Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ, นางสาวปิยธิดา จุ่นเจิม 36/1…
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ
ระบบทางเดินหายใจ
ขบวนการแลกเปลี่ย gas เกิดที่ถุงลม จึงต้องส่งต่อออกซิเจนไปให้ถึงให้ได้อย่างเพียงพอ
อัตราการหายใจของเด็กในแต่ละวัย
2-12 เดือน ไม่เกิน 50 ครั้ง/นาที
1-5 ปี ไม่เกิน 40 ครั้ง/นาที
ต่ำกว่า 2 เดือน ไม่เกิน 60 ครั้ง/นาที
ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ
อัตราการหายใจเร็วกว่าปกติิ (tachypnea)
หายใจช้ากว่าปกติิ (bradypnea) หายใจลำบาก (dypnea)
ลักษณะการหายใจ หายใจมีเสียงดังคล้ายเสียงคราง (stridor)
การหายใจมีปีกจมูกบาน(nasal flaring)
เป็นลักษณะของการหายใจลำบาก : ขณะหายใจเข้ามีการขยายออกของปีกจมูกทั้ง 2 ข้างเพื่อช่วยขยายท่อทางเดินหายใจให้อากาศที่หายใจเข้าเพียงพิต่อความต้องการของร่างกาย
ขณะหายใจเข้ามีการยุบลง(retraction)
ขณะหายใจเข้ามีการยุบลง (retraction) ของกระดูกหน้าอก (sternal retraction) ช่อว่างระหว่างซี่โครง และใต้ซี่โครง
เสียงหายใจผิดปกติ
crepitation sound เป็นเสียงแตกกระจายเป็นช่วงๆ กเิดจาการที่ลมผ่านทางท่อทางเดินหายใจที่มีน้ำหรือเสมหะพบได้ในภาวะปอดอักเสบ (pneumonia)
rhonchi sound มีการไหลวนของอากาศผ่านเข้าไปในส่วนของทางเดินหายใจที่ตีบแบกว่าปกติ อาจเกิดจากเสมหะอุดตันเยื่อบุทางเดินหายใจบวม หลอดลมบีบเกร็งจากภาวะภูมิแพ้
stridor sound เกิดจากมีการตีบแคบของบริเวณกล่องเสียงหรือหลอดลม ได้ยินตอนหายใจเข้าและออก
wheezing เป็นเสียงที่มีความถี่สูงหรือเสียงหวีด ได้ยินชัดในช่วงหายใจออกเกิดจากหอดลมเล็กๆ หรือหลอดลมฝอยกเิดการบีบเกร็ง
เกิดจาการที่หลอดลมผ่านเข้าไปในท่อทางเดินหายใจทีมีความผิดปกติ
เสียงหายใจที่ผิดปกิเหล่านี้ แสดงว่าผู้ป่วยได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
กลไกการสร้างเสมหะ
กลไกทางธรรมชาติของร่างกายในการขจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจประกอบด้วย 3 กลไก
การพัดโบกของขนกวัด Cilia
กลไกการไอ Cough Reflex
กระบวนการสร้างสารมูก Mucous
อะไรจะเกิดขึ้น...เมื่อมีการติดเชื้อ
ผลที่ตามมาจากการที่ cilia ลดลง คือ เสมหะมีปริมาณมากและเหนียวข้นจะไม่ถูกพัดพาออกจากทางเดินหายใจ
ทำให้เกิดการคั่งค้างของเสมหะของหลอดลมมากขึ้น
อากาศเย็นการพัดโบกของ cilia จะไม่มีประสิทธิภาพ
มีการทำลายเซลล์เยื่อบุหลอดลมและทำลาย Cilia เพิ่มมากขึ้นจำนวน Cilia ก็จะลดน้อยลง
การไออย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นกลไกที่ช่วยป้องกันไม่ให้มีการคั่งค้างของเสมหะในหลอดลม
ต่อมสร้างสารคัดหลั่ง(mucus gland)จะสร้าง mucous เพิ่มมากขึ้นทำให้เสมหะมากขึ้น
ทำไมต้องเพิ่มน้ำในผู้ป่วยที่มีเสมหะ
ส่งผลให้ ้Cilia ทำหน้าที่ในการพัดโบกได้ดีขึ้นเป็นผลให้ผู้ป่วยไอเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น
ประเมินจากสีน้ำของปัสสาวะถ้าขาดน้ำปัสสาวะจะเข้ม และปากแห้ง
การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอ จะช่วยให้มีความชุ่มชื่นของทางเดินหายใจ ทำให้เสมหะเหนียวน้อยลงขับออกได้ดี
ลักษณะของเสมหะ
เสมหะเหนียว หมายถึง เสมหะเป็นมูกคล้ายแป้งเปียก อยู่ติดรวมกันเป็นก้อน มีความยืดและหนืดมาก ทำให้ผู้ป่วยไอขับออกมาได้ยาก
เสมหะเหนียวไม่เหนียว หมายถึง เสมหะที่มีลักษณะเป็นเมือกเหลว มีความยืดและมีความหนืดน้อยไม่รวมตัวกันเป็นก้อน ทำให้ผู้ป่วยไอขับออกมาได้ง่าย
Croup
เป็นกลุ่มอาการอุดกลั้นทางเดินหายใจส่วนบนบริเวณกล่องเสียงและส่วนี่อยู่ใต้ลงมา
สาเหตุ
ฝาปิดกล่องเสียง (acute epiglottitis)
กล่องเสียง (acute laryngitis)
กล่องเสียง หลอดลมใหญ่ และหลอดลมฝอยในปอด (Laryngotracheobronchitis)
อาการ
ส่วนใหญ่จะพ้น Adrenaline ต้องใส่่ Endotracheal tube
inspiratory stridor หายใจเข้ามีเสียงฮืด
ไอเสียงก้อง Barking cough
ไข้ เจ็บคอ หายใจลำบาก Dyspnea
อาการน้ำลายไหล (drooling)
อาการจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
ไม่ตอบสนองต่อการพ้นยาทั่วไป
สาเหตุ Croup เกิดจากการติดเชื้อ
virus
Bacteria
ปัญหาที่สำคัญที่ต้องดูแล คือ เสี่ยงต่อการเกิดการพร่องออกซิเจนเนื่องจากอุดกั้นทางเดินหายใจ
Tonsilitis / Pharyngitis
สาเหตุ
การติดเชื้อ แบคทีเรียไวรัส เช่น Beta Hemolytic streptococcus gr. A
อาการ
ไข้ ปวดศรีษะ ไอ เจ็บคอ ในรายที่มีตุ่มใสหรือแผลตื้นที่คอหอย หรือเพดานปาก สาเหตุเกิดจาก Coxsackie Virus
การผ่าตัดต่อมทอนซิล(tonsillectomy)
จะทำเมื่ือมีข้อบ่งชี้ของการติดเชื้อเรื้อรัง หรือเป็นๆหายๆ
มีไข้, เจ็บคอ,กลืนลำบาก เป็นๆหายๆ
มีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดการนอนกรน หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
หรือในราบที่สงสัยว่าจะเป็นมะะเร็งของต่อมท่อนซิล
การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด Tonsillectomy
สังเกตอาการและการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะระยะแรกหลังผ่าตัดถ้าชีพจร 120 ครั้ง / นาทีเป็นเวลาอย่างต่อเนื่องประกอบกับเด็กเงียบซีดและมีการกลืนติดต่อกันเป็นข้อบ่งชี้ว่ามีเลือดออกโดยทั่วไปจะเกิดภายใน 6-8 ชั่วโมงแรก
เมื่อเด็กรู้ตัวดีจัดให้เด็กอยู่ในท่านั่ง 1-2 ชั่วโมงให้อมน้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ รับประทานของเหลวในรายที่ปวดแผลผ่าตัดให้ใช้กระเป๋าน้ำแข็งวางรอบคอถ้าปวดมากให้ยาแก้ปวด
ควรให้เด็กนอนตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อสะดวกต่อการระบายเสมหะน้ำลายหรือโลหิตอาจมีคั่งอยู่ในปากและในคอจนกว่าเด็กจะรู้สึกตัวดีและสามารถขับเสมหะได้เอง
หลังผ่าตัด
ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถกลับบ้านได้หลังผ่าตัด 24-48 ชั่วโมงหากรับประทานน้ำและอาหารได้เพียงพอและไม่มีภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยจะมีแผลที่ผนังในคอทั้งสองข้างอาจเห็นเป็นฝ้าสีขาวอยู่ในช่องคอตรงบริเวณของต่อมทอนซิลทั้งสองข้างซึ่งจะค่อยๆหายเองภายใน 7-14 วันอาจมีอาการเจ็บคอกลืนอาหารหรือน้ำลายลำบากจากแผลผ่าตัดทำให้รับประทานไม่ค่อยสะดวกอาจทำให้น้ำหนักลดได้อาจมีน้ำลายปนเลือดออกมาได้บ้างเล็กน้อย
โดยปกติหลังผ่าตัดประมาณ 2-4 สัปดาห์แผลจะหายเป็นปกติ
ผู้ป่วยอาจจะมีไข้บวมหรือรู้สึกตึงๆคล้ายมีสิ่งแปลกปลอมบริเวณคอหรือมีเสียงเปลี่ยนได้ซึ่งอาการดังกล่าวมักจะหายไปภายใน 1 สัปดาห
หลังการผ่าตัด 1-2 วันแรกเพดานอ่อนหรือผนังในคออาจบวมมากขึ้นได้ทำให้หายใจอึดอัดไม่สะดวกดังนั้นจึงควรนอนศีรษะสูงโดยใช้หมอนหนุนอมและประคบน้ำแข็งบ่อยๆในช่วงสัปดาห์แรกเพื่อลดอาการบวมบริเวณที่ทำผ่าตัดถ้าอาการหายใจไม่สะดวกเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขั้นรุนแรงหลังออกจากโรงพยาบาลแล้วควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อปรึกษาแพทย์ทันที
หลีกเลี่ยงการแปรงฟันเข้าไปในช่องปากลึกเกินไปการออกแรงมากการเล่นกีฬาที่หักโหมหลังผ่าตัดภายใน 24-48 ชั่วโมงแรกเพราะอาจทำให้มีเลือดออกจากแผลในช่องปากได้ถ้ามีเลือดออกจากช่องปากควรนอนพักยกศีรษะสูงอมน้ำแข็งในปากประคบบริเวณหน้าผากหรือคอด้วย cold pack เพื่อให้เลือดหยุด
การประคบหรืออมน้ำแข็งควรประคบหรืออมประมาณ 10 นาทีแล้วจึงเอาออกประมาณ 10 นาทีแล้วค่อยประคบหรืออมใหม่เป็นเวลา 10 นาทีทำเช่นนี้สลับกันไปเรื่อย ๆ ถ้าเลือดออกไม่หยุดหรือออกมากผิดปกติควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อปรึกษาแพทย์ทันที
ควรรับประทานอาหารอ่อนเช่นโจ๊กหรือข้าวต้มไม่ควรรับประทานอาหารที่แข็งหรือร้อนหรือรสเผ็ดหรือจัดเกินไปอย่างน้อย 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด
ไซนัสอักเสบ(Sinusitis)
เป็นอาการอักเสบของโพรงอากาศข้างจมูก
สาเหตุ
เกิดจาก ติดเชื้อ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา
เกิดการติดเชื้อจะทำให้เกิดการบวมของเยื่อบุในโพรงอากาศและส่งผลทำให้เกิดภาวะอุดตันช่องระบายของโพรงอากาศข้างจมูกเมื่อเกิดการติดเชื้อจะทำให้เกิดการบวมของเยื่อบุในโพรงอากาศและส่งผลทำให้เกิดภาวะอุดตันช่องระบายของโพรงอากาศข้างจมูก ทำให้เกิดการคั่งของสารคัดหลั่ง
ส่งผลทำให้ความดันโพรงอากาศเป็นลบเมื่อมีอาการจามสูดหรือสั่งน้ำมูกจะทำให้เชื้อแบคทีเรียที่บริเวณ nasopharynx มีโอกาสเข้าไปในโพรงอากาศข้างจมูกได้ง่าย
ผลของการติดเชื้อทำให้การทำงานของเซลขนกวัด cilia ผิดปกติร่วมกับมีสารคัดหลั่งออกมามากและมีความหนืดมากขึ้น
ระยะของโรค
Chronic sinusitis อาการจะต่อเนื่องเกิน 12 สัปดาห์
อาการมีไข้สูงมากกว่า 39 ปวดศีรษะปวดเมื่อยตามตัวมีน้ำมูกไหลไอในรายที่ติดเชื้อแบคทีเรียอาการมักจะนานมากกว่า 10 วันและมีอาการรุนแรงโดยมีน้ำมูกใสหรือข้นเขียวเป็นหนองร่วมกับอาการไอลมหายใจมีกลิ่นเหม็นปวดบริเวณหน้าผากและหัวคิ้วมากอาการ Acute จะรุนแรงกว่า Chronic
Acute sinusitis ระยะของโรคไม่เกิน 12 สัปดาห์
การวินิจฉัย X-ray paranasal sinus ควรทำในเด็กที่อายุเกิน 6 ปีเพราะถ้าทำในเด็กอายุน้อยไซนัสบางแห่งยังเจริญไม่เต็มที
CT scan ได้ผลดีกว่าวิธีอื่น
การตรวจด้วยการส่องไฟผ่าน (Transilumination) จะพบว่าไซนัสที่มีการอักเสบจะมีลักษณะมัว
การดูแลรักษา
ให้ยา antibiotic ตามแผนการรักษา
ให้ยาแก้ปวดลดไข้เพื่อลดไข้และบรรเทาอาการปวดศีรษะ
ให้ยาแก้แพ้ให้ใช้เฉพาะในรายที่ไซนัสอักเสบเรื้อรังที่มีสาเหตุชักนำมาจากโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้เท่านั้น
เพื่อลดอาการจามน้ำมูกไหลและเยื่อบุจมูกบวมไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยเฉียบพลันเพราะจะทำให้จมูกและไซนัสแห้ง
ให้ยา Steroid เพื่อลดอาการบวมลดการคั่งของเลือดที่จมูกทำให้รูเปิดของโพรงไซนัสสามารถระบายสารคัดหลั่งได้ดีขึ้น
การล้างจมูก
ล้างจมูกวันละ 2-3 ครั้ง
ใช้้ำเกลือความเข้มข้น 0.9% NSS เนื่องจากมีคุณสมบัติช่วยลดความเหนียวของน้ำมูกและทำให้เชื้อโรคไม่เจริญเติบโต
การล้างจมูกก่อนใช้ยาพ่นจมูกจะทำให้ยาพ่นจมูกมีประสิทธิภาพดีขึ้น
สามารถศึกษาวีดีโอการล้างจมูกได้ทาง Google classroom
คือการทำความสะอาดโพรงจมูกช่วยชะล้างมูกคราบมูกหรือหนองบริเวณโพรงจมูกทำให้โพรงจมูกสะอาดป้องกันการลุกลามของเชื้อโรคจากจมูกและไซนัสไปสู่ปอดช่วยลดจำนวนเชื้อโรคและยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น
หอบหืด Asthma
Asthma เป็นภาวะที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม
ซึ่งการอักเสบของหลอดลมมีผลทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีปฏิกริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้มากกว่าปกติ Bronchial hyper-reactivity การมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นทำให้เกิดพยาธิสภาพ 3 อย่างคือ
ทำให้หลอดลมตีบแคบลง (Stenosis) เยื่อบุภายในหลอดลมบวมขึ้น
สร้างเมือกเหนียวจำนวนมาก (Hypersecretion) ทำให้ช่องทางเดินอากาศในหลอดลมแคบลงทำให้เกิดอาการหอบหืดขึ้น
ทำให้หลอดลมหดเกร็งตัว (Brochospasm)
เมื่อพยาธิสภาพที่ 3 อย่างเกิดขึ้นผู้ป่วยจึงมีอาการหายใจเหนื่อยหอบ
การดูแลจึงต้องให้ผู้ป่วยได้รับยาขยายหลอดลมได้รับออกซิเจนให้พักเพื่อลด activity
ในรายที่มีเสมหะจะไม่ใช้วิธีการเคาะปอดในเด็กที่เป็น Asthma ที่กำลังหอบเพราะจะทำให้หลอดลมเกิดการหดเกร็งมากขึ้น
ในเด็กเล็ก ๆ ที่อายุ 1-2 ปีโรคหอบหืดมักเกิดตามหลังอาการการติดเชื้อไวรัสส่วนในเด็กวัยเรียนหอบหืดมักจะเกิดจากการมีประวัติภูมิแพ้
อาการโรคหอบหืด Asthma
เริ่มด้วยอาการหวัดไอมีเสมหะถ้าไอมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็มักจะมีเสียง Wheezingเมื่อร่างกายขาดออกซิเจนมากขึ้นก็เกิดอาการหอบมากปากซีดเขียวใจสั่น
บางครั้งการเกร็งตัวของหลอดลมเกิดขึ้นไม่มากนัก ผู้ป่วยจะมีอาการไม่มาก แต่ก็เป็นอยู่เรื่อย ๆ
ผู้ป่วยเด็กบางคนจะมีอาการไออย่างเดียวและมักจะมีอาการอาเจียนร่วมด้วยอาการไอจะดีขึ้นหลังจากที่เด็กได้อาเจียนเอาเสมหะเหนียว ๆ ออกมา
ได้ยาลดอาการบวมเช่น Dexa ซึ่งเป็นยา Steroid
ความรุนแรง
ขั้นปานกลาง-ตื่นกลางคืนบ่อยๆวิ่งเล่นซนไม่ค่อยได้ขณะเล่นมักไอหรือมีเสียง Wheezing ไปด้วย
ขั้นรุนแรง-กระสับกระส่ายจนนอนไม่ได้เล่นซนไม่ได้เหนื่อยหอบจนพูดหรือกินอาหารไม่ได้หรือรอบริมฝีปากเป็นสีเขียวกรณีอย่างนี้ต้องส่งโรงพยาบาล
ขั้นเล็กน้อย-เริ่มไอและ มีเสียงวด แต่ยังเล่นซนได้ตามปกติและทานอาหารได้ตามปกติการนอนยังปกติ
การรักษาหอบหืด
ยาขยายหลอดลม (Relievers) มีทั้งชนิดพ่นและชนิดรับประทาน
ยาชนิดพ่นจะให้ผลได้เร็วช่วยให้หายใจโล่งขึ้นเพราะไปขยายกล้ามเนื้อเล็ก ๆ ซึ่งอยู่ภายในหลอดลมที่หดเกร็งใช้เมื่อปรากฏอาการหอบ ได้แก่ ventolin
การลดอาการของเด็กให้เด็กมีกิจกรรมได้ตามปกติพยายามหลีกเลี่ยงจากสิ่งกระตุ้นและการใช้ยาอย่างถูกต้องยาที่ใช้ ได้แก่
บางรายอาจได้รับยาพ่นกลุ่ม Corticosteroids ได้แก่ Flixotide Evohaler (Fluticasone propionate 250 microgram)พ่นยาทุกครั้งเพื่อป้องกันเชื้อราในปาก
ยาลดการบวมและการอักเสบของหลอดลม (Steroid) ควรใช้เพียงระยะสั้น ๆ คือ 3-5 วันเพื่อการรักษาและป้องกันไม่ให้โรครุนแรงขึ้นการใช้ยาระยะสั้นจะไม่มีผลข้างเคียงในเด็ก ได้แก่ Dexa, Hydrocortisone ต้องให้ภายใต้แผนการรักษาของแพทย์เท่านั้น
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
ตัวไรฝุ่นฝุ่นมักอาศัยอยู่ที่เตียงนอนหมอนพรมจึงควรนำไปตากหรือฝั่งแดดบ่อยๆ
ไม่ควรมีตุ๊กตาที่มีขนในห้องนอนไม่ใช้พรมในห้องนอนควรเช็ดฝุ่นทุกวัน
ควันบุหรี่เป็นสิ่งที่อันตรายต่อปอดที่กำลังเจริญเติบโตของเด็กและเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืดได้
หมอนซักผ้าปูที่นอนปลอกหมอนสัปดาห์ละ 1 ครั้งใช้ที่นอนจากใยสังเคราะห์หรือฟองน้ำ
ไม่นำสัตว์เลี้ยงเข้าห้องนอน
การออกกำลังกายถ้าควบคุมโรคหอบหืดได้ดีจะไม่มีปัญหาในการออกกำลังกาย
อากาศเย็นเด็กบางคนกระทบอากาศเย็นมักจะไอหรือหายใจมีเสียงด Wheezing จึงควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากอากาศเย็นจะมีผลต่อการพัดโบกของ Cilia
การใช้ baby haler
หลังล้างทำความสะอาดต้องสอนผู้ป่วยให้พ่นยาทิ้ง 1 ครั้งเพื่อให้ยาจับผนัง ของ Spacer ก่อนเพื่อให้การพ่นครั้งต่อ ๆ ไปเยาก็จะเข้าผู้ป่วย
ต้องล้างทำความสะอาดบ่อยๆ แต่ไม่จำเป็นต้องทุกครั้งหลังใช้ล้างด้วยน้ำยาล้างจานตากให้แห้งไม่ควรใช้ผ้าเช็ดญเพราะจะทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตที่ผนังของ Spacer เวลาพ่นยายาจะไปเกาะกับผนังของ Spacer ส่งผลให้ยาจะเข้าผู้ป่วยน้อยลง
หลอดลมอักเสบ( Bronchitis)
หลอดลมฝอยอักเสบ(Bronchiolitis)
เชื้อที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด Respiratory syncytial virus : RSV
เด็กที่ไม่กินนมแม่จะพบได้ค่อนข้างสูงกว่าเด็กทั่วไป
เกิดขึ้นเนื่องจากมีการอักเสบและอุดกลั้นของหลอดลม
พบในเด็กเล็กมากกว่าเด็กโต
เป็นปัญหาติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างที่พบบ่อยในเด็กเล็ก
กลไกการเกิด เชื้อไวรัส ทำลายเนื้อเยื่อของหลอดลมฝอยทำให้เกิดอาการอักเสบ บวม และมีการคั่งของเสมหะเกิดการอุดกลั้นของหลอดลมฝอย ผลที่ตามมาคือเกิด Atelectasis
อาการ เริ่มจากไข้หวัดเพียงเล็กน้อย มีน้ำมูกไหล จาม เบื่ออาหาร ต่อมาเริ่มไอ หายใจเร็วหอบ หายใจปีกจมูกบาน ดูดนมหรือน้ำได้น้อย
การรักษา ตามอาการ ให้ยาลดไข้ ยาปฏิชีวนะ ยาต้านการอักเสบ(Corticosteroid ) ยาขยายหลอดลม
การดูแลคือให้เด็กได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ได้รับน้ำ ดูแลคนไข้
ดูแลปัญหาการติดเชื้อ ดูแลเสริมสร้างภูมิต้านทาน ให้อาหารที่มีประโยชน์
ปอดบวม Pneumonia
สาเหตุ สำลักสิ่งแปลกปลอม ติดเชื้อ แบคทีเรีย ไวรัส
อาการ ไข้ ไอ หอบ ดูดน้ำ ดูดนมน้อยลง ซึม
เกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกใช้ตัดสิน Pneumonia
เด็กแรกเกิดอัตราการหายใจ ที่มากกว่า 60 ครั้ง/นาที
เด็กอายุ2เดือนถึง 1 ปี อัตราการหายใจที่มากกว่า 50 ครั้ง/นาที
เด็กอายุ1-5 ปี อัตราการหายใจที่มากกว่า 40 ครั้ง/นาที
การรักษา
ดูแลให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ เป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้เสมหะอ่อนตัว ขับออกได้ง่าย ช่วยลดไข้
ดูแลเรื่องไข้ Clear airway suction เพื่อให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดูแลแก้ไขปัญหาพร่องออกซิเจน ให้ยาขยายหลอดลม ยาขับเสมหะ ยาฆ่าเชื้อ
การพยาบาลผู้ป่วยเด็ก Pneumonia
ปัญหาการอุดกั้นทางเดินหายใจเป็นัญาสำคัญจำเป็นต้องดูแลแก้ไข
เด็กโตต้องสอนการหายใจอย่างถูกวิธี กระตุ้นให้ดื่มน้ำมากๆ
ในรายที่เสมหะอยู่ลึกให้้Postural drainage โดยการเคาะปอดและ Suction เพื่อป้องกันภาวะปอดแฟบ (Atelectasis)
การทำ Postural drainage จะช่วยทำให้เสมหะที่อยู่ส่วนปลายถูกกระตุ้นให้เลื่อนขึ้นมาปลายสายดูดเสมหะ ช่วยให้เสมหะถูกดูดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จัดให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง หรือนอนทับข้างที่มีพยาธิสภาพเพื่อให้ปอดผู้ป่วยที่อยู่ข้างที่อยู่ขยายตัวได่อย่างมีประสิทธิภาพ
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอตามแผนการรักษา
การระบายเสมหะ
องค์ประกอบของการระบายเสมหะไดแก่
การจัดท่าผู้ป่วย(Postural drainage)
การเคาะ (Percussion)
การสั่นสะเทือน (Vibration)
การสอนการไออย่างมีประสิทธิภาพ (Effective cough)
การจัดท่านอนเพื่อช่วยระบายเสมหะ
อยู่ด้านหน้า Anterior ให้จัดท่านอนหงาย
อยู่ส่วนหลัง Posterior ให้จัดท่านอนคว่ำ
อยู่ด้านซ้ายให้จัดท่านอนตะแคงขวา ถ้านอนด้านขวาให้นอนตะแคงซ้าย
อยู่ส่วนให้นอนหัวสูง อยู่ส่วนล่างให้นอนหัวต่ำ
การเคาะ (Percussion)
ใช้ผ้ารองบนส่วนที่จะเคาะการเคาะแต่ละท่าควรใช้เวลาประมาณ 1 นาที
ขณะเคาะหากผู้ป่วยไอควรหยุดเคาะให้ใช้การสั่นสะเทือนแทน
ใช้อุ้งมือไม่ควรใช้ฝ่ามือโดยทำมือให้เป็นลักษณะคุ้มนิ้วแต่ละนิ้วชิดกันที่เรียกว่า cupped hand เคาะบริเวณทรวงอกส่วนที่ได้รับการจัดท่า
ควรเคาะก่อนรับประทานอาหารหรือขณะท้องว่างหรือหลังรับประทานอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมงเพื่อป้องกันการสำลักและอาเจียน
การสั่นสะเทือน (Vibration)
ใช้มือวางราบพร้อมทั้งเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณต้นแขนและหัวไหล่ในจังหวะการหายใจเข้าเต็มที่และกำลังหายใจออก
การไออย่างมีประสิทธิภาพ (Effective cough)
ฝึกการไอให้มีประสิทธิภาพโดยให้ผู้ป่วยหายใจเข้าเต็มที่ช้าๆกลั้นไว้สักครู่และไอออกมาโดยเร็วและแรง
การพ่นยาในเด็ก
ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการไอขับเสมหะได้ง่ายขึ้น
ให้ความชุ่มชื้นแก่อากาศหรือก๊าซที่หายใจเข้า
ง่ายต่อการระบายออกจากปอด
เป็นหนทางในการบริหารยาทางระบบหายใจ
ทำให้เสมหะที่เหนียวอ่อนตัวลง
ข้อปฏิบัติในการพ่นยาแบบละออง Neubulizer
เคาะกระเปาะพ่นยาเป็นระยะ ๆ เพื่อไม่ให้ยาตกค้างในกระเปาะมากเกินไปพ่นจนกว่ายาจะหมดใช้เวลา 10 นาที
ถ้าไม่เห็นละอองยาหรือละอองยาออกไม่หนาแน่นเท่าที่ควรจะต้องสำรวจเครื่องพ่นยาทำงานหรือไม่ช่วงรอยต่อหลุดหรือไม่ออกซิเจนเปิด 6 – 8 ลิตรต่อนาทีหรือไม่
ใช้มือประคองกระเปาะพ่นยาไว้เพื่อให้อุณหภูมิคงที่ทำให้ขนาด particle สม่ำเสมอ
ไม่ควรให้เด็กร้องเพราะปริมาณยาจะเข้าสู่ปอดน้อยลง
face mask
เป็นออกซิเจนแบบหน้ากากครอบบริเวณจมูกและปากมีสายรัดศีรษะเพื่อให้หน้ากากยึดและแนบสนิทกับใบหน้า
เหมาะกับผู้ป่วยที่ต้องการออกซิเจนในระดับปานกลางความเข้มข้นของออกซิเจนประมาณ 35% -50% ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เปิดออกซิเจน flow rate 5-10 lit / min ไม่ควรให้น้อยกว่า 5 lit / min เพื่อป้องกันการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ใน mask ที่เกิดขึ้นในขณะที่ผู้ป่วยหายใจออก
Nasal cannula
การให้ออกซิเจนด้วยวิธีนี้ไม่ควรปรับการไหลของออกซิเจนที่สูงเกินไปเพื่อจะทำให้เยื่อจมูกแห้งและเกิดการระคายเคืองได้
ข้อดีของออกซิเจนแบบนี้คือประหยัดยึดติดกับผู้ป่วยง่ายสามามารถให้นมและอาหารกับผู้ป่วยได้โดยไม่ต้องหยุดให้ออกซิเจน
ให้ออกซิเจนที่ต้องการความเข้มข้นไม่สูงมากในเด็กเล็กจะปรับอัตราการไหลไม่เกิน 2 lit / mim ส่วนในเด็กโตจะปรับที่ 2 lit / mim 1
แต่มีข้อ จำกัด ในผู้ป่วยที่มีน้ำมูกมากเยื่อบุจมูกบวมหรือผนังจมูกเอียง
Oxygen hood/Box
มีลักษณะเป็นกล่องพลาสติกวางครอบศีรษะเด็กเหมาะกับทารกแรกเกิดและเด็กเล็กความเข้มข้นของออกซีเจนประมาณ 30% -70% ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดของ Hood / Box ควรเปิดออกซิเจนอย่างน้อย 7 lit / min เพื่อป้องกันการคั่งของกาซคาร์บอนไดออกไซด์
ถ้าเป็นของทารกที่ใช้ Hood เล็กการเปิดออกซิเจนไม่จำเป็นต้องมากสามารถเปิด 3-5 lit / min ไม่ควรลด flow rate ลงเหลือน้อยกว่ำ 3 lit / min เพื่อป้องกันการคั่งของกาซคาร์บอนไดออกไซด์
หลักการให้คำแนะนำในการดูแลเด็ก
การให้ออกซิเจนก็เลือกตามความเหมาะสมกับเด็กตามแผนการรักษาของแพทย์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนให้แรงไปเบาไปก็ไม่โอเคถ้าเข้าใจก็จะประยุกต์ใช้ได้
ถ้าบวมก็ให้ยาลดบวมถ้าอักเสบติดเชื้อก็ให้ยา ATB ถ้าตีบก็ให้ยาขยายถ้ามีเสมหะก็เอาเสมหะออกหรือลดไม่ให้สร้างมากขึ้นจึงจะให้ออกซิเจนลงไปได้ถึง
การดูแลเด็กที่มีปัญหาพร่องออกซิเจนหลักสำคัญคือต้องแก้ไขเส้นทางผ่านของออกซิเจนเพื่อให้ออกซิเจนลงไปถึงจุดที่มีการแลกเปลี่ยนกาซให้ได้ในบทบาทเราคือผู้ประเมินและร่วมกับแพทย์ในการแก้ไขส่วนผู้ป่วยและญาติจะช่วยในเรื่องที่เขาช่วยได้เช่นสังเกตอาการดูแลเช็ดตัวเมื่อมีไข้รักษาความสะอาด
นางสาวปิยธิดา จุ่นเจิม 36/1 เลขที่ 69