหลักการบริหารคุณภาพทางการพยาบาล
๔. แนวคิดการพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน (Continuous quality improvement ,CQI)
๑) เน้นการตอบสนองต่อผู้รับผลงานเป็นสําคัญ
๒) เป็นการปรับปรุงวิธีการทํางานจากงานประจํา และสุดท้าย
๓) เป็นกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้ข้อมูล/การคิดสร้างสรรค์และการ มีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง
๑. แนวคิดการพัฒนาคุณภาพของเดมมิ่ง(Deming)
Dr. Edward Deming ได้นำแนวคิดการวางแผนคุณภาพมาใช้ โดยมีกระบวนการคือการวางแผน(Plan) การปฏิบัติ(Do) การตรวจสอบ(Check) และการปฏิบัติจริง(Act) หรือที่เรียกย่อว่า PDCA หรือ วงจรเดมมิ่ง(PDCA Deming cycle) มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพ
ครอสบีมีแนวคิดตามความเชื่อของเขา เขามีความสามารถในการจัดทำโปรแกรมปรับปรุงคุณภาพเพื่อเพิ่มผลกำไร ซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักการจัดการคุณภาพที่สมบูรณ์ ๕ ประการ
๑) คุณภาพ หมายถึง การทำตามมาตรฐาน ไม่ใช่ความโก้เก๋
๒) ไม่มีปัญหาอะไรสำคัญเท่ากับปัญหาคุณภาพ
๓) ทำได้ถูกกว่าเสมอ ถ้าหากทำให้ถูกตั้งแต่แรก
๔) ตัวชี้วัดผลงาน คือ ต้นทุนคุณภาพ
๕) มาตรฐานของผลงาน คือ ของเสียเป็นศูนย์
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพของจูแรน (Juran)
๑) การกำหนดเป้าหมายคุณภาพ การคำนึงถึงลูกค้าภายนอกและภายในองค์การ ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ตอบสอนงความต้องการของลูกค้า
๒) การควบคุมคุณภาพ (Quality control) มีการประเมินสภาพปัจจุบัน การดำเนินงานขององค์การ เปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ต้องการและปรับปรุงวิธีการดำเนินงาน
๓) การปรับปรุงคุณภาพ (Quality improvement) การปรับปรุงกระบวนการให้มีประสิทธิภาพด้านคุณภาพสูงกว่าแต่ก่อน
๒.การประกันคุณภาพทางการพยาบาล(QA)และมาตรฐานทางการพยาบาล((Nursing standard)
ความหมาย
การประกันคุณภาพ หมายถึง การกระทำเพื่อให้การปฏิบัติการพยาบาล สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพได้อย่างสม่ำเสมอ อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มีเครื่องมือในการประเมินอย่างถูกต้อง เชื่อถือได้และสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพต่อไปได้
วัตถุประสงค์ของการประกันคุณภาพ
๑. เพื่อให้การปฏิบัติการพยาบาลเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดขึ้น
๒. เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการบริการพยาบาลให้ดีขึ้น
แนวคิดการประกันคุณภาพการพยาบาล
๑. แนวคิดการประกันคุณภาพในยุคเดิม พยาบาลเป็นผู้กำหนดเกณฑ์ตามความคิดเห็น ความเชื่อ ความรู้ที่มีในการตรวจสอบและประเมินผล มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
๑.๑ พัฒนามาตรฐาน โดยกำหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติขึ้นในหน่วยงานที่รับผิดชอบหรือเรียกว่า nursing procedure เพื่อให้พยาบาลปฏิบัติการพยาบาลที่เหมือนกัน
๑.๒ มีการตรวจสอบรวบรวมข้อมูล โดยผู้บริหารการพยาบาลนิเทศงาน เช่น การให้ยาผิด
๑.๓ รายงานผลการตรวจสอบ เมื่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดปัญหาและมีการประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป
๒. แนวคิดของการประกันคุณภาพการพยาบาลในช่วง ค.ศ. ๑๙๕๒ – ๑๙๙๒
สมาคมพยาบาลอเมริกัน (American nurses association : ANA) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนามาตรฐานเพื่อเป็นการพัฒนาการพยาบาลและการประเมินคุณภาพแต่ยังเป็นการดำเนินการเฉพาะเรื่อง
๓. แนวคิดการประกันคุณภาพการพยาบาลเน้นที่กระบวนการ
ซึ่งจะทำให้มีคุณภาพ โดยการประเมินคุณภาพและนำผลมาพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพทั้งองค์การเป็นการแก้ปัญหาทั้งระบบมากกว่าแก้จุดเล็ก ๆ
รูปแบบการประกันคุณภาพการพยาบาล
รูปแบบที่ ๑. การประกันคุณภาพของโรแลนด์ เป็นการประกันคุณภาพการพยาบาลโดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
๑.๑ การกำหนดวัตถุประสงค์ของการประกันคุณภาพการพยาบาลที่ชัดเจนขององค์กร
๑.๒ การออกแบบกระบวนการประกันคุณภาพการพยาบาล
๑.๓ การเตรียมข้อมูลภายในหน่วยงานเพื่อแสดงคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
๑.๔ การเปรียบเทียบสารสนเทศที่ได้กับหน่วยงานอื่น เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง
๑.๕ นำแนวคิดที่ได้หรือข้อมูลจากการประเมินมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขงานให้ดีขึ้น
๑.๖ ในกรณีที่เกณฑ์ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ จะต้องมีการปรับให้สามารถวัด
รูปแบบที่ ๒. การประกันคุณภาพการพยาบาลขององค์การอนามัยโลก (๑๙๙๕) หมายถึง การประกันคุณภาพตามโปรแกรมที่สร้างขึ้นอย่างมีขั้นตอน ประกอบด้วย
กิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง วางแผนเป็นระบบชัดเจน มีวงจรนำไปสู่คุณภาพ มี ๔ ขั้นตอนดังนี้
๒.๑ สร้างเครื่องบ่งชี้คุณภาพโดยกำหนดเกณฑ์ตัวบ่งชี้ซึ่งเป็นคุณภาพงานเป็นที่ยอมรับ
๒.๒ สร้างเครื่องมือวัดคุณภาพ ต้องมีวิธีการรวบรวมข้อมูลและมีความชัดเจนว่าจะใช้
๒.๓ ประเมินค่าการวัด โดยมีผู้ประเมินคุณภาพที่อาจจะเป็นบุคคลภายนอกองค์กรหรือ
๒.๔ ปรับปรุงคุณภาพ หลังจากได้รับผลการประเมินแล้ว หน่วยงานต้องนำข้อมูลที่ได้
รูปแบบที่ ๓ การประกันคุณภาพการพยาบาลของสมาคมพยาบาลอเมริกัน (American nurses association : ANA)
๓.๑ สร้างความรู้สึกต่อคุณภาพ โดยมีการเตรียมความพร้อมของบุคลากรในหน่วยงานให้มีความเข้าใจและยอมรับในกระบวนการจะเกิดขึ้น ให้เห็นคุณค่าความมีคุณภาพในงานที่ปฏิบัติ พร้อมประชุมชี้แจงให้รับทราบในรูปแบบต่าง ๆ
๓.๒ กำหนดมาตรฐานและเกณฑ์ เพื่อบ่งชี้คุณภาพของงานที่เป็นมาตรฐานยอมรับได้ทุกหน่วยงาน อาจดำเนินการโดยบุคคลที่ได้รับมอบหมายหรือกลุ่มคน
๓.๓ สร้างเครื่องมือวัดคุณภาพ เพื่อวัดและประเมินคุณภาพการพยาบาลตามมาตรฐาน เกณฑ์ที่กำหนด
๓.๔ รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ประเมินผล ให้เป็นหมวดหมู่ของกิจกรรมต่างๆ รวมทั้ง
๓.๕ ค้นหาแนวทางปรับปรุง ในข้อที่เป็นปัญหาไม่มีคุณภาพ หรือมีคุณภาพในระดับต่ำ
๓.๖ เลือกวิธีการปรับปรุง โดยเลือกวิธีการว่าจะปรับปรุงโดยใคร อย่างไร
๓.๗ ปฏิบัติ นำวิธีที่เลือกแล้วมาปราบปรุงคุณภาพมาปฏิบัติให้เกิดผล
รูปแบบที่ ๔ การประกันคุณภาพการพยาบาลของคณะกรรมการร่วมเพื่อการรับรององค์การ
บริการสุขภาพ(The Joint Commission On Accreditation of Healthcare Organization : JCAHO)
๔.๑ มอบหมายความรับผิดชอบ (Assign responsibility) มีการมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบโครงการประกันคุณภาพ
๔.๒ เขียนขอบเขตของการพยาบาลและบริการที่ให้ (Delineate the scope of care and
service)
๔.๓ ระบุจุดสำคัญของการพยาบาลและบริการที่ให้ (Identify indicators relates to the important aspects of care)
๔.๔ ระบุตัวบ่งชี้ที่ใช้วัดจุดสำคัญของการพยาบาล โดยสามารถวัดเชิงปริมาณ เพื่อให้ติดตามและประเมินคุณภาพของการพยาบาลได้
๔.๕ กำหนดระดับของการรับรอง (Establish thresholds for evaluation ) ระดับของการ
รับรองเป็นระดับที่ยอมรับได้ เป็นไปตามความคาดหมาย
๔.๖ กำหนดคุณภาพโดยการเก็บรวบรวมข้อมูล และการจัดระเบียบข้อมูล (Collect and organize date )
๔.๗ การประเมินคุณภาพการพยาบาลโดยการวิเคราะห์ข้อมูล และแปลข้อมูล (Evaluate case) เป็นการแปลผลของข้อมูล
๔.๘ ปฏิบัติการทันทีเพื่อแก้ปัญหาที่พบจากการประเมิน (Take action to identified
problems)
๔.๙ ประเมินผลการปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาและทำการบันทึก (Assess the action and
document improvement)
๔.๑๐ รายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องแก่คณะกรรมการควบคุมคุณภาพขององค์กร(Communication relevant information to the organization wide QA committee)
ระบบการประกันคุณภาพ
๑. การประกันคุณภาพภายใน(Internal quality assurance) หมายถึงกิจกรรมการควบคุมคุณภาพในฝ่ายบริการพยาบาลโดยมีการกำหนดของฝ่ายบริการการพยาบาล
๒.การประกันคุณภาพภายนอก (External quality assurance) หมายถึง การดำเนินการตามระบบการควบคุมคุณภาพภายในรวมทั้งการตรวจสอบและประเมินผลทั้งหมดโดยหน่วยงานภายนอก
องค์ประกอบของระบบการประกันคุณภาพการพยาบาล
๑) การกำหนดมาตรฐานการพยาบาล(Nursing standard)
๒) การตรวจสอบคุณภาพการพยาบาล(Nursing Audit)
๓) การพัฒนาคุณภาพหรือการปรับปรุงคุณภาพ(Quality improvement)
มาตรฐานการพยาบาล(Nursing standard)
มาตรฐานการพยาบาล หมายถึง ข้อความที่อธิบายแนวทางการปฏิบัติหรือวิธีดำเนินการที่ครอบคลุมขอบเขตของการพยาบาลถือเป็นข้อกำหนดให้มีการปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลดีต่อการดูแลหรือการให้บริการแก่ผู้รับบริการทั้งในส่วนบุคล ครอบครัว และชุมชนตลอดทั้งข้อความนั้นต้องเที่ยงตรง ชัดแจ้ง สามารถนำไปปฏิบัติได้
มาตรฐานคุณภาพบริการสุขภาพ
๑.มาตรฐานระดับสากล(Normative standards) แนวทางการกำหนดมาตรฐานจะอยู่ในระดับดีเลิศ ตามความคาดหวังที่เป็นอุดมคติซึ่งโดยทั่วไปมักจะถูกกำหนโดยองค์กรวิชาชีพ
๒.มาตรฐานระดับผู้เชี่ยวชาญ(Empirical standards) เนื้อหากำหนดเป็นมาตรฐานจะมาจากระดับผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีความรู้ ความสามารถ
ประเภทของมาตรฐานการพยาบาล
๑. มาตรฐานเชิงโครงสร้าง(Structure standard)
๒. มาตรฐานเชิงกระบวนการ(Process standard)
๓. มาตรฐานเชิงผลลัพธ์(Outcome standard)
๓.ระบบบริหารสุขภาพ(HA,HNQA,ISO)
การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(Hospital Accreditation: HA)
การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล เป็นสิ่งจำเป็นในการประกันคุณภาพ โดยหน่วยงานภายนอกเพื่อประกันการดำเนินการของผู้ประกอบวิชาชีพในโรงพยาบาลนั้นและวิธีการบริหารจัดการนั้น
วัตถุประสงค์ของมาตรฐาน HA
มาตรฐาน HA คือ กรอบความคิดที่สื่อให้เห็นถึงองค์ประกอบสำคัญของสถานพยาบาลที่มีคุณภาพและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบเหล่านั้น มาตรฐาน HA มิได้เป็นมาตรฐานที่ใช้เพียงเพื่อการประเมินหรือวัดคุณภาพ แต่เป็นมาตรฐานที่ใช้การพัฒนากระตุ้น ให้มีการประเมินและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้มีการใช้กระบวนทัศน์ใหม่ใน การบริหารและพัฒนาคุณภาพ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และมีผลงานที่ดีขึ้นเป็นลำดับ
การพัฒนาคุณภาพบริการแบบเครือข่าย
HNQA เป็นระบบการรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลที่สำนักพัฒนาระบบริการสุขภาพกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เป็นผู้คิดริเริ่มขึ้น
๑. Documentation การทำให้เป็นลายลักษณ์อักษรหลังจากมีเหตุการณ์หรือข้อบกพร่องขึ้นแล้วให้ทำการแก้ไขข้อบกพร่อง (Correction) ทำการแก้ไขสาเหตุข้อบกพร่อง (Corrective action) และทำการแก้ไข
๒. Training ฝึกอบรมสร้างความเข้าใจให้ปฏิบัติได้
๓. Motivation จูงใจให้ปฏิบัติตามเอกสารที่กำหนด
๔. Monitoring มีการติดตามผลดูเป็นระยะๆ ว่าเป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่
๕. Review มีการทบทวนเอกสารเป็นระยะๆ อย่างน้อยทุก ๑ ปี
การพัฒนาคุณภาพบริการแบบเครือข่าย(Hospital Network Quality Audit: HNQA) ในทางปฏิบัติ
๑. Product content in service คือ อุปกรณ์การให้บริการที่ให้ผู้ป่วยไปด้วย เช่น ยาไหมเย็บแผล อาหาร น้ำดื่มวัสดุ สิ่งของทุกชิ้น ต้องกำหนดรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ (Specification) คัดเลือกผู้จัดหา(Suppliers) คัดกรองรายละเอียดผลิตภัณฑ์อย่างรัดกุม ให้ Suppliersมีกระบวนการจัดเก็บที่ดี มีกระบวนการควบคุมการเบิกจ่าย
๒. Mechanize service คือ เครื่องมืออาคารสถานที่ที่ให้บริการแล้วไม่ได้ให้ผู้ป่วยไปด้วย เช่นห้องพัก เตียงนอน ผ้าห่มครุภัณฑ์การแพทย์เครื่องมือ เครื่องใช้ มีการกำหนดรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ มีแผนการซ่อมบำรุงและมีการบำรุงรักษา
๓. Personalized service คือ การทำหัตถการ การดูแล และพฤติกรรมบริการคนทุกคนต้องเป็นผู้ปฏิบัติในกระบวนการ ให้เกิดคุณภาพได้ หัวหน้าต้องเป็นผู้รับประกันว่าลูกน้องมีความสามารถในกิจที่ควรทำ โดยจัดการให้ มีวิธีการปฏิบัติที่ใช้ในกระบวนการ กำหนดคุณสมบัติของคนที่เหมาะสม คัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนดและฝึกอบรมให้ได้ตามคุณสมบัติที่กำหนด โ
ระบบมาตรฐาน(ISO)
มาตรฐาน ISO ๙๐๐๐
มาตรฐาน ISO ๙๐๐๐ คือชุดของมาตรฐาน(อนุกรมมาตรฐาน) ระหว่างประเทศเป็นมาตรฐาน สากลสำหรับระบบคุณภาพ(Quality System) ประเทศไทยประกาศใช้เป็นมาตรฐาน “อนุกรมมาตรฐาน มอก. ๙๐๐๐” เป็นมาตรฐานระดับชาติ
ประโยชน์ของมาตรฐาน ISO ๙๐๐๐
นอกจากสร้างความน่าเชื่อถือและสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าแล้วยังเป็นการประชาสัมพันธ์ว่า สินค้าหรือบริการขององค์การมีคุณภาพ ISO ๙๐๐๐ ยังเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพในการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การด้วย
มาตรฐาน ISO ๑๔๐๐๐
แนวคิด
การจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นผลสืบเนื่องมาจากแนวความคิดที่ว่า “ธุรกิจและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการควบคู่กันไปเพื่อให้เกิดการพัฒนาธุรกิจแบบยั่งยืน(Sustainable Management) โดย เฉพาะภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
มาตรฐาน ISO ๑๘๐๐๐
มาตรฐาน ISO ๑๘๐๐๐ หรือ OH & S ที่ถูกกำหนดขึ้นมานั้น จะอาศัยมาตรฐาน BS ๘๘๐๐ : Occupational Health and Safety Management System ของประเทศอังกฤษเป็นต้นแบบ ซึ่งเป็นเพียงมาตรฐานคำแนะนำเท่านั้น
มาตรฐาน ISO ๒๖๐๐๐
มาตรฐาน ISO ๒๖๐๐๐ เป็นมาตรฐานที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดย ISO (the International Organization for Standardization) เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับองค์กรต่าง ๆ ในการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นกับองค์กร ซึ่งมาตรฐานนี้ จะมีลักษณะเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินงาน (Guidance) ไม่ใช่ข้อกำหนด (Requirements)
๔.การบริหารความเสี่ยง(RM)
ความเสี่ยง(Risk)
คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง มีโอกาสที่จะประสบความสูญเสียหรือสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การบาดเจ็บ ความเสียหาย เหตุร้าย การเกิดอันตราย สูญเสียทรัพย์สิน สูญเสียชื่อเสียง ภาพลบขององค์กรและบุคลากร เกิดความไม่แน่นอน การไม่พิทักษ์สิทธิหรือศักดิ์ศรีหรือเกิดความสูญเสียจนต้องมีการชดใช้ค่าเสียหาย
การบริหารความเสี่ยง
คือการบริหารจัดการที่วางแผนสำหรับมองไปข้างหน้าและมีกิจกรรมเพื่อป้องกันความล้มเหลวที่เกิดขึ้น
วัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยง
๑. เพื่อให้เกิดการรับรู้ ตระหนัก เข้าใจและหาวิธีการจัดการที่เหมาะสมให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
๒. เพื่อสร้างกรอบแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้บริหารจัดการความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
๓. เพื่อเพิ่มคุณค่าให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร
๔. เพื่อให้มีระบบการติดตามผลการดำเนินการบริหารความเสี่ยงและเฝ้าระวังความเสี่ยงใหม่ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้
ประโยชน์ของการบริหารความเสี่ยง
ประกอบด้วย
๑. ได้ปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจ
๒. ได้ปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานทั้งภายในองค์กรและกับภายนอกองค์กร
๓. ได้ปรับปรุงระบบการสื่อสารและการแบ่งปันความรู้ในองค์กร
๔. มีระบบรายงานการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมทั้งภายในองค์กรและการนำเสนอสู่ภายนอก
๕. มีการจัดสรรทรัพยากรไปบริหารความเสี่ยงในจุดที่ถูกต้อง
กระบวนการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วย ๕ ขั้นตอน
๑. การค้นหาความเสี่ยง(Risk indentification)
๑.๑ สำรวจความเสี่ยงของหน่วยงาน จะหาความเสี่ยงได้อย่างไร
-หลังเกิดเหตุการณ์ไม่พึ่งประสงค์ มองอดีต มีเหตุการณ์รุนแรงอะไรบ้าง จากสถิติ หรือบทเรียนของคนอื่น กิจกรรมทบทวน อุบัติการณ์
-ก่อนเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ มองปัจจุบัน โดยสำรวจโครงสร้างทางกายภาพ ติดตามการไหลเวียนของบุคลากร สังเกตการณ์ทำงาน และวิเคราะห์ระบบงาน มองอนาคต โดยมีระบบรายงานอุบัติการณ์และเฝ้าระวังความเสี่ยง
๑.๒ ระบุความเสี่ยงอย่างไร
๑.๓ เทคนิคที่ใช้ระบุความเสี่ยง
๑.๔ การจำแนกประเภทความเสี่ยงภายในโรงพยาบาล
๑. ความเสี่ยงทั่วไป(Non Clinical Risk)
๒. ความเสี่ยงทางคลินิก(Common Clinical Risk)
๓. ความเสี่ยงทางคลินิกเฉพาะโรค(Specific Clinical Risk)
๑.๕ ประเภทของเหตุการณ์ที่มีความเสี่ยง
๒. การประเมินความเสี่ยง
๑) การกําหนดเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน
๒. การประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยง
๓. การวิเคราะห์ความเสี่ยง
๔. การจัดลําดับความเสี่ยง
๓. การจัดการความเสี่ยง
๑) การยอมรับความเสี่ยง
๒) การลด/การควบคุมความเสี่ยง
๓) การกระจายความเสี่ยง หรือการโอนความเสี่ยง
๔) หลีกเลี่ยงความเสี่ยง
๔. การติดตามและการประเมินผล
๕.การเชื่อมโยงการใช้ RM, QA , CQI และการวิเคราะห์ก้างปลา(Fish bone)
ผังก้างปลา (Fish Bone Diagram) หรือแผนผังอิชิกาว่า (Ishikawa Diagram) เป็นแผนผังที่ใช้แสดงความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบระหว่างสาเหตุหลายๆ สาเหตุที่เป็นไปได้ที่ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาหนึ่งปัญหา
ประโยชน์
๑. ช่วยให้วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาได้อย่างมีเหตุผล เจาะลึกถึงสาเหตุรากเหง้า (root cause)
๒. ใช้ศึกษา ทำความเข้าใจ หรือทำความรู้จักกับกระบวนการอื่น ๆ เพราะว่าโดยส่วนใหญ่พนักงานจะรู้ปัญหาเฉพาะในพื้นที่ของตนเท่านั้น แต่เมื่อมีการ ทำผังก้างปลาแล้ว จะทำให้เราสามารถรู้กระบวนการของแผนกอื่นได้ง่ายขึ้น
๓. ใช้เป็นแนวทางในการระดมสมอง ซึ่งจะช่วยให้ทุกๆ คนให้ความสนใจในปัญหาของกลุ่มซึ่งแสดงไว้ที่หัวปลา
วิธีการสร้างแผนผังก้างปลา
๑.กำหนดประโยคปัญหาที่ต้องแก้ไขมาเขียนไว้ที่หัวปลา
๒.เขียนลูกศรชี้ที่หัวปลาแทนกระดูกสันหลังของปลา
๓.เขียนก้างใหญ่ให้ลูกศรวิ่งเข้าสู่กระดูกสันหลัง เพื่อระบุถึงกลุ่มใหญ่ของสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา
๔.เขียนก้างกลางแยกออกจากก้างใหญ่เพื่อแสดงสาเหตุของก้างใหญ่-เขียนก้างเล็กแยกออกจากก้างกลางเพื่อแสดงสาเหตุของก้างกลาง-เขียนก้างย่อยแยกออกจากก้างเล็กเพื่อแสดงสาเหตุของก้างเล็ก
๕.ระดมสมองหาสาเหตุของปัญหา
วิธีการสร้างผังก้างปลาอาจใช้หลักทางการบริหารมาการกำหนดปัจจัย
ประกอบด้วย
M Man คนงาน หรือพนักงาน หรือบุคลากร
M Machine เครื่องจักรหรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวก
M Material วัตถุดิบหรืออะไหล่ อุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในกระบวนการ
M Method กระบวนการทำงาน
E Environment อากาศ สถานที่ ความสว่าง และบรรยากาศการทำงาน