Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของทางเดินอาหาร ท้องเสีย( Diarrhea ) - Coggle Diagram
ความผิดปกติของทางเดินอาหาร
ท้องเสีย( Diarrhea )
นางสาวปิยธิดา พันทะลี เลขที่77ห้องA
การป้องกันอาการท้องเสีย
เลือกรับประทานอาหารอย่างระมัดระวัง เช่น รับประทานของร้อน อาหารที่สะอาด สดใหม่ หลีกเลี่ยงผักผลไม้สดที่ล้างไม่สะอาด เนื้อสัตว์ดิบ และผลิตภัณฑ์ประเภทนม เป็นต้น
ในกรณีที่ไม่สามารถล้างมือได้ ควรใช้เจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังรับประทานอาหารหรือสัมผัสกับอาหาร หลังการเข้าห้องน้ำ หรือจับสิ่งสกปรกอื่น ๆ เพื่อป้องกันแพร่กระจายของเชื้อโรค
ไม่ควรวางอาหารทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องนาน ๆ ควรเก็บเข้าตู้เย็น เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
ควรทำความสะอาดบริเวณที่มีการเตรียมอาหารให้ถูกสุขลักษณะ รวมถึงการล้างมือให้สะอาด ขณะเตรียมอาหาร
เลือกดื่มน้ำที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ
หมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำตั้งแต่ 3 ครั้งต่อวันขึ้นไป โดยอาจถ่ายเป็นน้ำหรืออาจเป็นมูกเลือด
ซึ่งถ้าเป็นมูกเลือดจะเรียกอีกชื่อ
ว่าโรคบิด และถ้าท้องเสีย หายได้ภายใน 2 สัปดาห์ เรียกว่า ท้องเสียเฉียบพลัน(Acute diarrhea ) ถ้าท้องเสียนาน 2-4 สัปดาห์ เรียกว่า ท้องเสียต่อเนื่อง ( Persistent diarrhea ) และถ้าท้องเสีย นานมากกว่า 4 สัปดาห์ เรียกว่าท้องเสียเรื้อรัง ( Chronic diarrhea )
สาเหตุของภาวะท้องเสีย
การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียที่มักปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร และก่อให้เกิดอาการท้องเสียตามมา ได้แก่ เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เชื้อซาลโมเนลลา เชื้อชิเกลลา และเชื้ออีโคไล
การติดเชื้อไวรัส มีไวรัสหลายชนิดที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสีย เช่น โรต้าไวรัส โนโรไวรัส ไซโตเมกาโลไวรัส เฮอร์พีส์ซิมเพล็กซ์ไวรัส ไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น โดยโรต้าไวรัสเป็นสาเหตุของการเกิดอาการท้องเสียในเด็กมากที่สุด ซึ่งสามารถหายได้ภายใน 3-7 วัน แต่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาในการย่อยและดูดซึมแล็กโทสที่พบในน้ำนมได้
ท้องเสียจากยาบางชนิด
ท้องเสียจากโรคภูมิคุ้มกันต้านทานบกพร่อง เช่น โรคเอดส์ โรคลำไส้อักเสบ
การได้รับเชื้อปรสิต เชื้อปรสิตสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านอาหารและน้ำที่ปนเปื้อน และอาศัยอยู่ในระบบย่อยอาหารของคนเรา เชื้อปรสิตที่มักพบ คือ เชื้อไกอาเดีย เชื้อแอนตามีบาฮิสโตลิติกาหรือเชื้อบิดอะมีบา และเชื้อคริปโตสปอริเดียม
โรคในระบบทางเดินอาหารและโรคลำไส้ผิดปกติ เช่น โรคโครห์น โรคลำไส้อักเสบ โรคเซลิแอคหรือแพ้กลูเตน โรคลำไส้แปรปรวน โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
อาหาร ปัญหาในการย่อยสารอาหารบางประเภท อย่างการขาดน้ำย่อยสำหรับย่อยน้ำตาลแล็กโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่พบมากในนมหรือผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนม การรับประทานสารทดแทนความหวานในปริมาณมากก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียได้เช่นกัน
การผ่าตัด อาการท้องเสียอาจเกิดขึ้นหลังจากเข้ารับการผ่าตัดบางชนิด อย่างการผ่าตัดลำไส้ หรือการผ่าตัดนำถุงน้ำดีออกไป
ภาวะแทรกซ้อนของอาการท้องเสีย
ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
โรคลำไส้แปรปรวน
ภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง
กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกยูรีเมีย หากท้องเสียจากการติดเชื้อบางชนิด
ร่างกายส่วนอื่นตอบสนองต่อการติดเชื้อในทางเดินอาหารจนเกิดการอักเสบตามไปด้วย
การติดเชื้อลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย
การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะท้องเสีย
ในผู้สูงอายุ หากมีท้องเสีย 1-2 ครั้ง ควรเริ่มทานผลเกลือแร่สำเร็จรูปได้แล้ว โดยดื่มแทนน้ำเปล่า เป็นการดูแลอาการเบื้องต้นที่ช่วยบรรเทาอาการได้เป็นอย่างดีแต่หากผู้สูงอายุมีอุจจาระมีเลือดปนควรรีบพบแพทย์
ไม่ควรดื่มน้ำเกลือแร่สำหรับการสูญเสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย เครื่องดื่มบำรุงกำลัง หรือน้ำอัดลมที่ผสมเกลือแทนการดื่มน้ำเกลือแร่ เพราะจะไม่ได้ปริมาณเกลือแร่ที่สูญเสียไปตามที่ร่างกายต้องการ
เมื่อหายท้องเสียใหม่ๆ ระบบย่อยอาหารในผู้สูงอายุมักไม่ค่อยดี อาจมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และย่อยอาหารบางอย่างไม่ได้ ดังนั้น หลังจากท้องเสีย 1 สัปดาห์ ควรงดอาหารรสจัด มีแก๊สเยอะ ถั่ว ผลิตภัณฑ์จากนม แต่ควรทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่ายแทน
ไม่จำเป็นต้องทานยาหยุดถ่าย ควรปล่อยให้ถ่ายไปจนหมด เพราะร่างกายต้องขับของเสียออกมาจนหมดจึงจะหยุดถ่ายไปเองตามธรรมชาติ แต่หากอยู่ในระหว่างการเดินทาง หรือต้องนั่งรถหลายชั่วโมง ก็สามารถทานยาหยุดถ่ายได้ แต่ควรทานเพียง 1 เม็ดเท่านั้น และไม่ควรทานทันทีเมื่อท้องเสีย ควรทานในกรณีที่ท้องเสียติดต่อกันหลายครั้ง และยังไม่หยุดจริงๆ และเมื่อยาหมดฤทธิ์ ร่างกายจะขับของเสียออกมาจนหมดต่อเองตามธรรมชาติ
ไม่จำเป็นต้องทานผงคาร์บอนหรือผงถ่าน เพราะไม่ช่วยให้ดีขึ้น
หากผู้สูงอายุท้องเสียมากๆ จะเกิดอาการแสบก้นหรือก้นเปื่อย ให้ใช้ปิโตรเลียมเจลทาบริเวณดังกล่าว เพื่อช่วยลดอาการแสบ
หลังท้องเสีย 1 สัปดาห์ ควรระวังเรื่องอาหารการกินมากขึ้น เพราะอาจจะท้องเสียซ้ำอีกได้ หากทานอาหารที่ไม่สะอาด หรือรสจัด