Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร "ภาวะท้องเสีย", :star:อ้างอิง …
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
"ภาวะท้องเสีย"
:warning:
ความหมายของภาวะท้องเสีย
:warning:
องค์การอนามัยโลกได้ให้นิยามว่า ท้องเสีย (Diarrhea) หมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ ตั้งแต่
3 ครั้งขึ้นไปต่อวันโดยอาจถ่ายเหลว ถ่ายเป็นน้ำ หรือเป็นมูกเลือด ซึ่งเรียกได้อีก ชื่อว่า โรคบิดีหรือเป็นบิด
เมื่อท้องเสียหายได้ภายใน 2 สัปดาห์ เรียกว่า ท้องเสียเฉียบพลัน เมื่อท้องเสียนาน 2-4 สัปดาห์
เรียกว่า ท้องเสียต่อเนื่อง และเมื่อท้องเสียนานมากกว่า 4 สัปดาห์ขึ้นไป เรียกว่า ท้องเสียเรื้อรัง
ท้องเสียอาจเรียก ท้องร่วงหรืออุจจาระร่วงหรือท้องเดิน โดยมักพบในประเทศกำลังพัฒนาและใน
ประเทศที่ยังไม่พัฒนารวมทั้งในประเทศไทย
ท้องเสีย หรือ อุจจาระร่วง (Diarrhea) เป็นอาการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำมากกว่าปกติ หรือในบางครั้ง
ถ่ายเป็นมูกปนเลือด มักเกิดจากการติดเชื้อหรือภาวะอาหารเป็นพิษ หลังจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน
เชื้อโรคเข้าไป โดยอาการจะเกิดขึ้นในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน แต่ในบางรายอาจอาการเรื้อรังเป็นเวลานาน
ซึ่งอาจเกิดจากโรคอื่นๆได้ เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory Bowel Disease: IBD)
หรือโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS)
:red_flag:
สาเหตุ
:red_flag:
การกินอาหาร และดื่มน้ำปนเปื้อนเชื้อโรค
หยิบจับอาหารเข้าปากโดยไม่ล้างมือ
การล้างมือไม่สะอาด
อุจจาระที่ปนเปื้อนจากมือจึงก่อให้เกิดการติดเชื้อได้จากมือ
สู่ปากโดยตรงหรือในการปรุงอาหาร
เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุให้ท้องเสียมีได้หลายชนิด เช่น อีโคไล (E.coli) ซึ่งเป็น
เชื้อพบบ่อยที่สุด เชื้อไทฟอยด์ (Salmonella) เชื้อบิดชนิดชิเกลลา (Shigella) เชื้ออหิวา
ติดเชื้อบิด (บิดมีตัว)จากติดเชื้อสัตว์เซลล์เดียว(โปรตัวซัว)ที่มีชื่อว่า
อะมีบาหรือติดเชื้อพยาธิเข็มหมุด ซึ่งบางคนเรียกว่า พยาธิเส้นด้าย
จากโรคกลุ่มอาการดูดซึมอาหารได้น้อย
จากผลข้างเคียงของยาบางชนิด กลุ่มยาแก้ปวด เอ็นเสดส์ ยาปฏิชีวนะ
ยารักษาโรคเกาต์ และยา เคมีบาบัด
:red_flag:
ชนิดของท้องเสีย
:red_flag:
ท้องเสียชนิดเฉียบพลัน
ท้องเสียที่มีระยะฟักตัวสั้น และมีอาการไม่นาน
หรือระยะเวลาเป็นวัน ไม่เกินสัปดาห์
สาเหตุ
การได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้แก่ virus bacteria บิด
บิด หมายถึง อาการถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือดบ่อยครั้ง
ร่วมกับ อาการปวดเบ่งที่ทวารหนักคล้ายถ่ายไม่สุด
บิดชนิดไม่มีตัว มีสาเหตุมาจากเชื่อแบคทีเรีย
อาการท้องเสีย รุนแรงร่วมกับมีไข้
บิดชนิดมีตัว มีสาเหตุมาจากเชื้อ โปรโตซัวไม่ค่อยมีอาการไข้
ไม่อ่อนเพลีย แต่อุจจาระจะมีกลิ่นเหม็น เหมือน หัวกุ้งเน่า
อาหารเป็นพิษ เกิดจากการบริโภคอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียอยู่ในอาหาร
จะมีอาการท้องเสียรุนแรงในระยะเวลาอันสั้น หลังจากรับประทานอาหารมีอาเจียนร่วมด้วย
สาเหตุอื่นๆ เช่น อาหารจำพวกนม หรือสารให้ความหวาน ยาบางชนิด สารเคมี
หรือโลหะหนักหรือพืชบางชนิด อาจจะทำให้เกิดอาการท้องเสียชนิดเฉียบพลันได้
ท้องเสียชนิดเรื้อรัง
ท้องเสียที่มีอาการติดต่อกันนานเป็นๆหายๆ
มาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน
อารมณ์ เกิดจากการผิดปกติของการทำงานของ
ลำไส้ใหญ่ เวลามีอารมณ์เครียด
ความผิดปกติของเมตาบอลิซึ่ม
การดูดซึมผิดปกติ
:red_flag:
อาการและอาการแสดง
:red_flag:
ถ่ายอุจจาระวันละ 3 ครั้งขึ้นไป
ปวดมวนท้อง ปวดเบ่ง อ่อนเพลีย
อาจมีไข้ ปวดเมื่อยตัว
ถ่ายเป็นมูกเลือด เมื่อเกิดจากติดเชื้อบิด
อาการสำคัญที่สุดและอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้รวดเร็ว คือ อาการจากร่างกายขาดน้ำ และสูญเสียเกลือแร่ที่ออกร่วมมาในอุจจาระ
:red_flag:
ภาวะแทรกซ้อน
:red_flag:
โรคลำไส้แปรปรวน
ภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง
ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกยูรีเมีย หากท้องเสียจากการติดเชื้อบางชนิด
ร่างกายส่วนอื่นตอบสนองต่อการติดเชื้อในทางเดินอาหารจนเกิดการอักเสบตามไปด้วย
การติดเชื้อลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆในร่างกาย
:red_flag:
การเกิดภาวะท้องเสียในผู้สูงอายุ
:red_flag:
ร่างกายของผู้สูงอายุ ทนต่ออาการเสียน้ำได้ไม่ดี แม้ท้องเสียเพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้ระดับเกลือแร่ในเลือดลดต่ำลงได้ ซึ่งมักมีอาการดังนี้ คือ ริมฝีปากแห้ง คอแห้ง ตาโหล ซึม อาจมีความดันโลหิตต่ำหากเป็นมาก
:red_flag:
การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะท้องเสีย
:red_flag:
แนะนำการดูแลตนเองเมื่อท้องเสีย
พักผ่อนให้เพียงพอ
ดื่มน้ำมากๆหรือดื่มน้ำผงเกลือแร่เมื่อถ่ายเป็นน้ำหรือรู้สึกปากแห้ง
กินอาหารอ่อน อาหารเหลว หรือ อาหารรสจืด
รักษาประคับประคองตามอาการ เช่น ยาบรรเทาปวดท้องหรือยาลดไข้
ให้ยาปฏิชีวนะเมื่อเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
เมื่อผู้สูงอายุดื่มไม่ได้หรือท้องเสียรุนแรง อาจเป็นการให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ แต่ถ้ายังกิน/ดื่มได้การรักษาคือการดื่มน้ำหรือดื่มน้ำเกลือแร่ (ORS)
:red_flag:
การป้องกันท้องเสีย
:red_flag:
กินอาหารสุกและปรุงใหม่เสมอ ดื่มน้ำสะอาดระวังการกิน
น้ำแข็งและดื่มนมสดเฉพาะที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วเท่านั้น
ล้างมือให้สะอาดเสมอ โดยเฉพาะก่อนกินอาหาร
และหลังเข้าห้องน้ำ
ปรึกษาแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นสาเหตุ
มีวัคซีน เช่น วัคซีนโรคตับอักเสบ
:star:
อ้างอิง
:star:
ปรัชญา ศรีสว่าง.(2557).
ท้องเสีย (diarrhea)
.สืบค้นเมื่อวันที่6 มิถุนายน 2563 จากเว็ปไซต์:
https://www.slideshare.net/prachayasriswang3/ppt-1-37199786
Thaiseniormarket.(ม.ป.ป.).
ทำอย่างไร เมื่อผู้สูงอายุท้องเสีย
.สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2563 จากเว็บไซต์:
http://www.thaiseniormarket.com/article-detail/172
ณหทัย จงประสิทธิ์กุล.(2559).
ท้องเสีย
.สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2563 จากเว็บไซต์:
http://www.somdej.or.th/index.php/2016-01-18-07-08-19
เสนอ
อาจารย์ชมพูนุช พูมพิจ
จัดทำโดย
นางสาวชฎาพร พรมมะดี เลขที่44 ห้องA