Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
:star:ภาวะท้องผูกในผู้สูงอายุ :star:, :red_flag:ความผิดปกติระบบทางเดินอาหา…
:star:
ภาวะท้องผูกในผู้สูงอายุ
:star:
:explode:
ท้องผูก
หมายถึง การถ่ายอุจจาระลำบาก ต้องใช้เวลาเบ่งนานกว่าปกติ ร่วมกับการมีอุจจาระแข็ง ซึ่งเกิดจากกากอาหารที่ย่อยแล้วเคลื่อนที่มาถึงลำไส้ใหญ่แล้วถูกดูดซึมน้ำและสารบางอย่างกลับเข้าสู่ร่างกาย ทำให้อุจจาระแห้งเป็นก้อนแข็ง อุจจาระที่ค้างอยู่ในลำไส้ยิ่งนาน ร่างกายมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากดื่มน้ำไม่เพียงพอ จะทำให้น้ำถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกายมาก อุจจาระก็จะแข็งมากขึ้น เป็นเหตุให้ถ่ายลำบาก หรือผู้ที่ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ การที่อุจจาระที่คั่งค้างในลำไส้นาน ทำให้เกิดความไม่สุขสบาย แน่นท้องอึดอัด ภาวะท้องผูกมักพบบ่อยในผู้สูงอายุ
:explode:อาการของท้องผูก
ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์หรือน้อยกว่าปกติที่เคยเป็น
รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่ออก หรือถ่ายได้ไม่สุด
ถ่ายอุจจาระออกได้ยาก ต้องใช้แรงเบ่งมากหรือใช้มือช่วยล้วง อาจมีอาการเจ็บขณะถ่ายอุจจาระร่วมด้วย
ท้องอืด ปวดท้อง หรือปวดเกร็งบริเวณหน้าท้อง
อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง เป็นเม็ดเล็ก ๆ
ใช้เวลานานในการเบ่งถ่าย
มีความเจ็บปวดเวลาเบ่งถ่ายหรือมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ
:explode:
สาเหตุการเกิดภาวะท้องผูก
ระบบการย่อยของทางเดินอาหารเสื่อมลง เช่น การบดเคี้ยวไม่ดีเนื่องจากฟันผุ ไม่มีฟันที่จะบดเคี้ยวอาหารที่มีเส้นใย ประกอบกับการเคลื่อนไหวบีบตัวของลำไส้ลดลง
การใช้ยาบางชนิดที่ทำให้ท้องผูก เช่น ยารักษาอาการซึมเศร้า ยารักษาโรคพวกพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ ยาลดความดันโลหิต ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของแคลเซียม หรืออะลูมิเนียม ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของมอร์ฟีน เป็นต้น
การปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้องหรือสุขนิสัยส่วนตัว เช่น รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อย ไม่ออกกำลังกายหรือไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย กลั้นอุจจาระบ่อยๆ
จากสาเหตุอื่นๆ เช่น ดื่มเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟมากเกินไป ได้รับยาแก้ปวด หรือยาบางอย่าง หรืออาจมีโรคที่ทำให้ท้องผูกได้ เช่น โรคทางระบบประสาท มะเร็งลำไส้ใหญ่ ฯลฯ
ความเครียดส่งผลให้ร่างกายรู้สึกเบื่ออาหาร และรับประทานอาหารได้น้อย มีผลกระทบต่อระบบการขับถ่าย ร่างกายจะระงับการขับถ่ายชั่วคราวได้
:explode: ภาวะแทรกซ้อน
3.มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
4.รับประทานอาหารได้น้อย
2.อาจทำให้เกิดภาวะลำไส้อุดตัน เกิดโรคริดสีดวงทวารได้
5.อาหารไม่ย่อยเกิน อาจมีอาเจียนในผู้สูงอายุที่ให้อาหารทางสายยาง
1.ท้องผูกอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความไม่สุขสบายในกระเพาะอาหาร ทวารหนัก
:explode:
การป้องกันแก้ไขปัญหาภาวะท้องผูก
ขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน และไม่ควรรีบเร่งจนเกินไป ซึ่งตำราโบราณถือว่า เวลา 05.00-07.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลำไส้ใหญ่ทำงานได้ดีที่สุด หรือจัดสถานที่ขับถ่ายให้เหมาะสม
ออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดิน การแกว่งแขน การทำกายบริหารอย่างง่ายๆ จะช่วยให้ระบบการขับถ่ายดีขึ้น
ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว โดยเฉพาะเวลาตื่นนอนตอนเช้า ควรดื่มน้ำ 2-3 แก้ว เพื่อกระตุ้นการทำงานของลำไส้ (ถ้าแพทย์ไม่ได้จำกัดน้ำดื่ม) อาจเพิ่มน้ำผัก น้ำผลไม้ในการช่วยย่อยอาหารด้วย ไม่ควรดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งจะทำให้อุจจาระแห้ง
ผ่อนคลายความเครียดในชีวิตประจำวัน สูดลมหายใจเข้าออกยาวๆ ฟังดนตรีเบาๆ ทำใจให้สบายร่วมกับการออกกำลังกาย เพื่อผ่อนคลายร่างกาย
รับประทานอาหารที่มีกากหรือเส้นใยอาหารให้มากขึ้น อาหารที่มีเส้นใยพบมากในผัก เช่น ผักใบเขียวต่างๆ เช่น ผักคะน้า ผักโขม กวางตุ้ง ผักกาดหอม ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี แตงกวา หรือมะเขือเทศสด ผลไม้ทุกชนิด เช่น กล้วย สับปะรด ส้มโอ ฝรั่ง องุ่น มะละกอ สาลี่ แอปเปิ้ล เมล็ดธัญพืช เช่น ถั่วต่างๆ ข้าวกล้อง ลูกเดือย ข้าวโพด เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่มีกากใย เช่น ครีม เนย เนื้อสัตว์ติดมัน มันทอด และขนมหวานต่างๆ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา ฯลฯ
:explode:
สาเหตุปัญหาที่พบในผู้สูงอายุ
รับประทานอาหารที่มีเส้นใยน้อย ดื่มน้ำน้อย หรือความอยากอาหารลดน้อยลง
ระบบการย่อยของทางเดินอาหารเสื่อมลง
ไม่ได้เคลื่อนไหวหรือไม่มีการออกกำลังกายหรือผู้ป่วยที่มีภาวะนอนติดเตียง
ได้รับยาแก้ปวดหรือยาบางชนิดที่มีผลทำให้เกิดอาการท้องผูก
:red_flag:
ความผิดปกติระบบทางเดินอาหารในผู้สูงอายุ
:red_flag:
:silhouettes:
ผู้จัดทำ นางสาวภัทราพร คูหานา เลขที่ 28 ห้อง A