Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของทางเดินอาหาร - Coggle Diagram
ความผิดปกติของทางเดินอาหาร
ท้องผูก
(Constipation)
ความหมาย
เป็นอาการถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติหรือถ่ายอุจจาระไม่ออกเป็นเวลานาน ซึ่งพฤติกรรมและความถี่ในการถ่ายอุจจาระปกติของแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกัน แต่ในทางการแพทย์มักหมายถึงการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
อาการ
ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์หรือน้อยกว่าปกติที่เคยเป็น
อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง เป็นเม็ดเล็ก ๆ
รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่ออก หรือถ่ายได้ไม่สุด
ถ่ายอุจจาระออกได้ยาก ต้องใช้แรงเบ่งมากหรือใช้มือช่วยล้วง อาจมีอาการเจ็บขณะถ่ายอุจจาระร่วมด้วย
ท้องอืด ปวดท้อง หรือปวดเกร็งบริเวณหน้าท้อง
สาเหตุของอาการท้องผูก
ปัจจัยส่งเสริมนอกจากการทำงานของลำไส้และการขับถ่าย (Secondary Constipation)
การอุดกั้นของทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็นก้อนเนื้อหรือมะเร็งมากด หรือรวมไปถึงการตีบแคบของลำไส้จากพังผืดหรือการผ่าตัด
โรคทางระบบต่อมไร้ท่อต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ
ความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย เช่น ภาวะ โพแทสเซียมต่ำ ภาวะแคลเซียมสูง
ยาบางประเภท เช่น ยาแก้ปวดกลุ่มที่มีมอร์ฟีน ยารักษาความดันโลหิตบางกลุ่ม ยารักษาอาการทางจิตเวช ยารักษามะเร็งบางชนิด ยาแก้ท้องเสีย รวมไปถึงยาลดการเกร็งของทางเดินอาหาร ยาลดกรดหรือยาเคลือบกระเพาะ รวมไปถึงยาบำรุงที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ
โรคทางระบบประสาท เช่น ภาวะการบาดเจ็บของกระดูกและไขสันหลัง พาร์กินสัน เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก ผู้ป่วยนอนติดเตียง
ความผิดปกติของการทำงานของลำไส้และการขับถ่าย (Primary Constipation)
ท้องผูกชนิดที่มีการเคลื่อนไหวตัวของลำไส้ปกติ หรืออาจจะเรียกกลุ่มนี้ว่า ลำไส้แปรปรวนได้ ซึ่งจะพบได้ประมาณเกือบครึ่งหนึ่งของท้องผูกในกลุ่มนี้ และอาจจะพบว่า มีการรับรู้ความรู้สึกไวของลำไส้ตรงได้ในกลุ่มนี้
ท้องผูกชนิดที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการขับถ่าย พบประมาณ 1/3 ของท้องผูกในกลุ่มนี้ ซึ่งเกิดจากการที่กล้ามช่องท้องที่ใช้ช่วยในการเบ่งมีแรงไม่เพียงพอ การที่กล้ามเนื้อหูรูดทำงานไม่สัมพันธ์กับการเบ่งถ่ายอุจจาระ โดยมีการเกร็งตัวหรือไม่คลายตัวดีพอขณะทำการเบ่งถ่าย
ท้องผูกชนิดที่ลำไส้มีภาวะเคลื่อนไหวตัวช้ากว่าปกติ พบได้น้อยที่สุดในกลุ่มนี้
พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันบางอย่างหรือปัจจัยบางประการอาจเอื้อต่อการเกิดอาการท้องผูกได้ง่ายมากขึ้น
การอั้นอุจจาระ
รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย
มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย
น้ำหนักตัวมากหรือน้อยเกินไป
ดื่มน้ำน้อย
ความเครียดหรือความกดดัน
ปัญหาทางด้านจิตใจ
มีภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
อยู่ในวัยผู้สูงอายุ
การวินิจฉัยอาการท้องผูก
การตรวจทางทวารหนัก
เป็นการตรวจค้นหาโรคที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการท้องผูกขึ้น
การตรวจเลือด
เป็นการตรวจที่ช่วยให้แพทย์สามารถค้นหาได้ว่าอาการท้องผูกเกิดมาจากสาเหตุทั่วไปหรือไม่
การเอกซเรย์ช่องท้อง
เป็นการถ่ายภาพทางรังสีในบริเวณลำไส้ส่วนปลายและทวารหนักของผู้ป่วย
การตรวจการทำงานของลำไส้ส่วนปลายและกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก
เป็นการตรวจหาความผิดปกติในการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนควบคุมการขับถ่าย
การส่องกล้องตรวจ
เป็นการตรวจดูการทำงานของลำไส้ใหญ่บางส่วน (Sigmoidoscopy) หรือลำไส้ใหญ่ทั้งหมด (Colonoscopy) ด้วยกล้องเฉพาะทางการแพทย์
การตรวจวัดกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก
แพทย์จะมีการสอดท่อที่มีบอลลูนขนาดเล็กติดอยู่ที่ปลายอุปกรณ์เข้าไปทางทวารหนัก แล้วให้ผู้ป่วยพยายามใช้แรงเบ่งออกมา
การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะท้องผูก
แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางส่วน
รับประทานอาหารที่มีกากใยสูงอย่างน้อย 18-30 กรัมต่อวัน โดยเฉพาะผักและผลไม้สด ธัญพืช หรือเติมสารเพิ่มปริมาณ (Bulking Agents) ในอาหารที่รับประทาน เช่น รำข้าวสาลี เพื่อช่วยให้อุจจาระมีความอ่อนตัวมากขึ้นและง่ายต่อการขับถ่าย
ดื่มน้ำอย่างน้อย 2 ลิตร เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะการขาดน้ำ และไม่ทำให้อุจจาระแข็งจนเกินไป
ออกกำลังกายด้วยการเดินเป็นระยะเวลา 10-15 นาที วันละหลาย ๆ ครั้ง เพื่อฝึกกล้ามเนื้อให้ทำงานได้เป็นปกติ
ปรับพฤติกรรมการขับถ่ายให้เป็นเวลาในแต่ละวัน ไม่ควรมีการอั้นอุจจาระหรือรีบร้อนในการขับถ่าย
ไม่ควรใช้ยาระบายติดต่อกันเกิน 1 สัปดาห์ และควรมีการปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
ลำไส้บวมและโป่งพอง (Acquired megacolon or megarectum)
ปวดท้องเรื้อรัง
Stercoral ulceration: บาดแผลของลำไส้ใหญ่ซึ่งเกิดจากการที่มีอุจจาระที่ค่อนข้างแข็งอยู่ภายในลำไส้ใหญ่ แล้วไม่สามารถขับถ่ายออกมาได้
ท้องเสีย
(Diarrhea)
ความหมาย
เป็นอาการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำมากกว่าปกติ หรือในบางครั้งถ่ายเป็นมูกปนเลือด มักเกิดจากการติดเชื้อหรือภาวะอาหารเป็นพิษ หลังจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป โดยอาการจะเกิดขึ้นในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน
อาการท้องเสีย
ถ่ายอุจจาระเหลว ถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไปถ่ายบ่อยกว่าปกติของแต่ละคนหรือถ่ายเป็นมูกปนเลือด 1 ครั้งหรือมากกว่านั้นภายใน 24 ชั่วโมงในบางรายอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อ่อนเพลีย รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว และมีไข้
สาเหตุของท้องเสีย
ท้องเสียแบบเฉียบพลัน
อาการท้องเสียแบบเฉียบพลับมักเกิดจากโรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ เนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อปรสิต
การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียที่มักปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร และก่อให้เกิดอาการท้องเสียตามมา ได้แก่ เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เชื้อซาลโมเนลลา เชื้อชิเกลลา และเชื้ออีโคไล
การติดเชื้อไวรัส มีไวรัสหลายชนิดที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสีย เช่น โรต้าไวรัส โนโรไวรัส ไซโตเมกาโลไวรัส เฮอร์พีส์ซิมเพล็กซ์ไวรัส ไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น โดยโรต้าไวรัสเป็นสาเหตุของการเกิดอาการท้องเสียในเด็กมากที่สุด ซึ่งสามารถหายได้ภายใน 3-7 วัน แต่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาในการย่อยและดูดซึมแล็กโทสที่พบในน้ำนมได้
การได้รับเชื้อปรสิต เชื้อปรสิตสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านอาหารและน้ำที่ปนเปื้อน และอาศัยอยู่ในระบบย่อยอาหารของคนเรา เชื้อปรสิตที่มักพบ คือ เชื้อไกอาเดีย เชื้อแอนตามีบาฮิสโตลิติกาหรือเชื้อบิดอะมีบา และเชื้อคริปโตสปอริเดียม
ท้องเสียแบบเรื้อรัง
อาการท้องเสียที่เกิดขึ้นติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป จะถือเป็นอาการท้องเสียเรื้อรัง
โรคในระบบทางเดินอาหารและโรคลำไส้ผิดปกติ เช่น โรคโครห์น โรคลำไส้อักเสบ โรคเซลิแอคหรือแพ้กลูเตน โรคลำไส้แปรปรวน โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
อาหาร บางคนอาจมีปัญหาในการย่อยสารอาหารบางประเภท อย่างการขาดน้ำย่อยสำหรับย่อยน้ำตาลแล็กโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่พบมากในนมหรือผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนม นอกจากนี้ การรับประทานสารทดแทนความหวานในปริมาณมากก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียได้เช่นกัน
การตอบสนองต่อยาบางประเภท ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคมะเร็ง รวมถึงยาลดกรดที่มีแมกนีเซียม สามารถทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
การผ่าตัด อาการท้องเสียอาจเกิดขึ้นหลังจากเข้ารับการผ่าตัดบางชนิด อย่างการผ่าตัดลำไส้ หรือการผ่าตัดนำถุงน้ำดีออกไป
การวินิจฉัยอาการท้องเสีย
การตรวจเลือด ตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยจะถูกนำไปตรวจสอบ เพื่อหาสัญญาณของโรคหรือความผิดปกติที่อาจเป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย
การตรวจอุจจาระ ผู้ป่วยจำเป็นต้องเก็บตัวอย่างอุจจาระของตนเอง เพื่อให้ทางแพทย์นำไปตรวจหาเลือด เชื้อโรค หรือสัญญาณของโรคที่อาจเป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย
การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร คือ การสอดกล้องเข้าไปทางปากแล้วตรวจอวัยวะต่าง ๆ ของระบบย่อยอาหาร เพื่อหาสาเหตุของอาการท้องเสีย
ภาวะแทรกซ้อนของอาการท้องเสีย
ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
โรคลำไส้แปรปรวน
ภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง
กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกยูรีเมีย หากท้องเสียจากการติดเชื้อบางชนิด
ร่างกายส่วนอื่นตอบสนองต่อการติดเชื้อในทางเดินอาหารจนเกิดการอักเสบตามไปด้วย
การติดเชื้อลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย
การปฏิบัติตนเมื่อท้องเสีย
ในผู้สูงอายุ หากมีท้องเสีย 1-2 ครั้ง ควรเริ่มทานผลเกลือแร่สำเร็จรูปได้แล้ว โดยดื่มแทนน้ำเปล่า เป็นการดูแลอาการเบื้องต้นที่ช่วยบรรเทาอาการได้เป็นอย่างดีแต่หากผู้สูงอายุมีอุจจาระมีเลือดปนควรรีบพบแพทย์
ไม่ควรดื่มน้ำเกลือแร่สำหรับการสูญเสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย เครื่องดื่มบำรุงกำลัง หรือน้ำอัดลมที่ผสมเกลือแทนการดื่มน้ำเกลือแร่ เพราะจะไม่ได้ปริมาณเกลือแร่ที่สูญเสียไปตามที่ร่างกายต้องการ
เมื่อหายท้องเสียใหม่ๆ ระบบย่อยอาหารในผู้สูงอายุมักไม่ค่อยดี อาจมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และย่อยอาหารบางอย่างไม่ได้ ดังนั้น หลังจากท้องเสีย 1 สัปดาห์ ควรงดอาหารรสจัด มีแก๊สเยอะ ถั่ว ผลิตภัณฑ์จากนม แต่ควรทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่ายแทน
ไม่จำเป็นต้องทานยาหยุดถ่าย ควรปล่อยให้ถ่ายไป เพราะร่างกายต้องขับของเสียออกมาจนหมดจึงจะหยุดถ่ายไปเองตามธรรมชาติ แต่หากอยู่ในระหว่างการเดินทาง หรือต้องนั่งรถหลายชั่วโมง ก็สามารถทานยาหยุดถ่ายได้ แต่ควรทานเพียง 1 เม็ดเท่านั้น และไม่ควรทานทันทีเมื่อท้องเสีย ควรทานในกรณีที่ท้องเสียติดต่อกันหลายครั้ง และยังไม่หยุดจริงๆ และเมื่อยาหมดฤทธิ์ ร่างกายจะขับของเสียออกมาจนหมดต่อเองตามธรรมชาติ
ไม่จำเป็นต้องทานผงคาร์บอนหรือผงถ่าน เพราะไม่ช่วยให้ดีขึ้น
หากผู้สูงอายุท้องเสียมากๆ จะเกิดอาการแสบก้นหรือก้นเปื่อย ให้ใช้ปิโตรเลียมเจลทาบริเวณดังกล่าว เพื่อช่วยลดอาการแสบ
หลังท้องเสีย 1 สัปดาห์ ควรระวังเรื่องอาหารการกินมากขึ้น เพราะอาจจะท้องเสียซ้ำอีกได้ หากทานอาหารที่ไม่สะอาด หรือรสจัด
การป้องกันไม่ให้เกิดโรคท้องเสีย
การรับประทานอาหารที่ปรุงสุก อาหารที่ปรุงร้อน และ ใช้ช้อนกลาง
รับประทานอาหารไม่มีแมลงวันตอม
ดื่มน้ำสะอาด
ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และหลังจากถ่ายอุจจาระ