Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พยาธิสรีรวิทยาMyasthenia Gravis
ผู้ป่วยมีความบกพร่องในการส่งสัญญาณประสา…
พยาธิสรีรวิทยาMyasthenia Gravis
ผู้ป่วยมีความบกพร่องในการส่งสัญญาณประสาทที่รอยต่อประสาทและกล้ามเนื้อตัวรับอเซทิลโคลินบนเหยื่อหุ้มเซลล์ของกล้ามเนื้อหลังประสาทไม่สามารถจําตัวเองได้จึงกลายเป็นแอนติเจนเสียเองทําให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้คือ IgG antibody ซึ่งจะถูกขับออกมาต้านตัวรับอเซทิลโคลินIgG จะจับกันได้พอดีกับตําแหน่งรับและขัดขวางการจับของอเซทิลโคลิน ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นทําให้ตําแหน่งที่รับอเซทิลโคลินบนเหยื่อหุ้มเซลล์กล้ามเนื้อลดลงการทําลายตําแหน่งของตัวรับทําให้การส่งต่อสัญญาณประสาทผ่านรอยต่อประสาทกับกล้ามเนื้อลดลงกล้ามเนื้อจึงไม่เกิดดีโพลาไรซ์และมีอาการหนังตาตกทั้งสองข้าง
Case 1
ตัวอย่างกรณีศึกษา: Myasthenia gravis
ผู้ป่วยชายไทย อายุ 54 ปี น้ำหนัก 48 กิโลกรัม อาชีพทำนา การศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
การประเมิน
- ประวัติอาการ มักพบประวัติมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็น ๆ หาย ๆ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อลูกตา กล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการกลืน และกล้ามเนื้อทั่ว ๆ ไป อาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อออกกำลังกายหรือใช้งานกล้ามเนื้อมัดนั้น ๆ
- อาการที่ปรากฏอยู่ส่งผลต่อวีถีการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยอย่างไร และผู้ป่วยสามารถอยู่กับปัญหาได้ดีแค่ไหน และผู้ป่วยต้องการจะทำให้ดีขึ้นอย่างไร
- ปัญหาด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ สังคม
- ประวัติความเจ็บป่วยในครอบครัว
-
- การทดสอบเพื่อยืนยันคำวินิจฉัยโรคอาจทำได้โดยฉีดยา
Edrophonium chloride (Tensilon test) เข้าทางหลอดเลือดดำ
- การตรวจการชักนำประสาท (Nerve Conduction Test)
- การตรวจประเมินระบบประสาท ด้วยการทดสอบการตอบสนอง
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ กำลังความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
ความรู้สึกจากการสัมผัส การทรงตัว หรือการมองเห็น เป็นต้น
- ประเมินการเคลื่อนไหวและการเดินของผู้ป่วย
สังเกตการทำหน้าที่ของร่างกายขณะที่พักเต็มที่
และขณะที่อ่อนแรง
- สอบถามผู้ป่วยว่าอะไรที่เป็นปัญหา
เช่น อ่อนเพลีย การกระตุกของกล้ามเนื้อ
การมองเห็นผิดปกติ การกลั้นอุจจาระและปัสสาวะไม่ได้
- การทดสอบการทำงานของปอด (Pulmonary Function Tests)
เพื่อประเมินสภาพการทำงานของปอดและการหายใจ
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการและอื่น ๆ
- การถ่ายภาพรังสี Computed tomography
(CT-scan) หรือ Magnetic resonance imaging (MRI)
-
-
-
-
การเจ็บป่วยปัจจุบัน
-1 ปี 2 เดือนก่อนมารับการรักษา มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงมา มองเห็นภาพไม่ชัด เห็นภาพซ้อน กลืนลำบากเข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยหนัก ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจและเจาะคอ ต่อจากนั้นอาการดีขึ้น แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหาร ดื่มน้ำได้ตามปกติ ยกแขนขาได้ปกติ
3 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการกลืนลำบาก รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย กล้ามเนื้อ
แขนอ่อนแรง หนังตาตก ไอมีเสมหะสีเหลืองขุ่น จำนวนมาก จึงมารักษาที่โรงพยาบาล ผล Tensilon test : positive แพทย์วินิจฉัย Myasthenia gravis with Pneumonia
การรักษาที่ผู้ป่วยได้รับคือ
-CBC, E’lyte, BUN, Cr
-X-rays
-5% D/N/2 1,000 ml. vein drip 80 cc/hr
-Soft diet
-Record V/S , I/O
-Fortum 1 gm vein q 8 hr.
-Klacid 1x2 oral pc
-Bisolvon 1x3 oral pc
-N-acethylcysteine 300 mg in 5% D/W 100 cc vein drip in 30 min OD
-Mestinon 2 tab oral q 4 hr.
-
การประเมินสภาพ
ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ถามตอบรู้เรื่อง สีหน้าท่าทางเหนื่อยอ่อนเพลีย สามารถยกแขนขาได้ ลุกเดินไปห้องน้ำได้เอง ฟังปอดมีเสียง Crepition, On tracheostomy tube ไอเอาเสมหะออกได้ วัด Tidal volume ได้ 250 ซีซี ลักษณะเสมหะสีเหลืองข้นจำนวนมาก มีกลิ่นเหม็น on 5% D/NSS1,000 ml. +KCl 20 mEq vein drip 80 cc/hr รับประทานอาหารอ่อนได้หมดถาด เวลารับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ จะมีอาการสำลัก ปัสสาวะ 4-5 ครั้งต่อวัน เมื่อคืนมีอาการถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ ประมาณ 5 ครั้ง ดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทนตลอด สัญญาณชีพ T 38.6 C, P 76/min., R 20/min, BP 100/60 mmHg
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ :
WBC =12,000 cell/mm3
K 3.1 mmol/L, CXR: infiltration both lung,
Sputum culture พบเชื้อ E.coli