Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลทารกแรกเกิดที่ได้รับบาดเจ็บจากการคลอด (Birth trauma or injury) -…
การพยาบาลทารกแรกเกิดที่ได้รับบาดเจ็บจากการคลอด (Birth trauma or injury)
การบาดเจ็บของทารกแรกเกิดที่เกิดขึ้นในระยะเจ็บครรภ์คลอดจนถึงระยะคลอด
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดความบอบช้ำจากการคลอด
ท่าผิดปกติ
การคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการ
ทารกตัวโต
ทารกคลอดก่อนกำหนด
มารดาตัวเตี้ย
ทารกมีความผิดปกติแต่กำเนิด
ครรภ์แรก
ภาวะผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกกับเชิงกรานมารดา
คลอดยาก
คลอดเร็วเกินไป
คลอดติดไหล่
ชนิดของการบาดเจ็บจากการคลอด
Soft tissue injury
บาดแผลถลอก (Abrasions) บาดแผลฉีกขาด (Lacerations) ผื่นแดงที่ผิวหนัง (Erythema) จุดเลือดออกใต้ผิวหนัง (Petechiae) จุดจ้ำเลือด (Ecchymosis) เนื้อตาย (Subcutaneous fat necrosis)
ไม่มีการรักษาจำเพาะ ให้รักษาตามอาการ
Head and skull injury
การบวมน้ำของหนังศีรษะ (Caput Succedaneum)
การคั่งของน้ำ มีการบวมบริเวณ เนื้อเยื่อของหนังศีรษะ
สาเหตุ
เกิดจากการที่ศีรษะ ถูกกดโดยตรงกับปากมดลูกที่ยังเปิดไม่หมดเป็น เวลานาน
Vacuum Extraction
ก้อนจะค่อยๆหายภายใน 36 ชั่วโมง หรือ 2-3 วัน
พบได้ทันทีเมื่อแรกคลอด ลักษณะขอบเขตไม่ชัดเจน กดบุ๋ม บวมข้ามรอยต่อของกะโหลก ศีรษะ (suture)
หายไปได้เองภายใน 2-3 วันแรก
การมีก้อนเลือดหรือเลือดออกใต้หนังศีรษะ
เลือดออกใต้หนังศีรษะ (Subgaleal hematoma)
ภาวะที่มีเลือดสะสมใต้ ช่องว่างระหว่างผังผืดของกะโหลกศีรษะ กับเยื่อหุ้มกะโหลก
มีขนาดเพิ่มขึ้น ช้าๆหรือเร็วขึ้นอยู่กับปริมาณการเสียเลือดและการบาดเจ็บของเส้นเลือด
นุ่มหยุ่นคล้ายน้ำ ในถุง กระเพื่อมได้
เลือดออกใต้เยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะ (Cephalhematoma)
เลือดออกใต้ ชั้นเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะ (subperiosteal hemorrhage)
ศีรษะของทารกกดหรือกระแทกกระดูกเชิงกรานหรือกระดูก promontory of sacrum ของมารดา
คลำได้เป็นก้อนชัดเจนค่อนข้างตึง มีขอบเขตชัดเจน ส่วนใหญ่ก้อน จะไม่ข้ามรอยต่อกะโหลกศีรษะแต่ละชิ้น
ภาวะแทรกซ้อน: ตัวเหลือง ซีด การติดเชื้อ กระดูก กะโหลกศีรษะแตกร้าว
ต้องเฝ้าระวังสังเกต อาการอื่นที่อาจมีเพิ่มเติม
ติดตามสัญญาณชีพตามความจำเป็นจนสัญญาณชีพคงที่ และติดตามต่อเป็นระยะ
ดูแลให้ได้รับการพักผ่อนเพียงพอ
จัดท่านอนตะแคงทับด้านปกติเพื่อไม่ให้เลือดออกมากขึ้น
อาจจัดศีรษะให้สูงกว่าระดับสะโพกประมาณ 2-3 นิ้ว เพื่อลดความดันในกะโหลกศีรษะและให้ปอด ขยายได้สะดวก
ดูแลให้ได้รับสารน้ำและอาหารเพียงพอ
อธิบายให้บิดามารดาเข้าใจ
Injury of the eyes
เลือดออกที่ตาขาวและในลูกตา (Subconjunctival hemorrhage, Retinal hemorrhage)
เกิดจากการมีแรงดันภายในทรวงอกเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน ขณะทรวงอกของทารกผ่านช่องทางคลอดหรือช่องทางคลอดบีบรัดที่ศีรษะ
หายเอง
Nerve injury
การบาดเจ็บของกลุ่มเส้นประสาทแขน (Brachial plexus injury)
เป็นเส้นประสาท จาก C5 จนถึง T1 (cervical nerve 5- thoracic nerve 1) ซึ่งกระจายกันออกไปสู่แขน อันตรายที่เกิด จึงเป็นเหตุให้มีการอัมพาตของแขนส่วนนั้นบางระดับ
เกิดจากการที่รากประสาทจากคอตลอดไหล่ไปสู่แขน ถูกดึงยืดหรือกดมาก
ชนิดของการบาดเจ็บของแขนงประสาทแขน
อัมพาตของประสาทกล้ามเนื้อแขนส่วนล่าง
Abduction 90 degree/external rotation of shoulder/flexion elbow 90 degree
จะดีขึ้น ภายใน 3-6 เดือน
C7- C8 และ T1 ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณ มือของเด็กขยับไม่ได้
อัมพาตของแขนงประสาทแขนทั้งหมด
่ระดับ C5-T1
สมควรได้รับการผ่าตัดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
บาดเจ็บเป็นชนิดถาวร
อัมพาตของประสาทกล้ามเนื้อแขนส่วนบน
จัดแขนของทารกให้อยู่ในท่ายอมแพ้
ดีขึ้นภายใน 3+6 เดือน
C5 - C6 เสียหน้าที่เป็นอัมพาต
ผ่าตัด
หลักการรักษาพยาบาล
จัดท่านอนให้เหมาะสม
ช่วยออกกำลังกายแขนและข้อต่างๆ
ควรไม่ควรอุ้มทารกขึ้นจากเตียงบ่อย
การบาดเจ็บของเส้นประสาทเลี้ยงใบหน้า (facial nerve paralysis)
เส้นประสาทที่ควบคุมความรู้สึกของใบหน้า ซึ่งได้แก่ เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (facial nerve) ถูกกดหรือได้รับความกระทบกระเทือนจากการคลอดยาก
เกิดอัมพาตชั่วคราวของกล้ามเนื้อหน้า โดยทั่วไปมักเป็นด้านเดียว ทำให้ใบหน้า ด้านที่เป็นไม่มีการเคลื่อนไหว
มักหายเองได้ภายใน 2-3 วันถึง เดือน (เฉลี่ย 3 สัปดาห์หลังคลอด) หายได้ 7-10 วันหลังคลอด หายเป็นปกติ (total recovery) 2-3 เดือน ไม่ดีขึ้นภายใน 10 วัน ควรส่งตรวจ electrodiagnosis
รักษาพยาบาล
ดูแลไม่ให้ดวงตาได้รับอันตราย
ดูแลเกี่ยวกับการได้รับนม
ทำศัลยกรรมซ่อมประสาท (Neuroplasty)
อธิบายให้บิดา มารดาของทารกเข้าใจถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น
Musculoskeletal injury
กระดูกไหปลาร้าหัก (Clavicular fracture)
เด็กตัวโตคลอดติดไหล่ หรือคลอดท่าก้น
อาจไม่มีอาการถ้ากระดูกไม่แยกจากกัน เด็กจะไม่ค่อยปวด ยกแขนได้ปกติ
ไม่มี moro reflex อาจมี brachial plexus injury ร่วมด้วย
ทำให้ผู้ป่วยไม่เจ็บปวดและทำให้กระดูกอยู่นิ่งๆในท่าที่กระดูกทั้งสองชิ้นไม่ห่างกันใช้เวลาใน การรักษา 2-3 อาทิตย์โดยไม่ต้องผ่าตัดหรือใส่เฝือก
การพยาบาล
ลดกิจกรรมหรือสิ่งกระตุ้น ระมัดระวัง ในการอุ้มทารกขณะจัดให้แขนและไหล่ด้านที่กระดูกหักอยู่นิ่ง
ประเมินการ เคลื่อนไหวของแขนการยกของแขนความเจ็บปวดและสังเกตอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าแบบสวมศีรษะ
เลือกเสื้อผ้า ชนิดที่มีซิปหรือกระดุมเพื่อให้ง่ายต่อการสวมใส
กระดูกหักแยกจากกันต้องใส่เฝือกชั่วคราว หรือรัดไม่ให้แขนมีการเคลื่อนไหว โดยใช้ bandage รัด แขนติดอกประมาณ 10 วันเมื่อกระดูกเริ่มติดดี จึงปล่อยให้ทารกเคลื่อนไหวแขนข้างนั้นได้
กระดูกต้นแขนหัก (Fracture humorous)
ทารกไม่งอแขน ไม่เคลื่อนไหวแขนข้างที่หัก ร้องกวน บวมหรือผิดรูป คลำรอยหักได้ ชัดเจน ไม่พบ moro reflex ทารกจะร้องเมื่อขยับเขยื้อน
ทำให้ทารกไม่เจ็บปวด ให้กระดูกอยู่นิ่งๆ ด้วยการใส่เฝือกหรือเฝือกอ่อน
การพยาบาล
กระดูกหักจะต้องได้รับการใส่เฝือก พยาบาลจึงควรดูแลเรื่องของการใส่เฝือก เฝือกอ่อน และอาการข้างเคียง
รบกวนทารกให้น้อยที่สุด
กระดูกร้าว จะตรึงแขนข้างที่หักโดยใช้ผ้าพันแขนให้แนบติดกับลำตัว ข้อศอกงอ 90 องศา แขนช่วงล่างและมือพาดขวางลำตัว เพื่อไม่ให้มีการเคลื่อนไหว 1-2 สัปดาห์
สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบิดา มารดาและทารก
การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ (Sternocleidomastoid injury)
จัดให้ทารกนอนหงาย จับศีรษะทารกให้หันไปทางตรงกันข้ามกับก้อน วันละหลายๆครั้ง กระตุ้นทารกให้หันมองวัตถุในทางตรงกันข้ามกับก้อน จับทารกนอนตะแคงข้างที่คอเอียง ทำติดต่อกัน อย่างน้อย 6 เดือน ผ่าตัดเมื่ออาการไม่ดีขึ้น
ลำพบก้อนบริเวณกลางกล้ามเนื้อ sternocleidomastoid ตั้งแต่แรกเกิด ไม่เกิน 10 – 14 วัน