Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แบบประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม (Comprehensive Geriatric…
แบบประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม
(Comprehensive Geriatric Assessment Form)
กระบวนการเสื่อมตามวัย
ลำไส้
มีการเคลื่อนตัวช้าลง ทำให้ท้องผูกได้ง่าย ส่วนความสามารถในการดูดซึมอาหารไม่ลดลงโดยเฉพาะการดูดซึมไขมันไม่แตกต่างไปจากคนวัยหนุ่มสาว แต่การดูดซึมคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนลดลงเล็กน้อย
ทางเดินปัสสาวะ
· ไต เป็นอวัยวะที่มีการเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุชัดเจนที่สุดอวัยวะหนึ่ง เพราะผู้สูงอายุเกือบทุกรายแสดงความผิดปกติในการทำงานของไต เมื่อร่างกายต้องการปรับดุลย์น้ำและกรดด่างในภาวะผิดปกติ น้ำหนักไตจะลดลงราว 20 – 30 % โดยเฉพาะส่วนที่ทำให้หน้าที่กรองของเสียต่าง ๆ ออกไป ทำให้การกำจัดยาออกจากร่างกายลดลง จึงเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะพิษจากยาได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป
· กระเพาะปัสสาวะ จะมีความจุลดลง จำนวนปัสสาวะค้างเพิ่มมากขึ้นหลังการถ่ายปัสสาวะ ทำให้ต้อง ปัสสาวะบ่อยและอาจมีปัสสาวะราดได้บ่อย
ระบบทางเดินอาหารในผู้สูงอายุ
ช่องปากและฟัน เยื่อบุช่องปากบางลง แต่ยังสามารถแบ่งตัวเป็นปกติ น้ำลายจากต่อมน้ำลายลดลงบ้างเนื้อฟันในผู้สูงอายุจะลดความทึบลง เหงือกร่นลงจากคอฟัน เนื่องจากความเสื่อมของ Alveolar bone ขณะที่กระดูกขากรรไกรหดลงเรื่อย ๆ ทำให้ฟันเริ่มโยกคลอนได้ง่าย และยิ่งเมื่อมีหินปูนมาเกาะเกิดการติดเชื้อซ้ำเติม เหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้ฟันร่วงก่อนอายุ 50 ปี และนำไปสู่ภาวะทุโภชนาการในที่สุด
หลอดอาหารการไหลผ่านของอาหารจากลำคอสู่กระเพาะอาหารช้าลง
กระเพาะอาหารน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารลดความเป็นกรดลง
หลอดเลือดแดง
เซลล์กล้ามเนื้อเรียบที่ผนังหลอดเลือดแดงเพิ่มจำนวนขึ้น เกิดมีหย่อมของหินปูนมาเกาะตามผนัง ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งจนอาจคลำได้เป็นลำ และอุดตันได้ง่ายเกิดอาการขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงยังอวัยวะปลายทางได้
ต่อมไร้ท่อ
ต่อมไทรอยดมักไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงจากความชรา แต่ที่มีความสำคัญคือ เมื่อผู้สูงอายุใดเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ จะมีลักษณะอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจงและบางครั้งทำให้คิดว่าเกิดจาก ความชราเอง เช่น เคลื่อนไหวเชื่องช้าลง , น้ำหนักขึ้น , สติปัญญาลดต่ำลง , ท้องผูก เป็นต้น ขณะเดียวกันเมื่อผู้สูงอายุที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินปกติ ที่เรียกต่อมไทรอยด์เป็นพิษ อาจมีอาการเซื่องซึม สับสน หรือหอบเหนื่อยจากภาวะหัวใจวาย แทนที่จะมีอาการตาโปน อุณหภูมิกายสูงกว่าปกติ รับประทานอาหารมาก แต่ผอมลง เหมือนในวัยหนุ่มสาว
การตรวจร่างกาย
ผู้สูงอายุความเป็นอยู่มีคุณภาพที่ดีสัมพันธภาพกับครอบครัวดี ได้รับความช่วยเหลือดูแลจากลูกหลานเป็นอย่างดี และไม่ได้ทำงานแล้ว
ผู้สูงอายุไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีอาการผิดปกติใดๆในปัจจุบัน และไม่เคยมีประวัติแพ้ยา
มีความเครียดระดับปานกลาง
ผู้สูงอายุมีการออกกำลังกายที่เหมาะสมพอสมควร
มีปัญหานอนไม่หลับ หลับยาก
มีปัญหาฟันโยค เคี้ยวอาหารบางชนิดไม่ได้
BMI ตั้งแต่ 21 แต่น้อยกว่า 23
ความอยากอาหารลดลง ส่งผลให้น้ำหนักลดลงในช่วง 1-3 เดือนที่ผ่านมา เสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร
ประเมิน ADL ไม่มีภาวะพึ่งพาผู้อื่น
การทำกิจวัตรประจำวันสามารถทำเองได้ปกติ
การเดินการทรงตัวปกติ
มีปัญหาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้
ผู้สูงอายุปกติดี ไม่มีปัญหา Cognitive function)
มีมีภาวะซึมเศร้า
ไม่มีภาวะสมองเสื่อม
ปัญหาที่พบ
S : นอนไม่หลับอยู่บ่อยครั้ง และเป็นมา 2 ปี 5 เดือนแล้ว
S : นอนในเวลากลางคืนวันละ 5 ชั่วโมง
S : สมาธิในการทำงานลดน้อยลง
S : ฟันโยก ฟันหลอ
S : รู้สึกเบื่ออาหาร
S : ในช่วง 3 เดือน น้ำหนักลด 3 กิโลกรัม
S : ปัสสาวะเล็ดเวลาไอแรงๆ หรือหัวเราะ
O : นอนกลางวันวันละไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง
O : ผู้สูงอายุมีสีหน้า ท่าทางอ่อนเพลียเล็กน้อย และหาวเป็นระยะขณะให้สัมภาษณ์
O : จากการประเมิน ST-5 มีความเครียดระดับปานกลาง
O : การประเมินภาวะโภชนาการ (MNA) = 8 คะแนน มีความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อ-สกุล นางจันที สิงห์งอย
อายุ 76 ปี
เพศ หญิง
ศาสนา พุทธ
ที่อยู่ ชุมชน บ้านดงขวาง บ้านเลขที่ 18/19 ถนน – ตำบล บ้านเอื้อง อำเภอ ศรีสงคราม จังหวัด นครพนม เบอร์โทรศัพท์ 00000000000
ระดับการศึกษา ประถมศึกษา
การรู้หนังสือ อ่านและเขียนได้ดี
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีภาวะอ่อนเพลีย เนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพอ
การพยาบาล
1.แนะนำอย่าเข้านอนเร็วเกินไป กําหนดเวลาเข้านอนและตื่นนอนที่แน่นอน
2.แนะนำการออกกําลังกายที่เหมาะสมในระหว่างวัน หลีกเลียงออกกําลังกายหักโหมในช่วงเย็น
3.จัดสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิของห้องให้พอเหมาะ ไม่มีเสียงดังรบกวน ไม่มีแสงจ้าในช่วงทีนอน
4.ไม่ควรเข้านอนในขณะที่กําลังหิว อาจดื่มนมอุ่น ๆ หรือรับประทานของว่าง
5.อย่ารับประทานอาหารอิ่มเกินไปก่อนนอน หลีกเลี่ยงชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในช่วงอาหารมื้อเย็น และอย่าดื่มน้ำมากก่อนนอนเพราะจะทำให้ต้องตื่นมาปัสสาวะบ่อยขึ้น
6.ควรหากิจกรรมอื่นทำที่ทำให้ง่วงหลับได้ ไม่ควรอ่านหนังสือ หรือดูโทรทัศน์บนเตียงนอน โดยควรใช้เตียงสําหรับการนอนหลับเท่านั้น อาจเปิดเพลงเบาๆ หรือนวดเพื่อผ่อนคลายก่อนนอน
7.หลีกเลี่ยงการงีบหลับในเวลากลางวัน ออกรับแสงแดดระหว่างวันและในช่วงเย็น รวมถึงหลีกเลี่ยงการอยู่ในห้องมืด ๆ ระหว่างวัน เข้านอนเมื่อมีอาการง่วง หากยังไม่ง่วงไม่ควรอยู่บนเตียง
8.เลี่ยงการนอนกลางวันเพราะจะไปรบกวนการนอนในเวลากลางคืนได้
เสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร เนื่องจากประสิทธิภาพในการรับประทานอาหารลดน้อยลง
การพยาบาล
1.พูดคุยสร้างสัมพันธภาพ
2.ให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งเกิดจากปัญหาการเบื่ออาหาร และปัญหาของฟันที่เกิดขึ้นซึ่งนำไปสู่การเกิดภาวะขาดสารอาหารได้ และแนะนำแนวทางการรักษา
แนะนำให้ข้อมูลเลือกอาหารที่ให้คุณค่าครบ 5 หมู่ และควบคุมน้ำหนักผู้สูงอายุให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และการเลือกรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม. และควรให้ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วต่อวัน
แนะนำ ให้แบ่งกินทีละน้อยๆ แต่กินบ่อยๆ เช่น 4-5 มื้อ
อาหารต้องผ่านการปรุงสุก ในลักษณะเปื่อย นุ่ม เพื่อช่วยให้เคี้ยวและย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา
หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดแก๊ส อาหารหมักดอง อาหารรสจัด
แนะนำให้ออกกำลังกายตามสมควร
มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของหูรูดกระเพาะปัสสาวะลดลง
การพยาบาล
ตรวจคัดกรองภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ในผู้ที่อายุตั้งแต่65ปีขึ้นไปทุกราย
การตรวจร่างกาย และสืบค้นทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม
4.ให้ข้อมูลในเรื่องของการรักษา ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆได้แก่ การรักษาโดยไม่ใช้ยา การรักษาโดยการใช้ยาและการผ่าตัด
5.สอนการฝึกขมิบกล้ามเนื้อฐานกระดูกเชิงกราน (Pelvic floor exercise หรือ Kegelexercise)
6.แนะนำการรับประทานอาหารที่มีกากใยร่วมกับฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลาเพื่อลดปัญหาท้องผูก จะมีส่วนช่วยลดความดันในช่องท้องซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของภาวะ stress incontinence
2.ซักประวัติแยกระหว่าง ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ฉับพลัน (acute) คือเกิดในระยะ กับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้แบบเรื้อรัง
กลไกลการเกิดโรค
ภาวะขาดสารอาหาร
เกิดจากจุลินทรีย์ในช่องปากทำลายฟันมากขึ้น ซึ่งคราบจุลินทรีย์ เหล่านี้เป็นเชื้อโรคที่ติดบริเวณคอฟันแล้วปล่อยสารพิษ ทำให้เกิดการระคายเคือง เกิดการอักเสบของเหงือก เยื่อยึดปริทันต์ และกระดูกเบ้าฟัน ลุกลามจนฟันโยกและสูญเสียฟัน ทำให้ผู้สูงอายุมีภาวะเคี้ยวอาหารลำบาก และเกิดการเบื่ออาหาร เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอก็ส่งผลให้น้ำหนักลด ที่อาจนำไปสู่ภาวะขาดสารอาหารในที่สุด
กลั้นปัสสาวะไม่ได้
เป็นผลมาจากการที่ตัวหูรูดท่อปัสสาวะเองหดรัดตัวได้ไม่ดี หรือการหย่อนตัวของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเมื่อมีการเพิ่มความดันในช่องท้องอย่างกะทันหันทำ ให้ความดันในกระเพาะปัสสาวะสูงขึ้นจนหูรูดท่อปัสสาวะไม่สามารถควบคุมการไหลของปัสสาวะได้ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการปัสสาวะเล็ด
นอนหลับยาก
เกิดจากการเสื่อมของระบบประสาทควบคุมการทำงานของจังหวะชีวภาพที่ควบคุมการนอนหลับ (circadian rhythm) การมีระยะหลับลึกลดลงทำให้ผู้สูงอายุตื่นง่ายจากสิ่งกระตุ้นต่างๆ ส่งผลให้ตื่นกลางดึกและหลับยาก ซึ่งร่างกายเราเหมือนเครื่องจักรทำงานตลอดเวลาการนอนเหมือนให้เครื่องจักรได้หยุดทำงาน สะสมพลังงานและขับของเสียออกก็ผิดปกติไปด้วย ซึ่งนำไปสู่การอ่อนเพลียจากการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ
ทฤษฏีผู้สูงอายุที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎีความสูงอายุเชิงชีวภาพ
( Biological theories of aging )
ทฤษฎีความสูงอายุเชิงชีวภาพ เป็นทฤษฎีที่พยายามอธิบายความชราทางชีววิทยา ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่เกิดขึ้น ภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เมื่อเข้าสู่วัยชรากระบวนการของความชราที่เกิดขึ้นมักจะสัมพันธ์กับอายุ ของสิ่งมีชีวิตของสิ่งมีชีวิต ซึ่งอธิบายในเรื่องของผลกระทบของความชราที่ท าให้ระบบการท าหน้าที่ของ อวัยวะในร่างกายท างานได้ลดลง จนกระทั่งไม่สามารถท าหน้าที่ได้ตามปกติเหมือนในวัยเด็กหรือหนุ่มสาว