Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
2324263_Mesa-de-trabajo-1
บทที่ 7 การบริหารคุณภาพทางการพยาบาล
…
บทที่ 7 การบริหารคุณภาพทางการพยาบาล
นางสาววณิชญา เสงี่ยมวิบูล รหัสนักศึกษา 603101081
- แนวคิดและหลักการบริหารคุณภาพทางการพยาบาล
1.1 คุณภาพ (Quality) หมายถึงลักษณะต่างๆของผลิตภัณฑ์หรือการบริการที่ดีเลิศตรงตามความต้องการของผู้บริโภคหรือผู้รับบริการหรือทําให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการเข้ารับบริการ
1.2 คุณภาพบริการพยาบาล หมายถึงการบริการด้านการพยาบาลที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและมีคุณภาพสนองความคาดหวังของผู้ใช้บริการ
1.3 การควบคุมคุมภาพ (Quality Control :QC) หมายถึงกิจกรรมในการประเมินตรวจสอบการพยาบาลหรือควบคุมดูแลบริการที่ให้แก่ผู้ใช้บริการ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการพยาบาลตามต้องการ
1.4 แนวคิดการพัฒนาคุณภาพ
1.4.1 แนวคิดการพัฒนาคุณภาพของเดมมิ่ง(Deming) Dr. Edward Deming ได้นำแนวคิดการวางแผนคุณภาพมาใช้โดยมีกระบวนการคือการวางแผน (Plan) การปฏิบัติ (Do) การตรวจสอบ (Check) และการปฏิบัติจริง (Act) หรือที่เรียกย่อว่า PDCA หรือ วงจรเดมมิ่ง(PDCA Deming cycle) มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพ
1.4.2 แนวคิดการพัฒนาคุณภาพของจูแรน (Juran)
จูแรนเป็นผู้นำด้านการพัฒนาคุณภาพที่สำคัญคนหนึ่ง
โดยจูแรนกล่าวว่า“คุณภาพมิใช่อุบัติเหตุ
แต่เกิดจากการวางแผนอย่างระมัดระวัง”
-
- การควบคุมคุณภาพ (Quality control)
- การปรับปรุงคุณภาพ (Quality improvement)
1.4.3 การพัฒนาคุณภาพตามแนวคิดของครอสบี (Crosby)
มีพื้นฐานมาจากหลักการจัดการคุณภาพที่สมบูรณ์ 5 ประการ (five absolutes of quality management)
- คุณภาพ หมายถึง การทำตามมาตรฐาน ไม่ใช่ความโก้เก๋
- ไม่มีปัญหาอะไรสำคัญเท่ากับปัญหาคุณภาพ
- ทำได้ถูกกว่าเสมอ ถ้าหากทำให้ถูกตั้งแต่แรก
- ตัวชี้วัดผลงาน คือ ต้นทุนคุณภาพ
- มาตรฐานของผลงาน คือ ของเสียเป็นศูนย์
(the performance standard is zero defects)
1.4.4 แนวคิดการพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน
(Continuous quality improvement ,CQI) เป็นแนวคิดเชิงกระบวนการพัฒนาระบบงานอย่างต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุด เป็นการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุงระบบงานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับผลงานอย่างไม่หยุดยั้ง โดยมุ่งสู่ความเป็นเลิศ
- เน้นการตอบสนองต่อผู้รับผลงานเป็นสำคัญ
- เป็นการปรับปรุงวิธีการทำงานจากงานประจำและสุดท้าย
- เป็นกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้ข้อมูล/
การคิดสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง
- การประกันคุณภาพทางการพยาบาล(Nursing Quality assurance)
2.1 การประกันคุณภาพการพยาบาล (Nursing Quality assurance) คือลักษณะต่างๆของวิชาชีพการพยาบาลที่ถูก
สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความมั่นคงและเกิดการปฏิบัติการดูแล
ผู้ป่วยหรือผู้รับบริการอย่างดีเลิศ
-
2.3 แนวคิดของการประกันคุณภาพการพยาบาลในช่วง ค.ศ. 1952 – 1992
สมาคมพยาบาลอเมริกัน (American nurses association : ANA)
ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนามาตรฐานเพื่อเป็นการพัฒนาการพยาบาล
และการประเมินคุณภาพแต่ยังเป็นการดำเนินการเฉพาะเรื่อง
2.4 แนวคิดการประกันคุณภาพการพยาบาลเน้นที่กระบวนการ
ซึ่งจะทำให้มีคุณภาพ โดยการประเมินคุณภาพและนำผลมาพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพทั้งองค์การเป็นการแก้ปัญหาทั้งระบบมากกว่าแก้จุดเล็กๆ
-
-
2.4.3 รูปแบบที่ 3 การประกันคุณภาพการพยาบาลของสมาคมพยาบาลอเมริกัน (American nurses association : ANA)
-
-
- สร้างเครื่องมือวัดคุณภาพ เพื่อวัดและประเมินคุณภาพ
การพยาบาลตามมาตรฐานเกณฑ์ที่กำหนด
- รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ประเมินผล
ให้เป็นหมวดหมู่ของกิจกรรมต่างๆ
รวมทั้งการรายงานผู้ที่เกี่ยวข้อง
- ค้นหาแนวทางปรับปรุง ในข้อที่เป็นปัญหาไม่มีคุณภาพ หรือมีคุณภาพในระดับตํ่า
- เลือกวิธีการปรับปรุง โดยเลือกวิธีการว่าจะปรับปรุงโดยใครอย่างไร
- ปฏิบัติ นำวิธีที่เลือกแล้วมาปราบปรุงคุณภาพ
มาปฏิบัติให้เกิดผล
2.4.4 รูปแบบที่ 4 การประกันคุณภาพการพยาบาลของคณะกรรมการร่วมเพื่อการรับรององค์การบริการสุขภาพ (The Joint Commission On Accreditation of Healthcare Organization : JCAHO)
- มอบหมายความรับผิดชอบ (Assign responsibility)
- เขียนขอบเขตของการพยาบาลและบริการที่ให้
(Delineate the scope of care and service)
- ระบุจุดสำคัญของการพยาบาลและบริการที่ให้
(Identify indicators relates to the important aspects of care)
- ระบุตัวบ่งชี้ที่ใช้วัดจุดสำคัญของการพยาบาล
โดยสามารถวัดเชิงปริมาณ เพื่อให้ติดตามและประเมินคุณภาพของการพยาบาลได้
- กำหนดระดับของการรับรอง (Establish thresholds for evaluation)
- กำหนดคุณภาพโดยการเก็บรวบรวมข้อมูล
และการจัดระเบียบข้อมูล (Collect and organize date)
- การประเมินคุณภาพการพยาบาลโดยการวิเคราะห์ข้อมูล และแปลข้อมูล (Evaluate case)
- ปฏิบัติการทันทีเพื่อแก้ปัญหาที่พบจากการประเมิน (Take action to identified problems)
- ประเมินผลการปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาและทำการบันทึก (Assess the action and document improvement)
- รายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องแก่คณะกรรมการควบคุมคุณภาพขององค์กร
(Communication relevant information to the organization wide QA committee)
2.5 ระบบการประกันคุณภาพ
2.5.1 การประกันคุณภาพภายใน(Internal quality assurance)
หมายถึงกิจกรรมการควบคุมคุณภาพในฝ่ายบริการพยาบาล
โดยมีการกำหนดของฝ่ายบริการการพยาบาล เพื่อให้มีความมั่นใจว่าการบริการพยาบาลได้บริการดำเนินการตามหลักวิชาชีพอย่างมีคุณภาพ
2.5.2 การประกันคุณภาพภายนอก (External quality assurance)
หมายถึงการดำเนินการตามระบบการควบคุมคุณภาพภายใน
รวมทั้งการตรวจสอบและประเมินผลทั้งหมดโดยหน่วยงานภายนอก
เพื่อประกันว่าโรงพยาบาลนั้นมีขั้นตอนดำเนินการของผู้ประกอบวิชาชีพและวิธีการบริหารจัดการนั้นสามารถให้บริการกับผู้ใช้บริการได้อย่างมีคุณภาพ
-
-
- มาตรฐานทางการพยาบาล(Nursing standard)
3.1 มาตรฐานการพยาบาล หมายถึงข้อความที่อธิบายแนวทางการปฏิบัติหรือวิธีดำเนินการที่ครอบคลุมขอบเขตของการพยาบาล
ถือเป็นข้อกำหนดให้มีการปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลดีต่อการดูแลหรือ
การให้บริการแก่ผู้รับบริการทั้งในส่วนบุคล ครอบครัว และชุมชนตลอดทั้งข้อความนั้นต้องเที่ยงตรง ชัดแจ้ง สามารถนำไปปฏิบัติได้
-
-
-
-
-
3.5 การพัฒนาคุณภาพหรือการปรับปรุงคุณภาพ
(Quality improvement) เป็นกระบวนการวิเคราะห์และรายงานผลการปฏิบัติงานการพยาบาลขององค์กรโดยแยกแยะปัญหาหรือตัวแปรที่ส่งผลกระทบ
และหาแนวทางการแก้ไขป้องกัน
4.1 การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation: HA)
การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล เป็นสิ่งจำเป็นในการประกันคุณภาพ
-
-
-
4.2 การพัฒนาคุณภาพบริการแบบเครือข่าย
(Hospital Network Quality Audit: HNQA)
เป็นระบบการรับรองมาตรฐานโรงพยาบาล
ที่สำนักพัฒนาระบบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
เป็นผู้คิดริเริ่มขึ้น โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้การกำหนดมาตรฐานบริการสาธารณสุข
-
-
4.3 ระบบมาตรฐาน (ISO) ย่อมาจาก (International Organization for Standardization)
คือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและอุตสาหกรรม ส่วนมาตรฐานที่องค์กรนี้ออกมา ก็ใช้ชื่อนำหน้าว่า ISO เช่น ISO 9000
และ ISO 14000 ซึ่งก็เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยระบบบริหารคุณภาพ และระบบบริหารสิ่งแวดล้อม
4.3.1 มาตรฐาน ISO 9000
- ประโยชน์ของมาตรฐาน ISO 9000 ช่วยให้องค์การผลิตสินค้าและบริการ
ที่มีประสิทธิภาพ สามารถก้าวไปสู่ “องค์การแห่งคุณภาพ” ได้
ซึ่งในปัจจุบันตลาดมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง การเพิ่มผลผลิต
สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเท่านั้น ที่จะทำให้องค์การดำเนินการอยู่ได้
- ความหมาย ลักษณะและคุณสมบัติทั้งหมดของผลิตภัณฑ์สินค้า
หรือการบริการที่แสดงถึงความสามารถว่าอยู่ในสถานะที่พึงพอใจ
หรือตามความต้องการของลูกค้าที่ได้กำหนดไว้
4.3.2 มาตรฐาน ISO 14000
- องค์การหรือหน่วยงานการผลิตควรเอาใจใส่
และถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกันในการปรับปรุง
และ ปกป้องสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นสมบัติของมวลมนุษยชาติอย่างต่อเนื่อง
- คือมาตรฐานสากลว่าด้วยการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Management)
ขององค์การให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
4.3.3 มาตรฐาน ISO 18000
- มาตรฐาน ISO 18000 หรือ OH & S ที่ถูกกำหนดขึ้นมานั้น
จะอาศัยมาตรฐาน BS 8800 : Occupational Health and Safety Management System ของประเทศอังกฤษ
- BS 8800 ระบุไว้ว่าไม่สมควรนำมาตรฐานนี้ไปใช้
เพื่อรับรอง กระแสโลกาภิวัตน์
- ISO 18000 จะเป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยระบบ
จัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
(Occupational Health and Safety Management System เรียกสั้น ๆ ว่า OH & S)
4.3.4 มาตรฐาน ISO 26000
- เป็นมาตรฐานที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดย ISO (the International
Organization for Standardization) เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับองค์กรต่างๆ
ในการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นกับองค์กร ซึ่งมาตรฐานนี้
จะมีลักษณะเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินงาน (Guidance) ไม่ใช่ข้อกำหนด (Requirements)
- มาตรฐาน ISO ๒๖๐๐๐ ได้ให้ความหมายของคำว่า ความรับผิดชอบต่อสังคม
ไว้ว่าเป็นความรับผิดชอบขององค์กรในผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
และกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร (รวมถึงผลิตภัณฑ์บริการและกระบวนการ)
ที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ผ่านการแสดงออกอย่างโปร่งใสและมีจริยธรรม
ในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงการสร้างสุขอนามัยและสวัสดิการที่ดีกับสังคม
- การบริหารความเสี่ยง (Risk Management: RM)
5.1 ความเสี่ยง(Risk) คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
มีโอกาสที่จะประสบความสูญเสียหรือสิ่งที่ไม่พึงประสงค์
5.2 การบริหารความเสี่ยง(Risk Management)
คือการบริหารจัดการที่วางแผนสำหรับมองไปข้างหน้า
และมีกิจกรรมเพื่อป้องกันความล้มเหลวที่เกิดขึ้น
-
-
5.4 ประเภทของความเสี่ยง
5.4.1 ความเสี่ยงทั่วไป(Non Clinical Risk) หมายถึง
ความเสี่ยงหรือโอกาสที่จะประสบกับความสูญเสีย
หรือสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วย
5.4.3 ความเสี่ยงทางคลินิกเฉพาะโรค(Specific Clinical Risk)
หมายถึง ความเสี่ยงใดๆที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วยและอาจเกิดภาวะไม่พึงประสงค์ หรือเสียชีวิต โดยระบุจำเพาะโรค
และภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโรคนั้นๆ
5.4.2 ความเสี่ยงทางคลินิก (Common Clinical Risk) หมายถึงเหตุการณ์หรือการดูแลรักษาที่อาจเกิดอันตราย
หรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์กับผู้ป่วยทั่วไปเป็นความเสี่ยง
ทางคลินิกที่ระบุกว้างๆ ในกระบวนการรักษาไม่จำเพาะ
ต่อโรคใดโรคหนึ่งอาจพบร่วมในหลายคลินิกบริการ
-