Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
รูปแบบและ เครื่องมือในการบำบัดทางการพยาบาลจิตเวช - Coggle Diagram
รูปแบบและ เครื่องมือในการบำบัดทางการพยาบาลจิตเวช
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
อาจารย์สอนเข้าใจดีค่ะ เนื้อหาแน่น
นิเวศน์บำบัด (Milieu Therapy)
ความหมายของนิเวศน์บำบัด
นิเวศน์บำบัด (milieu therapy) มีรากศัพท์มาจากภาษาฝรั่งเศส คำว่า milieu แปลว่า ตรงกลาง ใช้ในการอธิบายถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวผู้ป่วย ส่วน therapy คือ การบำบัดรักษา ซึ่งเมื่อนำคำว่า milieu รวมกับ therapy มีความหมายว่า การบำบัดรักษาด้วยการจัดสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวผู้ป่วย milieu therapy ตำราบางเล่มอาจใช้คำว่า environment therapeutic หรือ therapeutic milieu คือ การออกแบบวาง แผนการจัดสิ่งแวดล้อมที่มุ่งส่งเสริมการบำบัดรักษาผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการจัด สิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ
ความสำคัญ
การรักษาด้วยนิเวศน์บำบัดเป็นหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโรคทางจิตเวชที่ต้องกระทำควบคู่ไปกับการรักษา ด้วยยาซึ่งการรักษาผู้ป่วยโรคจิตเวชด้วยยาอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้ป่วยสามารถพัฒนาศักยภาพของ ตนเองได้อย่างเต็มความสามารถ นิเวศน์บำบัดหรือการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัดจะทำให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีการปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม เช่น การเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์โกรธ การเรียนรู้การสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น เป็นต้น
แนวคิดและหลักการ
นิเวศน์บำบัดเริ่มมีบทบาทสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเวช โดยเริ่มจากการผสมผสานแนวคิดวิธีการดูแลหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน เช่น แนวคิดการรักษา แนวคิดการรักษาด้านสังคม และ แนวคิดการรักษาด้านพฤติกรรม ซึ่งการนำแนวคิดการรักษาในหลายรูปมาผสมผสานทำให้เกิดผลดีแก่ผู้ป่วยจิตเวช เป็นอย่างมาก โดยทำให้ผู้ป่วยหายจากอาการเจ็บป่วยเร็วขึ้น ลดระยะเวลาการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
องค์ประกอบของนิเวศน์บำบัด
บรรทัดฐานทางสังคม (norms)
ความสมดุล (balance)
โครงสร้าง (Structure)
ความปลอดภัย (Safety)
การจำกัดสิทธิและพฤติกรรมของผู้ป่วยจิตเวช (Limit setting)
จิตบำบัด (Psychotherapy)
ความหมาย
หมายถึง การรักษาความผิดปกติทางด้านจิตใจหรืออารมณ์ด้วยวิธีการพูดคุยกับผู้ป่วย หรือ บางวิธีอาจไม่ใช้วาจา (Nonverbal communication) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยรู้จักตนเอง เข้าใจตนเอง เข้าใจ ผู้อื่น ยอมรับตนเองและผู้อื่น ตลอดจนสามารถปรับเปลี่ยนความคิด เจตคติและพฤติกรรมอันนําไปสู่การแก้ปัญหาอย่างถูกต้องเหมาะสม (อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, 2554 : 95)
รูปแบบจิตบําบัด
จิตบําบัดแบบหยั่งเห็น (Insight Psychotherapy)
จิตบําบัดแบบประคับประคอง (Supportive Psychotherapy)
พฤติกรรมบำบัด (Behavior Therapy: BT, CBT)
ความหมายของพฤติกรรมบําบัด
การบำบัดทางจิตชนิดหนึ่งที่มุ่งเน้นการควบคุม พฤติกรรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สังเกตได้ โดยใช้หลักการเรียนรู้และผลการทดลองทางจิตวิทยามาใช้กับ พฤติกรรมที่เป็นปัญหาการแก้ไขพฤติกรรมเน้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่สังเกตได้ โดยไม่คำนึงถึงสาเหตุของพฤติกรรมในอดีต (อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, 2554 : 151)
หลักการของพฤติกรรมบําบัด
หลักการของพฤติกรรมบำบัด อาศัยพื้นฐานทางทฤษฎีการเรียนรู้ของนักจิตวิทยา กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ในกลุ่ม Associationist โดยมีความเชื่อว่า “การเรียนรู้เกิดจากเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการ ตอบสนอง”
ลักษณะของทฤษฎีการเรียนรู้
การเรียนรู้ด้วยการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม (Classical conditioning)
การเรียนรู้โดยการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant conditioning)
การเรียนรู้ทางสังคม (Social learning)