Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิตามินที่ละลายน้ำได้ (Water soluble vitamins) - Coggle Diagram
วิตามินที่ละลายน้ำได้ (Water soluble vitamins)
กรดแอสคอร์บิก
(ascobic acid : วิตามิน C)
หน้าที่ของวิตามิน C
สังเคราะห์และรักษาเนื้อเยื่อ ซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ป้องกันและรักษาไข้หวัด
ช่วยในการสังเคราะห์ carnitine , neurotransmitters , collagen
ดูดซึมเหล็ก ขนส่งเหล็กไปยังตับ ม้าม ไขกระดูก เปลี่ยน Fe3+เป็น Fe2+
การขาดวิตามิน C
เกิดโรคลักปิดลักเปิด(scurvy) พบมากในคนชราและเด็กเล็ก
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เลือดออกตามลายฟัน ฟันโยก ปวดเหงือก โลหิตจาง เสียชีวิต
ได้รับมากอาจเกิดนิ่วในไต รบกวนการวิเคราะห์เลือดและปัสสาวะ
ข้อมูลทั่วไป
ผลึกสีขาว รสเปรี้ยว ละลายน้ำได้ดี เป็นกรด
เป็นสาร antioxidant
มีมากในผักผลไม้ประเภทส้ม มะนาว ลูกเกด ลูกเบอร์รี่ ผักสีเขียว
ถูกออกซิไดส์ง่ายด้วย O2 ในอากาศ ในสารละลายเบส และมี Cu2+
ออกซิไดส์ด้วยเอนไซม์แอสคอร์บิกแอซิดออกซิเดสไขโดยใส่ผักขณะน้ำเดือด
ดูดซึมได้ดีในลำไส้เล็ก
วิตามิน B-คอมเพล็กซ์
ไทอามีน (thiamine : B1)
ข้อมูลทั่วไป
จำเป็นสำหรับสัตว์มีกระดูกสันหลังและจุลินทรีย์บางชนิด
ถ้าขาดทำให้คนเป็นโรคเหน็บชา สัตว์เส้นประสาทอักเสบ
ประกอบด้วยวงแหวน ไพริมิดีนและไทอาโซล ต่อกันด้วยพันธะเมทิลลิน
เป็นโคเอนไซม์ ของ pyruvate dehydrogenase, a ketoglutarate dehydrogenase เป็นต้น
ไทอาโซล เสียง่ายในเบสถามีทองแดงเป็นตัวเร่ง ฉะนั้นเสียง่ายในการหุงต้มในภาชนะทองแดงและมี pH เป็นเบส
พบมากในเมล็ดข้าวเจ้าและข้าวสาลีบริเวณผิวนอกที่มีสีน้ำตาล
ร่ายกายต้องการมากเมื่อมีเมแทบอริซึม เช่น ระยะตั้งครรภ์ ให้นมบุตร กล้ามเนื้อใช้งานมาก ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
การขาดไทอามีน
ไม่ได้รับ 2-3 อาทิตย์ หรือรับอาหารที่ทำลายไทอามีน เช่น ปลาน้ำจืด ปลาร้า หอยลายดิบ ทำให้เกิดอาการโรคเหน็บชา (beriberi)
ไรโบเฟลวิน (riboflavin : B2)
ข้อมูลทั่วไป
เป็นผลึกรูปเข็มสีเหลืองปนแสด ทนต่อความร้อนและกรด
เสียง่ายเมื่อถูกเบส แสงสว่างและ UV
ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ของปฏิกิริยาออกชิเดชัน
พบมากใน น้ำนม ไต หัวใจ ตับ ไข่ เนย
ความต้องการในแต่ละวันขึ้นอยู่กับการทำงานของกล้ามเนื้อ
ผู้ที่ฟอกไต หญิงให้นมบุตรมากกว่า 1 คน ต้องการเพิ่มขึ้น
การขาดวิตามิน B2
ปากนกกระจอก
ระคายเคืองตา ตาสู้แสงไม่ได้ มองเห็นไม่ชัด เพราะมีเส้นเลือดฝอย เกิดขึ้นที่กระจกตา
กรดนิโคทินิก (niacin : B3)
Nicotinic acid , Nicotinamide และอนุพันธ์
ข้อมูลทั่วไป
ผลึกรูปเข็มสีขาว ทนความร้อน กรด เบส แสงสว่าง
เป็นส่วนประกอบของโคเอนไซม์ NAD+และ NADP+ที่ทำหน้าที่ขนส่งไฮโดรเจนและอิเล็กตรอน
ถูกดูดซึมง่ายที่ลำไส้เล็ก
ทริปโทเฟน 60 กรัม สังเคราะห์กรดนิโคทินิกได้ 1 มก.
พบมากในเนื้อสัตว์ ตับ ผิวของ germ cell
น้ำนม ไข่ มีทริปโทเฟนสูง
การขาดวิตามิน B3
เกิดโรค pellagra มีอาการท้องเดิน อาการทางประสาท ซึมเศร้า นอนไม่หลับ สับสน ผิวหนังถูกแดดเป็นสีแดงคล้ำ
วิตามิน B-คอมเพล็กซ์
กรดแพนโทเทนิก (pantothenic acid :B5)
ข้อมูลทั่วไป
มีซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบ
สังเคราะห์ในพืชและแบคทีเรียในลำไส้
เป็นน้ำมันสีเหลืองอ่อน
เสียง่ายเมื่อถูกความร้อน กรด เบส
ใช้สังเคราะห์โคเอนไซม์- เอ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ฮีม ถ้าขาดเป็นโรคโลหิตจาง
ใช้สังเคราะห์กรดไขมัน ฟอสโฟลิพิด กรดอะมิโน สเตียรอยด์ฮอร์โมน ฯลฯ
มีมากใน เนื้อไก่ เนื้อวัว ข้าวโอ๊ต ธัญพืช มะเขือเทศ พืชสีเขียว ไข่แดง ตับ ไต ยีสต์ ถั่ว กะหล่ำปลี
การขาดวิตามิน B5
มีอาการ อ่อนเพลีย เฉื่อยชา นอนไม่หลับ เวียนหัว ปวดศีรษะ ชาปลายมือ ปลายเท้า ท้อง น้ำตาลในเลือดต่ำ
ไพริดอกซีน (pyridoxine : B6)
ข้อมูลทั่วไป
มีอนุพันธ์ 2 ชนิด คือ ไพรอดอกซอล ไพริดอกซามีน
เป็นโคเอนไซม์อยู่ในรูป pyridoxal prosphate (PLP)
เป็นโคเอนไซม์ transminase ทำหน้าที่รับส่งหมู่อะมิโน ในการเมตาอบลิซึมกรดอะมิโน
สังเคราะห์สารสื่อประสาท ฮอร์โมน
เป็นโคเอนไซม์ฟอสโฟริเลส ทำหน้าที่สลายไกลโคเจนในตับและกล้ามเนื้อ
เอนไซม์ phosphatase ตัดหมู่ฟอสเฟตออกก่อนดูดซึมที่ลำไส้เล็ก
อาหารที่มีมาก ธัญพืชที่เสริมวิตามิน B6 เครื่องในสัตว์ ตับวัว ถั่วเหลือง
การขาดวิตามิน B6
พบน้อยมาก นอกจากคนที่เป็นโรคขาดสารอาหาร หรือได้รับสารต้านและเด็กที่ดื่มนมที่ถูกความร้อนมากเกินไป
มีอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ปากนกกระจอก
ไบโอทิน (biotin : B7)
ข้อมูลทั่วไป
ประกอบด้วยอิมมิดาโซล เชื่อมกับวงแหวนไทโอฟีน
ป้องกันพิษจากไข่ขาวดิบ เนื่องจากจับกันเป็นสารประกอบ
เป็นโคเอนไซม์ของปฏิกิริยาการเติมคาร์บอนไดออกไซด์ (carboxylation)
มีส่วนสำคัญในการเผาผลาญไขมันและโปรตีน การสังเคราะห์กรดแอสคอร์บิก
แบคทีเรียในลำไส้ก็สามารถสังเคราะห์ไบโอตินได้
แหล่งที่พบ ได้แก่ ไข่แดง นม แป้งถั่วเหลือง เนย ถั่วลิสง ข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี มีมากในเนื้อสัตว์ ตับ ส่วนใหญ่ได้รับจากแบคทีเรียในลำไส้
วิตามิน B-คอมเพล็กซ์
กรดโฟลิก (folic acid) ; โฟเลต (folate) B9
ข้อมูลทั่วไป
ประกอบด้วยวงแหวนเทอริดีน (pteridine) กรดอะมิโนกลูทามิก และกรดพารา - อะมิโนเบนโซอิก เรียกว่า กรดเทอโรอิลโมโนกลูทามิก
ในร่างกายพบอยู่ในรูปเกลือโฟเลต (อยู่รวมๆกันอยู่หลายโมเลกุล)
เป็นโคเอนไซม์ขนส่งหมู่ที่ประกอบด้วยคาร์บอน 1 อะตอม เช่น -CH3
สตรีตั้งครรภ์ควรได้รับเป็นอาหารเสริมวันละ 400 มิลลิกรัม
พบในยีสต์ ตับ เครื่องในสัตว์ ผักใบเขียว ผลไม้
การขาดกรดโฟลิก
เนื่องจากรับอาหารไม่เพียงพอ ดูดซึมไม่ดี ได้รับยาต้าน
เป็นโรคโลหิตจางชนิด megaloblastic anemia เม็ดเลือดแดงมีปริมาณน้อย ขนาดใหญ่ อายุสั้น มีอาการอ่อนแรง ล้า สมาธิสั้น ปวดศีรษะ ใจสั่น
โคบาลามีน (cobalamin : B12)
ข้อมูลทั่วไป
สูตรโครงสร้างซับซ้อน มีหลายชนิด ต่างกันที่หมู่ R เช่น
Hydroxycobalamin หมู่ R คือ OH-
Cyanocobalamin หมู่ R คือ CN-
การกระตุ้นการเจริญเติบโตในเด็ก เพิ่มความอยากอาหาร
ขนส่งหมู่เมทิล
เมตาบอลิซึมกรดอะมิโน เมทไทโอนีน โฮโมซีสเตอีน และเซอรีน
ได้จากอาหารเนื้อสัตว์ เช่น ตับ ไต หัวใจ เนื้อสัตว์ หอยแครง ไม่พบในพืช
จุลินทรีย์ในลำไส้สังเคราะห์ได้
เป็นโคเอนไซม์ของ methylmalony-CoA mutase และ methionine systhase ทำหน้าที่สังเคราะห์นิวคลิโอไทด์
การขาด B12
ส่งผลต่อระบบประสาท มึนงง ความจำสั้น สมาธิสั้น ความจำเสื่อมกล้ามเนื้ออ่อนแรง หายใจสั่น ใจสั่น