Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบำบัดหัตถการ เรื่องการช่วยเหลือผู้ป่วยที่จมนำ้, นางสาวพนิตนันท์…
การบำบัดหัตถการ
เรื่องการช่วยเหลือผู้ป่วยที่จมนำ้
การจมนำ้ (Drowning)
คือ
การที่จมลงใต้นำ้แล้วหายใจเอานำ้เข้าไปในปอดมีผลต่อร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ มักเกิดกับคนที่ว่ายนำ้ไม่เป็น หรือ อยู่ในภาวะซึ่งช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ การจมนำ้ในนำ้จืดจะใช้เวลาประมาณ 3-4 นาที และในนำ้เค็มจะใช้เวลาประมาณ 7-8 นาที
อาการและอาการแสดง
มีฟองนำ้ลายรอบบริเวณริมฝีปาก และรูจมูกหายใจช้าลง ชีพจรเบาคลำไม่ชัดเจน ซีด หมดสติ
ลักษณะอาการของคนที่กำลังจมนำ้ แบ่งเป็น 11 ประการ
เกิดอาการตกตะลึงเริ่มรู้ตัวว่าจะไม่รอดชีวิต ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือ
ตะเกียกตะกาย พยายามดิ้นรน
ว่ายนำ้ได้เองโดยอัตโนมัติ แต่ทำได้ในระยะเวลาสั้น แล้วจะเริ่มจมนำ้
เริ่มมีอาการหยุดหายใจเกิดขึ้น เนื่องจากได้พยายามกลั้นหายใจไว้ตั้งแต่ระยะที่ 1-3 แล้ว
ขณะสูดลมหายใจอีกครั้งหนึ่งจะเริ่มสำลักและกลืนนำ้เข้าไป
เกิดอาการไอ และอาเจียน
พยายามกระเสือกกระสนถีบตนเองให้จมูกพ้นนำ้ แล้วสูดลมหายใจเข้าไป ซึ่งอาจเป็นเฮือกสุดท้าย
สำลักนำ้เข้าปอด
พ่นนำ้ลายออกมาเป็นฟอง และมีเลือดปนออกมา
ชัก ไม่รู้สึกตัว
เสียชีวิต แล้วจมนำ้ลงไป
วิธีการช่วยเหลือ
ตะโกน
เมื่อพบเห็นคนจมนำ้ให้ตะโกนเพื่อขอความช่วยเหลือ
โยน
หาสิ่งของที่สามารถลอยนำ้ได้ โยนให้กับคนที่กำลังจมนำ้ เช่น ถังแกลลอน ห่วงชูชีพ
ยื่น
หาอุปกรณ์ยื่นให้คนที่กำลังจมนำ้จับ เช่น ไม้ เชือก เสื้อ กางเกง
สาวไม้
หลังจากคนที่กำลังจมนำ้จับอุปกรณ์แล้วให้ดึงคนจมนำ้ดึงเข้าหาฝั่ง
การปฐมพยาบาล
โทรศัพท์แจ้งหมายเลข 1669 หรือหน่วยพยาบาลใกล้เคียงโดยเร็วที่สุด
ห้ามจับผู้ประสบภัยอุ้มพาดบ่า กระโดดหรือวิ่งรอบสนาม เพื่อเอานำ้ออก
จับคนจมนำ้นอนบนพื้นราบ แห้งและแข็ง
ตรวจดูว่ารู้สึกตัวหรือไม่ โดยใช้มือทั้ง 2 ข้างจับไหล่ เขย่าพร้อมเรียกดังๆ
กรณีรู้สึกตัว เช็ดตัวให้แห้ง เปลี่ยนเสื้อผ้าและห่มผ้า และนำส่งโรงพยาบาลทุกราย
กรณีไม่รู้สึกตัว ไม่ตอบสนอง : ช่วยหายใจ โดยเปิดทางเดินหายใจ โดยการกดหน้าผาก เชยคาง และเป่าปากโดยวางปากครอบปากผู้ป่วย บีบจมูก เป่าลมเข้า ให้หน้าอกผู้ป่วยยกขึ้น (เป่าปาก 2 ครั้ง)
กดนวดหัวใจ วางส้นมือกึ่งกลางหัวนมทั้ง 2 ข้าง ต่อมากดหน้าอกให้ยุบไปประมาณ 1ใน 3 ของความหนาของหน้าอกความเร็ว 100 ครั้ง/นาที นวดหัวใจ 30 ครั้ง สลับกับการเป่าปาก 2 ครั้ง ทำไปจนจะรู้สึกตัว และหายใจได้เอง
จับผู้ป่วยนอนตะแคงข้าง ศีรษะหงายไปข้างหลัง เพื่อให้นำ้ไหลออกทางปาก ใช้ผ้าห่มคลุมผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความอบอุ่น งดนำ้และอาหาร และนำส่งโรงพยาบาลทุกราย
นางสาวพนิตนันท์ รัตนกุสุมภ์ เลขที่ 39