Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ท้องผูก, นางสาวอัจฉรา อุประ เลขที่ 73 ห้อง…
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ท้องผูก
ท้องผูก (Constipation)
การเคลื่อนไหวของลำไส้น้อยลงทำให้มีการขับถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ มีลักษณะอุจจาระแข็งแห้ง ก้อนใหญ่ผิดปกติและถ่ายลำบากหรือการมีแรงต้านการเคลื่อนไหวของลำไส้ทำให้ผู้นั้นต้องออกแรงเบ่งการขับถ่ายอุจจาระเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้ถ่ายลำบาก
สาเหตุ
พฤติกรรมและแบบแผนการดำเนินชีวิต
รับประทานอาหารที่มีเส้นใยน้อย ดื่มน้ำน้อยหรือไม่เพียงพอต่อร่างกาย
สุขนิสัยส่วนตัว เช่น ถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลา หรือการกลั้นอุจจาระบ่อยๆ
ความเครียดส่งผลให้ร่างกายรู้สึกเบื่ออาหาร และรับประทานอาหารได้น้อย
อื่นๆ เช่น ดื่มเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟมากเกินไป
ไม่ได้เคลื่อนไหวหรือไม่มีการออกกำลังกาย
ยาบางชนิด
การรับประทานยาระบายเป็นประจำ
ยากลุ่ม Opiates
ยาต้านซึมเศร้า
ยากันชัก
ยาลดกรดที่มีเกลืออลูมิเนียม
โรคประจำตัว
โรคทางระบบประสาท
โรคของลำไส้หรือทวารหนัก เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่
การเคลื่อนไหวของร่างกายมีข้อจำกัด
ระบบการย่อยของทางเดินอาหารเสื่อมลง
ลักษณะของอุจจาระ
ปกติ
เป็นก้อนยาว ผิวจะมีรอยแยกอยู่บ้าง
ขับถ่ายได้ไม่ลำบากนัก เป็นอุจจาระที่ปกติแต่ค่อนข้างขาดน้ำ
เป็นลำ ผิวเรียบคล้ายกล้วยหอม
ไม่แข็งหรืออ่อนยุ่ยจนเกินไป ถือว่าเป็นรูปทรงอุจจาระที่สมบูรณ์และสุขภาพดีที่สุด
แตกๆ แต่เป็นชิ้นสั้นๆ ขับถ่ายง่าย
เป็นอุจจาระคุณภาพดี แต่อาจขาดสารอาหารหรือกากใย
ท้องผูก
เป็นเม็ดแข็งคล้ายขี้กระต่าย
มักเกิดในผู้มีอาการท้องผูก เนื่องจากอุจจาระแห้ง เคลื่อนผ่านลำไส้ได้ยาก หรืออาจเพราะมีอุจจาระค้างในลำไส้เป็นเวลานาน
เป็นก้อนเล็กๆ หลายก้อนรวมกัน
อาการและอาการแสดง
อึดอัด แน่นท้อง หรือท้องอืดและไม่ผายลม
ใช้เวลานานในการเบ่งถ่าย
ความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระลดลงกว่าปกติ
มีความเจ็บปวดเวลาเบ่งถ่ายหรือมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ
มีอุจจาระแข็ง
หลังถ่ายอุจจาระเรียบร้อยแล้วยังมีความรู้สึก ถ่ายไม่หมดหรือถ่ายอุจจาระไม่สุด
มีภาวะซีด
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิด
ทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร หรือแผลปริรอบๆ ทวารหนักจากอุจจาระที่แห้งแข็ง ครูดหลอดเลือดจนฉีกขาด
ความดันในช่องทรวงอกเพิ่มขึ้น
ผู้ป่วยโรคหัวใจอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ความดันในลูกตาสูงขึ้น
แรงดันในช่องท้องสูงขึ้นจนเป็นสาเหตุของไส้เลื่อนได้
กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานอ่อนแอ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ท้องผูกเรื้อรังจนทำให้มีอาการของลำไส้อุดตัน
กิจกรรมการพยาบาล
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกากหรือเส้นใยอาหารให้มากขึ้น พบมากในผักและผลไม้ เช่น ผักใบเขียวต่างๆ คะน้า ผักโขม หรือมะเขือเทศสด ผลไม้ทุกชนิด โดยเฉพาะกล้วย สับปะรด ส้มโอ ฝรั่ง องุ่น มะละกอ
กระตุ้นให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว โดยเฉพาะเวลาตื่นนอนตอนเช้า ควรดื่มน้ำ 2-3 แก้ว เพื่อกระตุ้นการทำงานของลำไส้ อาจเพิ่มน้ำผัก น้ำผลไม้ในการช่วยย่อยอาหารด้วย
ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน และไม่ควรรีบเร่งจนเกินไป
แนะนำให้หลีกเลี่ยงการกลั้นอุจจาระ
จัดสิ่งแวดล้อมให้เป็นมิตร มีความเป็นส่วนตัวในการขับถ่าย
กระตุ้นให้ออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดิน การแกว่งแขน การทำกายบริหารอย่างง่ายๆ จะช่วยให้ระบบการขับถ่ายดีขึ้น
ผ่อนคลายความเครียดในชีวิตประจำวัน สูดลมหายใจเข้าออกยาวๆ ฟังดนตรีเบาๆ ทำใจให้สบายร่วมกับการออกกำลังกาย เพื่อผ่อนคลายร่างกาย
กรณีที่อุจจาระอัดแน่นให้ทำการล้วง ด้วยความนุ่มนวล
กรณีนอนติดเตียง ให้จัดท่านอนศีรษะสูงในการขับอุจจาระ
หากใช้ยาระบาย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
นางสาวอัจฉรา อุประ เลขที่ 73 ห้อง A
จัดทำโดย