Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
:star:ภาวะท้องเสียในผู้สูงอายุ :star:, :red_flag:ความผิดปกติระบบทางเดินอาห…
:star:
ภาวะท้องเสียในผู้สูงอายุ
:star:
:explode:
ภาวะแทรกซ้อนของอาการท้องเสีย
เม็ดเลือดแดงแตกซึ่งเป็นผลมาจากการติดเชื้อ
ติดเชื้อในทางเดินอาหารจนเกิดการอักเสบ
โรคลำไส้แปรปรวน
ติดเชื้อลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย
ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
:explode:
สาเหตุของอาการท้องเสียเรื้อรัง
ติดเชื้อพยาธิ ปรสิตหนอนพยาธิ และโปรโตซัวที่อาศัยอยู่ในลำไส้ เช่น พยาธิตัวตืด เชื้ออะมีบา อาจทำให้เกิดอาการท้องเสียเรื้อรังได้ และบางครั้ง ผู้ป่วยอาจอุจจาระเป็นมูกเลือดด้วย รวมถึงอาจมีอาการซีด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด และคลื่นไส้อาเจียนได้
เป็นผลจากยาบางชนิด การรับประทานยาสมุนไพร หรืออาหารเสริมที่มีฤทธิ์เป็นยาระบาย อาจส่งผลให้เกิดอาการถ่ายท้องบ่อยๆได้
แพ้อาหาร บางคนอาจขาดเอนไซม์บางตัว ทำให้ไม่สามารถย่อยอาหารบางชนิดได้ เช่น ผู้ที่ขาดเอนไซม์แลคเทส (Lactase)
มีความเครียด ภาวะเครียด และวิตกกังวลจะทำให้การบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดแน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องผูก หรือท้องเสียเรื้อรังได้
ภาวะลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS) ทำให้เกิดอาการปวดแน่นท้อง ขับถ่ายผิดปกติ ท้องเสีย หรือท้องผูกบ่อยๆ บางครั้งกลั้นอุจจาระไม่อยู่ อาจมีเมือกใส และเลือดปนออกมากับอุจจาระได้
ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส HIV
ลำไส้อักเสบเรื้อรัง คือ การอักเสบภายในลำไส้ใหญ่
:explode:
อาการและอาการแสดง
ถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป
ถ่ายเป็นมูกปนเลือด 1 ครั้งหรือมากกว่านั้นภายใน 24 ชั่วโมง
ถ่ายอุจจาระเหลว
อาการปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อ่อนเพลีย รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัวและมีไข้
ภาวะท้องเสีย หรือ diarrhea หมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลวเกิน 3 ครั้งขึ้นไป หรือถ่ายเหลวเป็นน้ำ 1 ครั้ง หรือถ่ายเป็นมูกเลือด 1 ครั้งในหนึ่งวัน หรือมีอาการถ่ายเหลวผิดปกติหรือถ่ายบ่อยกว่าปกติ เรามักพูดกันติดปากว่า ท้องร่วง ท้องเสีย ในบางครั้งผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดบิดในท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน
:explode:
การป้องกันและแก้ไขภาวะท้องเสีย
งดอาหารรสจัดและของหมักดอง รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้มหรือโจ๊ก
หากร่างกายอ่อนเพลีย ให้ดื่มน้ำเกลือแร่
เลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีผลิตภัณฑ์นมเป็นส่วนประกอบ
หลังจากหายท้องเสียแล้ว การรับประทานอาหารซึ่งมีจุลินทรีย์ชนิดดี เช่น โยเกิร์ต หรือผลิตภัณฑ์ที่มีโปรไบโอติก ก็อาจช่วยให้เชื้อต่างๆ ในลำไส้คืนสมดุลได้เร็วขึ้น
แนะนำให้ถ่ายอุจจาระออกมาจนหมด หลีกเลี่ยงการรับประทานยาหยุดถ่าย เพราะจะทำให้ของเสียหรือเชื้อโรคจะยังคงสะสมอยู่ในลำไส้
เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ ย่อยง่าย และควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
ดูแลสุขอนามัย เช่น ล้างมือด้วยสบู่หลังเข้าห้องน้ำและก่อนกินอาหาร
:explode:
ปัญหาที่พบในผู้สูงอายุ
ในร่างกายของผู้สูงอายุจะทนต่ออาการเสียน้ำได้ไม่ดี อาการท้องเสียอาจส่งผลให้ระดับเกลือแร่ในเลือดลดต่ำลงได้ ซึ่งมักมีอาการดังนี้ คือ ริมฝีปากแห้ง คอแห้ง ตาโหล ซึม หากอาการเป็นมากอาจทำให้ความดันโลหิตลดต่ำลง
:red_flag:
ความผิดปกติระบบทางเดินอาหารในผู้สูงอายุ
:red_flag:
:fire:
ผู้จัดทำ นางสาวภัทราพร คูหานา เลขที่ 28 ห้อง A