Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะท้องเสีย
(Diarrhea), ผู้จัดทำ - Coggle Diagram
ภาวะท้องเสีย
(Diarrhea)
คือ เป็นอาการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำมากกว่าปกติ หรือในบางครั้งถ่ายเป็นมูกปนเลือด มักเกิดจากการติดเชื้อหรือภาวะอาหารเป็นพิษ หลังจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป โดยอาการจะเกิดขึ้นในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน แต่ในบางรายอาจอาการเรื้อรังเป็นเวลานาน
อาการท้องเสีย
-
-
ในบางรายอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อ่อนเพลีย รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว และมีไข้
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิด
- เกิดภาวะขาดน้ำหรือมีอาการท้องเสียมากกว่า 2 วัน สำหรับเด็กเล็กหรือทารกหากมีอาการเกิน 1 วัน ควรรีบพาไปพบแพทย์ เนื่องจากเสี่ยงกับการเสียชีวิตจากภาวะขาดน้ำ
- มีอาการปวดอย่างรุนแรงในช่องท้องหรือทวารหนัก
- ไข้ขึ้นสูงกว่า 39 องศาเซลเซียส
- ถ่ายอุจจาระมีเลือดหรืออุจจาระเป็นสีดำ
-
สาเหตุของท้องเสีย
- ท้องเสียแบบเฉียบพลัน
อาการท้องเสียแบบเฉียบพลับมักเกิดจากโรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ เนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อปรสิต ดังนี้
- การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียที่มักปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร และก่อให้เกิดอาการท้องเสียตามมา ได้แก่ เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เชื้อซาลโมเนลลา เชื้อชิเกลลา และเชื้ออีโคไล
- การติดเชื้อไวรัส มีไวรัสหลายชนิดที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสีย เช่น โรต้าไวรัส โนโรไวรัส ไซโตเมกาโลไวรัส เฮอร์พีส์ซิมเพล็กซ์ไวรัส ไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น โดยโรต้าไวรัสเป็นสาเหตุของการเกิดอาการท้องเสียในเด็กมากที่สุด ซึ่งสามารถหายได้ภายใน 3-7 วัน แต่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาในการย่อยและดูดซึมแล็กโทสที่พบในน้ำนมได้
- การได้รับเชื้อปรสิต เชื้อปรสิตสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านอาหารและน้ำที่ปนเปื้อน และอาศัยอยู่ในระบบย่อยอาหารของคนเรา เชื้อปรสิตที่มักพบ คือ เชื้อไกอาเดีย เชื้อแอนตามีบาฮิสโตลิติกาหรือเชื้อบิดอะมีบา และเชื้อคริปโตสปอริเดียม
- ท้องเสียแบบเรื้อรัง
อาการท้องเสียที่เกิดขึ้นติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป
จะถือเป็นอาการท้องเสียเรื้อรัง ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยต่อไปนี้
- โรคในระบบทางเดินอาหารและโรคลำไส้ผิดปกติ เช่น โรคโครห์น โรคลำไส้อักเสบ โรคเซลิแอคหรือแพ้กลูเตน โรคลำไส้แปรปรวน โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
- อาหาร บางคนอาจมีปัญหาในการย่อยสารอาหารบางประเภท อย่างการขาดน้ำย่อยสำหรับย่อยน้ำตาลแล็กโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่พบมากในนมหรือผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนม นอกจากนี้ การรับประทานสารทดแทนความหวานในปริมาณมากก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียได้เช่นกัน
- การตอบสนองต่อยาบางประเภท ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคมะเร็ง รวมถึงยาลดกรดที่มีแมกนีเซียม สามารถทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
- การผ่าตัด อาการท้องเสียอาจเกิดขึ้นหลังจากเข้ารับการผ่าตัดบางชนิด อย่างการผ่าตัดลำไส้ หรือการผ่าตัดนำถุงน้ำดีออกไป
การป้องกันอาการท้องเสีย
ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังรับประทานอาหารหรือสัมผัสกับอาหาร หลังการเข้าห้องน้ำ หรือจับสิ่งสกปรกอื่น ๆ เพื่อป้องกันแพร่กระจายของเชื้อโรค
ในกรณีที่ไม่สามารถล้างมือได้ ควรใช้เจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เลือกรับประทานอาหารอย่างระมัดระวัง เช่น รับประทานของร้อน อาหารที่สะอาด สดใหม่ หลีกเลี่ยงผักผลไม้สดที่ล้างไม่สะอาด เนื้อสัตว์ดิบ และผลิตภัณฑ์ประเภทนม เป็นต้น
-
-
-
-
-