Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษา, นางสาวพิชญวดี พรมดี รหัส…
บทที่ 3 ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากับการศึกษา
ปรัชญามุ่งศึกษาของชีวิตและจักรวาลเพื่อหาความจริงอันเป็นที่สุด ส่วนการศึกษามุ่งศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์และวิธีการที่พัฒนามนุษย์ให้มีความเจริญงอกงาม สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสุขประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพทั้งปรัชญาและการศึกษามีจุดสนใจร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งคือ การจัดการศึกษาต้องอาศัยปรัชญาในการกำหนดจุดมุ่งหมายและหาคำตอบทางการศึกษา
แนวทางในการพิจารณาปรัชญาการศึกษา
แบ่งได้ 3 แนวทางใหญ่ๆดังนี้
ปรัชญาการศึกษาที่มุ่งหาความกระจ่างในแนวคิดและกิจกรรมการศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากับการศึกษานั้นมีความสัมพันธ์ในลักษณะที่ปรัชญาไม่ใช่ตัวเนื้อหา แต่ปรัชญาเป็นกิจกรรมของการวิพากษ์วิจารณ์หรือหาความกระจ่าง
ปรัชญาการศึกษาที่ยึดเนื้อหาทางปรัชญาทั่วไปเป็นแม่บท
เป็นระบบและมีรูปแบบที่ชัดเจน แนวการศึกษาลักษณะนี้มีข้อดีหลายประการ คือเป็นการประยุกต์ปรัชญาทั่วไปมาใช้กับการศึกษาอย่างแท้จริง
ปรัชญาการศึกษาที่ยึดตัวการศึกษาเป็นแกนกลาง
ปรัชญาในแนวยี้ถือว่า เมื่อมีการศึกษาจึงมีปรัชญาการศึกษาเกิดขึ้น ดำเนินการศึกษาในแนวใดก็ตาม จะมีแนวคิดพื้นฐานอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเครื่องกำหนดอยู่เสมอ
ลักษณะของการศึกษาและวิจัย
ลักษณะแรก ศึกษาทัศนะ แนวคิด หรือปรัชญาเป็นรายบุคคล จุดเริ่มต้นของปรัชญา ไม่ว่าจะเป็นปรัชญาทั่วไปหรือปรัชญาการศึกษาก็ตามจะเริ่มต้นที่แนวคิดหรือทัศนะของนักคิดวิเคราะห์หรือนักปรัชญาคใดคนหนึ่ง
ลักษณะที่สอง เป็นการศึกษาเฉพาะเรื่อง เฉพาะหัวข้อ เพื่อต้องการหาความกระจ่างในข้อนั้นๆ
ลักษณะที่สาม เป็นลักษณะที่สมบูรณ์คือ การศึกษาในลักษณะของการสรุปรวม หรือการหารวมแนวคิดของแต่ละบุคคลและหัวข้อ เข้าเป็นกลุ่มก้อนเป็นสาขาเฉพาะสาขาไป
คุณค่าของปรัชญาการศึกษา
1.ปรัชญาการศึกษาช่วยในการตั้งคำถามที่ลึกซึ้ง
2.ปรัชญาการศึกษาช่วยให้เกิดความเข้าใจ
3.ปรัชญาการศึกษาขจัดความไม่สอดคล้องต้องกัน
4.ปรัชญาการศึกษาจะช่วยให้เห็นภาพรวม
5.ปรัชญาการศึกษาช่วยเสนอแนวคิดใหม่
นางสาวพิชญวดี พรมดี รหัส 62723713217