Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ, นางสาวอรณิชา ไชยเดช 36/2 เลขที่…
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ
ระบบทางเดินหายใจ => ขบวนการแลกเปลี่ยน gas เกิดที่ถุงลม จึงต้องส่งออกซิเจนไปให้ถึงให้ได้อย่างเพียงพอ
ระบบทางเดินหายใจ มี 2 ส่วน คือ ระบบทางเดินหายใจส่วนบน และ ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง
อัตราการหายใจของเด็กในแต่ละวัย
2-12 เดือน ไม่เกิน 50 ครั้ง/นาที
1-5 ปี ไม่เกิน 40 ครั้ง/นาที
ต่ำกว่า 2 เดือน ไม่เกิน 40 ครั้ง/นาที
O2 Saturation มากกว่า 95-100%
เสียงการหายใจผิดปกติ
Stridor sound => เกิดจากมีการตีบแคบของบริเวณกล่องเสียงหรือ หลอดลม ได้ยินตอนหายใจเข้าและออก ลักษณะคล้ายเสียงคราง พบได้บ่อยในกลุ่มอาการของเด็กที่เป็น croup
crepitation sound => เสียงแตกกระจายเป็น ช่วงๆพบได้ในภาวะปอดอักเสบ (pneumonia
rhonchi sound =>การตีบแคบอาจเกิดจากเสมหะอุดตัน เยื่อบุทางเดินหายใจบวม
wheezing => เสียงหวีด พบในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด
เสียงหายใจที่ผิดปกติ เป็นเครื่องแสดงว่า ผู้ป่วยได้รับ ออกซิเจนไม่เพียงพอ
เสมหะ
กลไกการสร้างเสมหะ
ประกอบด้วย 3 กลไก
การพัดโบกของขนกวัด Cilia
กลไกการไอ Cough Reflex
กระบวนการสร้างสารมูก Mucous
ลักษณะของเสมหะ
เสมหะเหนียว
เป็นมูกคล้ายแป้งเปียก อยู่ติดรวมกันเป็นก้อน ไอขับออกมาไดย้าก
เสมหะไม่เหนียว
เป็นเมือกเหลว ไม่รวมตัวกันเป็นก้อน ทำให้ผู้ป่วยไอขับออกมาได้ง่าย
Croup
เป็นกลุ่มอาการอุดกลั้นทางเดินหายใจส่วนบนบริเวณกล่องเสียง (larynx)และส่วนที่อยู่ใต้ลงมา
สาเหตุจากมีการอักเสบที่บริเวณ
ฝาปิดกล่องเสียง(acute epiglottitis)
กล่องเสียง (acute laryngitis)
กล่องเสียง หลอดลมใหญ่ และหลอดลมฝอยในปอด (Laryngotracheobronchitis)
อาการ
inspiratory stridor หายใจเข้ามีเสียงฮืด
ไอเสียงก้อง Barking cough
ไข้ เจ็บคอ หายใจลำบาก Dyspnea
อาการน้ำลายไหล (drooling)
อาการจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
ไม่ตอบสนองต่อการพ่นยาทั่วไป ส่วนใหญ่จะพ่น Adrenaline ต้องใส่ Endotracheal tube
สาเหตุจากการติดเชื้อ
Virus
Bacteria => H.influenzae, S.pneumoniae,gr.A Streptococus
ปัญหาสำคัญที่ต้องดูแล คือ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจากมีการอุดกลั้นทางเดินหายใจ
Tonsillitis/Pharyngitis
สาเหตุ
การติดเชื้อ แบคที่เรีย ไวรัส เช่น Beta Hemolytic streptococcus gr. A
อาการ
ไข้ ปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ
การผ่าตัดต่อมทอนซิล (tonsillectomy)
ทำเมื่อมีข้อบ่งชี้ในเรื่องของการติดเชื้อเรื้อรัง (chronic tonsillitis) หรือเป็นๆ หายๆ (recurrent acute tonsillitis)
มีไข้, เจ็บคอ, เจ็บคอมากเวลากลืนหรือกลืนลำบาก อย่างเรื้อรังหรือเป็นๆ หายๆ จนรบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
มีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดอาการนอนกรน (snoring)หรือมีภาวะหยดุหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea)
สงสัยว่าเป็นมะเร็งของต่อมทอนซิล (carcinoma of tonsils)
การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด Tonsillectomy
หลังผ่าตัดควรให้เด็กนอนตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อสะดวกต่อการระบายเสมหะ น้ำลายหรือโลหิตอาจมีคั่งอยู่ในปากและในคอ
สังเกตอาการและการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด
เมื่อเด็กรู้ตัวดี จัดให้เด็กอยู่ในท่านั่ง 1-2 ชั่วโมง
หลังผ่าตัด
1.ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถกลับบ้านได้หลังผ่าตัด 24-48 ชั่วโมง หากรับประทานน้ำ และอาหารได้เพียงพอ และไม่มีภาวะแทรกซ้อน
2.ผู้ป่วยอาจจะมีไข้ บวม หรือรู้สึกตึงๆ คล้ายมีสิ่งแปลกปลอมบริเวณ คอ หรือมีเสียงเปลี่ยนได้ ซึ่งอาการดังกล่าวมักจะหายไปภายใน 1 สัปดาห์
3.หลังการผ่าตัด 1-2 วันแรก เพดานอ่อน หรือผนังในคออาจบวมมากขึ้นได้ ทำให้หายใจอึดอัด ไม่สะดวก ดังนั้นจึงควรนอนศีรษะสูง โดยใช้หมอนหนุน อมและประคบน้ำแข็งบ่อยๆ
4.หลีกเลี่ยงการแปรงฟันเข้าไปในช่องปากลึกเกินไป
5.การประคบหรืออมน้ำแข็งควรประคบหรืออมประมาณ 10 นาที แล้วจึง เอาออกประมาณ 10 นาที แล้วค่อยประคบหรืออมใหม่เป็นเวลา 10 นาที ทำเช่นนี้สลับกันไปเรื่อยๆ
6.ควรรับประทานอาหารอ่อน เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้ม
7.โดยปกติ หลังผ่าตัดประมาณ 2-4 สัปดาห์ แผลจะหายเป็นปกติ
ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)
เป็นอาการอักเสบของโพรงอากาศข้างจมูก
สาเหตุ
ุเกิดจากการติดเชื้อ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา
เมื่อเกิดการติดเชื้อจะทำให้เกิดการบวมของเยื้อบุในโพรงอากาศ และ ส่งผลทำให้เกิดภาวะอุดตันช่องระบายของโพรงอากาศข้างจมูก (osteomeatal complex)ทำให้เกิดการคั่งของสารคัดหลั่ง
ระยะของโรค
Acute sinusitis
ระยะของโรคไม่เกิน 12 สัปดาห์
Chronic sinusitis
อาการจะต่อเนื่องเกิน 12 สัปดาห์
อาการ
มีไข้สูงมากกว่า 39 ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว มีน้ำมูกไหล ไอ
ในรายที่ติดเชื้อแบคทเรีย จะมีอาการนาน 10 วัน และมีอาการรุนแรงโดยมีน้ำมูกใสหรือข้นเขียวเป็นหนอง ร่วมกับอาการไอ ลม หายใจมีกลิ่นเหม็นปวดบริเวณหน้าผาก และหัวคิ้วมาก
อาการ Acute จะรุนแรงกว่า Chronic
การวินิจฉัย
X-ray paranasal sinus
CT scan
การตรวจด้วยการส่องไฟผ่าน (Transilumination)
การดูแลรักษา
ให้ยา antibiotic ตามแผนการรักษา
ให้ยาแก้ปวด ลดไข้
ให้ยาแก้แพ้
ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยเฉียบพลันเพราะจะทำให้จมูกและไซนัสแห้ง
ให้ยาSteroid เพื่อลดอาการบวม
การล้างจมูก
การทำความสะอาดโพรงจมูก
ป้องกันการลุกลามของเชื้อโรคจากจมูกและไซนัสไปสู่ปอด
บรรเทาอาการคัด แน่นจมูก
การล้างจมูกก่อนใช้ยาพ่นจมูก จะทำให้ยาพ่นจมูกมีประสิทธิภาพดีขึ้น
ล้างจมูกวันละ 2-3 ครั้ง
ใช้น้ำเกลือหรือ 0.9%NSS ในการล้างจมูก
หอบหืด Asthma
เป็นภาวะที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม (Chronic airway inflammation)
มีความไวต่อสิ่งกระตุ้น ทำให้เกิดพยาธิสภาพ 3 อย่างคือ
1.ทำให้หลอดลมหดเกร็งตัว(Brochospasm)
2.ทำให้หลอดลมตีบแคบลง (Stenosis) เยื่อบุภายในหลอดลมบวมขึ้น
3.สร้างเมือกเหนียวจำนวนมาก (Hypersecretion)
การดูแล
ให้ยาขยายหลอดลม ให้ออกซิเจน ให้พัก เพื่อจำกัดกิจกรรม ยาลดการบวม
รายที่มีเสมหะ จะไม่ใช้วิธีการเคาะปอดในเด็กที่เป็น Asthma ที่กำลังหอบ เพราะจะทำให้หลอดลมเกิดการหดเกร็งมากขึ้น
เด็กเล็ก อายุ 1-2 ปี มักเกิดหลังติดเชื้อไวรัส
เด็กวัยเรียน เกิดจากประวัติภูมิแพ้
อาการ
เสียง Wheezing ในช่วงหายใจออก
หวัด ไอ มีเสมหะ
ความรุนแรงของหอบหืด
ขั้นเล็กน้อย =>เริ่มไอ หรือมีเสียงวี้ด การใช้ชีวิตปกติ
ขั้นปานกลาง => ตื่นกลางคืนบ่อยๆ ขณะเล่นมักไอ หรือมีเสียง Wheezing
ขั้นรุนแรง => กระสับกระส่ายจนนอนไม่ได้ เล่นซนไม่ได้ เหนื่อย หอบจนพูดหรือกินอาหารไม่ได้ หรือรอบริมฝีปากเป็นสีเขียว ต้องส่งโรงพยาบาล
เมื่อพยาธิสภาพที่ 3 อย่างเกิดขึ้น ผู้ป่วยจึงมีอาการหายใจเหนื่อยหอบ
การรักษา
ยาขยายหลอดลม
มีทั้งชนิดพ่นและชนิดรับประทาน แต่ยาชนิดพ่นจะให้ผลได้เร็ว ได้แก่ ventolin
ยาลดการบวม และการอักเสบของหลอดลม (Steroid
สิ่งที่ควรหลีกเลียง
ควันบุหรี่
ตัวไรฝุ่น
ไม่นำสัตว์เลี้ยงเข้าห้องนอน
การออกกำลังกาย
อากาศเย็น
หลอดลมอักเสบ( Bronchitis) หลอดลมฝอยอักเสบ(Bronchiolitis)
เป็นปัญหาติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง
เกิดจากมีการอักเสบและอุดกลั้นของหลอดลม
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด Respiratory syncytial virus : RSV
พบในเด็กเล็กมากกว่าเด็กโต
เด็กที่ไม่กินนมแม่จะพบได้ค่อนข้างสูงกว่าเด็กทั่วไป
อาการ
เริ่มจากไข้หวัดเพียงเล็กน้อย มีน้ำมูกใส จาม เบื่ออาหาร
ต่อมาเริ่มไอเป็นชุดๆ ร้องกวน หายใจเร็ว หอบ หายใจมีปีกจมูกบาน ดูดนมหรือน้ำได้น้อย หรือ ไม่ได้เลย
การรักษา
รักษาตามอาการ
ยาลดไข ้ยาปฏิชีวนะ ยาต้านการอักเสบ (Corticosteroid ) ยาขยายหลอดลม
การดูแล
ปัญหาการติดเชื้อ
เสริมสร้างภูมิต้านทานให้อาหารที่มีประโยชน์
ให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ได้รับน้ำ ดูแลไข้
ปอดบวม Pneumonia
สาเหตุ
สำลักสิ่งแปลกปลอม
ติดเชื้อ แบคทีเรีย ไวรัส
อาการ
ไข้ ไอ
หอบ
ดูดน้ำ ดูดนมน้อยลง
ซึม
เกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกใช้ตัดสิน Pneumonia
เด็กอายุ2 เดือน - 1 ปี อัตราการหายใจที่มากกว่า 50 ครั้ง/นาที
เด็กอายุ 1-5 ปีอัตราการหายใจที่มากกว่า 40 ครั้ง/นาที
เด็กแรกเกิด อัตราการหายใจที่มากกว่า 60 ครั้ง/นาที
การรักษา
ดูแลให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
ดูแลเรื่องไข ้Clear airway suction
ดูแลแก้ไขปัญหาพร่องออกซิเจน
การระบายเสมหะ
การจัดท่าผู้ป่วย (Postural drainage)
เป็นวิธีการที่อาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก (gravity) เป็นหลัก โดยจัดให้ส่วนของปอดที่ต้องการระบาย อยู่ เหนือกว่าหลอดลม และปาก
อยู่ส่วนหน้า Anterior ให้จัดท่านอนหงาย
อยู่ส่วนหลัง Posterior ให้จัดนอนคว่ำ
อยู่ด้านซ้ายให้จัดท่านอนตะแคงขวา ถ้าอยู่ด้านขวาให้นอนตะแคงซ้าย
อยู่ส่วนบนนอนหัวสูง อยู่ส่วนล่างนอนหัวต่ำ
การเคาะ (Percussion)
ใช้อุ้งมือไม่ควรใช้ฝ่ามือ ทำมือให้เป็นลักษณะคุ้ม นิ้วแต่ละนิ้วชิดกัน ที่เรียกว่า cupped hand
ควรเคาะก่อนรับประทานอาหาร หรือขณะท้องว่าง หรือหลังรับประทานอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
ขณะเคาะหากผู้ป่วยไอควรหยุดเคาะ ให้ใช้การสั่นสะเทือนแทน
การสั่นสะเทือน (Vibration)
ใช้มือวางราบพร้อมทั้งเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณต้นแขนและหัวไหล่
ในจังหวะการหายใจเข้าเต็มที่และกำลังหายใจออก
การสอนการไออย่างมีประสิทธิภาพ (Effective cough)
หายใจเข้าเต็มที่ช้าๆ กลั้นไว้สักครู่ และไอออกมาโดยเร็วและแรง
นางสาวอรณิชา ไชยเดช 36/2 เลขที่ 58
รหัสนักศึกษา 612001139
อ้างอิง : เอกสารประกอบการเรียนการสอนอาจารย์กัลยา ศรีมหันต์