Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การพยาบาลผู้คลอดที่มีความผิดปกติ เกี่ยวกับปัจจัยการคลอด :check: -…
บทที่ 6 การพยาบาลผู้คลอดที่มีความผิดปกติ
เกี่ยวกับปัจจัยการคลอด :check:
ความหมาย
การคลอดยาก(dystocia) หมายถึง ลักษณะของการคลอดที่ไม่ได้ดำเนินไปตามปกติ มีความก้าวหน้าของการคลอดล่าช้า หรือมีการหยุดชะงักของความก้าวหน้าในการคลอด
การประเมินสภาพและการพยาบาลผู้คลอดที่มีความผิดปกติของหนทางคลอด :star:
ความผิดปกติเนื่องจากกระดูกเชิงกรานแคบ
หรือผิดสัดส่วน(pelvic contraction)
สาเหตุ
1.การเจริญเติบโตผิดปกติ
2.ฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมบูรณ์
3.โรคกระดูก
4.กระดูกเชิงกรานแตกหรือร้าวจากอุบัติเหตุ
5.ความพิการจากกระดูกสันหลังหรือขามาแต่ในวัยเด็ก
6.เชิงกรานเจริญไม่เต็มที่
ชนิด
1.เชิงกรานแคบที่ช่องเข้า (inlet contraction) เส้นผ่าศูนย์กลางแนวหน้าหลังน้อยกว่า10 cmหรือเส้นผ่าศูนย์กลางขวางน้อยกว่า 12 cm
2.เชิงกรานแคบที่ช่องกลาง (midpelvic contraction) ช่องกลางของเชิงกรานอยู่ที่ระดับ ischial spine ระยะระหว่าง ischial spine ทั้งสองข้างน้อยกว่า 9.5 cm
3.เชิงกรานแคบที่ช่องออก (outlet contraction) ระยะระหว่าง ischial tuberosity น้อยกว่า 8 cm(ปกติ10cm)และ pubic arch แคบกว่าปกติ
การรักษา
การพิจารณาให้ยาระงับปวดหรือยาระงับความรู้สึก
ควรให้ในเวลาที่เหมาะสม
ไม่ควรใช้ oxytocin หรือระมัดระวังในการใช้อย่างมาก เสี่ยงมดลูกแตก
ผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้อง
ถ้าการแคบอยู่ในระดับที่ไม่มากนัก การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศจะปลอดภัยกว่าการช่วยคลอดด้วยคีม
อันตรายต่อผู้คลอด
เกิดการคลอดยาวนาน
ถุงน้ำทูนหัวแตกก่อนเวลา
เกิดการตายของเนื้อเยื่อบริเวณที่ศีรษะทารกกด
เนื้อเยื่อผู้คลอดถูกทำลาย
อันตรายต่อทารก
เกิดสายสะดือย้อยได้ง่าย
เลือดออกในกระโหลกศีรษะ
เกิดอันตรายกับศีรษะทารก และระบบประสาทส่วนกลาง
เกิดการติดเชื้อ
ทำให้กะโหลกศีรษะผิดรูป/แตกหัก
ความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์
(abnormality of reproductive tract)
ความผิดปกติของปากช่องคลอด
ปากช่องคลอดตีบ
การแข็งตึงของฝีเย็บ
การอักเสบ/เนื้องอก
ความผิดปกติของช่องทางคลอด
ช่องคลอดตีบ
เยื่อกั้นในช่องคลอด
เนื้องอก
ความผิดปกติของมดลูก
มดลูกคว่ำหน้า
มดลูกคว่ำหลัง
มดลูกหย่อนขณะตั้งครรภ์
เนื้องอกมดลูก
ความผิดปกติของรังไข่
เนื้องอกรังไข่อาจทำให้เกิดการคลอดติดขัดได้
การรักษาทำโดยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องร่วมกับการตัดเนื้องอกรังไข่ออกไปพร้อมกัน
การไม่ได้สัดส่วนกันของศีรษะทารกกับช่องเชิงกราน (Cephalopelbic dixproportion: CPD)
การประเมินภาวะ CPD
1.ประวัติ เช่น เคยได้รับอุบัติเหตุที่กระดูกเชิงกราน
2.ผู้คลอดเตี้ยกว่า 140เซนติเมตร หรือเดินผิดปกติ ตะโพกเอียง สันหลังคดงอ
ในรายที่สงสัยส่งตรวจภายใน, U/S, X-ray
อันตรายต่อผู้คลอดและทารก
ผู้คลอดอ่อนเพลียเกิดภาวะขาดน้ำ และภาวะคีโตซิส
2.ถุงน้ำทูนหัวแตกก่อนเวลาทำให้ทารกเกิดการติดเชื้อ
การคลอดติดขัด
การรักษา
1.ถ้าเกิด CPD ชัดเจน ผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้อง
สงสัยมี CPD ให้ทดลองคลอด ถ้าไม่สำเร็จให้ผ่าคลอด
สาเหตุ
ความผิดปกติของแรง
(abnormality of the powers)
แรงจากการหดรัดตัวของมดลูก
แรงจากการเบ่ง
ความผิดปกติของหนทางคลอด
(abnormality of the passage)
กระดูกเชิงกรานแคบหรือผิดสัดส่วน
ความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์
ความผิดปกติของทารก
(abnormality involving the passenger)
ส่วนนำและท่าผิดปกติ
ทารกมีพัฒนาการผิดปกติ
การประเมินสภาพและการพยาบาล
ผู้คลอดที่มีความผิดปกติของแรง :star:
ชนิด
การหดรัดตัวของมดลูกมากกว่าปกติ
(Hypertonic uterine dysfunction)
ความหมาย การหดรัดตัวของมดลูกที่มีแรงดันในมดลูก มากกว่า 50 mmHgหรือช่วงของการหดรัดตัวแต่ละครั้งน้อยกวา่ 2 นาทีหรือทั้ง 2 อย่าง
สาเหตุ
ร้อยละ 50 ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง
ขนาดของทารกและช่องเชิงกรานของผู้คลอดไม่ได้สัดส่วน
ส่วนนำของทารกผิดปกติหรืออยู่ในท่าผิดปกติ
ได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกไม่ถูกวิธี
อันตรายต่อผู้คลอดและทารก
ร่างกายอ่อนเพลีย
เกิดการติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ
มดลูกแตกทำให้เสียเลือดมาก
ตกเลือดหลังคลอด
เจ็บปวดมาก
เกิดภาวะขาดออกซิเจน
เกิดการติดเชื้อ
ศีรษะทารกถูกกดนาน อาจมีเลือดออกที่ใต้เยื่อบุกะโหลกศีรษะ
การรักษา
ให้ยานอนหลับ
ถ้ามีภาวะfetal distressต้องรีบผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
การหดรัดตัวของมดลูกน้อยกว่าปกติ
(Hypotonic uterine dysfunction)
ความหมาย การหดรัดตัวของมดลูกที่มีแรงดันในมดลูก น้อยกว่า 25 mmHgหรือมีการหดรัดตัวน้อยกว่า 2 ครั้งใน 10 นาทีหรือทั้ง 2 อย่าง
สาเหตุ
ร้อยละ 50 ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง
การไดรับยาแก้ปวดหรือยาระงับความรู้สึกมากเกินไป หรือได้รับก่อนเวลาอันควร
มดลูกมีการยืดขยายมากกว่าปกติในรายตั้งครรภ์แฝด หรือแฝดน้ำ
มีความผิดปกติของมดลูก เช่น double uterus, myoma uteri
ขาดการกระตุ้นที่ปากมดลูก พบได้ในรายที่มีส่วนนำไม่กระชับกับปากมดลูกหรือพื้นเชิงกราน
กระเพาะปัสสาวะหรืออุจจาระเต็ม
ผู้คลอดที่ผ่านการคลอดมาหลายครั้ง
การรักษา
ให้สารน้ำที่เพียงพอเพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำของผู้คลอด
ให้ยาระงับปวดในขนาดที่เพียงพอและเหมาะสม
ให้การประคับประคองจิตใจ
ถ้าถุงน้ำคร่ำยังไม่แตกหรือรั่วควรเจาะถุงน้ำคร่ำ
เพราะจะช่วยให้การหดรัดตัวของมดลูกดีขึ้น
สวนปัสสาวะ ถ้ามีปัสสาวะคั่งค้าง
อันตรายต่อผู้คลอดและทารก
ผู้คลอดเหนื่อย อ่อนเพลีย หมดแรง
ผู้คลอดเสียชีวิต
ทารกได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
ติดเชื้อ
ความผิดปกติของแรงเบ่ง
สาเหตุ
การที่ผู้คลอดได้รับยาแก้ปวดในปริมาณมาก
ความอ่อนเพลียหรือการเจ็บครรภ์คลอดยาวนาน
เหนื่อยล้าจากการได้รับน้ำไม่เพียงพอได้รับอาหารไม่เพียงพอ
การรักษา
เลือกใช้ชนิดของยาชาและเวลาที่จะใช้อย่างเหมาะสม
ใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอด
สอนวิธีการเบ่งที่ถูกต้อง
อันตรายต่อผู้คลอดและทารก
ต้องใช้วิธีทางสูติศาสตร์หัตถการ
ทารกขาดออกซิเจน
การประเมินสภาพและการพยาบาลผู้คลอดที่มีความผิดปกติของทารก :star:
ท่าและส่วนนำผิดปกติ
(faulty position and presentation)
สาเหตุ
เชิงกรานรูปหัวใจ/รูปไข่ตั้ง เส้นผ่าศูนย์กลางขวางแคบกว่าปกติ
ศีรษะทารกอยู่ในทรงเงย
ผนังหน้าท้องของผู้คลอดหย่อน มดลูกและทารกเอนมาด้านหน้า
มีสิ่งขัดขวางการหมุนของศีรษะทารก
ศีรษะทารกไม่กระชับกับพื้นเชิงกราน
มดลูกหดรัดตัวไม่ดีหรือแรงเบ่งน้อย
ความผิดปกติเกี่ยวกับทรง
ท่าหน้าผาก (Brow Presentation)
สาเหตุ
เชิงกรานผู้คลอดเล็กกว่าขนาดศรีษะทารก
มีเนื้องอกของมดลูกส่วนล่าง
รกเกาะต่ำ
สายสะดือพันคอทารก
มีความผิดปกติของศีรษะทารก
อันตรายต่อผู้คลอดและทารกเกิดการคลอดติดขัด ถ้าให้การช่วยเหลือไม่ทัน มดลูกอาจแตกได้ หรือถ้าช่วยเหลือช้าเกินไป ทารกอาจเสียชีวิตเนื่องจากขาดออกซิเจนในครรภ์ผู้คลอดได้
การรักษา
ถ้าทารกมีขนาดปกติหรือใหญ่กว่าปกติ ให้ผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้อง
ถ้าศีรษะทารกเล็กและเชิงกรานใหญ่ อาจทดลองปรับศีรษะทารก
ท่าหน้า (Face Presentation)
สาเหตุ
กระดูกเชิงกรานแคบ
ทารกตัวใหญ่
หญิงที่เคยคลอดบุตรหลายครั้ง
สายสะดือพันรอบคอทารกหลายรอบ
ทารกไม่มีกะโหลก
แกนของมดลูกผิดปกติ
มีความผิดปกติของทารกในครรภ์
อันตรายต่อผู้คลอดและทารก
ปากมดลูกมารดาปิดช้า
ฝีเย็บมารดาจะขาดมากกว่าปกติ
สายสะดือพลัดต่ำ
ทารกที่คลอดในท่าหน้า ใบหน้าทารกจะบวมช้ำ
การรักษา
ถ้าไม่มี CPD คลอดทางช่องคลอดได้
ถ้ามี CPD ควรผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้อง
ความผิดปกติเกี่ยวกับส่วนนำของทารก
ท่าก้น (Breech Presentation)
ท่าขวาง (Shoulder Presentation Acromion หรือ Presentation)
สาเหตุ
พบในผู้คลอดครรภ์หลังบ่อยกว่าครรภ์แรก
คลอดก่อนกำหนด
รกเกาะต่ำ
มดลูกผิดปกติ
เชิงกรานแคบ
อันตรายต่อผู้คลอดและทารก
ติดเชื้อ
มดลูกแตก
ทารกตายในครรภ์
การรักษา
ในระยะตั้งครรภ์ แพทย์จะทำการหมุนกลับท่าทารกภายนอก
ในระยะคลอด ถ้าถุงน้ำยังไม่แตก อาจหมุนกลับทารกให้อยู่ในท่าศีรษะ แล้วเจาะถุงน้ำคร่ำ ถ้าทารกมีขนาดเล็กและทารกยังไม่ลงต่ำ อาจลองหมุนกลับทารกภายใน แล้วทำคลอดท่าก้น
ผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้อง
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
มีโอกาสเกิดอันตรายจากการยืดขยายและฉีกขาดมากผิดปกติของฝีเย็บและผนังช่องคลอด เนื่องจากคลอดในลักษณะท้ายทอยอยู่ด้านหลัง
ผู้คลอดและทารกมีโอกาสเกิดอันตรายจากการคลอดยาวนานการคลอดยาก และการคลอดติดขัด เนื่องจากทารกมีใบหน้าเป็นส่วนนำ
ความผิดปกติเกี่ยวกับท่าของทารก
ท่าท้ายทอยคงอยู่หลัง (Occiput Persistent Posterior : OPP)
สาเหตุ
มีสิ่งกีดขวางการหมุนของท้ายทอยไปข้างหน้า
เชิงกรานรูปหัวใจและรูปไข่ตั้ง
ศีรษะทารกเล็ก/ใหญ่กว่าปกติ
พื้นเชิงกรานหย่อนผิดปกติ
ท่าท้ายทอยคงอยู่ข้าง(transverse arrest of head or persistent occipito transverse position)
สาเหตุ
การหดรัดตัวของมดลูกไม่ดีในระยะหลัง
เส้นผ่าศูนย์กลางแคบกว่าปกติ
อันตรายต่อผู้คลอดและทารก
ผู้คลอดมีอาการปวดบริเวณหลังและเอวมาก
ผู้คลอดมีลมเบ่งเกิดขึ้นในระยะที่ปากมดลูกเปิดน้อย
ผนังช่องคลอดด้านหลังและฝี เย็บมีการยืดขยายและฉีกขาดมาก
ปากมดลูกบวมช้ำ และอาจฉีกขาดได้
ทารกมีโอกาสขาดออกซิเจนจากการคลอดยาวนาน
การรักษา
ติดตามความก้าวหน้าของการคลอด และติดตามอาการของผู้คลอดและทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด
2.ถ้าคลอดทางช่องคลอดไม่ได้ ต้องทำผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้อง
ให้สารละลายเด็กซโทรส 10% ป้องกันภาวะขาดน้ำ
ให้ยาลดอาการเจ็บครรภ์ และยาระงับประสาท
ให้ออกซิโทซินหยดเข้าทางหลอดเลือดดำ
ถ้าสามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้ ทำดังนี้
รอคลอดตามธรรมชาติ
ใช้คีมช่วยคลอดในท่า posterior position
ใช้คีมช่วยหมุนเป็นท่า occiput anterior แล้วทำคลอด
ใช้มือช่วยหมุน (manual rotation) เป็นท่า occiput anteriorแล้วใช้คีมช่วยคลอด
ทารกมีพัฒนาการผิดปกติ
(abnormal development of fetus)
ทารกที่ขนาดตัวโต(macrosomia)
ปัจจัยส่งเสริม
บิดามารดาตัวโต
มารดาเป็นเบาหวาน
มารดาอ้วน
มารดาที่น้ำหนักเพิ่มมากในขณะตั้งครรภ์
ครรภ์เกินกำหนด
แฝดติดกัน(Conjoined Twins)
แบ่งออกได้ 3 กลุ่ม
1.การแยกของทารกส่วนของครึ่งบนหรือครึ่งล่างของร่างกายไม่เป็นไปอย่างสมบูรณ์
2.แฝดที่มีส่วนติดกันที่ส่วนบนหรือส่วนล่างของร่างกาย
3.แฝดติดกันที่ส่วนของลำตัว
ทารกหัวบาตร(hydrocephalus)
เกิดจาก
ท้องมานน้ำ
กระเพาะปัสสาวะโป่งมาก
เนื้องอกขนาดใหญ่ของไต/ตับ
ทารกบวมน้ำ เกิดจากพัฒนาการของทารกที่ผิดปกติ
ภาวะทางจิตใจของผู้คลอด
(Psychological factor)
เกิดทัศนคติต่อกาคลอด 2 ประการ
การคลอดนั้นเต็มไปด้วยอันตรายอาจถึงตายได้
การคลอดทำให้เกิดความเจ็บปวดรุนแรง
สาเหตุ
มีประสบการณ์ที่ไม่ดีในการคลอดที่ผ่านมา
การรับรู้ต่อปัญหาของตนเองไม่ถูกต้อง
รูปแบบการเผชิญปัญหาไม่เหมาะสม
การรักษา
มารดาที่เจ็บปวดมาก ควรได้รับยาแก้ปวด
มารดาที่อ่อนเพลียขาดน้ำ ควรได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอ
มารดาที่มดลูกหดรัดตัวไม่ดี ควรได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก