Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
รูปแบบและ เครื่องมือในการบำบัดทางการพยาบาลจิตเวช, นางสาวนุชนารถ ชินรัตน์…
รูปแบบและ เครื่องมือในการบำบัดทางการพยาบาลจิตเวช
นิเวศน์บำบัด (Milieu Therapy)
ความสำคัญ
นิเวศน์บำบัดหรือการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัดจะทำให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีการปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม
แนวคิดและหลักการ
การนำแนวคิดการรักษาในหลายรูปมาผสมผสานทำให้เกิดผลดีแก่ผู้ป่วยจิตเวช เป็นอย่างมาก โดยทำให้ผู้ป่วยหายจากอาการเจ็บป่วยเร็วขึ้น
ความหมาย
การบำบัดรักษาด้วยการจัดสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวผู้ป่วย
องค์ประกอบของนิเวศน์บำบัด
ความปลอดภัย (Safety) หมายความรวมทั้งความปลอดภัยด้านร่างกายและจิตใจ
โครงสร้าง (Structure) ลักษณะทางกายภาพของสิ่งแวดล้อม สิ่งอำนวย ความสะดวกภายในหอผู้ป่วย การจัดกิจกรรมกลุ่มบำบัดรวมไปถึงกฎระเบียบการอยู่ร่วมกันภายในหอผู้ป่วย
บรรทัดฐานทางสังคม (norms) สิ่งที่ผู้ป่วยต้องยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติขณะรับการรักษาในโรงพยาบาล
ความสมดุล (balance) ความสมดุลระหว่างความเป็นอิสระและไม่เป็นอิสระของผู้ป่วย
การจำกัดสิทธิและพฤติกรรมของผู้ป่วยจิตเวช (Limit setting) สำหรับผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการอยู่ในระยะเฉียบพลัน ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมตนเอง
การจำกัดสิทธิและพฤติกรรมของผู้ป่วยจิตเวช
การจำกัดด้วยวาจา เป็นการใช้การสื่อสารของพยาบาล โดยอาจใช้วิธีการ เรียกชื่อผู้ป่วยด้วยน้ำเสียงที่ดัง ชัดเจน
การจำกัดขอบเขต เป็นการจำกัดพฤติกรรมของผู้ป่วยด้วยวิธีการที่ทำให้ผู้ป่วยอยู่ในขอบเขตที่กำหนดซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี
2.1. การผูกยึดผู้ป่วย (physical restraints) การผูกยึดผู้ป่วยเป็นการจำกัดการ
เคลื่อนไหวของผู้ป่วยโดยเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ตามความต้องการ
2.2 การนำเข้าห้องแยก (seclusion) การนำผู้ป่วยเข้าห้องแยกเป็นการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยและบุคคลอื่น
การใช้ยา (medication) เป็นการใช้ยาเพื่อควบคุมอาการทางจิตเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอในการรักษาผู้ป่วยจิตเวช
กลุ่มกิจกรรมบําบัด (group activity therapy) จะเป็นการรวมตัวของผู้ป่วยอย่างน้อย 2 คนขึ้นไปและมีปฏิสัมพันธ์กัน เกิดการสื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยมีพยาบาลผู้นำกลุ่ม ทำหน้าที่เชื่อมโยงประเด็นต่างๆ พร้อมให้ข้อมูลในเรื่องที่เป็นจริงและถูกต้องแก่สมาชิกผู้ป่วย
พฤติกรรมบำบัด (Behavior Therapy: BT, CBT)
ความหมาย
การบำบัดทางจิตชนิดหนึ่งที่มุ่งเน้นการควบคุม พฤติกรรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สังเกตได้
หลักการ
การเรียนรู้เกิดจากเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการ ตอบสนอง
ลักษณะของทฤษฎีการเรียนรู้
การเรียนรู้ด้วยการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม (Classical conditioning) เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการมีการวางเงื่อนไขสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้น
การเรียนรู้โดยการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant conditioning) โดยสกินเนอร์ (B.E. Skinner) เชื่อว่าพฤติกรรมของบุคคลถูกควบคุมผลที่ได้รับ
การเรียนรู้ทางสังคม (Social learning) เป็นการเรียนรู้จากการสังเกตหรือจากการเลียนแบบจาก ตัวแบบ
การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT)
เป็นรูปแบบหนึ่งของจิตบำบัด ซึ่งดั้งเดิมออกแบบเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า แต่ปัจจุบันใช้รักษาอาการทางจิตอื่น ๆ ด้วย
อารมณ์ (mood disorder)
โรควิตกกังวล
ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ
ความผิดปกติของการรับประทาน (Eating disorder)
การติดสิ่งต่าง ๆ (addiction)
การใช้สารเสพติด (substance dependence)
ความผิดปกติที่มีอาการกล้ามเนื้อกระตุก (Tic disorder)
และ psychotic disorder (รวมทั้งโรคจิตเภทและโรคหลงผิด)
การบำบัดพฤติกรรม
การวางเงื่อนไขความกลัวแบบดั้งเดิมในมนุษย์สามารถควบคุมได้โดยการเปลี่ยนความคาดหวังโดยใช้คำพูด ดังนั้นจึงเป็นการเปิดตัวแนวคิดของการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม
การบำบัดความคิด
บำบัดที่อาศัยการเปลี่ยนความคิดทั้งหมด และล้วนแต่เป็นการบำบัดที่ผสมผสานการเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม
จิตบำบัด (Psychotherapy)
ความหมาย
การรักษาความผิดปกติทางด้านจิตใจหรืออารมณ์ด้วยวิธีการพูดคุยกับผู้ป่วย หรือ บางวิธีอาจไม่ใช้วาจา (Nonverbal communication) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยรู้จักตนเอง เข้าใจตนเอง เข้าใจ ผู้อื่น
รูปแบบจิตบําบัด มี 2 แบบ
จิตบําบัดแบบหยั่งเห็น (Insight Psychotherapy)
จิตบําบัดแบบประคับประคอง (Supportive Psychotherapy)
จิตบําบัดตามแนวคิดมนุษยนิยม
เป็นการยึดผู้ป่วยมาขอรับคำปรึกษาเป็นจุดศูนย์กลาง ปัญหา
ของมนุษย์เกิดจากอารมณ์และ ความรู้สึกที่ไม่สอดคล้องระหว่างตนเอง (Self) กับประสบการณ์จริง (Experience) แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
จิตบําบัดรายบุคคล (Individual Psychotherapy)
จิตบําบัดกลุ่ม (Group Psychotherapy)
ชนิดของจิตบําบัดกลุ่ม
Didactic group (กลุ่มการสอน) การทำกลุ่มแบบนี้ต้องอาศัยความรู้เป็นหลัก
Therapeutic Social Club (กลุ่มพบปะสังสรรค์) เป็นกลุ่มที่ผู้ป่วยเลือกผู้แทนของตนขึ้นมาแล้วผู้แทนเหล่านี้มีส่วนช่วยใน การบริหารกิจกรรมต่างๆ
Repressive interaction group (กลุ่มปลุกเร้าความเก็บกด) เป็นกลุ่มที่ให้ผู้ป่วยได้แสดงพฤติกรรมออกมาในรูปของกิจกรรมที่มี ประโยชน์
Free-interaction group (กลุ่มแสดงออกอย่างเสรี) ใช้ทฤษฎีจิตวิเคราะห์เข้ามาใช้เพื่อให้เข้าถึงความรู้สึกที่แท้จริงของตนเองใน กลุ่ม
Psychodrama (กลุ่มละครจิตบำบัด) ในผู้ป่วยแสดงละครโดยมีจุดมุ่งหมายให้ระบายอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดและปัญหา
วิธีการ (Methods) มีหลักใหญ่ 2 วิธี
Directive Methods (วิธีการแบบนำทาง) ผู้นำกลุ่มเป็นผู้ตัดสินใจและรับผิดชอบเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกลุ่ม
Nondirective Methods (วิธีการแบบไม่นำทาง) ผู้นำกลุ่มทำหน้าที่ช่วยเหลือสมาชิกแต่ละคนให้เข้าใจปัญหาของตัวเองและให้กำลังใจแก่ทุกคนในกลุ่ม
นางสาวนุชนารถ ชินรัตน์ รหัส612701058