Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ท้องเสีย, จัดทำโดย, นางสาวอัจฉรา อุประ…
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ท้องเสีย
ท้องเสีย (Diarrhea)
เป็นอาการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำมากกว่าปกติ ในบางครั้งถ่ายเป็นมูกปนเลือด มักเกิดหลังจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป โดยอาการจะเกิดขึ้นในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน แต่ในบางรายอาจอาการเรื้อรังเป็นเวลานาน
สาเหตุ
ท้องเสียแบบเฉียบพลัน
การติดเชื้อไวรัส
เช่น โนโรไวรัส ไวรัสตับอักเสบ
การได้รับเชื้อปรสิต
เช่น เชื้อบิดอะมีบา เชื้อคริปโตสปอริเดียม
การติดเชื้อแบคทีเรีย
ที่มักปนเปื้อนมากับน้ำและอาหาร เช่น เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เชื้อซาลโมเนลลา เชื้อชิเกลลา และเชื้ออีโคไล
อื่น ๆ
อาการวิตกกังวล ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก การแพ้อาหารบางชนิด เป็นต้น
ท้องเสียแบบเรื้อรัง
อาการท้องเสียที่เกิดขึ้นติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป จะถือเป็นอาการท้องเสียเรื้อรัง ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัย
โรคในระบบทางเดินอาหารและโรคลำไส้ผิดปกติ
เช่นโรคลำไส้อักเสบ โรคลำไส้แปรปรวน โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่
อาหาร
มีปัญหาในการย่อยสารอาหารบางประเภท ขาดน้ำย่อยสำหรับย่อยน้ำตาลแล็กโทส
การตอบสนองต่อยาบางประเภท
ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคมะเร็ง รวมถึงยาลดกรดที่มีแมกนีเซียม สามารถทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
ลักษณะของอุจจาระ
เริ่มเหลวแต่ยังเป็นแบบกึ่งแข็งกึ่งเหลว
เปื่อยยุ่ย ขับถ่ายง่ายมาก อาการเริ่มต้นของท้องเสีย หรือเนื่องจากแบคทีเรียในลำไส้ไม่สมดุล หากถ่ายเหลวบ่อยๆ อาจส่งผลให้ขาดน้ำ หรือสารอาหารที่จำเป็น
เหลวเป็นน้ำ
อาการท้องเสีย ที่อาจหมายถึงมีการติดเชื้อในลำไส้
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยจะมีการถ่ายอุจจาระเหลว มากกว่า 3 ครั้ง ใน 1 วัน หรือถ่ายมีมูกเลือด เพียงครั้งเดียวหรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 1 ครั้งใน 1 ชั่วโมง
ปวดท้อง
คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย
รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว
มีไข้
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิด
ภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง
กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกยูรีเมีย หากท้องเสียจากการติดเชื้อบางชนิด
โรคลำไส้แปรปรวน
ร่างกายส่วนอื่นตอบสนองต่อการติดเชื้อใน ทางเดินอาหารจนเกิดการอักเสบตามไปด้วย
ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
การติดเชื้อลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลความสะอาด
แนะนำให้รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ทุกครั้ง โดยเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย กากน้อย ไม่มีไขมัน เพื่อลดอาการคลื่นไส้และอาเจียน
ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร หรือหลังทำกิจกรรมต่าง ๆ ทุกครั้งเพื่อลดการปนเปื้อนและปลอดภัย
เลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทหมัก ดอง ที่ไม่มั่นใจเรื่องคุณภาพและความสะอาด เพราะอาจมีเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียได้
ดูแลความสุขสบาย
ช่วยเหลือทำความสะอาดหลังการขับถ่าย ชำระด้วยน้ำและซับให้แห้งทุกครั้ง
ดูแลผิวหนังบริเวณทวารหนักและฝีเย็บให้สะอาดแห้งอยู่เสมอ
ดูแลให้นอนพักบนเตียง เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนหลังจากที่อ่อนเพลียจากการขับถ่าย
จัดท่าให้สุขสบายขณะขับถ่าย ควรให้นั่งถ่ายบนโถส้วม ไม่ควรนั่งยอง ๆ
ช่วยเหลือให้ไปห้องน้ำได้ทัน เพราะส่วนมากจะกลั้นอุจจาระไม่ได้
ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
สังเกตภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ เช่น กระหายน้ำมาก ผิวขาดความตึงตัว ใจสั่น ปวดท้อง เป็นตะคริว ซึม สับสน เป็นต้น
หากพบเลือดปนในอุจจาระ หรือ มีเลือดปนในอาเจียน ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาทันที
กระตุ้นให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร และสารละลายผงเกลือแร่ เพื่อทดแทนน้ำสูญเสียไปและปรับสมดุลของร่างกาย
จัดทำโดย
นางสาวอัจฉรา อุประ เลขที่ 73 ห้อง A