Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ, นางสาว อรพิมล ปิ่นปี…
บทที่ 8 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ
ระบบทางเดินหายใจ
ขบวนการแลกเปลี่ยน gas เกิดที่ถุงลม จึงต้องส่งออกซิเจนไปให้ถึงใหได้อย่างเพียงพอ
อัตราการหายใจของเด็กในแต่ละวัย
ต่ำกว่า 2 เดือน ไม่เกิน 60 ครั้ง/นาที
2-12 เดือน ไม่เกิน 50 ครั้ง/นาที
1-5 ปี ไม่เกิน 40 ครั้ง/นาที
ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดง (O2 saturation) มากกว่า95-100 %
การหายใจมีปีกจมูกบาน (nasal flaring)
เป็นลักษณะของการหายใจลำบาก
ขณะหายใจเข้ามีการบานออกของปีกจมูกทั้งสองข้าง
เพื่อช่วยขยายท่อทางเดินหายใจให้อากาศที่หายใจเข้าเพียงพอต่อความต้องการ
ขณะหายใจเข้ามีการยุบลง (retraction)
ของกระดูกหน้าอก (sternal retraction) ช่องระหว่างซี่โครง (costal retraction) และใต้ซี่โครง (subcostal retraction)
เสียงหายใจผิดปกติ
เกิดจากการที่ลมผ่านเข้าไปในท่อทางเดินหายใจที่
มีความผิดปกติ
ประกอบด้วย
stridor sound
เกิดจากมีการตีบแคบของบริเวณกล่องเสียงหรือ
หลอดลม
ได้ยินตอนหายใจเข้าและออก ระดับเสียงสูง
ลักษณะคล้ายเสียงคราง เป็นเสียงที่ได้ยินติดต่อกันและอาจได้ยินโดยไม่ต้องใช้หูฟัง
พบในกลู่มอาการของเด็กที่เป็น croup
acute laryngitis
laryngotracheitis
crepitation sound
เป็นเสียงแตกกระจายเป็นช่วงๆ
เกิดจากการที่ลมผ่านท่อทางเดินหายใจที่มีน้ำหรือเสมหะ
พบได้ในภาวะปอดอักเสบ (pneumonia)
rhonchi sound
เป็นเสียงที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีการไหลวนของอากาศผ่านเข้าไปในส่วนของทางเดินหายใจที่ตีบแคบกว่าปกติ
เกิดจากเสมหะอุดตันเยื่อบุทางเดินหายใจบวม
wheezing
เป็นเสียงที่มีความถี่สูงหรือเสียงหวีด
ได้ยินชัดในช่วงหายใจออก
เกิดจากหลอดลมเล็กๆ หรือ หลอดลมฝอยเกิดการบีบเกร็ง
เสียงหายใจที่ผิดปกติเหล่านี้ เป็นเครื่องแสดงว่าผู้ป่วยได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
เสมหะ
กลไกการสร้างเสมหะ
กลไกการขจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจ
กระบวนการสร้างสารมูก Mucous
การพัดโบกของขนกวัด Cilia
กลไกการไอ Cough Reflex
สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อ
ต่อมสร้างสารคัดหลั่ง (mucus gland)
จะสร้าง mucous เพิ่มมากขึ้น ทำให้เสมหะมากขี้น
มีการทำลายเซลล์เยื่อบุหลอดลมและทำลาย Cilia เพิ่มมากขึ้น
จำนวน Cilia ก็จะลดน้อยลง
ทำให้เสมหะมีปริมาณมากและเหนียวข้นและจะถูกพัดพาออกจากทางเดินหายใจ
ทำให้เกิดการคั่งค้างของเสมหะในหลอดลมเพิ่มมากขึ้น
ถ้าพบว่าอากาศเย็น การพัดโพกของ cilia จะไม่มีประสิทธิภาพ
การไออย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นกลไกที่จะช่วยป้องกันไม่ให้มีการคั่งค้างของเสมหะในหลอดลม
สาเหตุที่ต้องเพิ่มน้ำให้ผู้ป่วยที่มีเสมหะ
ช่วยให้ความชุ่มชื้นต่อทางเดินหายใจ ทำให้เสมหะเหนียวน้อยลงขับออกได้ดี
ทำให้ Cilia ทำหน้าที่ในการพัดโบกได้ดีขึ้น
ปริมาณน้ำต่อความต้องการ
ประเมินจากสีของปัสสาวะถ้าขาดน้าปัสสาวะจะเข้มและการขาดน้ำผู้ป่วยจะมีอาการปากแห้ง
ลักษณะของเสมหะ
เสมหะเหนียว
เสมหะเป็นมูกคล้ายแป้งเปียก อยู่ติดรวมกันเป็นก้อน
เสมหะไม่เหนียว
เสมหะมีลักษณะเป็นเมือกเหลว มีความยืดและความหนืดน้อย ไม่รวมตัวกันเป็นก้อน
Croup
เป็นกลุ่มอาการอุดกลั้นทางเดินหายใจส่วนบนบริเวณกล่องเสียง(larynx)และส่วนท่อที่อยู่ใต้ลงมา
สาเหตุเนื่องมาจากมีการอักเสบ
ฝาปิดกล่องเสียง (acute epiglottitis)
กล่องเสียง (acute laryngitis)
กล่องเสียง หลอดลมใหญ่ และหลอดลมฝอยในปอด (Laryngotracheobronchitis)
อาการ
inspiratory stridor หายใจเข้ามีเสียงฮืด
ไอเสียงก้อง
ไข้ เจ็บคอ หายใจลำบาก
อาการน้ำลายไหล (drooling)
ไม่ตอบสนองต่อการพ่นยาทั่วไป
ส่วนใหญ่จะพ่น Adrenaline ต้องใส่ Endotracheal tube
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อ
Virus
Bacteria
H.influenzae
ปัญหาสำคัญที่ต้องดูแล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจากมีการอุดกลั้นทางเดินหายใจ
Tonsilitis / Pharyngitis
สาเหตุ
การติดเชื้อ แบคที่เรีย ไวรัส
Beta Hemolytic streptococcus gr. A
อาการ
ไข้ ปวดศีรษะ ไอ เจ็บ คอ ในรายที่มีตุ่มใสหรือแผลตื้นที่คอหอย หรือเพดานปาก
สาเหตุจะเกิดจาก Coxsackie Virus เรียกว่า Herpangina
คำแนะนำที่สำคัญคือ ให้กินยา Antibiotic ให้ครบ 10 วัน
เพื่อป้องกันไข้รูห์มาติค และหัวใจรูห์มาติค
การผ่าตัด
จะทำเมื่อมีอาการของการติดเชื้อเรื้อรัง หรือเป็นๆหายๆ
มีไข้ เจ็บคอ เจ็บ คอมากเวลากลืนหรือกลืนลำบาก อย่างเรื้อรังหรือเป็นๆหายๆ
มีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดอาการนอนกรน
มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
สงสัยว่าเป็นมะเร็งของต่อมทอนซิล
การดูแลหลังผ่าตัด
ให้เด็กนอนตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อสะดวกต่อการระบายเสมหะ น้ำลายหรือโลหิตอาจมีคั่งอยู่
สังเกตอาการและการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด
ถ้ารู้สึกตัวให้อยู่ในท่านั่ง 1-2 ชม
ให้อมน้ำแข็งก้อนเล็ก รับประทานอาหารเหลว
ถ้าปวดแผลผ่าตัด ให้ใช้กระเป๋าน้ำแข็งวางรอบคอ หรือถ้าปวดมาก ก็ให้ยาแก้ปวด
ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)
เป็นอาการอักเสบของโพรงอากาศข้างจมูก
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อ ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา
เมื่อติดเชื้อจะทำให้เกิดการบวมของเยื้อบุในโพรงอากาศ และทำให้เกิดภาวะอุดตันช่องระบายของโพรงอากาศข้างจมูก
ความดันในโพรงอากาศเป็นลบ เมื่อมีการจาม สูดหรือสั่งน้ำมูก จะทำให้เชื้อแบคทีเรียบริเวณ nasopharynx เข้าโพรงอากาส
การติดเชื้อทำให้ cilia ผิดปกติ และมาสารคัดหลั่งออกมามาก
ระยะของโรค
Acute sinusitis ระยะของโรคไม่เกิน 12 สัปดาห์
Chronic sinusitis อาการจะต่อเนื่องเกิน12สัปดาห์
มีไข้สูงมากกว่า 39 ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว มีน้ำมูกไหล ไอ
การดูแลรักษา
ให้ยา antibiotic ตามแผนการรักษา
ให้ยาแก้ปวดลดไข้ และบรรเทาอาการปวดศีรษะ
ให้ยาแก้แพ้เฉพาะ ไซนัสอักเสบเรื้อรั้งที่มีสาเหตุชัก
ให้ยา Steroid เพื่อลดอาการบวม ลดการคั่งของเลือด
การล้างจมูก
ล้างจมูกวันละ 2-3 คร้ัง
น้ำที่ใช้ล้างคือ น้ำเกลือ0.9% NSS เนื่องจากมีคุณสมบัติช่วยลดความเหนียวของน้ำมูก
หอบหืด Asthma
เป็นภาวะที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม
การอักเสบของหลอดลมมีผลทำให้เยื่อบุผนังหลอดลม มีปฏิกริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้มากกว่าปกติ
กระตุ้นทำให้เกิดพยาธิสภาพ 3 อย่าง
ทำให้หลอดลมหดเกร็งตัว
2.ทำให้หลอดลมตีบแคบลง เยื่อบุภายในหลอดลมบวมขึ้น
3.สร้างเมือกเหนียวจำนวนมาก ทำให้ช่องทางเดินอากาศในหลอดลมแคบลง
การดูแลจึงต้องให้ผู้ป่วยได้รับยาขยายหลอดลม ได้รับออกซิเจน ให้พัก เพื่อลด activity
ได้ยาลดอาการบวม เช่น Dexa ซึ่งเป็นยา Steroid
อาการ
หวัด ไอ มีเสมหะ ถ้าไอมากจะเกิดเสียงWheezing ในช่วงหายใจออก
ถ้าร่างกายขาดออกซิเจน จะเกิดอาการหอบมาก ปากซีด ใจสั่น
ความรุนแรง
ขั้นเล็กน้อย
เริ่มไอ มีเสียงวี้ด เล่นซน ทานอาหาร นอน ได้ตามปกติ
ขั้นปานกลาาง
ตื่นกลางคืนบ่อยๆ เล่นซนได้น้อย ขณะเล่นมักมีเสียงไอ หรือเสียง Wheezing ไปด้วย
ขั้นรุนแรง
กระสับกระส่าย เล่นซนไม่ได้ เหนื่อยหอบจนพูดหรือกิินไม่ได้ รอบริมฝีปากเขียว
การรักษา
ยาขยายหลอดลม
ชนิดพ่น
ได้ผลเร็ว ช่วยให้หายใจโล่งขึ้น เพราะช่วยขยายกล้ามเนื้อเล็กๆ
ชนิดรับประทาน
ยาลดอาการบวม
ใช้ระยะสั้นๆ 3-5 วัน เพื่อรักษาและป้องกันไม่ให้โรครุนแรง
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
ควันบุหรี่
เพราะเป็นตัวกระตุ้นทำให้กิดอาการหอบ
ตัวไรฝุ่น
ไม่ควรมีตุ๊กตาที่มีขนในห้องนอน
ไม่นำสัตว์เลี้ยงเข้าห้องนอน
การออกกำลังกาย
ถ้าควบคุมโรคได้ก็สามารถออกได้ปกติ แต่จะห้ามในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้
อากาศเย็น
เพราะอากาสเย็นมีผลต่อการพักโบกของ cilia
การใช้ baby haler
ต้องล้างทำความสะอาดบ่อยๆ หลังใช้ทุกครั้ง
สอนให้ผู้ป่วยพ่นยาทิ้ง 1 ครั้ง เพื่อให้ยาจับผนังของ Spacer ก่อน เพื่อที่ครั้งต่อไปยาก็จะเข้าผู้ป่วย
หลอดลมอักเสบ ( Bronchitis)หลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis)
เป็นปัญหาติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง
เกิดจากการอักเสบและอุดกลั้นของหลอดลม
เชื้อที่เป็นสาเหตุ
Respiratory syncytial virus : RSV
จะพบได้เยอะในเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่
กลไกการเกิด
เชื้อไวรัสทำลายเนื้อเยื่อของหลอดลมฝอย ทำให้เกิดการอักเสบ บวม และมีการคั่งของเสมหะเกิดการอุดกั้น ผลที่ตามมาคือ Atelectasis
อาการ
เป็นไข้หวัด มีน้ำมูกใส จาม เบื่ออาหาร เริ่มไอ ร้องกวน หายใจเร็ว หอบ หายใจมีปีกจมูกบาน ดูดนมหรือน้ำน้อยหรือไม่ได้เลย
การรักษา
ให้ยาลดไข้ ยาปฏิชีวนะ ยาต้านการอักเสบ ยาขยายหลอดลม
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
ดูแลเสริมสร้างภูมิต้านทานให้อาหารที่มีประโยชน์
ปอดบวม Pneumonia
สาเหตุ
สำลักสิ่งแปลกปลอม ติดเชื้อ แบคทีเรีย ไวรัส
อาการ
ไข้ ไอ หอบ ดูดน้ำลดลง ซึม
เกณฑ์องค์การอนามัยโลก
เด็กแรกเกิดอัตราการหายใจที่มากกว่า 60 คร้ังต่อนาที
เด็กอายุ2 เดือนถึง 1 ปี อัตราการหายใจที่มากกว่า 50 คร้ังต่อนาที
เด็กอายุ1-5 ปี อัตราการหายใจที่มากกว่า 40 คร้ังต่อนาที
การรักษา
ดูแลให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
ดูแลเรื่องไข้ Clear airway suction เพื่อให้แลกเปลี่ยนออกซิเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดูแลแก้ไขปัญหาพร่องออกซิเจน
ให้ยาขยายหลอดลม
ยาขับปัสสาวะ
ยาฆ่าเชื้อ
การพยาบาล
เด็กโตต้องสอนไออย่างถูกวิธี กระตุ้นให้ดื่มน้ำมากๆ
รายที่เสมหะอยู่ลึกให้ Postural drainage โดยการเคาะปอดและ Suction เพื่อป้องกันภาวะปอดแฟบ
จัดให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง หรือนอนทับข้างที่มีพยาธิสภาพเพื่อให้ปอดข้างที่ดีได้ขยายตัว
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
การระบายเสมหะ
องค์ประกอบ
การจัดท่าผู้ป่วย
จัดให้ส่วนของปอดที่ต้องระบาย อยู่เหนือกว่าหลอดลม และปาก
ทำให้เสมหะไหลออกมา โดยกระตุ้นให้ไอ หรือ suction ออกมา
อยู่ส่วนหน้า Anterior ให้จัดท่านอนหงาย
อยู่ส่วนหลัง Posterior ให้จัดนอนคว่ำ
อยู่ด้านซ้ายนอนตะแคงขวา อยู่ด้านขวาตะแคงซ้าย
อยู่ส่วนบนนอนหัวสูง อยู่ส่วนล้างนอนหัวต่ำ
การเคาะ
ใช้อุ้งมือ ที่เรียกว่า cupped hand เคาะบริเวณทรวงอกส่วนที่ได้รัการจัดท่า
ใช้ผ้ารองบนส่วนที่จะเคาะ ท่าละ 1 นาที
ถ้าผู้ป่วยไอให้หยุดเคาะ แต่ใช่การสั่นสะเทือนแทน
เคาะก่อนรับประทานอาหาร หรือขณะท้องว่าง หรือหลังทานอาหาร 2 ชม
การสั่นสะเทือน
ใช้มือวางราบพร้อมเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณต้นแขน และหัวไหล่ ในจังหวะหายใจเข้า และหายใจออก
การสอนการไออย่างมีประสิทธิภาพ
ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าเต็มที่ช้าๆ กลั้นไว้ และไอออกมาโดยเร็วและแรง
การพ่นยาในเด็ก และประโยชน์
ทำให้เสมหะเหนียวน้อยลง
ง่ายต่อการระบายออกจากปอด
เพิ่มประสิทธิภาพการไอได้ง่ายขึ้น
ให้ความชุ่มชื้นแก่อากาศหรือก๊าซที่หายใจเข้า
เป็นทางในการบริหารยาทางระบบหายใจ
ข้อปฏิบัติในการพ่นยาแบบละออง
ไม่ควรให้เด็กร้อง
เพราะยาจะเข้าสู่ปอดน้อยลง
ใช้มือประคองกระเปาะยาไว้
เพื่อให้อุณหภูมิคงที่
เคาะกระเปาะยาเป็นระยะ
เพื่อไม่ให้ยาตกค้าง พ่นจนกว่ายาจะหมด ใช้เวลา 10 นาที
ถ้าไม่เห็นละอองยา หรือ ยาออกไม่เท่าที่ควร
ต้องสำรวจเครื่องพ่นยา
เปิดออกซิเจน 6-8 ลิตรต่านาที
face mask
เป็นออกซิเจนแบบหน้ากากครอบบริเวณจมูกและปาก
เหมาะกับการให้ในระดับปานกลาง ความเข้มข้นประมาณ 35%-50%
เปิดออกซิเจน flow rate 5-10 lit/min ไม่ควรให้น้อยกว่า 5 lit/min
เพื่อป้องกันการคั่งคาร์บอนไดออกไซด์ใน mask
Nasal cannula
ให้ออกซิเจนที่ต้องการความเข้มข้นไม่สูงมาก
ปรับอัตราการไหลไม่เกิน 2 lit/mim ส่วนในเด็กโตจะปรับที่ 2 lit/mim
ไม่ควรปรับการไหลของออกซิเจนที่สูงเกินไป
เพราะจะทำให้เยื่อจมูกแห้ง และระคายเคือง
ข้อดี
ประหยัด
ยึดติดกับผู้ป่วยง่าย
สามารถให้นม และอาหารได้ โดยไม่หยุดออกซิเจน
ข้อจำกัด
ห้ามผู้ป่วยมีน้ำมูกมาก
เยื่อบุจมูกบวม
ผนังจมูกเอียง
Oxygen hood/Box
เป็นกล่องพลาสติก วางครอบศีรษะ
ความเข้มข้นของออกซิเจนประมาณ 30%-70%
เปิดออกซิเจนอย่างน้อย 7 lit/min
เพื่อป้องกันการคั่งของกาซคาร์บอนไดออกไซด์
ถ้า Hood เล็ก
เปิด 3-5 lit/min ไม่ควรลด flow rate ลงเหลือน้อยกว่า 3 lit/min
เพื่อป้องกันการคั่งของกาซคาร์บอนไดออกไซด์
หลักการให้คำแนะนำในการดูแลเด็ก
การดูแลเด็กที่มีปัญหาพร่องออกซิเจน
หลักสำคัญ
แก้ไขเส้นทางผ่านของออกซิเจน
เพื่อให้ออกซิเจนลงไปจุดที่มีการแลกเปลี่ยนกาซได้
ถ้าบวม ให้ยาลดอาการบวม
ถ้าอักเสบติดเชื้อให้ยา ATB
ถ้าตีบให้ยาขยาย
ถ้ามีเสมหะ ให้เอาเสมหะออก หรือลดไม่ให้สร้างขึ้น
การให้ออกซิเจน เลือกตามความเหมาะสมของเด็ก
เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
นางสาว อรพิมล ปิ่นปี เลขที่ 60 36/2 612001141