Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิทยาการระบาดและการควบคุมและป้องกันโรค - Coggle Diagram
วิทยาการระบาดและการควบคุมและป้องกันโรค
บทบาทหน้าทีรับผิดชอบในการเฝ้าระวังทางการระบาดวิทยา
ร่วมกับทีมสุขภาพในการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาบันทึก และรายงานการเกิดโรคทีต้องเฝ้าระวังแก่เครือข่ายงานเฝ้าระวังโรค และรับข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการดูแลสุขภาพของชุมชนทีรับผิดชอบ
3.ติดตามข้อมูลข่าวสารและนําความรู้จากรายงานการเฝ้าระวังทางวิทยาการระบาดพยาบาลและเจ้าหน้าทีสาธารณสุขศึกษารายงานการเฝ้าระวังทางวิทยาการระบาดประจําสัปดาห์ ประจําเดือน ประจําปของสํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคนําไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนป้องกัน และควบคุมโรคของชุมชนการวิจัยโรคทีเป็นปัญหาสาธารณสุข ฯลฯ
พยาบาลและทีมสุขภาพร่วมมือกันจัดและดําเนินการเฝ้าระวังโรคเชิงรุกเฝ้าระวังเฉพาะ ปัญหาสําคัญของชุมชนทีรับผิดชอบ เฉพาะกลุ่มบุคคลทีรับผิดชอบ เช่น นักเรียนในโรงเรียน คนงานในโรงงาน เจ้าหน้าทีของสถานพยาบาล เป็นต้น
ปัจจัยสามทางระบาดวิทยา (Epidemiological triangle)
สิ่งทีทําให้เกิดโรค (Agent)เปลี่ยนแปลงไป โดยมีความสามารถในการแพร่กระจายโรคและทํา ให้เกิดโรคมากขึ้น
คน (Host) มีการเปลี่ยนแปลงไป สัดส่วนของคนทีมีความไวในการติดโรคเพิ่มมาก ขึ้นโดยเฉพาะทารกและคนชรา เช่น เด็กเล็กทีไม่มีภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ
สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป สิ่งแวดล้อมทําหน้าที่เหมือนเป็นฟัลครัมดังนั้น จึงเท่ากับฟลครัมนี้เลือนออกจากจุดกึ่งกลางของตน และจะเลือนออกไปเปน 2แบบ คือ
สิ่งแวดล้อมสนับสนุนสิ่งทีทําให้เกิดโรคให้มีการเปลี่ยนแปลงไปทําให้คานเอียงหมายถึง เกิดโรคขึน ตัวอย่าง ฝนตกชุก ยุงชุมไข้มาลาเรียชุก เป็นต้น
สิ่งแวดล้อมสนับสนุน คน หรือชุมชนทีทําให้เกิดโรคให้มีการเปลี่ยนแปลงไปทําให้คานเอียงตัวอย่าง คนมีฐานะดีเกินไปหรือจนเกินไป อาจทําให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน เป็นต้น
ปัจจัยก่อโรคทางระบาดวิทยา (Epidemiologic)
สิ่งที่ทำให้เกิดโรค (Agent) จะศึกษาด้านชีวภาพ ด้านสารเคมี ด้านกายภาพ ด้านจิตใจและสังคมการขาดสารบางชนิด
โฮทส์หรือมนุษย์ (Host) เป็นการศึกษาประชากรกลุ่มเป้าหมายในด้านอายุ เพศ พันธุกรรมและเชื้อชาติปัจจัยทางสรีระวิทยา ปัจจัยทางด้านจิตใจ การทีมีภูมิคุ้มกันของโรคมาก่อน การทีเคยป่วยหรือได้รับการรักษาโรคนั้นมาก่อนและพฤติกรรมด้านสุขภาพและอนามัย
สิ่งแวดล้อม (Environment) เน้นศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ สิ่งแวดล้อมทางด้านชีวภาพ สิ่งแวดล้อมทางด้านสารเคมี รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
ลักษณะการเกิดโรคในชุมชน
Endemic disease
หมายถึง โรคเกิดประจําท้องถิ่น การเกิดโรคทีพบอยู่ได้บ่อยๆในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งหรือประชากรกลุ่มใดกลุ่มหนึงทีมีอัตราป่วยสูง มีอัตราความชุกและอุบัติการณ์ทีสูงเมือเปรียบเทียบกับพื้นที่หรือประชากรกลุ่มอื่นๆ
Sporadic
หมายถึง ลักษณะของโรคทีเกิดขึ้นกระจัดกระจายไม่เฉพาะที เกิดขึ้นประปรายและมักจะเกิดทีละราย เกิดเป็นบางครั้งคราว เช่น โรคบาดทะยัก โรคพิษสุนัขบ้า โรคคอตีบ โรคไอกรน เป็นต้น
Epidemic
หมายถึง ปรากฏการณ์การเพิ่มขึ้นของโรคอย่างผิดปกติในชุมชน และไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ในสถานที่หนึ่งและในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกทีสูงกว่าปกติในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม เรียกว่ามีการระบาด (Epidemic) เมืออัตราปวยสูงกว่าค่าเฉลียสองเท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีทีผ่านมา และถ้าพบโรค เช่น ไข้ทรพิษทีไม่เคยเกิดมานานเพียง 1 รายก็ถือว่ามีการระบาดเกิดขึ้น
Pandemic
หมายถึง ลักษณะของโรคทีเกิดขึ้นในวงกว้าง เช่น เกิดทั่วประเทศระหว่างประเทศ ทวีปหรือทั่วโลก เช่น เอดส์ โรคอหิวาตกโรค และไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น