Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลบุคคลที่มีความบกพร่องของสติปัญญา และภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง,…
การพยาบาลบุคคลที่มีความบกพร่องของสติปัญญา และภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง
PARKINSON'S DISEASE
สาเหตุ
ร่างกายขาดสารโดปามีนในสมอง
การเสื่อมและตายไปของเซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีน
อาการ
tremor
สั่นมากเวลาอยู่นิ่งๆ แต่ถ้าเคลื่อนไหว หรือยื่นมือทำอะไรอาการสั่นจะลดลงหรือหายไป
rigidity
อาการแข็งตึงของแขนขา และลำตัวทำให้เคลื่อนไหวลำบาก เนื่องจากอาการปวดตามกล้ามเนื้อ
brady kinesia
ทำอะไรช้าลงไปจากเดิมมาก ไม่กระฉับกระเฉงว่องไวเหมือนเดิม เดินช้า และงุ่มง่าม
รายที่เป็นมากขึ้นอาจพบว่าหกล้มบ่อยๆ จนกระดูกต้นขาหัก สะโพกหัก หลังเดาะ แขนหัก หัวแตก เป็นต้น
postural instability
ทรงตัวลำบาก
อาการอื่นๆ
ท่าเดินผิดปกติ : จะเดินก้าวสั้นๆ ต่อมาจะก้าวยาวขึ้นเรื่อยๆ จนเร็วมากและหยุดทันทีทันใดไม่ได้ เดินหลังค่อม แขนไม่แกว่งตามเท้าที่ก้าว
แสดงสีหน้าเฉยเมย : หน้าตาทื่อ พูดก็จะมีมุมปากขยับเพียงเล็กน้อย
เสียงพูดเครือๆ :เสียงเครือๆ และเบา
เขียนตัวหนังสือยากขึ้น: เขียนเล็กลงๆ จนอ่านไม่ออก
การกลอกตากระตุก : กลอกตาได้ลำบากช้า
น้ำลายไหล
ซึมเศร้า และนอนไม่หลับ
การรักษา
ยังไม่มีวิธีการรักษาใด
รักษาโดยการใช้ยา
ยาที่ช่วยชะลออาการ ได้แก่ ยา elegiline (Deprenyl), ยา Levodopa
รักษาตามอาการ ได้แก่ anticholinergic Levodopa
การรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด
การผ่าตัดสมอง
ฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมอง เรียกว่า deep brain stimulation (DBS)
การวินิจฉัยการพยาบาล
มีระดับการช่วยเหลือตนเองลดลงเนื่องจากการเคลื่อนไหวบกพร่อง
ความสามารถในการสื่อสารบกพร่องเนื่องจากอาการสั่นหรือหดเกร็ง ของกล้ามเนื้อริมฝีปากหรือลิ้น
ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอเนื่องจากกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการเคี้ยว และการกลืนอ่อนแรง สั่นหรือหดเกร็ง
ผู้ป่วยและญาติขาดความรู้เรื่องโรคและการรักษา
ALZHEISMER’S
ปัจจัยเสี่ยง
อายุ : ส่วนมากอายุ > 65 ปี
ประวัติการป่วยภายในครอบครัว
ป่วยด้วยโรคดาวน์ซินโดรมหรือพากินสัน
พยาธิสรีรวิทยา
สมองเหี่ยวและมีน้ำหนักลดลง ร่องสมอง (succus) และ ventricle กว้างขึ้น
acetylcholine ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมองที่ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้น มีปริมาณลดลง
อาการและอาการแสดง
อาการทางเชาวน์ปัญญา : ความจำเสื่อมลง มีความผิดปกติด้านการใช้ภาษา การคิด การใช้เหตุผล การรับรู้ลดลง
พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงร่วมกับอาการทางจิต : การมีพฤติกรรม เปลี่ยนแปลง เช่น ก้าวร้าว ไม่อยู่นิ่ง เดินละเมอ และอาการทางจิต เช่น บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง ซึมเศร้า เห็นภาพหลอน หูแว่ว และหวาดระแวง
การวินิจฉัยโรค
ซักประวัติจากญาติที่ดูแล
ตรวจร่างกาย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจเลือด
เอ็กซเรย์สมองด้วยคอมพิวเตอร์, MRI
การรักษา
ยังไม่มีการรักษาที่แท้จรงิ
กายภาพบำบัด
รับประทานอาหารที่เหมาะสม
จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
ให้ยาสามารถช่วยลดความกังวล ได้แก่ tacrine (Cognex) , donepezil hydrochloride (Aricept)
การวินิจฉัยการพยาบาล
การดูแลตนเองบกพร่องเนื่องจากความจำเสื่อมไม่สามารถแยกได้ถึงความ เหมาะสมกันหรือไม่เหมาะสม
มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงต่อตนเองและผู้อื่นเนื่องจากความผิดปกติ ของเชาวน์ปัญญา
สูญเสียทักษะการเข้าสังคมเนื่องจากความผิดปกติของเชาวน์ปัญญา
ผู้ดูแลมีภาวะเครียดเนื่องจากภาระในการดูแลและพฤติกรรมของผู้ป่วย
การพยาบาล
ประเมินความสามารถของผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ
ตรวจสอบกิจกรรมของผู้ป่วยอยู่เสมอ จะช่วยให้พยาบาลจัดสิ่งแวดล้อมได้ เหมาะสม
หมั่นตรวจสอบร่างกายผู้ป่วยอยู่เสมอ ควรบันทึกพฤติกรรมตั้งแต่แรกรับ สังเกตการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดขึ้น
ป้องกันการกระตุ้นผู้ป่วยมากเกินไป
จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยพูดระบายความรู้สึก
MULTIPLE SCLEROSIS
สาเหตุ
ภูมิคุ้มกัน
การอักเสบติดเชื้อจากไวรัสอย่างช้าๆ
กรรมพันธุ์
สภาพแวดล้อมยังไม่ทราบปัจจัยที่แน่นอน
พยาธิสรีรวิทยา
มีการทำลายของ Myelin nerve axon sheaths และบางครั้ง axon ก็ถูกทำลายด้วย
ทำให้การส่งกระแสประสาทขาดช่วงเป็นระยะๆ
อาการและอาการแสดง
แขนขาอ่อนแรง Babinski’s sign ทั้ง 2 ข้าง
พูดตะกุกตะกัก ลูกตากระตุก
ชาและเสียวแปลบของแขนขา ลำตัวหรือใบหน้า อาจมีอาการเหมือนถูกไฟฟ้าช็อต เมื่อผู้ป่วยก้มหน้า เรียกว่า “Lhermittesign”
กล้ามเนื้อใบหน้าส่วนครึ่งล่างอ่อนแรง
การเห็นผิดปกติ
อาการซึมเศร้า ความจำเสื่อม มีอาการทางจิตประสาท
การวินิจฉัย
อาการเฉพาะที่ทางคลินิคที่ปรากฎให้ชัดเจน
เจาะหลังพบระดับ grammar globulin ในน้ำไขสันหลังมีค่าสูง รวมทั้งโปรตีนและเม็ดเลือด
CT scan จะพบการเปลี่ยนแปลงฝ่อลีบหรือเหี่ยว
การตรวจคลื่นสมอง อาจพบความผิดปกติได้
การรักษา
การให้ ACTH, Prednisolone, Dexamethasone เพื่อลดภาวะบวม
ของมัยอิลิน
รักษาทางยา ส่วนใหญ่แพทย์จะให้ยาลดอาการกล้ามเนื้อกระตุก
ให้ยาลดสภาพของอารมณ์ที่ไมม่ั่นคง เช่น Diazepam
การทำกายภาพบำบัด
การพยาบาล
ส่งเสริมและช่วยเหลือให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหว ออกกำลังกายและฝึกการใช้กล้ามเนื้อต่างๆ
ช่วยเอื้ออำนวยให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวต่อภาวะเครียดที่เกิดขึ้นจากผลของโรค
ป้องกันปัญหาและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนได้เต็มที่
ระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ป่วยมีปัญหาการมองเห็นภาพซ้อน
GUILLAIN-BARRE SYNDROME
สาเหตุ : เกิดจากภูมิต้านทานของตนเองที่ร่างกายสร้างขึ้นภายหลัง มีการติดเชื้อโดยเฉพาะเชื้อไวรัส
การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ
การติดเชื้อของระบบทางเดินอาหาร
คางทูม หัด อีสุกอีใส
ภายหลังการได้รับวัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่
พยาธิสรีรวิทยา
เกิดจากปฏิกิริยาการตอบสนอง ทางภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างขึ้นภายหลังมีการติดเชื้อ โดยเฉพาะการติดเชื้อไวรัส
กระตุ้นปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบเฉพาะเจาะจงทั้งการสร้าง แอนติบอดี้ และทีลิมโฟไซล์มาทำลายเชื้อโรคที่เป็นสิ่งแปลกปลอม
ทำลายปลอกหรือเยื่อหุ้มมัยอีลินที่อยู่รอบๆ เส้นประสาท จะกระตุ้นให้มีการสะสมของเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ รวมทั้งT-lymphocyteและแมกโคร ฟาจในบริเวณนั้น
ทำให้เกิดอาการบวมและอักเสบเฉียบพลันของเส้นประสาท
อาการและอาการแสดง
ด้านประสาทรับความรู้สึก : ชาเหน็บและเจ็บโดยเฉพาะปลายแขนขา หลังจากนั้น 1-4 วัน จะมีอาการปวด และกดเจ็บของกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้ออ่อนแรง : เกิดอาการอ่อนแรง ตามหลังอาการชา มักเริ่มด้วยขา อ่อนแรง เดินลำบาก อาการอ่อนแรงจะลุกลามอย่างรวดเร็ว จะทำให้เกิดปัญหาการหายใจล้มเหลว
อาการลุกลามของประสาทสมอง : มีปัญหาในการกลืน พูด หายใจ มีอัมพาตของหน้า
อาการลุกลามของประสาทอัตโนมัติ : ระบบประสาทซิมพาเททิค ทำให้ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว ผิดปกติ เหงื่อออกมาก
ระบบประสาทพาราซิมพาเททิค ทำหน้าที่มากไป ทำให้หัวใจเต้นช้ากว่า ปกติ หน้าแดง ตัวอุ่น ทำหน้าที่น้อยไป ทำให้หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ ระบบกล้ามเนื้อหูรูดทำงานผิดปกติ
การดำเนินโรค แบ่งเป็น 3 ระยะ
Acute phase : กล้ามเนื้ออ่อนแรงมาก อาจจะถึงเป็นอัมพาตอย่างสมบูรณ์ และการ หายใจล้มเหลว ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ
Static phase : อาการเปลี่ยนแปลงอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อจะไม่ดีขึ้น แต่ไม่เลวลง อาการเจ็บปวดและอาการชาจะเริ่มลดลง
Recovery phase
การวินิจฉัยโรค
ซักประวัติ
ตรวจร่างกาย : จะพบอาการอ่อนแรงอย่างมาก รีเฟล็กซ์จะลดลง อัมพาต แขนขาทั้งสองข้าง พูดไม่ชัด กลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่ได้ และหายใจขัด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและอื่นๆ : การเจาะหลัง , การตรวจการนำไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ , การตรวจการนำไฟฟ้าของเส้นประสาท
การรักษา
การช่วยหายใจในผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลว
การให้ยากลุ่มสตีรอยด์
การเปลี่ยนถ่ายพลาสม่า
ปัจจัยที่ทำให้ผลการรักษาโรคไม่ดี
ประวัติอุจจาระร่วงก่อนป่วย
ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
อายุมากกว่า 40 ปี
anti -GM1 สูง
กล้ามเนื้อแขน ขาอ่อนแรง
MYASTENIA GRAVIS
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของกล้ามเนื้อ
มีความสัมพันธ์กับออโตอิมมูน
อาจพบร่วมกับคนที่มีต่อมไทมัสโต
พยาธิสรีรวิทยา
เป็นความผิดปกติที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับต่อมไทมัสสร้างแอนติบอดี้มาทำลายตำแหน่ง รับสารสื่อประสาท ตรงรอยต่อระหว่างเส้นใยประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้มีระดับสารสื่อประสาท acetylcholine ลดลง
อาการและอาการแสดง
ถ้าเป็นมากขึ้น พูดอ้อแอ้ กลืนลำบาก
พูดเสียงขึ้นจมูกหรืออาจมีอาการอ่อนเพลีย
ในรายที่เป็นมาก อาจมีอาการอ่อนแรงของแขนขาบางส่วนจนลุกขึ้นยืน หรือเดินไม่ได้ และถ้าเป็นรุนแรงก็อาจทำให้กล้ามเนื้อช่วยหายใจเป็นอัมพาต หยุดหายใจตายได ้
หนังตาตก ซึ่งมักเกิดเพียงข้างเดียว อาจมีอาการตาเข มองเห็นภาพไม่ชััด
การวินิจฉัยโรค
การอาศัยประวัติ
ทดสอบโดยการฉีดNeostigmine1.5 มิลลิกรัม เข้าใต้หนังหรือ
ฉีดTensilon 10 มิลลิกรัม เข้าหลอดเลือดดำ ซึ่งอาการจะดีขึ้น
ถ้าเป็นโรคนี้
ตรวจร่างกาย อาการและอาการแสดง
CT-scan หรือ MRI
การรักษา
ให้ Anticholinesterase
คอร์ติโคสตีรอยด์
ต่่อมไทมัสโตร่วมด้วย อาจต้องผ่าตัดเอาต่อมไทมัสออก (thymectomy) ซึ่งอาจจะช่วยให้อาการดีขีึ้น
การเปลี่ยนพลาสม่า
วินิจฉัยการพยาบาล
การกำซาบของเนื้อเยื่อสมองลดลงเนื่องจากความดันในกะโหลกศีรษะสงูจากการบาดเจ็บที่สมอง เลือดออกในสมอง สมองบวม การติดเชื้อที่สมอง โรคหลอดเลือดสมอง Hydrocephalus
การพยาบาล
ประเมิน Vital sign , Neurosign
จัดท่าศีรษะสูง 30 องศา
รักษาแนวของศีรษะและลำตัวให้อยู่ในแนวปกติ
หลีกเลี่ยงท่าที่เพิ่มแรงดันในช่องท้องหรือช่องอก
หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เพิ่มแรงดันในกะโหลกศีรษะ
รักษาระดับความดันโลหิตให้อยู่ในช่วง90/60 –140/90 mmHg
จัดสิ่งแวดล้อมที่สงบเงียบ ลดสิ่งกระตุ้น
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษา
ขาดประสิทธิภาพในการทำทางเดินหายใจใหโ้ล่ง เนื่องจากไม่สามารถไอเอา เสมหะออกจากภาวะไม่รู้สึกตัว
การพยาบาล
ดูดเสมหะให้อย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง
จัดท่านอนให้นอนศีรษะสูง
วัดสัญญาณชีพให้ ทุก 2-4 ชั่วโมง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
ประเมินสมรรถภาพการหายใจของผู้ป่วยและสังเกตภาวะการขาดออกซิเจนหรือภาวะการหายใจวายเฉียบพลัน
เสี่ยงต่อการสำลักเนื่องจากระดับการรู้สติลดลง รีเฟล็กซ์ การไอและการขย้อน ลดลง ใส่คาท่อ Tracheostomy หรือ Endotracheal
การพยาบาล
ประเมินความสามารถในการกลืนการขย้อนของผู้ป่วย
ประเมินเสียงปอด ลักษณะการหายใจ
จัดท่าศีรษะสูงเพื่อป้องกันการสำลัก
ดูดเสมหะให้โล่งโดยเฉพาะบริเวณ Oropharynx
ผู้ป่วยที่ใส่ท่อให้อาหารตรวจดูตำแหน่งของท่ออาหารก่อนให้อาหาร และดูดดูปริมาณสารอาหารที่ตกค้างในกระเพาะอาหาร
การรับความรู้สึกและการรับรู้เปลี่ยนแปลงเนื่องจากการไม่รับรู้ต่อการเคลื่อนไหว,การไม่รับรู้ต่อการสัมผัส, การมองเห็นเปลี่ยนแปลง
การพยาบาล
ประเมินภาวะความผิดปกติและระดับของการรับความรู้สึก
ประคบปิดตาข้างใดข้างหนึ่งเพื่อลดอาการเห็นภาพซ้อน
ถ้าผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับตาบอดครึ่งซีก แนะนำให้ผู้ป่วยกวาดสายตาไปรอบๆตัว เพื่อตรวจดูสิ่งแวดล้อมที่มองไม่เห็นในด้านที่เสีย
แนะน าให้ผู้ป่วยรู้จักตำแหน่งและสิ่งของเครื่องใช้ที่วางอยู่รอบๆตัว
พยายามกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้ใช้ แขน ขาหรือร่างกายด้านที่เสียหรือเป็นอัมพาต
การให้การพยาบาลทุกครั้ง ควรเข้าหาผู้ป่วยเฉพาะด้านที่เป็นอัมพาตเท่านั้น
จัดสิ่งแวดล้อมที่เรียบง่ายและปลอดภัย
การสื่อสารบกพร่องเนื่องจาก การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ สมองซีกเด่นถูกทำลาย
การพยาบาล
ประเมินประเภทของความผิดปกติในการสื่อสาร
ส่งปรึกษานักอรรถบำบัดเพื่อวางแผนการฟื้นฟู
เตรียมอุปกรณ์ที่ช่วยในการสื่อสาร กระตุ้นให้ผู้ป่วยพูดช้าๆ สั้นๆ
ควรสื่อสารกับผู้ป่วยใน ตำแหน่งที่มองเห็น พยายามใช้ท่าทางและการแสดงออกทางใบหน้า ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย และผู้ป่วยใช้เป็นประจำ
ขณะที่มีการสื่อสารไม่ควรมีกิจกรรมอย่างอื่นมาแทรก
ไม่แสดงท่าทางรีบเร่งหรือเร่งรัดคำตอบจากผู้ป่วย
บรรยากาศในการสื่อสารควรสงบเงียบ ผ่อนคลายและเป็นกันเอง
การเคลื่อนไหวบกพร่องเนื่องจากความผิดปกติของระบบประสาท
การพยาบาล
ประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย
สอนและแนะนำให้ญาติและผู้ป่วยพลิกตะแคงตัวและนวดปุ่มกระดูก
สอนและแนะนำให้ผู้ป่วยและญาติออกกำลังกายแบบ Active exercise , Passiveและ Passive rang of motion exercise
ใช้หมอนหนุนรอบข้อสะโพก เพื่อไม่ให้แบะออก ใช้ foot board ป้องกันปลายเท้าตก
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเองให้มากที่สุดตามความสามารถ
มีความวิตกกังวลเนื่องจากขาดความรู้เกี่ยวกับโรค/สูญเสียภาพลักษณ์/สญูเสีย อำนาจในการควบคุมตนเอง/สูญเสีย ค่าใช้จ่ายในการรักษา
ประเมินอาการและอาการแสดงของความวิตกกังวล
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกและรับฟังด้วยความใส่ใจ
ประเมินพฤติกรรมการยอมรับของผู้ป่วยและครอบครัวพูดให้กำลังใจผู้ป่วย ตามความเหมาะสม
ให้ผู้ป่วยได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการรักษาและแจ้งให้ผู้ป่วยทราบทุกครั้ง ก่อนให้การพยาบาล
แนะนำวิธีผ่อนคลายให้แก่ผู้ป่วยหรือจัดหาสิ่งผ่อนคลายที่ผู้ป่วยต้องการตามความเหมาะสม
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษา แนะนำสถานสงเคราะห์ที่ สามารถให้การช่วยเหลือได้
นางสาวธัญญาเรศ หงษ์มณี รหัสนักศึกษา 612501036