Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของหัวใจและโครงสร้าง, นางสาววณิชญา เคลือบคนโท รหัสนักศึกษา…
ความผิดปกติของหัวใจและโครงสร้าง
ภาวะหัวใจวาย (Heart Failure)
พยาธิสภาพของหัวใจวาย (Pathophysiology)
กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างอ่อนแรงทำให้ไม่สามารถรับเลือดจากร่างกายเข้าสู่หัวใจและบีบเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอ
มีความผิดปกติทำให้เกิดการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้เวลาในการรับเลือดน้อยลง (Filling time)
การเพิ่มของปริมาตรเลือดที่หัวใจบีบออกจากหัวใจแต่ละครั้ง
การหดตัวของหลอดเลือดแดง
การเพิ่มแรงบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
การคั่งของน้ำและเกลือในร่างกาย
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขยายโตขึ้น โดยเฉพาะห้องหัวใจล่างซ้าย (LVH) มักมีกล้ามเนื้อหนา และแข็ง
ชนิดของหัวใจล้มเหลว
1. ภาวะหัวใจห้องล่างเวนตริเคิลวายด้านซ้ายและด้านขวา
1. 1 ภาวะหัวใจเวนตริเคิลวายด้านซ้าย
มีผลทำให้เวนตริเคิลซ้ายไม่สามารถบีบเลือดออกมาเลี้ยงร่างกายได้เต็มที่ จึงทำให้เลือดคั่งที่ปอด เกิดน้ำท่วมปอด
สาเหตุ
จากภาวะความดันโลหิตสูง
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
โรคลิ้นหัวใจโดยเฉพาะลิ้นหัวใจ Aortic หรือ Mitral valve
ทำให้การบีบตัวของหัวใจล่างซ้ายไม่ดี
ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง ทำให้เนื้อเยื่อได้รับเลือดไม่พอ
รบกวนการทำงานของระบบหายใจ ทำให้มีอาการเนื่อยหอบ หายใจลำบาก
อาการ
ไอ หายใจลำบากเมื่อนอนราบ (Orthopnea) และมักพบหายใจลำบากในตอนกลางคืน
ปัสสาวะออกน้อย ซีดเขียวคล้ำ ชีพจรเบา
หายใจลำบากตอนกลางคืน (Paroxysmal nocturnal dyspanea/PND)
มักตรวจพบหัวใจโต (Cardiomegaly)
อาการแทรกซ้อนที่บ่อย
คือ น้ำท่วมปอดเฉียบพลัน (Acute pleural effusion)
ฟังหัวใจ พบ S3 Gallop
นอนราบไม่ได้
หายใจมีเสียงวี๊ด
ฟังปอดพบ Crepitation
เสมหะเป็นฟองสีชมพู
1.2 ภาวะหัวใจเวนตริเคิลวายด้านขวา
เวนตริเคิลขวาไม่สามารถส่งเลือดไปฟอกที่ปอดได้ ทำให้มีเลือดดำคั่งในระบบไหลเวียน
สาเหตุ
กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวาขาดเลือด
หลอดเลือดปอดมีความดันโลหิตสูง
หัวใจล่างซ้ายวาย
อาการ
อาการบวมที่แขนขา และท้อง
มักมีหลอดเลือดที่คอโป่ง (JVD)
เลือดดำคั่งในอวัยวะต่าง ๆ
ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
น้ำหนักตัวเพิ่ม มือ และนิ้วบวม
บวมที่ส่วนต่ำของร่างกาย เช่น ข้อเท้าก้นกบ และอวัยวะเพศ
ความดันโลหิตสูงเนื่องจากประมาณน้ำคั่งในร่างกายมาก
ความดันเลือดดำส่วนกลางสูง
Hepatojugular reflux ได้ผลบวก (ใช้มือกดตับนาน 1/2-1 นาที สังเกตเส้นเลือดที่คอโป่งหรือไม่)
2. ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันและเรื้อรัง
2.1 ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน (Acute heart failure)
เป็นภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดจากปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจลดลงทันทีทันใด ทำให้เนื้อเยื่อได้รับเลือดไปเลี้ยงลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นระยะแรกของการเกิดหัวใจล้มเหลว ซึ่งเริ่มมีกลไกการปรับตัว จึงยังไม่มีการคั่งของน้ำและโซเดียม
2.2 ภาวะหัวใจวายเรื้อรัง (Chronic heart failure)
เป็นภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดจากการที่ร่างกายปรับตัวต่อปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง ทำให้เกิดอาการแสดงที่เป็นผลมาจากกลไกการปรับตัว เช่น มีการคั่งของน้ำในร่างกาย
สาเหตุ
หัวใจทำงานหนักเกินไป (Abnormal loading condition)
กล้ามเนื้อหัวใจมีการทำหน้าที่ผิดไป (Abnormal muscle function) ซึ่งอาจเป็นผลมาจากระบบไฟฟ้าหัวใจหรือความผิดปกติของกล้ามเนื้อและโครงสร้าง
โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease)
ความผิดปกติของห้องหัวใจล่างซ้ายจากเหตุต่าง ๆ ทำให้มีความจำกัดในการคลายตัวเพื่อรับเลือดจากห้องบนซ้าย (Limited fill)
โรคร่วมเรื้อรังอื่น ๆ เช่น MI, HT, DM, COPDฯลฯ
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจ ติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ หรือลิ้นหัวใจถูกทำลาย
โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจ
หัวใจเต้นผิดปกติ (Arrythmia)
ความผิดปกติของหัวใจ เช่น Cardiomyopathy
สารพิษต่าง ๆ เช่น สารเสพติด
โรคเกี่ยวกับปอด
หยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea)
อาการของภาวะหัวใจวาย
บวมจากความดันเลือดส่วนปลายเพิ่มขึ้น (Edema)
ความทนต่อการทำกิจกรรมลดลง เหนื่อยง่าย (Activity intolerance)
ซีด เขียวคล้ำ (Cyanosis) จากการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายไม่ดี (Peripheral insufficiency)
มึนศีรษะ วิงเวียน สับสน
คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ท้องบวมน้ำ ตับโต (Right ventricular heart failure)
หายใจเหนื่อยกลางคืน (Paroxysmal Nocturnal dyspnea)
ปัสสาวะน้อยลง
ท้องบวม (Ascitis) และน้ำหนักตัวเพิ่ม ต้องมีการชั่งน้ำหนักและวัดรอบเอวทุกวัน
หลอดเลือดที่คอโป่ง (Neck vein engorgement) วัดหลอดเลือดดำที่คอ ถ้าสูงกว่า 4 cms จาก Sternal angle แสดงว่ามีหัวใจล่างขวาวาย
อาการบวมที่ส่วนต่ำของร่างกายเช่น หน้าแข็ง ข้อเท้า และก้นกบ อาการบวมแบ่งออกเป็น 4 grade (1+, 2+, 3+, 4+)
หัวใจห้องข้างขวาวายจะมีผลกับการทำงานของตับและการไหลเวียนของหลอดเลือดส่วนปลาย
หัวใจห้องซ้ายวายมีผลกระทบกับการทำงานของปอดและระบบหายใจ
นอนราบไม่ได้ (Orthopnea)
การตรวจร่างกาย
1.คลำพบ Heaving และ Thrill
เคาะพบตับโต ในกรณีหัวใจข้างขวาวาย
พบตำแหน่ง PMI เปลี่ยนแปลงไป จากหัวใจที่โตขึ้น
Pulse Irregular
เสียงหัวใจเต้นผิดปกติ ฟังพบ S3 Gallop และ Murmur
ฟังปอดพบ Crepitation จากภาวะน้ำท่วมปอด
การพยากรณ์โรค
Acute CHF มีการตอบสนองต่อการรักษาดี และผลลัพธ์การรักษาได้ผลเชิงบวก
Chronic CHF มักพบว่ามีอวัยวะสำคัญถูกทำลายและมีภาวะแทรกซ้อน
การป้องกัน
ควบคุมระดับความดันโลหิตและปัจจัยสี่ยงอื่นๆ ที่มีผลต่อการกำเริบของโรคหัวใจ
การรักษาแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของอวัยวะต่าง ๆ
ระดับความรุนแรง
NYHA แบ่งเป็น 4 ระดับ Class I, II, III, IV
ACC/AHA แบ่งเป็น 4 ระดับ A, B, C และ D
การรักษาและการพยาบาลผู้ป่วยหัวใจวาย
เพิ่มความสามารถในการบีบตัวของหัวใจห้องล่าง
การให้ออกซิเจน เพื่อเพิ่มออกซิเจนในเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจ
ลดการทำงานของหัวใจ (Decreased work load of the heart)
ดูแลให้ยา เพื่อลด Preload และ afterload ของหัวใจ
ยากลุ่ม Digitalis
เพื่อเพิ่มความแรงในการบีบตัวของหัวใจและทำให้หัวใจเต้นช้าลง
ยากลุ่ม เบต้าบล็อคเกอร์
เพื่อระงับการหลั่ง Stress hormone ลดการเต้นของหัวใจ
ACEI
ให้เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด มีผลลดทั้งPreload และ Afterload
ยาขับปัสสาวะ (Diuretic)
เช่น Thiazide, Furosemide, Spironolactone เพื่อลดปริมาตรของน้ำในร่างกาย ลดอาการบวม
การให้ยาเพิ่มประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจ
โดพามีน (Dopamine)
จะออกฤทธิ์ผ่าน Dopamine receptor
ถ้าให้ขนาดปานกลาง (4-8µg/kg/min)
ออกฤทธิ์ผ่านตัวรับ β1- adrenergic receptor ทำให้หัวใจบีบตัวเร็วขึ้น แรงขึ้น หลอดเลือดโคโรนารีขยายตัว หัวใจได้รับออกซิเจนมากขึ้น
ให้ในขนาดสูง (10µg/kg/min)
ออกฤทธิ์ผ่าน α- adrenergic receptor ทำให้ Arteriole และ หลอดเลือดดำหดตัว ความต้านทานหลอดเลือดทั่วตัวสูงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น
ถ้าให้ในขนาดต่ำ (<4µg/kg/min)
จะให้หลอดเลือดที่ไต ลำไส้ สมองและโคโรนารีขยายตัว ปัสสาวะออกดีขึ้น
โดบูทามีน
เป็น Cathecolamin ออกฤทธิ์ผ่าน β1- adrenergic receptor ทำให้หัวใจบีบตัวเร็วขึ้น แต่ไม่เพิ่มการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ
แอมริโนน (Amrinone)
ออกฤทธิ์ช่วยการบีบตัวของหัวใจ กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดคลายตัว เพิ่มปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจและเพิ่มการกรองของไต
การให้ยาขยายหลอดเลือด ได้แก่ ยากลุ่มไนโตรกลีเซอรีนและไนเตรต มีผลให้หลอดเลือดดำคลายตัวและมีฤทธิ์ทำให้ลดความต้องการออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ
การบำบัดด้วยยาขยายหลอดเลือดแดง เช่น โซเดียมไนโตรปรัสไซด์ มีผลการขยายหลอดเลือดดำและแดง ลดการทำงานของหัวใจ
การปรับพฤติกรรม ได้แก่ การจำกัดน้ำ จำกัดเกลือ ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก และจำกัดแอลกอฮอล์
การบำบัดด้วยเครื่องมือ เช่น ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ฯลฯ การผ่าตัดหัวใจรักษาที่สาเหตุ เช่น Coronary artery bypass, heart transplant
การพยาบาลหลังผ่าตัดหัวใจ
ประเมินการทำงานของหัวใจหลังผ่าตัดและการไหลเวียนอย่างใกล้ชิด
บริหารยาหลังผ่าตัดอย่างเคร่งครัด
ให้ยาที่ทำให้หลอดเลือดหดตัวเพื่อคงไว้ของปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจ
ลดกิจกรรมที่ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้น
การปรับพฤติกรรมและจัดการภาวะเสี่ยงต่าง ๆ (Life style modification) อาหาร ออกกำลังกาย บุหรี่ สุรา ฯลฯ
ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด
ความผิดปกติจากโครงสร้างของหัวใจและหลอดเลือด
เป็นตั้งแต่กำเนิด
เช่น โรคหลอดเลือดหรือหัวใจที่เป็นแต่กำเนิด
เกิดขึ้นภายหลัง
จากปัจจัยต่าง ๆ เช่นการติดเชื้อ อุบัติเหตุ การผ่าตัดการได้รับยาและสารบางอย่าง ฯลฯ
ความผิดปกติของการทำหน้าที่
เกิดจากความเสื่อม
จากการใช้งานมานาน อายุที่เพิ่มขึ้น
โรคร่วมต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยงต่าง
เช่น สารเสพติด สารพิษ หรือติดเชื้อ เป็นต้น
ความผิดปกติของระบบไหลเวียน
ไข้รูมาติด หัวใจรูมาติคเรื้อรัง
ความดันโลหิตสูง
หัวใจขาดเลือด
โรคหัวใจที่เกี่ยวเนื่องกับปอดและการไหลเวียนโลหิตของปอด
โรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ได้แก่ เยื่อหุ้มหัวใจ, กล้ามเนื้อหัวใจ, การนำไฟฟ้าหัวใจ ลิ้นหัวใจ
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดแดง เช่น ตีบ ตัน เป็นต้น
โรคของหลอดเลือดดำ
หัตถการเกี่ยวกับหัวใจ
การสวนหัวใจ (Coronary angioplastry)
วิธีการทำ
ทำบอลลูนเพื่อขยายบริเวณที่ตีบ
3.ใส่ Stent เพื่อป้องกันหลอดเลือดตีบซ้ำ
1.ใส่สายสวนผ่านผิวหนังอาจเป็นบริเวณข้อมือ ขาหนีบ หรือข้อเท้า ผ่านไปจนถึงหลอดเลือดหัวใจ coronary ที่ตีบ
การพยาบาลก่อนทำการสวนหัวใจ
เจาะเลือด x ray หัวใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ต้องงดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืน ต้องงดอาหารและเครื่องดื่ม 6 ชั่วโมงก่อนรับการรักษา
สื่อสารกับแพทย์ได้ โรคประจำตัว ยาที่รับประทาน โดยเฉพาะยาละลายลิ่มเลือด wafarin, coumarin ต้องงดยาก่อน
การพยาบาลหลังทำการสวนหัวใจ
นอนราบประมาณ8 ชั่วโมง อาจจะนอนหนุนหมอนสองใบหลังจากทำไปแล้วสองชั่วโมง
สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หลังทำผู้ป่วยต้องนอนราบอยู่นิ่งๆ เป็นเวลานานหลายชั่วโมง และต้องกดแรงและนานอย่างน้อย 30 นาทีบริเวณที่ถอดสายสวนไว้เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดออก
ควรจะรับประทานอาหารที่เป็นน้ำ หรือของเหลว หลังการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน
โดยผู้ป่วยอาจกลับบ้านได้ภายในวันที่ตรวจ หรืออาจต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล 1-2 วัน ขึ้นกับอาการของผู้ป่วย
Coronary artery bypass graft (CABG)
การรักษาพยาบาลก่อนทำ CABG (3-6 ชั่วโมง)
ให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ
ให้ยา sedative ทางปากหรือหลอดเลือดดำ
ให้ยาระงับความรู้สึก GA
ใส่ท่อช่วยหายใจ
สวนปัสสาวะค้าง
ขณะผ่าตัด CABG
1.เปิดช่องอก sternum และ rib
2.ใช้เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด เนื่องจากขณะทำ Bypass หัวใจต้องหยุดเต้น
3.นำเส้นเลือดที่เหมาะสมมาตัดต่อเป็น Bypass
4.เมื่อเสร็จสิ้นใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจให้ทำงานต่อ
การพยาบาลหลังทำ CABG
2.ติดตามการทำงานของหัวใจตลอดเวลา
3.Controlled heart rate และ hemodynamic
1.ย้ายเข้า ICU
4.ดูแลสาย Chest tube
5.ดูแลทางเดินหายใจ และทางเดินปัสสาวะ
การดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเปิดหัวใจ (Open heart Surgery)
การพยาบาลก่อนผ่าตัด
Warfarin งดยา 3-5 วัน ก่อนผ่าตัด
ตรวจ Antiplatelet, Aspirin, Clopidogrel, Non-Steroid Anti-Inflammatory Agents [NSAID] ให้งดยาก่อนผ่าตัด 7-10 วัน
เตรียมข้อมูลผู้ป่วย ประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจพิเศษอื่น ๆ เช่น EKG, CBC, electrolyte, PT, PTT, INR, ประวัติเจ็บป่วย โรคประจำตัว การักษาฟัน การสูบบุหรี่
การเตรียมผิวหนัง
การสวนอุจจาระ
การงดน้ำและอาหาร
ยาช่วยคลายความเครียด
การพยาบาลหลังผ่าตัด
รับไว้ดูแลที่หอผู้ป่วยหนัก
ตรวจดูแผลผ่าตัด/ท่อระบายต่างๆ
ติดตามประเมินค่าสัญญาณชีพต่างๆอย่างต่อเนื่อง
ประเมินผู้ป่วยอย่างน้อยทุก 1-2 ชั่วโมง
ประเมิน ECG Monitoring
วัดความดันทาง Arterial Line
Pulse Oximetry
ประเมิน Central Venous Pressure
การวัดอุณหภูมิร่างกาย
ตวงปัสสาวะ
อาการผิดปกติที่ต้องเฝ้าระวัง
การหายใจผิดปกติ
การเสียเลือด: แผล/ภายใน
การเต้นของหัวใจผิดปกติ
ความดันโลหิตสูง/ต่ำ
อุณหภูมิกาย
อาการปวด
ความไม่สมดุลของสารน้ำอิเล็กโตรไลต์ และสารอาหาร
กิจกรรมที่ทำได้เมื่อกลับไปอยู่บ้าน
ให้ทำกิจกรรมเท่ากับขณะอยู่ในโรงพยาบาลและรักษาระดับกิจกรรมที่ทำนี้ไปอีก 2 สัปดาห์
หลีกเลี่ยงการยกของหนักเกิน 5 กิโลกรัม
ระวังการแบะหน้าอกในช่วงที่รอการติดของกระดูกหน้าอก
ภาวะแทรกซ้อนที่ต้องเฝ้าระวัง
การติดเชื้อแผลผ่าตัด การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
มีน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ, มีน้ำในเยื่อหุ้มปอด เกิดการติดเชื้อ (Infection)
การออกกำลังกาย
เริ่มเดินช้าๆ
ค่อยๆ เพิ่มระยะทางและเดินให้เร็วขึ้น
ควรทำอย่างสม่ำเสมอ
ดูแลแผลผ่าตัดป้องกันติดเชื้อ
กินยาละลายลิ่มลาย หรือยาต้านเกล็ดเลือดอย่างต่อเนื่อง
Cardiac Pacemaker/Artificial Pacemaker
ขณะใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ
ติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจและความดันโลหิตอย่างต่อเนื่อง ถ้ามีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ ต้องรายงานแพทย์
หลังใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ
ติดตามภาวะหัวใจวาย และ Pneumothorax
สังเกตคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อติดตามการทำงานของเครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ
วัดสัญญาณชีพ สังเกตความสม่ำเสมอของชีพจร อัตราการเต้น ถ้าชีพจรเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าหรือมากกว่า 10 ครั้ง/นาที ต้องรายงานแพทย์
สังเกตแผลที่ใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจทุกวัน
ถ้าแผลแฉะ บวม แดง ให้ทำแผลใหม่
ปกติจะไม่ทำแผลทุกวัน เพราะเสี่ยงต่อสายสื่อเลื่อนหลุด ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้
การปิดแผลไม่ควรใช้ผ้าก๊อซปิดแผล
ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจชนิดชั่วคราวและเอา Pulse Generator ออก แต่ยังคาสายสื่อไว้ที่ตัวผู้ป่วย
ไม่ให้ผู้ป่วยออกแรงเหยียดแขนข้างที่ใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจขึ้นเหนือศีรษะอย่างรุนแรงหรือเอื้อมหยิบของไกลๆ หลังใส่เครื่องใหม่ๆทั้งชนิดชั่วคราวและถาวร เพื่อป้องกันสายสื่อเลื่อนหลุด
เมื่ออาการของผู้ป่วยคงที่แล้ว ออกกำลังกายโดยเคลื่อนไหวข้อต่างๆได้
สำหรับผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจชนิดถาวรให้ออกกำลังกายได้ หลังผ่าตัดใส่เครื่องประมาณ 8 สัปดาห์ เพื่อให้เครื่องฝังแน่นอยู่กับที่
ช่วยลดความวิตกกังวลและให้กำลังแก่ผู้ป่วยโดยรับฟังปัญหาของผู้ป่วย สนับสนุนให้กำลังใจผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจ
สอนผู้ป่วยเกี่ยวกับการดูแลตนเองที่บ้าน กรณีใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจชนิดถาวร
ก่อนใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ
ดูแลเหมือนผู้ป่วยรับการผ่าตัดทั่วไป แต่การทำความสะอาดตำแหน่งที่ผ่าตัดใช้บริเวณหัวไหล่ข้างที่ไม่ถนัด เพราะหลังผ่าตัดต้องงดใช้แขนข้างที่ใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ 3 วัน เพื่อป้องกันสายสื่อเลื่อน และต้องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อบันทึกจังหวะการเต้นของหัวใจ
หลอดเลือดโป่งพอง (Aneurysm)
อาการ
มีก้อนเต้นที่ท้องสัมพันธ์กับชีพจร
ถ้ามีแรงดันในช่องท้อง การกดหรือกระแทกรุนแรง อาจทำให้เกิดการแตกได้
ปวดท้องเรื้อรัง
คลำก้อนได้ที่หน้าท้องใต้ลิ้นปี่
การรักษา
ถ้าหลอดเลือดแดงใหญ่ไม่โตมากให้เฝ้าระวังอาการ แต่ถ้าก้อนโตมากต้องพิจารณาผ่าตัดซึ่งมีภาวะแทรกซ้อนในระยะแรก คือ เสียชีวิต จาก เสียเลือด DIC, ARDS, renal failure ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวคือ Graft, aorto-enteric fistula thrombosis และ infection
ถ้ามีอาการ แน่นหน้าอก ปวดหลัง หน้ามืด เป็นลมหรือไอเป็นเลือดให้ระวังการปริแตกของ Anuerysm ผู้ป่วยที่มาด้วยก้อนแตก ต้องผ่าตัดโดยด่วน มีอัตราการตายสูง
การพยาบาล
ควบคุมความดันโลหิต
งดบุหรี่
หลีกเลี่ยงการเบ่งถ่าย
ดูแลก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัด หลังผ่าตัดซ่อมแซมเส้นเลือดระมัดระวังไม่ให้หัวใจและเส้นเลือดแดงใหญ่ทำงานหนัก
สังเกตภาวะแทรกซ้อน
ภาวะหลอดเลือดตีบแข็ง(Atherosclerosis)
การประเมินผู้ป่วยโรคหัวใจและระบบไหลเวียน
2.การตรวจร่างกาย
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจนับเม็ดเลือด (CBC), ESR
การทดสอบการแข็งตัวของเลือด ได้แก่ PT, PTT
BUN, Cr
Serum cholesterol
Cardiac enzyme เช่น Troponin T, Troponin I, CK-MB, CPK
Lipid profile
CRP(hsCRP)
1.การซักประวัติ
การตรวจพิเศษ
การวัดการไหลเวียน (Circulatory time)
การวัดจำนวนเลือดที่ออกจากหัวใจ (cardiac output, EF)
การวัดความดันเลือดแดง
การวัดความดันเลือดดำส่วนกลาง (Central venous pressure)
การตรวจ Phonocardiography เพื่อบันทึกภาพของเสียงหัวใจและความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด
Echocardiogram ตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง
Electrocardiogram (EKG) เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การตรวจ Exercise test, tilt table test
การตรวจรังสี/อื่น ๆ
Fluoroscope
Angiocardiography
Cardiac radionuclear
Chest X-ray
Computerized tomography
PTCA (Percutaneous transluminal
Coronary angiography)
โรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจตีบ/รั่ว
สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคลิ้นหัวใจตีบ/รั่ว
โรคหัวใจจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว และ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อุดตัน
โรคหลอดเลือดแดงแข็ง
การติดเชื้อ
โรคความดันโลหิตสูง
อายุ
โรคออโตอิมูน/โรคภูมิต้านตนเอง
ผลข้างเคียงจากยาลดน้ำหนัก/ยาไม่ให้อยากอาหารบางชนิด
โรคต่างๆ หรือสิ่งต่างๆที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคหลอดเลือด หัวใจเช่น การสูบบุ หรี่ โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง และโรคอ้วน
โรคของลิ้นหัวใจที่พบบ่อย
1.ลิ้นไมตรัลตีบ (Mitral stenosis)
สาเหตุ
ไข้รูมาติกเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด การติดเชื้อรูมาติกในวัยเด็ก
อาการ
เหนื่อยล้า หายใจลำบากเวลาออกแรง นอนราบไม่ได้ หอบเหนื่อยกลางคืน ไอเป็นเลือด ตับโต ขาบวมกดบุ๋ม Atria fibrillation เขียว และ murmur
การรักษา/พยาบาล
1.การใช้ยา ได้แก่ยาขับปัสสาวะและควบคุมโซเดียม
2.การผ่าตัด ขยายลิ้นหัวใจ (valve repair) ถ้าเป็นมากอาจต้องเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (valve replacement)
การปรับพฤติกรรม ควบคุมอาหาร จำกัดเกลือ งดบุหรี่ สุรา การทำฟัน การออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับระยะของโรค
2.ลิ้นไมตรัลรั่ว (Mitral regurgitation/insufficiency)
สาเหตุ
มีหลายสาเหตุ ได้แก่ การติดเชื้อ การที่มีการเสื่อมของเนื้อเยื่อ ลิ้นหัวใจฉีกจากโรคบางโรค และการขยายตัวของหัวใจห้องล่าง
พยาธิสภาพ
ลักษณะคล้ายกับลิ้นไมตรัลตีบ แต่ต่างกันที่จากการที่ปิดไม่สนิททำให้เลือดไหลย้อนจากเวนตริเคิลซ้ายไปเอเตรียมซ้าย
อาการ
ในระยะแรกไม่มีอาการ เมื่ออาการรุนแรงขึ้นจะพบหายใจลำบากขณะมีกิจกรรม เมื่อพักอาการจะหายไป ใจสั่น นอนราบไม่ได้ บวมกดบุ๋ม หลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง อ่อนเพลียมาก ถ้ามีอาการรั่วเรื้อรังจะเกิดหัวใจห้องขวาวายตามมา
การรักษา/พยาบาล
ระยะไม่มีอาการ
ถ้าเกิดจากไข้รูมาติก ให้ยาปฏิชีวนะป้องกันการกลับเป็นซ้ำ จำกัดกิจกรรม จำกัดเกลือและน้ำ
ระยะที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง
ให้ยาขับปัสสาวะ digitalis ยาขยายหลอดเลือด ยากลุ่มไนเตรท, ACEI จำกัดเกลือ, แก้ไขภาวะหัวใจล้มเหลว
ระยะรุนแรง
มักรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (valve replacement) เมื่อจำเป็น ลิ้นหัวใจเทียม (Mechanical valve) มี 2 แบบ ชนิดเป็นโลหะ (เกิดลิ่มเลือดได้มาก) และธรรมชาติ (เกิดลิ่มเลือดน้อยกว่า)
3.ลิ้นเอออร์ต้าตีบ (Aorta stenosis)
สาเหตุ
ส่วนใหญ่เกิดจากลิ้นหัวใจพิการแต่กำเนิด และความเสื่อมของลิ้นหัวใจจากหินปูนเกาะลิ้นหัวใจเมื่ออายุสูงขึ้น ติดเชื้อลิ้นหัวใจ หรือเป็นไข้รูมาติค ทำให้ลิ้นหัวใจหนา หดรัด มีหินปูนเกาะ
อาการ
เจ็บหน้าอกแบบ Angina หายใจลำบาก หมดสติเมื่อออกแรง อ่อนเพลีย ล้า นอนราบไม่ได้ มีเหนื่อยหอบกลางคืน เสียงหัวใจผิดปกติแบบ Harsh Crescendo-decrescendo ในช่วงหัวใจบีบตัว
การรักษา/พยาบาล
ระยะแรก
รักษาตามอาการ โดยให้ยาและปรับพฤติกรรม
ในระยะรุนแรง
การผ่าตัดเป็นการรักษาที่ดีที่สุด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก Anginaและหมดสติ ต้องได้รับการแก้ไขทันที ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจะมีอัตราการตายสูงขึ้น
ลิ้นเอออร์ต้ารั่ว (Aorta regurgitation/insufficiency)
อาการ
ใจสั่น หายใจลำบาก นอนราบไม่ได้ หายใจเหนื่อยตอนกลางคืน ล้า มีอาการเจ็บหน้าอก Angina หัวใจเต้นเร็ว มีเสียงฟู่แบบ Decrescendo ช่วงหัวใจคลายตัว
การดูแลรักษา
ระยะแรกและปานกลาง
รักษาตามอาการร่วมกับปรับพฤติกรรม
ระยะรุนแรง
การรักษาที่ได้ผลที่สุดคือการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม (Valve replacement) (แบบโลหะและธรรมชาติ) การดูแลหลังผ่าตัดและการให้ยาเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดอัตราการตายและพิการจากการผ่าตัด
พยาธิ
เวนตริเคิลซ้ายมีการปรับตัว โดยการขยายห้องหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจ ทำให้ความตึงตัวผนังหัวใจเพิ่มขึ้น เวนตริเคิลซ้ายจึงหนาตัวขึ้น ทำให้ความสามารถในการบีบตัวเอาเลือดออกลดลง มีไฟบรัสในกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ในที่สุดเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
การพยาบาลผู้ที่ผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
การออกกำลังกายตามความสามารถของผู้ป่วย ถ้ามีอาการอ่อนเพลีย หายใจลำบาก หายใจเร็ว หรืออัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นมากกว่า 20-25 ครั้ง/นาที ให้หยุดทันที
3.ผู้ป่วยสามารถทำงานได้หลังผ่าตัด 6 สัปดาห์
การพักผ่อน อย่างน้อย 8 – 10 ชั่วโมง ในระยะ 1 เดือนแรกหลังออกจากโรงพยาบาล เพื่อลดการทำงานของหัวใจ
4.ลดโซเดียมเพื่อป้องกันการคั่งของสารน้ำ เพิ่มปริมาณโปรตีน วิตามิน หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
5.สอนให้สังเกตอาการแสดงที่มาพบแพทย์ เช่น น้ำหนักเพิ่ม ผิวหนังตึง ข้อเท้าบวม ไอบ่อย ทำกิจวัตรประจำวันช้าลง อ่อนเพลีย น้ำหนักเพิ่มขึ้น 1 กิโลกรัม ใน 1-2 วัน หรือมีอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นภายหลังผ่าตัด เช่น เหนื่อยง่าย บวมตามร่างกาย มีไข้ แผลบวม แดง มีสิ่งคัดหลั่ง ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ
6.เพศสัมพันธ์ มีได้เมื่อทำกิจวัตรประจำวันโดยไม่มีอาการเหนื่อย ก่อนมีเพศสัมพันธ์ให้นอนพักให้เต็มที่ ถ้ามีอาการเหนื่อยขณะหรือหลังมีเพศสัมพันธ์ ควรหยุดทันที พัก มาพบแพทย์เมื่อหายเหนื่อย
7.การตั้งครรภ์ ในช่วง 3 เดือนแรกหลังผ่าตัด ไม่แนะนำให้ตั้งครรภ์
ป้องกันการติดเชื้อของลิ้นหัวใจเทียม ควรป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจ ไม่ควรอยู่ในสถานที่เริงรมย์ที่แออัด เช่น โรงภาพยนตร์ ควรตรวจฟันกับทันตแพทย์ทุก 6 เดือน แจ้งแพทย์ทุกครั้งที่ทำหัตถการ/ผ่าตัด/สอดใส่เครื่องมือแพทย์เข้าร่างกาย และงดยา Coumadin ก่อนทำฟันประมาณ 5-7 เมื่อทำฟันเสร็จควรเริ่มต้นรับประทานยาทันที เพราะยาจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 24-72 ชั่วโมง
9.การรับประทานยา ลิ้นหัวใจเทียมโลหะ ต้องรับประทานยากันเลือดแข็งตัว เช่น Warfarin หรือ Coumadin หรือ Orfarin ตลอดชีวิต ควรแนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อรับประทานยากันเลือดแข็ง
ข้อบ่งชี้
ลิ้นหัวใจเทียมที่ทำจากสิ่งสังเคราะห์ (Mechanical prostheses หรือ Prosthetic valve) มักพิจารณาทำในคนที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุ หลังทำมักจะต้องรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดตลอดชีวิต
ลิ้นหัวใจเทียมที่ทำจากเนื้อเยื่อคนหรือสัตว์ (Tissue protheseses) มักพิจารณาทำในผู้สูงอายุ หลังทำมักได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด 3-6 เดือน
โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจ
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis)
อาการ
แตกต่างกันไปมีอาการคล้ายเป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ไปจนถึงการมีภาวะน้ำท่วมปอดที่รุนแรง
การดำเนินโรคนี้ก็ทั้งแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือมีอาการเปลี่ยนแปลงทรุดลงอย่างรวดเร็วได้ อาจมีอาการดังต่อไปนี้
อาการเหมือนไข้หวัดใหญ่ (Flu-live symptom) มีไข้ หนาวสั่น เหงื่อออกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาเจียน และท้องเสีย และร่วมกับ อ่อนเพลียจนหมดเรี่ยวแรง
เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ
หัวใจเต้นช้า
การหายใจลำบาก หมดสติเสียชีวิตเฉียบพลันได้
ในระยะยาว อาจมีภาวะแทรกซ้อนต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ จนเป็นภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังได้
การรักษา
1.การช่วยเหลือการทำงานของหัวใจ
โดยใช้เครื่องช่วยการทำงานของหัวใจ แบบพิเศษ (Intraaortic balloon pump หรือ Extracorporeal membrane oxygenation) รวมทั้งการให้ออกชิเจนเพื่อพยุงช่วยเหลือปอดและหัวใจ
2. การให้ยาคุ้มกันหรือยาต้านการอักเสบ
การให้ยาดังกล่าวในผู้ป่วยที่ผล biopsy ยืนยันค่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจอับเสบจริง แล้วพบว่าอาการดีขึ้น
3.การให้ยารักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานลดลง
เช่น ยากลุ่มขยายหลอดเลือด (Vasodilator) เช่น ไนโตรกลีเซอรีน หรือ โซเดียมไนโตรปลัสไซด์ ยากลุ่ม ACEI เช่น enalaprilยากลุ่ม ขับปัสสาวะ เช่น flirosemide
4. การรักษาโดยไม่ใช้ยา
ได้แก่ การสังเกตการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียน การควบคุมน้ำ และการให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอ
5. การผ่าตัด
เช่น การผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ เป็นต้น
เยื่อบุหัวใจอักเสบ(Endocarditis)
อาการ
ในรายที่มีอาการรุนแรงจะตรวจพบความผิดปกติของ T-wave
ในรายที่ไม่รุนแรง ไม่มีอาการแสดง
ถ้ามีอาการมากขึ้นจะมีภาวะหัวใจวายร่วมด้วย
อาการทั่วไปจะเริ่มจาก อ่อนเพลีย ไข้ เม็ดเลือดขาวสูง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอกหายใจลำบาก
การรักษา
1.ให้ยาเพิ่มการบีบรัดตัวของหัวใจ เช่น Digitalis
ให้ยาขับปัสสาวะ
ให้ยาต้านการติดเชื้อ
เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis)
พยาธิสภาพ
การติดเชื้อเยื่อหุ้มหัวใจเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ทำให้เกิดไฟบรินและน้ำเกินบริเวณเยื่อหุ้มหัวใจ ทำให้เยื่อหุ้มหัวใจแข็งและหนา ขาดความยืดหยุ่น ทำให้ไม่สามารถยืดขยายตัวไม่เต็มที่ ความจุหัวใจลดลง ความดันรอบหัวใจสูงขึ้น ทำให้เลือดไหลกลับหัวใจลดลง และการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงหัวใจลดลง
สาเหตุ
ไม่ติดเชื้อ ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ยูรีเมีย
ปฏิกิริยาออโต้อิมมูนของร่างกาย ได้แก่โรค SLE, ไข้รูมาติค
ติดเชื้อ ได้แก่ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย วันโรค เชื้อรา พยาธิ
หลังเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย 1-4 สัปดาห์ (Dessler’s syndrome)
การใช้ยา Procainamide,Hydralazine หรือ Phenytoin
-การได้รับบาดเจ็บ (Trauma)
-สารพิษ (Toxic agent) เช่น Lithium, cocaine, alcohol
-การได้รับรังสี (radiation)
-สารเคมี (chemicals)
อาการ
ไข้ (Fever)
เจ็บหน้าอก (Chest pain) ร้าวไปแขน ไหล่ และคอ
ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการเจ็บหน้าอก ฟังเสียงหัวใจได้เสียง friction rub ตรวจคลื่นหัวใจผิดปกติ
หนาวสั่น (Chill)
ฟังหัวใจได้ยินเสียง rub หรือ Grating sound
หัวใจเต้นเร็ว (Tachycardia)
ใจสั่น (Palpitation)
อ่อนล้า (Fatigue)
หายใจลำบาก (Dyspnea)
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
น้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ (Pericardial effusion)
หัวใจถูกกดทับ (Cardiac temponade)
การรักษา
2.การระบาย (Drainage)
pericardiectomy
pericardiocentesis
pericardial window placement
and pericardiotomy
3 การดูแลระบบไหลเวียนเลือดเพื่อเพิ่ม Cardiac output โดย
3.1 ให้น้ำเกลือเพื่อเพิ่มปริมาตรเลือด
3.2 ให้ยากระตุ้นหัวใจ (Positive inotropic agent)
3.3 ติดตามวัดประเมินความดันโลหิตดำ ชีพจร (ดูภาวะ Paradoxical pulse) Echocardiogram
3.4 รักษาที่ต้นเหตุของ Cardiac temponade
1.การใช้ยา NSAID, cochicin อาจให้ตัวเดียวหรือร่วมกัน สำหรับ Coricosteroid ให้เมื่อมีข้อบ่งชี้เท่านั้น
นางสาววณิชญา เคลือบคนโท รหัสนักศึกษา 612501067