Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5ธรรมชาติบำบัด - Coggle Diagram
บทที่ 5ธรรมชาติบำบัด
ศาสตร์การแพทย์ทางเลือกและเทคนิคที่ใช้บำบัดในหลักวิธีแบบธรรมชาติบำบัด
การแพทย์โฮมีโอพาธีย์ (Homeopathic medicine)
กายภาพบำบัด (Physical medicine) ในหลักการแพทย์ธรรมชาติบำบัดจะมีวิธีการบำบัดในวิธีต่างๆเช่น การนวดกล้ามเนื้อ กระดูก กระดูกสันหลัง
สมุนไพร (Botanical medicine) สมุนไพรทางการรักษา Botanical medicine is often used to treat many ailments
การแพทย์ตะวันออก (Oriental medicine) การบำบัดโดยใช้หลักปรัชญาการแพทย์ตะวันออก
โภชนาการคลินิก (Clinical nutrition) การให้คำปรึกษาทางด้านโภชนาการทั้งผู้ป่วยและผู้มีสุขภาพดีทั้งในเรื่องสุขลักษณะอนามัย การอดอาหาร การให้อาหารเสริม
การคลอดตามแนวธรรมชาติบำบัด (Naturopathic obstetrics) คือ ผู้ป่วยมักคลอดเองที่บ้านโดยมีแพทย์ธรรมชาติบำบัดให้การดูแลทั้งกล่อนคลอดและหลังคลอดซึ่งใช้เทคนิคการดูแลตามแบบแพทย์สมัยใหม่
จิตวิทยาทางการแพทย์ (Psychological medicine) การแพทย์ธรรมชาติบำบัดจาเป็นต้องใช้จิตวิทยาทางการแพทย์ควบคู่การดูแล
การผ่าตัดเล็ก (Minor surgery) ผู้ที่จบการแพทย์ธรรมชาติบำบัด หรือผู้ที่มีวุฒิปริญญาทางการแพทย์ธรรมชาติบำบัด (naturopathic doctors (N.D.s) ) จะสามารถทาการผ่าตัดเล็กได้
วัตถุประสงค์ของแนวทางปฏิบัติในการตรวจรักษา
2 ระบุความรับผิดชอบของแพทย์ธรรมชาติบำบัดต่อสาธารณะ และเพื่อรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยของประชาชนโรคได้ทันเวลา
3 รับรองว่ายังคงรักษาไว้ซึ่งสุขภาพของประชาชน
1 ให้เกณฑ์ทั่วไปเสมือนเป็นแนวทางปฏิบัติสาหรับการตรวจรักษาด้วยการแพทย์แบบธรรมชาติบำบัดที่ทำเป็นประจำ
4 ให้แนวทางปฏิบัติกับคณะกรรมาธิการของรัฐ การออกใบอนุญาต และหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพ
5 ให้แม่แบบสาหรับรัฐใหม่ที่เพิ่งได้รับการอนุญาตให้ออกใบอนุญาตได้ เพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติบนพื้นฐานของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาต
6 ให้การรับประกันในเรื่องข้อตกลงที่เป็นแบบแผนเดียวกันระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพด้านธรรมชาติบำบัดในเรื่องที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และการตรวจรักษาด้วยการแพทย์ธรรมชาติบำบัด
7 ทำการทบทวนเป็นระยะ และปรับปรุงแนวทางปฏิบัติในการตรวจและการดูแลรักษาที่จำเป็นเพื่อรับรองความปลอดภัยของประชาชน (public safety) ตามมาตรฐานสาธารณสุข และเพื่อปรับให้เข้ากับความก้าวหน้าของแนวคิดทางการแพทย์ที่ดาเนินไปอย่างต่อเนื่อง
ขอบเขตของการตรวจรักษา
1 ขอบเขตของการตรวจรักษาของแพทย์ธรรมชาติบำบัดมีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับพลังงานอันทำให้เกิดความไม่สมดุลของร่างกาย
2 แพทย์ธรรมชาติบำบัดได้รับการฝึกอบรมเพื่อเข้าใจและนำรูปแบบวิธีการบำบัดรักษาโรคที่มีหลากหลายมาใช้ และเพื่อเลือกสรรการรักษาที่แพทย์เหล่านั้นเห็นว่าดีที่สุดสาหรับสภาพร่างกายของผู้ป่วย
3 ชนิดของการบำบัดรักษา แพทย์อาจเลือกจากวิธีการต่อไปนี้ แต่ไม่จำกัดเฉพาะวิธีการที่กำหนดไว้
3.1 การฝังเข็ม (Acupuncture)
3.2 ยาสมุนไพร (Botanical medicine)
3.3 โภชนศาสตร์คลินิก (Clinical nutrition) และการให้คาปรึกษาทางโภชนาการ (Nutritionalcounseling)
3.4 ธาราบำบัด (hydrotherapy)
แพทย์ธรรมชาติบำบัดต้องเป็นผู้รู้ตามให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในทางการแพทย์ ซึ่งสามารถบรรลุทำได้โดยผ่านทาง
4.1 การเข้าร่วมการสัมมนาในด้านการศึกษาต่อเนื่อง การฝึกปฏิบัติและจัดให้แพทย์เป็นพี่เลี้ยง(Preceptorship) การศึกษาหลังปริญญา การเพิ่มพูนทักษะ (Internship) หรือหลักสูตรวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญ(Residency program)
4.2 ในกรณีที่แพทย์เป็นสมาชิกของสังคมที่มีลักษณะเฉพาะ พวกเขาจะได้รับการร้องขอ ให้รักษามาตรฐานของการศึกษาที่สังคมได้กำหนดไว้
5 แพทย์ธรรมชาติบำบัดมีข้อตกลงที่จะประเมินสารที่มีคุณสมบัติในการบำบัด (Therapeutic agent)ชนิดใหม่และวิธีการบำบัดต่างๆ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยอย่างมีวิจารณญาณและโดยปราศจากอคติ
6 แพทย์ธรรมชาติบำบัดได้รับการสนับสนุนให้พัฒนาวิธีการตรวจรักษาในการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากขึ้น
บทบาทของแพทย์ธรรมชาติบำบัด
2 แพทย์คนใดก็ตามที่มีการตรวจรักษาที่จำกัดจำเป็นต้องแนะนำให้ผู้ป่วยไปพบผู้เชี่ยวชาญ ที่เหมาะสมถ้าได้รับการร้องขอจากผู้ป่วย หรือแพทย์เห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็น
1 แจ้งให้ผู้ป่วยและผู้เกี่ยวข้องทราบถึงลักษณะของข้อจากัดของการรักษา อาจจะแจ้งให้ทราบตั้งแต่ครั้งแรกที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา แจ้งบนหัวกระดาษจดหมายที่มีชื่อและที่อยู่ของแพทย์ หรือโดยการโฆษณา
3 แพทย์ธรรมชาติบำบัดได้รับการอบรมเหมือนเป็นแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวในระดับปฐมภูมิ สามารถเลือกที่จะเน้นหรือศึกษาเป็นพิเศษในสาขาเฉพาะทางไม่ว่าจะเป็นสาขาเดียว หรือศึกษาในขอบเขตของเวชปฏิบัติทั่วไป
การนำธรรมชาติบำบัดใช้ในการดูแลสุขภาพ
หน้าที่ความรับผิดชอบของแพทย์ธรรมชาติบำบัด
5 การซักประวัติอย่างละเอียด
6 การติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง
4 การตรวจทางกายภาพที่เหมาะสม
3 แผนการดูแลสุขภาพในเชิงปูองกัน
2 รูปแบบการดาเนินชีวิต (lifestyle) และการประเมินความเสี่ยง
7 การวินิจฉัยที่ถูกต้อง แม่นยำ
1 การวิเคราะห์อาหารและโภชนาการและการให้คำปรึกษา
ผู้ป่วยได้รับการให้สิทธิดังนี้
1 ปฏิบัติตามคำแนะนาในการดูแลสุขภาพของแพทย์ธรรมชาติบำบัด
2 ได้รับการรักษาด้วยความเคารพ
3 ได้รับความเคารพในความเป็นส่วนตัว
4 ได้รับการรักษาอย่างซื่อตรงและมีจริยธรรม
5 ได้รับการปกปิดข้อมูลเป็นความลับ
สรุป
ธรรมชาติบำบัด (Naturopathy) เป็นการแพทย์ทางเลือกสาขาหนึ่งที่ดูแลรักษาร่างกายและจิตใจโดยใช้ขบวนการธรรมชาติ ซึ่งอยู่บนหลักการที่ว่า “โรคทุกชนิดทั้งทางร่างกายและจิตใจของคนเราสามารถเยียวยารักษาตัวเองได้ ถ้าร่างกายอยู่ในสภาวะสมดุลปกติ”
สาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ นั้นเป็นผลมาจากการดำเนินชีวิตที่ผิดธรรมชาติ หลักการของธรรมชาติบำบัดเป็นการทำให้ร่างกายที่เสียสมดุลฟื้นคืนสู่สภาวะสมดุลด้วยตัวเอง
แนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติบำบัด
รูปแบบการดูแล (Model of care )
การแพทย์ธรรมชาติบำบัดมีแนวคิดอยู่บนรากฐานของการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคและเชื่อว่ารางกายสามารถเยียวยาบำบัดตนเองได้ทั้งความเจ็บป่วยเฉียบพลันและความเจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งเป็นกลไกการเยียวยาตนเองตามธรรมชาติ โดยแพทย์ธรรมชาติ
ลักษณะเฉพาะที่สำคัญที่สุดของธรรมชาติบำบัด (Salient Features of Naturopathy
สาเหตุและการรักษาของโรคทุกโรคเป็นหนึ่งเดียวกัน ยกเว้นสภาวะที่เกิดจากบาดแผลและสิ่งแวดล้อม สาเหตุของโรคทุกโรคเกิดจากสิ่งเดียวกัน
สาเหตุอันดับแรกของการเกิดโรคคือการสะสมของสิ่งที่ทำให้เกิดโรค (morbidmatter) เชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกายและมีชีวิตอยู่ในร่างกายภายหลังจากการสะสมของสิ่งที่ทำให้เกิดโรคเมื่อร่างกายมีบรรยากาศที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคก็จะเกิดโรคขึ้น สาเหตุพื้นฐานอันดับแรกที่ทำให้เกิดโรค คือสิ่งที่ทำให้เกิดโรค และอันดับสองคือเชื้อแบคทีเรีย
โรคเฉียบพลันต่างๆ (acute diseases) เป็นความพยายามของร่างกายในการเยียวยาตนเอง (selfhealing)ดังนั้นจึงเป็นมิตรของเราไม่ใช่ศัตรู โรคเรื้อรังเป็นผลของการรักษาที่ผิดและการยับยั้งโรคเฉียบพลัน
ธรรมชาติเป็นนักบำบัดที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ร่างกายของมนุษย์โดยตัวเองแล้วมีพลังในการเยียวยาเพื่อป้องกันตนเองจากโรคและฟื้นฟูสุขภาพถ้าสุขภาพไม่แข็งแรง
ธรรมชาติบำบัดไม่ได้เป็นการบำบัดเฉพาะโรค แต่เป็นการบำบัดร่างกายทั้งหมดของผู้ป่วยที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรค และฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิม
ธรรมชาติบำบัดรักษาผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากโรคเรื้อรังได้อย่างประสบความสำเร็จโดยใช้เวลาที่น้อยกว่า
ธรรมชาติบำบัดทำให้โรคที่ถูกสกัดกั้นไว้ปรากฏออกมา และกำจัดออกไปอย่างถาวร
ธรรมชาติบำบัดรักษาความผิดปกติทุกๆ ด้านในเวลาเดียวกัน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
ธรรมชาติบำบัดรักษาร่างกายแบบองค์รวม
ตามหลักของธรรมชาติบำบัด “อาหารเป็นยาเพียงชนิดเดียว” (Food is only the medicine) ไม่มีการใช้ยาที่ใช้ภายนอกอื่นๆ
การสวดมนต์ตามความเชื่อทางศาสนาของแต่ละบุคคลเป็นส่วนสำคัญประการหนึ่งของการรักษา(ตามที่มหาตมะ คานธี ได้กล่าวว่า “Rama Nama เป็นการรักษาตามธรรมชาติที่ดีที่สุด”)
หลักปรัชญาสำคัญของธรรมชาติบำบัด
ระบุและจัดการสาเหตุความเจ็บป่วย (Identify and teat the cause) ทุกความเจ็บป่วยของ ร่างกายเกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุด้วยกันทั้งสิ้น แพทย์ควรที่จะระบุสาเหตุ และรักษาผู้ป่วยมากกว่าที่จะระงับ หรือลดอาการไว้
4.การเยียวยาที่เป็นองค์รวม (Heal the whole person) คือ การดูแลทั้งร่างกาย จิตใจอารมณ์ สังคมจิตวิญญาณ อันเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีสุขภาพที่ดีทั้งสิ้น
ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย (Do not harm the body) สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การหลีกเลี่ยงอันตรายใด ๆ ที่จะเกิดกับผู้ป่วย นักบำบัดที่ดีต้องมีวิธีที่จะหลีกเลี่ยงอันตราย หรือผลข้างเคียงที่มีผลต่อร่างกายให้มากที่สุด
5.แพทย์ธรรมชาติบำบัดเปรียบเสมือนครู (The physician as teacher) กล่าวคือ แพทย์ธรรมชาติบำบัดเป็นผู้สอนผู้ป่วยและปลูกฝังให้ผู้ป่วยเป็นผู้รับผิดชอบการดูแลสุขภาพด้วยตัวเขาเอง รวมทั้งเป็นผู้ให้ กำลังใจหรือจูงใจในการดูแลสุขภาพของตนเอง
1.การเยียวยาด้วยพลังแห่งธรรมชาติ (the healing power of nature) หลักธรรมชาติบำบัดนี้เชื่อว่าร่างกายมนุษย์มีความสามารถในการเยียวยารักษาและฟื้นฟูสุขภาพให้ดีได้ด้วยตนเอง เพียงแต่นักธรรมชาติบำบัดเป็นเพียงผู้ชี้แนะให้ผู้ป่วยมีทักษะสามารบอกได้ว่าอะไรเป็นสาเหตุและจะขจัดสาเหตุ
การป้องกันคือการรักษาที่ดีที่สุด (Prevention is the best cure) วิธีการดูแลรักษาสุขภาพที่ดีที่สุด
ประวัติความเป็นมาศาสตร์ธรรมชาติบำบัด
ธรรมชาติบำบัด (Naturopathy หรือNaturopathic Medicine) เป็นการแพทย์ทางเลือกรูปแบบหนึ่งที่มีพื้นฐานมาจากความเชื่อในเรื่องของแนวคิดเกี่ยวกับพลังชีวิต (vitalism) ซึ่งระบุว่าเป็นพลังงานพิเศษที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ได้ หรือ เรียกว่าพลังงานชีวิต (vital energy หรือ vital force) ซึ่งสามารถควบคุมการทำหน้าที่และกระบวนการต่างๆ ของร่างกายได้ เช่น การเผาผลาญภายในร่างกาย (metabolism) การสืบพันธุ์(reproduction) การเจริญเติบโต และการปรับตัว (adaptation) ธรรมชาติบำบัดสนับสนุนให้ใช้วิธีการแบบองค์รวม (holistic approach)
ธรรมชาติบำบัดสมัยใหม่ เกิดขึ้นที่เยอรมันเมื่อต้นศตวรรษที่ 19 บุกเบิกโดยนักบำบัดหลายคน เช่น วินเซนต์ ไพรสนิทซ์ (Vincenz Priessnitz) ที่เชื่อว่าน้ำบำบัดสุขภาพได้และเรียกการบำบัดด้วยน้ำ ว่า วารีบำบัด(Hydrotherapy) ทั้งนี้ยังเป็นผู้วางรากฐานการบำบัดสุขภาพด้วยวิถีธรรมชาติ (Nature Cure) ซึ่งในปลายศตวรรษที่ 19 พระชาวบำวาเรียน ชื่อ เซบำสเตียน คไนปป์ (Sebastian Kneipp) ได้มีโอกาสรักษา เบเนดิกส์ ลัส(Benedict Lust) ซึ่งป่วยเป็นวัณโรค ด้วยการรักษาโดยใช้น้ำ (water cure) จนอาการดีขึ้น เขาจึงนำการรักษาด้วยสิ่งที่เป็นธรรมชาติบำบัดเหล่านี้เผยแพร่ไปยังอเมริกา และได้รับการขนานนาม ว่า“บิดาของธรรมชาติบำบัดแห่งสหรัฐอเมริกา นับเป็นจุดเริ่มต้นที่คนอเมริกาหันมาสนใจเกี่ยวกับสุขภาพแบบองค์รวมมากขึ้น