Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบำบัดโดยหัตถการ - Coggle Diagram
การบำบัดโดยหัตถการ
การดูแลดามกระดูก
การปฐมพยาบาลกระดูกหัก
ประเมินบริเวณที่บาดเจ็บ เพราะแผลบาดเจ็บจากอุบัติเหตุนั้นไม่ได้เป็นการรับประกันว่ากระดูกจะหัก ส่วนกระดูกที่หักหรือร้าวที่เกิดบริเวณศีรษะ กระดูกสันหลัง หรือสะโพก
-
-
-
ดามกระดูกที่หัก
การดามกระดูกชั่วคราวแบบง่าย ๆ สามารถทำได้โดยการใช้แผ่นไม้ พลาสติกแข็ง ไม้บรรทัด กิ่งไม้ทำเป็นเฝือกวางแนบกับส่วนที่หัก โดยให้ปลายทั้ง 2 ข้างครอบคลุมถึงข้อที่อยู่เหนือและใต้ส่วนที่หัก
ไม่วางเฝือกที่ดามลงบนบริเวณที่กระดูกหักโดยตรง ควรมีสิ่งอื่นที่นุ่ม ๆ รองรับ เช่น ผ้าหรือสำลีวางไว้ตลอดแนวเฝือก เพื่อไม่ให้เฝือกกดลงบนบริเวณผิวหนังโดยตรง ซึ่งจะทำให้เจ็บปวดและเกิดแผลจากเฝือกกดได้
อย่าพยายามดึงข้อหรือจัดกระดูกให้เข้าที่ด้วยตัวเอง บริเวณที่ดามเฝือกจะต้องจัดให้อยู่ในท่าที่สุขสบายที่สุด อย่าจัดกระดูกให้เข้ารูปเดิม ไม่ว่ากระดูกที่หักจะโก่ง โค้ง หรือคด ก็ควรดามเฝือกในท่าที่เป็นอยู่
-
-
-
-
-
-
การช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ
การนวดหัวใจ
- จัดให้ผู้ประสบเหตุนอนราบบนพื้นแข็ง
- วัดตำแหน่งที่เหมาะสำหรับการนวดหัวใจ โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางข้างที่ถนัด วาดจากขอบชายโครงล่างของผู้ป่วยขึ้นไป จนถึงปลายกระดูกหน้าอก วัดเหนือปลายกระดูกหน้าอกขึ้นมา 2 นิ้วมือ แล้วใช้สันมือข้างที่ไม่ถนัดวางบนตำแหน่งดังกล่าว
- ผู้ช่วยเหลือยืดไหล่และแขนเหยียดตรง จากนั้นปล่อยน้ำหนักตัวผ่านจากไหล่ไปสู่ลำแขนทั้งสอง และลงไปสู่กระดูกหน้าอกในแนวตั้งฉากกับลำตัวของผู้เจ็บป่วยทั้งในผู้ใหญ่และเด็กโต กดลงไปลึกประมาณ 2 นิ้ว หรือประมาณ 5 เซนติิเมตร ของความหนาหน้าอก โดยกดลงไปในแนวดิ่ง และอย่ากระแทก ทั้งนี้ให้ทำสลับกับการเป่าปาก โดยเป่าปาก 2 ครั้ง กดหน้าอก 30 ครั้ง
- ผ่อนมือที่กดขึ้นให้เต็มที่เพื่อให้ทรวงอกมีการขยายตัว และหัวใจได้รับเลือดที่อุดมไปด้วยออกซิเจน ขณะที่ผ่อนมือไม่จำเป็นต้องยกมือขึ้นสูง มือยังคงสัมผัสอยู่ที่กระดูกหน้าอก อย่ายกมือออกจากหน้าอก จะทำให้มีเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย และมีเลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจ ทำให้มีการไหลเวียนเลือดในร่างกาย
- การกดนวดหัวใจควรนวดเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ในอัตราเร็วอย่างน้อย 100 ครั้ง/นาที ถ้าน้อยกว่านี้จะไม่ได้ผล
-