Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ ๗ การบริหารคุณภาพทางการพยาบาล - Coggle Diagram
บทที่ ๗
การบริหารคุณภาพทางการพยาบาล
แนวคิดและหลักการบริหารคุณภาพทางการพยาบาล
คุณภาพ(Quality)
คุณภาพบริการพยาบาล
หมายถึงการบริการด้านการพยาบาลที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและมีคุณภาพสนองความ คาดหวังของผู้ใช้บริการ
การควบคุมคุมภาพ(Quality Control :QC)
หมายถึงการ ควบคุมดูแลบริการที่ให้แก่ผู้ใช้บริการ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการพยาบาลตามต้องการ
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพที่สําคัญ
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพของเดมมิ่ง(Deming)
มีกระบวนการคือการวางแผน(Plan) การปฏิบัติ(Do)การตรวจสอบ(Check) และการปฏิบัติจริง(Act) หรือที่เรียกว่า PDCA
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพของจูแรน (Juran)
ยจูแรนกล่าวว่า“คุณภาพมิใช่อุบัติเหตุ แต่เกิดจากการวางแผนอย่างระมัดระวัง” จูแรน ใช้กระบวนการ ๓ ขั้นตอนคือ
📌 การกําหนดเปาหมายคุณภาพ
📌 การควบคุมคุณภาพ (Quality control)
📌 การปรับปรุงคุณภาพ (Quality improvement)
การพัฒนาคุณภาพตามแนวคิดของครอสบี (Crosby)
จัดทําโปรแกรมปรับปรุงคุณภาพเพื่อเพิ่มผลกําไร มีหลักการจัดการคุณภาพที่สมบูรณ์ ๕ ประการ (five absolutes of quality management) คือ
🤎 คุณภาพ หมายถึง การทําตามมาตรฐาน
🤎 ไม่มีปัญหาอะไรสําคัญเท่ากับปัญหาคุณภาพ
🤎 ทําได้ถูกกว่าเสมอ ถ้าหากทําให้ถูกตั้งแต่แรก
🤎 ตัวชี้วัดผลงาน คือ ต้นทุนคุณภาพ
🤎 มาตรฐานของผลงาน คือ ของเสียเป็ลนศูนย์
ขั้นตอนการดําเนินงาน ๑๔ ขั้นตอน
✏️ ความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการบนพื้นฐานคุณภาพ
✏️ การปรับปรุงคุณภาพโดยทีม
✏️ การจัดการคุณภาพ
✏️ต้นทุนคุณภาพ
✏️ ความตระหนักหรือจิตสํานึกในคุณภาพ
✏️ การปฏิบัติกิจกรรมปรับปรุงแก้ไข
✏️ การวางแผนไร้ข้อผิดพลาด
✏️ การสนับสนุนการฝึกอบรม
✏️ วันแห่งข้อผิดพลาดเป็นศูนย์
✏️ การกําหนดเป้าหมายคุณภาพของงานที่สามารถปฏิบัติให้สําเร็จได้
✏️ การขจัดข้อผิดพลาด
✏️ การให้การยอมรับผู้ปฏิบัติงาน
✏️ การมีส่วนร่วมในรูปแบบคณะกรรมการคุณภาพ
✏️ การทบทวนทําทุกขั้นตอนซํ้าใหม่ทั้งหมด
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน (Continuous quality improvement ,CQI)
เป็นแนวคิดเชิงกระบวนการพัฒนาระบบงานอย่างต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุดเป็นการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุงระบบงานและมีการจัดลําดับความสําคัญและหาแนวทางแก้ไข สําหรับหัวใจสําคัญในการพัฒนา มีอยู่ด้วยกัน ๓ ประการ คือ
เน้นการตอบสนองต่อผู้รับผลงานเป็นสําคัญ
เป็นการปรับปรุงวิธีการทํางานจากงานประจํา และสุดท้าย
เป็นกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้ข้อมูล/การคิดสร้างสรรค์และการ มีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง
การประกันคุณภาพทางการพยาบาล(Nursing Quality assurance) และมาตรฐานทางการพยาบาล
(Nursing standard)
แนวคิดการประกันคุณภาพการพยาบาล
แนวคิดการประกันคุณภาพในยุคเดิม
พยาบาลเป็นผู้กําหนดเกณฑ์ตามความคิดเห็น
ความเชื่อ ความรู้ที่มีในการตรวจสอบและประเมินผล
การพัฒนามาตรฐาน
มีการรวบรวมข้อมูล โดยให้ผู้บริหารเป็นผู้นิเทศ
รายงานผลการตรวจสอบ
แนวคิดของการประกันคุณภาพการพยาบาลในช่วง ค.ศ. ๑๙๕๒ – ๑๙๙๒
สมาคมพยาบาลอเมริกัน (American nurses association : ANA) ได่แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนามาตรฐานเพื่อเป็นการพัฒนาการพยาบาลและการประเมินคุณภาพแต่ยังเป็นการดําเนินการเฉพาะเรื่อง
แนวคิดการประกันคุณภาพการพยาบาลเน้นที่กระบวนการ
จะทําให้มีคุณภาพโดยการประเมินคุณภาพและนําผลมาพัฒนาปรับปรุง
อย่างต่อเนื่อง
รูปแบบการประกันคุณภาพการพยาบาล
รูปแบบที่ ๑. การประกันคุณภาพของโรแลนด์
มีขั้นตอนดังนี้
🍒 การกําหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนขององค์กร
🍒 การออกแบบกระบวนการประกันคุณภาพการพยาบาล
🍒 การเตรียมข้อมูลเพื่อแสดงคุณภาพตามเกณฑ์ที่กําหนด
🍒 การเปรียบเทียบสารสนเทศที่ได้กับหน่วยงานอื่น
🍒 นําแนวคิดที่ได้หรือข้อมูลจากการประเมินมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขง
🍒 ในกรณีที่เกณฑ์ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์จะต้องมีการปรับให้สามารถวัดและประเมินผลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้และเริ่มต้นวงจรใหม่
รูปแบบที่ ๒. การประกันคุณภาพการพยาบาลขององค์การอนามัยโลก
มี ๔ ขั้นตอนดังนี้
🧅 สร้างเครื่องบ่งชี้คุณภาพโดยกําหนดเกณฑ์ตัวบ่งชี้ซึ่งเป็นคุณภาพงานเป็นที่ยอมรับ ขององค์กร
🧅 สร้างเครื่องมือวัดคุณภาพ ต้องมีวิธีการรวบรวมข้อมูลและมีความชัดเจน
🧅 ประเมินค่าการวัด โดยมีผู้ประเมินคุณภาพที่อาจจะเป็นบุคคลภายนอกองค์กร
🧅 ปรับปรุงคุณภาพ หลังจากได้รับผลการประเมินแล้ว
รูปแบบที่ ๓ การประกันคุณภาพการพยาบาลของสมาคมพยาบาลอเมริกัน (American nurses association : ANA)
โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
🥝 สร้างความรู้สึกต่อคุณภาพ โดยมีการเตรียมความพร้อมของบุคลากรในหน่วยงานให้มีความเข้าใจ
🥝 กําหนดมาตรฐานและเกณฑ์เพื่อบ่งชี้คุณภาพของงานที่เป็นมาตรฐานยอมรับได้ทุกหน่วยงาน
🥝 สร้างเครื่องมือวัดคุณภาพ
🥝 รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ประเมินผล
🥝 ค้นหาแนวทางปรับปรุง ในข้อที่เป็นปัญหาไม่มีคุณภาพ
🥝 เลือกวิธีการปรับปรุง โดยเลือกวิธีการว่าจะปรับปรุงโดยใครอย่างไร
🥝 ปฏิบัติ นําวิธีที่เลือกแล้วมาปรับปรุงคุณภาพมาปฏิบัติให้เกิดผล
รูปแบบที่ ๔ การประกันคุณภาพการพยาบาลของคณะกรรมการร่วมเพื่อการรับรององค์การ
บริการสุขภาพ(The Joint Commission On Accreditation of Healthcare Organization : JCAHO)
มอบหมายความรับผิดชอบ (Assign responsibility)
เขียนขอบเขตของการพยาบาลและบริการที่ให้
ระบุจุดสําคัญของการพยาบาลและบริการที่ให้
ระบุตัวบ่งชี้ที่ใช้วัดจุดสําคัญของการพยาบาล
กําหนดระดับของการรับรอง
กําหนดคุณภาพโดยการเก็บรวบรวมข้อมูล และการจัดระเบียบข้อมูล
การประเมินคุณภาพการพยาบาลโดยการวิเคราะห์ข้อมูล
ปฏิบัติการทันทีเพื่อแก้ปัญหาที่พบจากการประเมิน
ประเมินผลการปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาและทําการบันทึก
รายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องแก้คณะกรรมการควบคุมคุณภาพขององค์กร(
การบริหารความเสี่ยง(Risk Management: RM)
การค้นหาความเสี่ยง
(Risk indentification)
การจําแนกประเภทความเสี่ยงภายในโรงพยาบาล สามารถแบ่งความเสี่ยงออกเป็น 3 ประเภท ประเภทของความเสี่ยง
1 ความเสี่ยงทั่วไป(Non Clinical Risk) หมายถึง ความเสี่ยงหรือโอกาสที่จะประสบกับความสูญเสีย
ความเสี่ยงทางคลินิก(Common Clinical Risk) หมายถึง เหตุการณ์หรือการดูแลรักษาที่อาจเกิดอันตราย
ความเสี่ยงทางคลินิกเฉพาะโรค(Specific Clinical Risk) หมายถึง ความเสี่ยงใดๆที่เกี่ยว ข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วยและอาจเกิดภาวะไม่พึงประสงค์
ระดับความรุนแรง
ความเสี่ยงทั่วไป(Non Clinical Risk) แบ่งความรุนแรงเป็น ๔ ระดับ
ระดับ ๐ คือ ยังไม่เกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงแต่มีโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย
ระดับ ๑ หมายถึง เกิดอุบัติการณ์ขึ้นแล้ว กระทบถึงบุคคลหรือสิ่งของ ซึ่งทําให้ได้รับอันตรายเล็กน้อย
ระดับ ๒ หมายถึง เกิดอุบัติการณ์ขึ้นแล้ว กระทบถึงบุคคลหรือสิ่งของซึ่งทําให้ได้รับอันตรายหรือเกิดความเสียหายปานกลาง
ระดับ ๓ หมายถึง เกิดอุบัติการณ์ขึ้นแล้ว กระทบถึงบุคคลหรือสิ่งของซึ่งทําให้ได้รับอันตรายมากหรือเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต
ความเสี่ยงทางคลินิก แบ่งเป็น ๙ ระดับ
ระดับ A : เหตุการณ์ที่อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงหรือความเสียหายได้ (ยังไม่เกิด)
ระดับ B : เกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยงแล้ว แต่ยังไม่ถึงผู้รับบริการ
ระดับ C : เกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยงแล้ว ถึงผู้รับบริการแล้ว
แต่ไม่เป็นอันตรายไม่ได้รับความเสียหาย
ระดับ D : เกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยงแล้ว
ถึงผู้รับบริการแล้วได้รับความเสียหายแต่ไม่เป็นอันตรายแต่จําเป็นตองมีการเฝ้าระวัง
ระดับ E : เกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยงแล้ว ถึงผู้รับบริการ ได้รับอันตราย หรือเสียหายชั่วคราว
ระดับ F : เกิดอุบัติการณ้ความเสี่ยงแล้ว ถึงผู้รับบริการ และส่งผลให้ได้รับอันตราย
ระดับ G : เกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยงแล้ว ถึงผู้รับบริการ เป็นผลให้ได้รับอันตราย หรือเสียหายหรือสูญเสียอย่างถาวร
ระดับ H : เกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยงขึ้นแล้ว ถึงผู้รับบริการ เป็นผลให้ต้องทําการช่วยชีวิต ไม่สามารถจัดการได้โดยทีมเจรจาไกล่เกลี่ย
ระดับl : เกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยงขึ้นแล้ว ถึงผู้รับบริการ และเป็นผลให้เกิดการเสียชีวิต หรือมีการฟ้องร้องทางกฎหมาย
ประเภทของเหตุการณ์ที่มีความเสี่ยง แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
เหตุการณ์ที่พึงระวัง (Sentinel event : SE)
เป็นเหตุการณ์ที่ไม่พึ่งประสงค็โดยเป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดหวัง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต
เหตุการณ์ไม่พึ่งประสงค์(Averse event : AE)
เป็นเหตุการณ์ที่ไมาพึ่งประสงค์ที่เกิดจากการบาดเจ็บ
การประเมินความเสี่ยง
การกําหนดเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน ระดับโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง(Likelihood) ระดับความรุนแรงของผลกระทบ (Impact) และระดับของความเสี่ยง (Degree of Risk)
การประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยง
เป็นการนําความเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยงแต่ละปัจจัยที่ระบุไว้มาประเมินโอกาส(Likelihood) ที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงต่าง ๆ และประเมินระดับความรุนแรงหรือมูลค่าความเสียหาย(Impact)
การวิเคราะห์ความเสี่ยงเมื่อพิจารณาโอกาส/ความถี่ที่จะเกิดเหตุการณ์(Likelihood) และความรุนแรงของผลกระทบ(Impact)ของแต่ละปัจจัยเสี่ยงแล้วให้นําผลที่ได้มาพิจารณาความ สัมพันธ์ระหว่างโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและผลกระทบของความเสี่ยง
การจัดลําดับความเสี่ยง(Risk profile) เมื่อได้ค่าระดับความเสี่ยงแล้วให้นํามาจัดลําดับความรุนแรงของความเสี่ยงเพื่อพิจารณากําหนดกิจกรรมการควบคุมในแต่ละสาเหตุของ ความเสี่ยงที่สําคัญให้เหมาะสม
การติดตามและการประเมินผล(Monitoring & Evaluation)
กระบวนการควบคุมคุณภาพการปฏิบัติงานและประเมินผลและการปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงเพิ่มเติมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยการติดตามการประเมินผลตามระยะเวลาที่กําหนด โดยประเมินจากมาตรฐาน ตัวชี้วัดบริหารความเสี่ยง
การเชื่อมโยงการใช้ RM, QA , CQI
และการวิเคราะห์ก้างปลา(Fish bone)
การวางแผนต้องวิเคราะห์ถึงสาเหตุรากเหง้าของปัญหาที่แท้จริง (Root cause Analysis) โดยใช้ ผังก้างปลา(Fish Bone Diagram) สาเหตุ คือการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่มีโอกาสส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์
ผังก้างปลา (Fish Bone Diagram)
วิธีการสร้างแผนผังก้างปลา
กําหนดประโยคปัญหาที่ต้องแก้ไขมาเขียนไว้ที่หัวปลา
เขียนลูกศรชี้ที่หัวปลาแทนกระดูกสันหลังของปลา
เขียนก้างใหญ่ให้ลูกศรวิ่งเข้าสู่กระดูกสันหลัง เพื่อระบุถึงกลุ่มใหญ้ของสาเหตุที่ทําให้เกิดปัญหา
เขียนก้างกลางแยกออกจากก้างใหญ้เพื่อแสดงสาเหตุของก้างใหญ้ เขียนก้างเล็กแยกออกจากก้างกลางเพื่อแสดงสาเหตุของก้างกลาง
เขียนก้างย่อยแยกออกจากก้างเล็กเพื่อแสดงสาเหตุของก้างเล็ก
5 ระดมสมองหาสาเหตุของปัญหาโดยการตั้งคําถามทําไมๆๆๆๆ ซํ้าๆกัน ๕-๗ ครั้ง
ข้อควรระวังในการใช้แผนภาพก้างปลา
สาเหตุความผันแปรในก้างปลาต้องมาจากการระดมสมอง ภายใต้หลักการ ๓ จริง คือสถานที่เกิดเหตุจริง ด้วยของจริง ภายใต้สภาวะแวดล้อม
แผนภาพก้างปลาหน้างาน ต้องคํานึงถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นจริง
อความที่ระบุในก้างปลาเป็นเพียง สมมุติฐานของสาเหตุ ไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง อย่าพึ่งหาคนผิด
การนําผลการวิเคราะห์ไปใช้
เมื่อได้สาเหตุของปัญหาแล้ว เลือกสาเหตุที่เชื่อว่าน่าจะสามารถแก้ปัญหาตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ได้มาวางแผนแก้ไขปัญหาต่อไป โดยใช้ Deming cycle (Plan-Do- Check-Act: P-D-C-A)
ระบบการบริหารคุณภาพ
การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(Hospital Accreditation: HA)
เพื่อประกันการดําเนินการของผู้ประกอบวิชาชีพในโรงพยาบาลนั้นและวิธีการบริหารจัด การนั้นสามารถให้บริการกับผู้ใช้บริการได้อย่างมีคุณภาพ
Hospital Accreditation (HA) กับการพัฒนาคุณภาพงานบริการ พยาบาลมีทัศนคติที่ดี
และมีความเข้าใจที่ถูกต้องในกระบวนการพัฒนาคุณภาพจะสามารถทําให้โรงพยาบาลมีความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณภาพเป็นอย่างมากพยาบาล
Hospital Accreditation คือ การรับรองคุณภาพจากองค์กรภายนอก ซึ่ง Credit หมายถึง ความน่าไว้ใจ เกียรติยศ Accredit หมายถึง การให้ความไว้วางใจ
Hospital Accreditation คือ กลไกกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาคุณภาพระบบงานทั้งโรงพยาบาลอย่างมีทิศทาง ร่วมกับการเรียนรู้แลกเปลี่ยนกับที่ปรึกษาและการรับรองโดยองค์กรภายนอก แต่จุดสําคัญคือการประเมินและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องของโรงพยาบาล หัวใจสําคัญของคุณภาพโรงพยาบาลคือเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง หัวใจพัฒนาคุณภาพคือ TQM
วิวัฒนาการของการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(Hospital Accreditation: HA)
เริ่มจากการตรวจรับรองโรงพยาบาล มาสู่กระบวนการผลลัพธ์เปลี่ยนจากการเน้นที่ตัวผู้ปฏิบัติงาน มาสู่การเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางเปลี่ยนจากกระบวนการตรวจสอบ มาเป็นกระบวนการเรียนรู้ โรงพยาบาลที่มีคุณภาพเจ้าหน้าที่ทุกคนมีใจมุ่งมั่นที่จะทํางานอย่างมีคุณภาพ มีการทํางานร่วมกันเป็นทีม
วัตถุประสงค์ของมาตรฐาน HA
เป็นมาตรฐานที่ใช้การพัฒนากระตุ้น ให้มีการประเมินและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้มีการใช้กระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารและพัฒนาคุณภาพ
ประโยชน์จากการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation)
🥬 ความเสี่ยงลดลงทํางานง่ายขึ้น บรรยากาศการทํางานดีขึ้นผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีขึ้น
🥬 สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาลองค์กรมหาชน ได้กําหนดเครื่องมือหรือเกณฑ์ดัชนีชี้วัดเพื่อประเมินสําหรับการรับรองขั้นก้าวหน้า
การพัฒนาคุณภาพบริการแบบเครือข่าย(Hospital Network Quality Audit: HNQA)
องค์ประกอบของบริการได้คุณภาพทั้งหมดดังนี้
Product content in service คือ อุปกรณ์การให้บริการที่ให้ผู้ป่วยไปด้วย
Mechanize service คือ เครื่องมืออาคารสถานที่ที่ให้บริการแล้วไม่ได้ให้ผู้ป่วย
Personalized service คือ การทําหัตถการ การดูแล และพฤติกรรมบริการคนทุกคนต
ระบบมาตรฐาน(ISO)
ย่อมาจาก (International Organization for Standardization) คือ องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ
🩸 ISO ๙๐๐๐ คือการจัดระบบการบริหารเพื่อประกันคุณภาพ ที่สามารถตรวจสอบได้ โดยผ่านระบบเอกสาร
🩸 ISO ๙๐๐๑ เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกํากับดูแลทั้งการออกแบบ และพัฒนาการผลิตการติดตั้งและการบริการ
🩸 ISO ๙๐๐๒ มาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกํากับดูแลเฉพาะการผลิต การติดตั้ง และการบริการ
🩸 ISO ๙๐๐๓ เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกํากับดูแลเรื่องการตรวจ และการทดสอบขั้นสุดท้าย
🩸 ISO ๙๐๐๔ เป็นแนวทางในการบริหารงานคุณภาพเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยเป็นข้อแนะนํา
🩸 ISO ๑๔๐๐๐ เป็นระบบมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นให้องค์กรมีการพัฒนาปรับปรุงสิ่งแวดล้อม
🩸 ISO ๑๘๐๐๐ มาตรฐานระบบการจัดการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
🩸ISO ๒๖๐๐๐ สามารถนําไปใช้เป็นแนวทางการดําเนินการเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม