Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงระบบหัวใจและหลอดเลือด ระยะหลังคลอด, อ้างอิง - Coggle Diagram
การเปลี่ยนแปลงระบบหัวใจและหลอดเลือด
ระยะหลังคลอด
การไหลเวียนเลือดในร่างกาย
มดลูกจะมีการหดรัดตัวทันทีหลังคลอด เพื่อไล่เลือดในชั้นกล้ามเนื้อของมดลูกเข้าสู่ระบบไหลเวียน ในร่างกายจึงมีปริมาณเลือดไหลเวียนเพิ่มมากขึ้นกะทันหัน แต่มารดาที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจหรือหลอดเลือดก็จะไม่เกิดอันตรายขึ้น เพราะระหว่างการคลอดที่มีการเสียเลือดจะช่วยรักษาสมดุลเอาไว้ได้ จะพบว่ามีเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติถึง20% ปริมาณเลือดมากกว่าปกติ 32% น้ำเหลืองมีปริมาณมากกว่าปกติ 40%เมื่อครรภ์ครบกำหนดและภายใน 1สัปดาห์หลังการคลอดจำนวนเหล่านี้ก็จะลดลงเข้าสู่สภาพปกติเหมือนตอนก่อนคลอด
การเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนของเลือดทางสรีรวิทยา
1.การไหลเวียนของเลือดระหว่างมดลูกกับรกสิ้นสุดลง ขนาดของแวสคิวอะเนต (Vascularbed )ของมารดา 10-15 %
2.หน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนของรกสิ้นสุดเป็นการตัดตัวกระตุ้น ที่ทำให้หลอดเลือดขยาย
3.มีการเคลื่อนย้ายของน้ำนอกหลอดเลือดที่สะสมระหว่างตั้งครรภ์
ภาวะแทรกซ้อนในการไหลเวียนของเลือด
Thomboembolism หรือ หลอดเลือดดำอุดตัน
ถ้าหากหญิงระยะหลังหลอดไม่มีการเคลื่อนไหว( Early ambulation) และร่วมกับสภาวะติดเชื้อหรือได้รับความชอกช้ำจากการคลอด จะสามารถกระตุ้นให้เกิดหลอดเลือดอุดตัน ( Thomboembolism)
อาการและอาการแสดง
เจ็บปวด รู้สึกร้อน กดเจ็บ
เส้นเลือดแดงบวมีแข็ง เวลาสัมผัส
ปริมาณเลือดในร่างกาย
ปริมาณเลือดจะลดลงทันทีจากการสูญเสียเลือดภายในช่องคลอด โดยปริมาณเลือดจะลดลงจากระดับ 5-6 ลิตร ในระยะก่อนคลอด จะเพิ่มขึ้นประมาณ 15-30 เปอร์เซ็นต์จากการไหลกลับของเลือดหลังรกคลอด ค่าฮีโมโกบิน (Hemoglobin) ฮีมาโตคริต (Hematocrit ) และจำนวนเม็ดเลือดแดง (Red blood cell count) จะแตกต่างกันไปแต่ละบุคคล
•ค่า (Complete Blood Count: CBC)•
3วันแรกหลังคลอดค่าฮีมาโตคริต (Hematocrit) อาจสูงขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากมีการลดระดับของปริมาณน้ำเหลือง (Plasma) มากกว่าจำนวนของเม็ดเลือดจำนวนเหล่านี้ จะลดลงสู่สภาพปกติเหมือนก่อนคลอดภายใน 4-5 สัปดาห์หลังคลอด
เม็ดเลือดขาวอาจสูงขึ้นถึง 20,000-25,000 เซลล์ต่อมิลลิลิตร เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของเม็ดเลือดขาวพร้อมกับอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น อาจทำให้กรวินิจฉัยภาวะการติดเชื้ออย่างเฉียบพลันได้
ความดันเลือดและชีพจร
•ความดันเลือด•
ในระยะคลอดพบว่าค่าความดันโลหิตจะใกล้เคียงกับตอนไม่ตั้งครรภ์ แต่อาจมีค่าความดันโลหิตต่ำได้จากการเสียเลือดมากกว่าปกติ จนทำให้ปริมาณเลือดน้อยเกินไป
Hypovolemia จากการมีการขยายตัวของหลอดเลือดจากอิทธิพล ของฮอร์โมนเอสโตรเจน มีการลดลงของความดันในช่องท้อง เป็นเหตุให้เลือดไปรวมตัวบริเวณอวัยวะในช่องท้อง ( Splanchnic engorgement) หรือจากการเสียเลือดปกติ แต่ต้องใช้เวลานาน 2-3 ชั่วโมง เพื่อปรับปริมาณเลือดในร่างกายให้อยู่ภาวะสมดุล
•อาการเมื่อมีการปรับสมดุลของร่างกาย•
แสดงออกในรูปของอาการเวียนศีรษะหน้ามืดเป็นลม
ในการลุกขึ้นจากเตียงครั้งแรก ถ้าเปลี่ยนท่าทันทีจะมีโอกาสเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่าในทันที (Orthostatic hypotension) เพราะการลุกขึ้นทันทีจากท่านอนหงายเป็นท่านั่งทำให้เลือดไหล กลับเข้าหัวใจไม่ทันเลือดที่ส่งไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการหน้ามืดเป็นลมและความดันโลหิตลดต่ำลงประมาณ 20 มิลลิลิตรปรอท
•ชีพจร•
การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเลือดยังมีผลให้ชีพจรในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอดจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติคือประมาณ 50-70 ครั้งต่อนาทีการที่อัตราการเต้นของชีพจร
ลดลงเป็นผลจากภายหลังคลอดรกแล้ว เลือดที่เคยไปเลี้ยงรกจะไหลกลับเข้าสู่หัวใจ ทำให้หัวใจเต้นช้าลงซึ่งเป็นกลไกในการปรับตัวต่อการลดลงของแรงดันในระบบไหลเวียนโลหิต ในขณะเดียวกันหญิงระยะหลังคลอด จะมีการถ่ายปัสสาวะมากขึ้น (Postpartum diuresis) ทำให้ปริมาณเลือดและความดันโลหิตต่ำลง เป็นผลให้อัตราการเต้นของชีพจรค่อยๆเพิ่มขึ้น จนกระทั่งเข้าสู่ระดับปกติภายใน 7-10 วันหลังคลอด
อ้างอิง
สุชยา ลือวรรณ.( 2558).โรคหัวใจในสตรีตั้งครรค์.สืบค้น 6 มิถุนายน 2563 , จาก
https://w1.med.cmu.ac.th/