Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบำบัดหัตถการ เรื่องการถอดเล็บ, นางสาวพนิตนันท์ รัตนกุสุมภ์ เลขที่ 39 -…
การบำบัดหัตถการ เรื่องการถอดเล็บ
การถอดเล็บ
หมายถึง
การผ่าตัดทางการแพทย์ โดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อถอดเล็บมือหรือเล็บเท้าที่ผิดปกติออกมา
ปัญหาส่วนใหญ่ที่ทำให้ต้องถอดเล็บ
ได้แก่
การเกิดเล็บขบ
เล็บฉีกขาด
เล็บบางส่วนหลุดออกจากเนื้อเยื่อฐานเล็บ
การถอดเล็บเป็นการเปิดโอกาสให้เล็บมือหรือเล็บเท้างอกขึ้นใหม่ตามกระบวนการทางธรรมชาติ ซึ่งเล็บมักใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการงอกขึ้นมาใหม่ แต่ในกระบวนงอกใหม่ของเล็บไม่ทำให้เกิดการเจ็บปวดแต่อย่างใด
สาเหตุที่ต้องรักษาด้วยการถอดเล็บ
การเป็นเล็บขบซำ้ๆหรือเล็บขบที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากินและยาทา
ประสบอุบัติเหตุที่เล็บ ทำให้เล็บฉีกขาด
การติดเชื้อบริเวณเล็บหรือเนื้อเยื่อใต้เล็บ
เล็บหนา อันเนื่องมาจากสาเหตุ เช่น ความผิดปกติแต่กำเนิด ป่วยด้วยโรคสะเก็ดเงิน อายุเพิ่มมากขึ้น สวมใส่รองเท้าที่คับแน่นเกินไป
อาการและอาการแสดงที่ต้องรักษาด้วยการถอดเล็บ
ติดเชื้อราที่เล็บ ที่ทำให้เล็บเกิดความเสียหายรุนแรง
เล็บขบ
การอักเสบรอบเนื้อเล็บเป็นๆหายๆเรื้อรัง
เล็บงอกโค้งผิดปกติ
การจิกตนเองและทำให้เกิดความเสียหายต่อเล็บ
สงสัยว่าอาจมีเนื้องอกต่างๆใต้เล็บ หรือมีเม็ดสีที่เล็บ
เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียใต้เล็บที่ต้องการการระบายหนอง
ขั้นตอนการถอดเล็บ
แพทย์ตรวจอาการ แล้วพิจารณาว่าผู้ป่วยควรถอดเล็บหมดหรือตัดดึงเล็บออกเพียงบางส่วน
จัดท่าผู้ป่วย จากนั้นให้สารละลายโพวิโดน ไอโอดีน หรือยาชา เพื่อระงับความรู้สึกเจ็บปวดบริเวณนิ้วที่ถูกถอดเล็บ
ในกรณีที่มีการติดเชื้อ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ แล้วนำหนองใต้เล็บออกก่อน
4.ใช้ยางรัดบริเวณโคนนิ้วส่วนที่แห้ง แล้วบีบหรือกดข้างนิ้วในขณะถอดเล็บ เพื่อไม่ให้เลือดไหลออกมาก
ล้างทำความสะอาดนิ้วอีกครั้ง ก่อนจะใช้เครื่องมือดึงถอดเล็บส่วนที่มีปัญหาออกมาจนหมด
หากเนื้อเยื่อบริเวณใต้เล็บเสียหายมาก แพทย์อาจใช้เครื่องมือจี้ด้วยไฟฟ้า เพื่อกำจัดเนื้อเยื่อ แล้วเช็ดออกด้วยผ้าก๊อซ
หลังจากนั้น อาจทายาปฏิชีวนะในรูปครีมขี้ผึ้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ แล้วพันด้วยผ้าพันแผลที่สะอาดปลอดเชื้อ
หลังพักฟื้นขณะถอดเล็บ
ควรเปลี่ยนผ้าพันแผลทุกวัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ผู้ป่วยต้องกลับมาให้แพทย์ล้างแผลภายใน 1 สัปดาห์
ระมัดระวังไม่ให้บาดแผลได้รับการกระทบกระเทือน เปียกชื้น สกปรก หรือติดเชื้อ
ยกมือหรือเท้าที่ถอดเล็บออกให้อยู่สูงกว่าหัวใจเสมอในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังการถอดเล็บ
ประคบเย็นรอบๆบาดแผลเป็นเวลา 15-20 นาที ทุกๆชั่วโมง เพื่อช่วยลดอาการบวมบรรเทาความเจ็บปวด
ไม่สวมรองเท้าที่คับแน่นจนเกินไป
หากมีอาการต่อไปนี้ เช่น มีเลือดไหลออกมาก มีเส้นสีแดงเป็นจ้ำตามแขนหรือขา มีไข้ หนาวสั่น แผลบวมแดง หรือมีหนองไหลออกมา ควรรีบไปพบแพทย์
ภาวะแทรกซ้อนของการถอดเล็บ
ผื่นแพ้สัมผัส อาจเกิดจากการใช้ยาทิงเจอร์หรือสารละลายเบโซอิน
การติดเชื้อแบคทีเรียทุติยภูมิ เป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นหลัง หรือ ระหว่างการรักษาการติดเชื้อที่เป็นเหตุทำให้ต้องถอดเล็บในตอนแรก
นางสาวพนิตนันท์ รัตนกุสุมภ์ เลขที่ 39