Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิด ทฤษฎีทางการศึกษา เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม - Coggle Diagram
แนวคิด ทฤษฎีทางการศึกษา เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
ทฤษฎีทางการศึกษา
ทฤษฎีทางการศึกษา เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ จึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับกระบวนการเรียนรู้หรือการเอื้อให้เกิดการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ (THEORIES OF LEARNING) การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร เป็นผลมาจากประสบการณ์ต่าง ๆ ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเทคนิคต่าง ๆ ที่เกิดจากการเรียนรู้
ทฤษฎีความรู้ความเข้าใจหรือทฤษฎีปรัชญาปัญญานิยม
จากหลักการ Field theory ซึ่งเลวิน (lewin) เป็นผู้เสนอไว้ แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับกระบวนการคิดการศึกษาพฤติกรรมควรเน้นความสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการคิดและการรับรู้ของตน
ทฤษฎีการเรียนรู้แนวคิดพฤติกรรมนิยม
มีแนวคิดความเชื่อว่าสิ่งเร้า (Stimula) ทำให้เกิดการเรียนรู้ และเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง(Response) เรียกว่าเกิดพฤติกรรม(Behavior)
ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มแนวคิดมนุษย์นิยม
ผู้นำแนวคิดมนุษยนิยม คือ มาสโลว์ ซึ่งมีความเชื่อว่าธรรมชาติของมนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดีติดตัวมาแต่เกิด มนุษย์เป็นผู้ที่มีอิสระสามารถที่จะพึ่งตนเองได้
สรุปแนวคิดทฤษฎีทางการศึกษาที่สสำคัญดังนี้
โคมินิอุส เป็นนักการศึกษาชาวเชโกสโลวะเกีย ซึ่งให้การยอมรับกันว่า เป็นนักปรัชญากาศึกษาคนแรกของการศึกษายุคใหม่ เป็นเจ้าของความคิดเรื่อง “Pansophia” หรือ “การให้ความรู้ทุกอย่างแก่คนทุกคน” ตามแนวความคิด ของโคมินิอุสนั้น เน้นความสัมพันธ์ของวิทยาการสาขาต่าง ๆ ดังนั้นในการสอนนักเรียนนั้น จะต้อง นำวิชาการต่าง ๆ มาประสาสัมพันธ์กัน นอกจากนี้ ยังให้ความคิดไว้ว่า การศึกษาควรจัดเป็นแบบ สากล ไม่ควรเน้นเฉพาะคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือเพศใดเพศหนึ่ง
เปสตาลอซซี เชื่อว่า ในการจัดการศึกษานั้น ควรจัด ให้เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ได้สัดส่วนกันทุกส่วน ในร่างกายและจิตใจ
อริสโตเติล เป็นนักปราชญ์ชาวกรีก ศิษย์ร่วมสำนักเดียวกันกับพลาโตเกิดที่เมืองสตากีรา แคว้นมาซิโดเนีย การศึกษาตามแนวความคิดของอริสโตเติลคือ “การศึกษา คือ การสร้างสรรค์ให้ผู้เรียนมีจิตใจสมบูรณ์ และมีร่างกายที่แข็งแรง มีพลานามัย การศึกษาจะช่วยทำให้ความสามารถทางจิตใจของมนุษย์พัฒนาสูงขึ้น จนสามารถบรรลุถึงความจริง ความดีและความงามอย่างสูงสุด ซึ่งจะเป็นผลส่งให้บรรลุถึงความสุขสมบูรณ์ในที่สุด”
เฟรอเบล นักการศึกษาชาวเยอรมัน ได้พัฒนาทฤษฎีการศึกษาของเปสตาลอซซีมาเป็นทฤษฎีพัฒนาการของเด็กระดับอนุบาล แนวความคิดที่สำคัญของเฟรอเบล คือ มีความเชื่อว่าเด็กทุกคนมีพลังสร้างสรรค์อยู่ในตัวเอง
พลาโต เป็นนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ชาวกรีก เกิดที่เมืองเอเธนส์ เป็นศิษย์ คนสำคัญของโสคราติส ตามแนวความคิดของพลาโตนั้น กล่าวว่า “การศึกษา คือ ความสามารถที่จำให้ผู้เรียนรู้สึกเป็นสุขและเป็นทุกข์ได้ในโอกาสที่เหมาะสม และพัฒนาสิ่งที่เป็นความงามและ สิ่งที่สมบูรณ์ทุกอย่าง ซึ่งผู้เรียนอาจทำให้เกิดขึ้นได้”
จอห์น ดิวอี้ เป็นทั้งนักปรัชญา นักจิตวิทยา และนักการศึกษาที่มีชื่อเสียงโด่งดังและยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในวงการศึกษาของอเมริกาและของโลก ดิวอี้เป็นนักปรัชญากลุ่มปฏิบัตินิยม (Progressivism) คือ กลุ่มที่ยึดหลักการว่า “สิ่งใดจะดีต้องมีประโยชน์ และสิ่งที่จะมีประโยชน์จะต้องดีด้วย สิ่งที่เป็นสัจจะจะต้องใช้งานได้ สนองวัตถุประสงค์ของเราได้ และบำบัดความต้องการของเราได้”
แนวคิดและทฤษฎีทางศาสนา
ศาสนาที่เกิดขึ้นในโลกทั้งในอดีตและปัจจุบัน ล้วนเกิดมาจากสาเหตุที่คล้ายคลึงหรือแตกต่างกัน แต่สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดเป็นศาสนา สรุปได้ดังนี้
ความไม่รู้และความกลัว
ความจงรักภักดี
ปัญญาหรือความรู้
ศาสนามีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของบุคคล สังคมต่างๆ มักจะมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวเพื่อให้สมาชิกในสังคมปฏิบัติตนในทางที่ดี
ศาสนาทุกศาสนาย่อมมีจุดหมายเดียวกัน คือ มุ่งให้บุคคลกระทำความดีละเว้นความชั่ว
แนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐกิจ
พื้นฐานแนวคิดและทฤษฎีที่สำคัญของเศรษฐกิจกับการศึกษา
ประกอบด้วย 3 แนวคิดทฤษฎี ดังนี้
2) แนวคิดการศึกษาเป็นการลงทุน การใช้จ่ายทางการศึกษาส่วนใหญ่เป็นการใช้จ่ายที่คาดหวังผลตอบแทนในอนาคต จึงเป็นการใช้จ่ายเพื่อการลงทุน การพิจารณาความคุ้มครองและความมีประสิทธิภาพของการลงทุน
3) ทฤษฎีทุนมนุษย์ เศรษฐศาสตร์การศึกษามีพื้นฐานมาจากทฤษฎีมนุษย์ ซึ่งพัฒนามาจากแนวคิดเกี่ยวกับการลงทุนในมนุษย์นับเป็นอีกสำนักความคิดหนึ่งที่ขยายความรู้เกี่ยวกับการลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
1) แนวคิดการศึกษาเป็นอุตสาหกรรม การศึกษาเป็นกิจกรรมของมนุษย์ที่มีขนาดใหญ่ มีผู้ให้บริการจำนวนมากใช้หลักการและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาบริหารจัดการเพื่อให้การจัดใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างประหยัดคุ้มค่าแลเกิดประโยชน์สูงสุด
แนวคิดทฤษฎีทางสังคมและวัฒนธรรมกับการศึกษา
สังคมวัฒนธรรมมีการปรับตัว (adaptation)ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลาอาจส่งผลให้ส่วนอื่นๆของระบบการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงปรับตัวตามไปไม่ทันสังคมและวัฒนธรรมไปด้วย
สังคมและวัฒนธรรมมีความสำคัญกับการจัดการศึกษาและการพัฒนาจัดการเรียนรู้ สองประการคือประการแรกการศึกษาทำหน้าที่อนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมให้ไปสู่คนรุ่นหลัง
การศึกษาว่ามีบทบาทสำคัญที่ทำให้สังคมและวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจะมีอิทธิพลต่อการกำหนดรูปแบบ หรือระบบการศึกษาในสังคม
ประการที่สองการศึกษาจะทำให้หน้าที่บำรุงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของสังคมให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆที่มีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาการศึกษาจะช่วยควบคุมการเปลี่ยนแปลงสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่พึงปรารถนา