Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทบาทพยาบาลอนามัยโรงเรียน, อ้างอิง นางปราริณา ทองศรี และคณะ(2561).…
บทบาทพยาบาลอนามัยโรงเรียน
ความหมายของงานบริการอนามัยโรงเรียน
2.เพื่อทำให้ทราบภาวะสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป
3.เป็นการป้องกันมิให้เกิดความ
รุนแรงของโรคหรือความพิการในภายหลัง
1.การที่โรงเรียนได้จัดให้มีบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับนักเรียนทุกคนเพื่อค้นหาความผิดปกติหรือความบกพร่องทางสุขภาพเบื้องต้น
แนวทางการดำเนินงานให้บริการสุขภาพและอนามัยโรงเรียนมีดังนี้
1 จัดทำแผนการปฏิบัติงานโครงการกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพตลอดปีการศึกษา โดยกำหนดงบประมาณและเวลาในการดำเนินงาน
2 จัดทำสถิติและรวบรวมข้อมูลด้านสุขภาพอนามัยของนักเรียนเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ภาวะสุขภาพและปัญหาที่มีอยู่
3 กระตุ้นให้โรงเรียนจัดหายา เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นให้เพียงพอ
4 ดูแลห้องพยาบาลให้ถูกสุขลักษณะ โดยจัดสภาพแวดล้อมให้มีทางเข้าที่คล่องตัว อากาศถ่ายเทได้สะดวก
5 ให้มีบริการรักษาพยาบาลเบื้องต้นแก่นักเรียนและบุคลากรที่มีปัญหาสุขภาพ
6 ติดต่อประสานงานกับโรงเรียนและผู้ปกครองในกรณีที่นักเรียนเจ็บป่วย พยาบาลต้องให้การดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้นตามบทบาท
7 การตรวจสุขภาพนักเรียนและบุคลากร พยาบาลจะต้องติดต่อประสานงานกับผู้บริหารโรงเรียน ครูประจำชั้น และนักเรียนและบุคลากรของโรงเรียน
8 ประเมินภาวะโภชนาการของนักเรียน
9 จัดทำสมุดแบบบันทึกสุขภาพนักเรียนทุกคน จัดเก็บแยกเป็นชั้นปี
10 เป็นผู้ประสานและสนับสนุนความช่วยเหลือกับหน่วยงานต่างๆ ในการดำเนินงานพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยโรงเรียน
การจัดบริการอนามัยโรงเรียน
เป็นบริการสุขภาพในโรงเรียนเป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่างแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล ครู และบุคลากรอื่นๆ เพื่อการดำเนินรักษาสุขภาพรวมทั้งการปรับปรุงส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนและบุคลากร ให้อยู่ในสุขภาพที่ดี
ในด้านการป้องกัน รักษา และฟื้นฟู ได้แก่ การตรวจคัดกรองความบกพร่องทางด้านสุขภาพของนักเรียน การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในโรงเรียน จัดให้มีบริการรักษาพยาบาลแก่นักเรียน เมื่อนักเรียนป่วยหรือบาดเจ็บในโรงเรียน
ระยะของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ
บุคคล แบ่งเป็น5 ระยะ
1.ระยะก่อนชั่งใจ
2.ระยะชั่งใจ
3.ระยะพร้อมปฏิบัติ
4.ระยะปฏิบัติ
5.ระยะคงไว้ซึ่งพฤติกรรม
บทบาทพยาบาลอนามัยโรงเรียนมีดังนี้
1.ประสานงานโรงเรียนเพื่อการยอมรับแนวคิดโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
2.สนับสนุนให้โรงเรียนแสดงเจตจำนงร่วมเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
3.สนับสนุนให้โรงเรียนจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน
4.สนับสนุนโรงเรียนกำหนดนโยบายและมีบริการจัดให้กำหนดแผนโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
5.สนับสนุนด้านบริหาร และวิชาการให้กับโรงเรียนตามแผนงานโครงการที่โรงเรียนกำหนดและมีการติดตามผล
6.สนับสนุนให้โรงเรียนประเมินตนเองโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 10 องค์ประกอบ
7.เมื่อโรงเรียนดำเนินการได้ครบคลุมทุกองค์ประกอบแล้วบทบาทพยาบาลคือต้องกระตุ้นและสนับสนุนให้โรงเรียนขอรับการประเมินจากคณะกรรมการภายนอกเพื่อรับรองการเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
บทคัดย่อ
งานอนามัยโรงเรียน ถือเป็นบทบทาพยาบาลอนามัย ที่จะต้องให้บริการทางด้านสาธารณสุขที่ภาครัฐจัดให้แก่ประชากรกลุ่มวัยเรียนและเยาวชน ซึ่งสอดคล้อง
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ซึ่งมีเป้าหมายที่สำคัญในการดำเนินงาน คือ การพัฒนาความรู้และสุขภาพของเด็กวัยเรียน เนื่องจากวัยเด็กเป็นวัยที่สำคัญที่ต้องได้รับการดูแลใส่ใจ อย่างประสิทธิภาพ และพัฒนากลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี มีศักยภาพและคุณภาพเพื่อร่วมพัฒนาประเทศต่อไป
วัตถุประสงค
เพื่อเสนอเกี่ยวกับบทบาทพยาบาลอนามัยชุมชนในงานโรงเรียน
เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและป้องกันโรคให้กับนักเรียนและบุคลกรทางการศึกษา
ประกอบ
การจัดบริการด้านสุขภาพ
ด้านวิชาการ
ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ
ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
ในประเทศไทย สมาคมพยาบาลอนามัยโรงเรียนแห่งชาติ ได้จำแนกบทบาทของพยาบาลอนามัยโรงเรียนไว้ 7 ประการ
1.บทบาทในการแนะนำการดูแลสุขภาพแก่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน
2.บทบาทในการเป็นผู้นำในการจัดเตรียมการบริการสุขภาพ
3.บทบาทในการคัดกรองและส่งต่อเมื่อเกิดปัญหาทางสุขภาพ
4.บทบาทในการสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดีในโรงเรียน
5.บทบาทในการส่งเสริมสุขภาพ
6.บทบาทในการเป็นผู้นำในการให้บริการสุขภาพตามโปรแกรมและนโยบายที่ตั้งไว้
7.บทบาทในการประสานงานระหว่างบุคลากรใน
โรงเรียน ครอบครัว ชุมชน และสหสาขาวิชาชีพ
ปัจจัยที่ส่งผลให้งานอนามัยโรงเรียนไม่
ประสบผลสำเร็จ ได้แก่
การไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำ
ห้องพยาบาล
สื่อสุขศึกษามีน้อยทำให้ขาดแหล่งการ
เรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง
โรงเรียนไม่มีนโยบายเรื่องส่งเสริมอนามัยสื่งแวดล้อมภายในโรงเรียน เช่น ยังมีการจำหน่ายนํ้าหวาน นํ้าอัดลม อาหารทอด
ไม่มีการจัดการเรื่องสัตว์เลี้ยง และขยะโดยตรง
ดังนั้น บทบาทพยาบาลอนามัยชุมชน ควรเน้นสู่ความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยใช้แนวคิดการสร้างเสริมพลังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสุขภาพที่ดี โดยนักเรียน บุคลากรในโรงเรียนสามารถเป็นผู้นำได้
สรุป
พยาบาลอนามัยชุมชนในงานอนามัยโรงเรียน มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ทั้งด้านการบริหาร การบริการและด้านการวิจัย โดยมีความสอดคล้องกับระบบสุขภาะชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนกับชุมชนมากขึ้น โดยใช้ศักยภาพของตนเองที่มีกับเครือข่ายทางสังคมผลักดันให้นักเรียนสุขภาพที่ดี หลักสำคัญในการดำเนินงาน คือ การกำหนดนโยบายที่ชัดเจน
อ้างอิง
นางปราริณา ทองศรี และคณะ(2561). วารสารพยาบาลสาธารณสุข(พิมพ์ครั้งที่2). มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
นางสาวสุวนันท์ จารุวนาลี เลขที่87A รหัสนักศึกษา613601093