วิตามินที่ละลายในไขมัน (Fat soluble vitamins)

วิตามินเอ (retinol : vitamin A)

วิตามินอี (a-tocopherol : vitamin E)

วิตามินดี (Calciferol : vitamin D)

วิตามินเค
(Coagulation vitamin : vitamin K)

หน้าที่ของวิตามินเอ

ความต้องการวิตามินเอ

โพรวิตามินเอ (Provitamin A)

ภาวการณ์ขาดวิตามินเอ (Deficiency)

ข้อมูลทั่วไป

ภาวะความเป็นพิษของวิตามินเอ

  • เป็นสารประกอบพอลิไอโซพรีนอยด์ (polyisoprenoid)
  • ส่วนใหญ่เป็นไอโซเมอร์แบบรูปทรานทั้งหมด (all trans-retinol) เรียกว่า A1

อนุพันธ์ ของเรตินอล(retinol)

รูปแอลดีไฮด์ เรียกเรตินาล(ratinal)

รูปกรดคาร์บอกซิริก เรียกกรดเรติโนอิก (ratinoic acid)

ratinoid

  • เบตา แคโรทีน (Beta Carotene)
  • พบมากในผักและผลไม้โดยเฉพาะที่มีรงควัตถุสีเหลือง ในผักสีเขียวจัด ผักผลไม้สีส้มสีเหลือง เช่น ตำลึง แครอท ชะอม มะละกอ
  • จะถูกเปลี่ยนเป็นเรตินาลที่ผนังลำไส้เล็ก
  • เบตา แคโรทีน เปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ได้น้อยกว่า 50%

การมองเห็น เกี่ยวข้องกับเซลล์รับภาพจอตา (ratina)

รักษาความคงสภาพของเนื้อเยื่อบุผิว

การเจริญและการเปลี่ยนสภาพของเซลล์ โดยเรตินอล กรดเรติโน-อิก ป้องกันเซลล์เติบโตผิดปกติ ป้องกันการเกิดมะเร็ง

ต้านออกซิเดชัน(antioxidant) บีตา แคโรทีน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดในผู้สูบบุหรี่

  • ควบคุมการทำงานของ cone cell สำหรับมองเห็นภาพสีที่แสงสว่าง
  • ควบคุมการทำงานของ rod cell สำหรับการมองเห็นในที่มีแสงสลัว
  • เรตินอลฟอสเฟต สังเคราะห์เมือกเพื่อให้ความชุ่มชื้น
  • เรตินอล และกรดเรติโนอิก ป้องกันการสังเคราะห์เคราทินซึ่งมีผลให้เซลล์แข็ง ไม่ยืดหยุ่น
  • เรตินอลพบมากใน ตับ ไข่แดง น้ำมันปลา นม
  • ร่างกายต้องการวิตามินเอ(retinol) วันละ 1 มก.
  • เกิดในคนที่ภาวะโภชนาการไม่ดี หรือระบบดูดซึมอาหารผิดปกติ (ภาวะทุพโภชนาการ Malnutrition)
  • เริ่มแรก สูญเสียความไวต่อแสงสีเขียว และเกิดโรคตาบอดกลางคืน
  • ระยะยาว เยื่อบุตาอักเสบ(xerophthalmia) เยื่อตาขาวและกระจกตาแห้ง เลือดออกในตาตาบอด
  • เกิดโรคโลหิตจาง (aniamia) เพราะเรตินอล และเรติโนอิกสังเคราะห์โปรตีนทรานสเฟอริน ซึ่งใช้ขนส่งเหล็กในกระแสเลือด
  • ได้รับเกิน 10 เท่านานๆ ปวดหัว อาเจียน ผิวแห้ง โรคดับ เด็กทารกแท้ง พุงโร ปวดกระดูก
  • บีตาแค-โรทีนสูงเกินสะสมใต้ผิวหนังเป็นสีส้ม หยุดกินหาย

หน้าที่ของวิตามินดี

การขาดวิตามินดี

ข้อมูลทั่วไป

พิษจากการได้รับมากเกินไป

  • เป็นสารพวกสเตอรอยด์มี 2 รูปคือ D2 และ D3
  • D3 สังเคราะห์จาก 7 - dehydrocholesterol ที่อยู่ใต้ผิวหนัง เมื่อถูกแสงแดด (UVB)
  • D2 สังเคราะห์จาก ergostrerol มีมากในอาหารประเภทพืช ไข่ไก่ นม ยีสต์
  • ช่วยร่างกายในการสร้างกระดูกและฟัน
  • กระตุ้นการดูดซึมแคลเซียมและฟอสเฟตจากหลอดไต
  • ร่วมกับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ในการรักษาระดับแคลเซียมในเลือด
  • ทำให้ร่างกายขาดแคลเซียมและฟอสฟอรัสในการสร้างกระดูก
  • เกิดโรคกระดูกอ่อน(กระดูกพรุน)ในเด็ก และกระดูกเปราะ(กระดูกน่วม)ในผู้ใหญ่
  • เสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เต้านม ต่อมลูกหมาก
  • ร่างกายขาด Mg หรือ Ca ทำให้ดูดซึมวิตามินดี ได้น้อยลง

โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rckets) คือภาวะที่มีความบกพร่องในการสะสมแร่ธาตุหรือการสะสมแคลเซียมในกระดูก

  • ทำให้มีการสลายแคลเซียมจากกระดูก และดูดซึมแคลเซียมจากอาหารเพิ่ม
  • ทำให้แคลเซียมในเลือดสูง ปัสสาวะมาก กระหายน้ำ สะสมตามเนื้อเยื่ออ่อน ไม่อยากอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ไตทำงานลดลง
  • ทารก ทางเดินอาหารผิดปกติกระดูกเปราะ เติบโตช้า ปัญญาอ่อน

เป็นสารพวกแอลกอฮอล์ไม่อิ่มตัว

ไวต่อการถูกออกซิไดส์ จึงป้องกันสารอื่นไม่ให้ถูก ออกซิไดส์

มีหลายรูป รูปที่ออกฤทธิ์ได้ดีในร่างกายคือ a-tocopherol

ดูดซึมได้ดีในลำไส้เล็ก

มีมากในน้ำมันวีทเจอร์ม(wheat germ oil) น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันรำ น้ำมันเมล็ดฝ้ายในพืชสีเขียวมีแต่ไม่มาก

เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ(antioxidant) และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์และจะทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (Hemolysis)

อาหารที่มีวิตามินเค

การขาดวิตามินเค

ข้อมูลทั่วไป

  • เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด จำเป็นสำหรับการสร้างโปรทรอมบิน (prothrombin)
  • เป็นน้ำมันสีเหลือง ทนความร้อน ทนต่อความเป็นกรด แต่ไม่ทนต่อกรดแก่ ต่างที่ผสมแอลกอฮอล์ ไม่ทนต่อแสงสว่าง
  • น้ำมันทอดซ้ำ มีผลทำให้วิตามินเคสลายตัว

ที่สำคัญมี 3ชนิด คือ

  • K1 (phylloquinone)
  • K2 (menoquinone)
  • K3 (mendadione)

พบในผักสีเขียว

แบคทีเรียในลำไส้สังเคราะห์ได้ มีประสิทธิภาพในการทำงานร้อยละ 75 ของวิตามิน K1

สังเคราะห์ขึ้นใช้สำหรับรักษาคนไข้ที่ไม่สามารถใช้วิตามินเคที่สร้างขึ้นที่ลำไส้ได้ เนื่องจากขาดน้ำดี หรือน้ำย่อยที่จำเป็นสำหรับการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน มีประสิทธิภาพกว่า K1 3 เท่า มีสมบัติละลายน้ำได้ เมื่อเข้าไปในร่างกายแล้ว จะเปลี่ยนเป็นเมนาควิโนนที่ตับ

  • พืชผักที่มีใบสีเขียว ผักกระเฉด ผักโขม กะหล่ำปลี หญ้าอัลฟัลฟ่า บร็อคโคลี่หน่อไม้ฝรั่ง และสาหร่ายทะเล
  • น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดคำฝอย น้ำมันตับปลา
  • ตับหมู ไข่แดง
  • นม และผลิตภัณฑ์จากนม (dairy product) เช่น เนย (butter) เนยแข็ง (cheese) โยเกิร์ต
  • ทำให้โพรทรอมบินเฟกเตอร์และโปรตีนช่วยการแข็งตัวของเลือดปริมาณต่ำมีผลทำให้เลือดแข็งตัวช้า เกิดโรคเลือดไหลไม่หยุด
  • ผู้ใหญ่ไม่ค่อยพบ นอกจากใช้ยาบางชนิด เช่น ยาซัลฟากัวนิดีน หรือตับอักเสบ
  • ทารกเกิดใหม่พบบ่อย เพราะแบคทีเรียในลำไส้น้อย ในนมมีน้อย

1d1ce043533a509665bcfec63b80a129 Vitamin-K-1-768x768

Vitamin-E-1-768x768 unnamed

vitamin-d-awareness-blog-549960-59517-40 88c7694f604a1a6896bdfba9bc3d50a0

gg vitamin-a_1.png.1379504068406

vitamina-a