Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทละคร เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง, ว่าพลางทางชมคณานก …
บทละคร เรื่อง อิเหนา
ตอน ศึกกะหมังกุหนิง
ผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ( รัชกาลที่ ๒ )
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อใช้ในการแสดงละครใน
ละครใน คือ ละครรำที่ใช้ผู้หญิงล้วนในการแสดง
ความเป็นมา
มีเค้าเรื่องมาจากชวาที่เรียกว่า "นิทานปันหยี"
ไทยได้รับวรรณคดีเรื่องนี้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา
ลักษณะคำประพันธ์
เป็น "กลอนบทละคร" แต่มีลักษณะบังคับเหมือน "กลอนสี่สุภาพ"
แต่ละวรรคขึ้นต้นด้วยคำว่า "เมื่อนั้น" "บัดนั้น" "มาจะกล่าวบทไป"
ความสุนทรียของงานประพันธ์
ตัวละครสำคัญ
อิเหนาหรือระเด่นมนตรี
เป็นโอรสของท้าวกุเรปันเป็นชายรูปงามมีเสน่ห์ นิสัยเจ้าชู้
มีความเชี่ยวชาญในการใช้กริชและกระบี่เป็นอาวุธ
ท้าวกุเรปัน
กษัตริย์ผู้ครองกรุงกุเรปัน มีน้องชาย ๓ องค์ คือ ท้าวดาหา , ท้าวกาหลัง และท้าวสิงหัดส่าหรี
ทรงหยิ่งทระนงในศักดิ์ศรี
ท้าวดาหา
เป็นกษัตริย์ผู้ครองกรุงดาหา เป็นบิดาของบุษบา
เป็นผู้มีใจยุติธรรม และมีความเด็ดขาด
บุษบาหนึ่งหรัด
เป็นธิดาของท้าวดาหา
ตำแหน่งเป็นประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย
เมื่อตอนประสูติมีเหตุอัศจรรย์คือ มีกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่วทั้งวัง ดนตรี แตรสังข์ก็ดังขึ้นเองโดยไม่มีผู้บรรเลง
ท้าวกะหมังกุหนิง
ถูกอิเหนาแทงด้วยกริช ถึงแก่ความตาย
ผู้ครองเมืองกะหมังกุหนิง มีน้องชาย ๒ คนคือ ระตูปาหยังกับระตูประหมัน และมีโอรสชื่อวิหยาสะกำ ซึ่งพระองค์รักราวกับแก้วตาดวงใจ
วิหยาสะกำ
เป็นโอรสของท้าวกะหมังกุหนิง เป็นหนุ่มรูปงาม มีฝีมือในการใช้ทวนเป็นอาวุธ มีจิตใจอ่อนไหวมาก หลงรักบุษบา
ถูกทวนของสังคามาระตาถึงแก่ความตาย
บทประพันธ์ที่มีคุณค่า
บทอาขยาน "ชมดง"
เป็นบทนิราศ ที่มีการเดินทาง การพรรณนาถึงนางอันเป็นที่รัก
เน้นการพรรณนาชมนก ทั้งหมด ๘ ชนิด และชมพันธ์ไม้ ๗ ชนิด
วิเคราะห์คุณค่างานประพันธ์
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
การใช้รสวรรณคดี
เสาวรจนี หรือชมโฉม
เป็นลีลาที่กวีใช้ถ้อยคำชมความงาม เช่น ตอนกวีกล่าวชมความงามการแต่งกายของกะหรัดตะปาตี ดังคำประพันธ์ที่ว่า
ภูษายกพื้นดำอำไพ ใส่ฉลององค์ทรงวันเสาร์
เจียระบาดคาดรัดหน่วงเนา ปั้นเหน่งเพชรเพริศเพราพรรณราย
นารีปราโมทย์ หรือบทโอ้โลม
เป็นลีลากวีที่ใช้ถ้อยคำแสดงความรักใคร่ เกี้ยวพาราสีกัน เช่น ตอนที่อิเหนาโลมนางจินตะหรา เมื่อจะลาไปทำศึกที่เมืองดาหา ดังคำประพันธ์ที่ว่า
ถึงไปก็ไม่อยู่นาน เยาวมาลย์อย่าโศกเศร้าหมอง
พระจุมพิตชิดเชยปรางทอง กรประคองนฤมลขึ้นบนเพลา
พิโรธวาทัง หรือบริภาษ
เป็นลีลากวีที่ใช้ถ้อยคำที่แสดงความโกรธขุ่นเช่น ตอนที่ท้าวกะหมังกุหนิงแสดงอารมณ์โกรธ เมื่อทราบว่าท้าวดาหาไม่ยอมยกนางบุษบาให้วิหยาสะกำ ดังคำประพันธ์ที่ว่า
เมื่อนั้น ท้าวกุหมังกุหนิงแข็งขัน
ได้ฟังกริ้วโกรธดังเพลิงกัลป์ จึงกระชั้นสีหนาทประภาษไป
สัลลาปังคพิสัย หรือบทคร่ำครวญ
เป็นลีลาที่กวีใช้ถ้อยคำหรือแสดงความโศกเศร้า เช่น ตอนที่ระตูปาหยังและระตูปะหมันโศกเศร้าเมื่อไปดูศพพระเชษฐา คือท้าวกะหมังกุหนิง ดังคำประพันธ์ที่ว่า
เมื่อนั้น สองระตูวิโยคโศกศัลย์
กอดศพเชษฐาเข้าจาบัลย์ พิไรร่ำรำพันโศกา
สัมผัสสระ
ความกลัวความ
รักสลัก
ทรวง ให้เป็นห่วง
หลังกัง
วลหน้า
แต่เร
รวนหวนนึกตรึก
ตรา พระราชาสะ
ท้อนถอน
ใจ
สัมผัสอักษร
เอนองค์
ลงพิงเขนย
กรเกยก่าย
พักตร์ถวิลหวัง
รสรักร้อนรน
พ้นกำลัง ชลนัยน์
ไหลหลั่งลงพรั่งพราย
การเล่นคำพ้องเสียง
เบญจ
วรรณ
จับ
วัลย์
ชาลี เหมือน
วัน
พี่ไกลสามสุดามา
เบญจวรรณ - นกเบญจวรรณ
วัลย์ชาลี- เถาวัลย์
วัน- วันเวลา
การเล่นคำพ้องรูป
นาง
นวล
จับนาง
นวล
นอน เหมือนพี่แนบ
นวล
สมรจินตะหรา
นวล – นกนางนวล
นวล- ต้นไม้ กระพี้นางนวล
นวล- ผู้หญิง
การใช้คำศัพท์ภาษาชวา
ตุนาหงัน หมายถึง หมั้นหมาย
ระตู หมายถึง เจ้าเมืองเล็กๆ (ระตูจรกา)
การใช้คำไวพจน์
คำพ้องความหมาย ได้แก่
กษัตริย์ ภูมี ภูวไนย พระทรงเดช พระทรงยศ เป็นต้น
การใช้โวหารภาพพจน์
อุปมา
การเปรียบเทียบให้เหมือนโดยใช้คำว่า ดุจ ดั่ง เหมือน ปาน ราวกับ ประหนึ่ง เฉก ฯลฯ เช่น
ตอนที่จินตะหราตัดพ้ออิเหนา และเปรียบเทียบความรักเหมือนสายน้ำไม่มีวันไหลกลับ
แล้วว่าอนิจจาความรัก พึ่งประจักษ์
ดัง
สายน้ำไหล
ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา
อติพจน์
การใช้คำกล่าวเกินจริง
ตอนที่ท้าวกะหมังกุหนิงโกรธท้าวที่ดาหาไม่ยอมยกนางบุษบาให้วิหยาสะกำ
เมื่อนั้น ท้าวกะหมังกุหนิงแข็งขัน
ได้ฟังกริ้วโกรธดังเพลิงกัลป์
จึงกระชั้นสีหนาทประภาษไป
อุปลักษณ์
เป็นโวหารเปรียบเทียบให้เป็นใช้คำว่า “เป็น เท่า คือ”
ตอนที่ท้าวกะหมังกุหนิงให้ราชทูตไปสู่ขอนางบุษบา
หวังเป็นเกือกทองรองบาทา
พระผู้วงศ์เทวาอันปรากฏ
จะขอพระบุตรีมียศ ให้โอรสข้าน้อยดังจินดา
คุณค่าด้านเนื้อหา
โครงเรื่อง
แนวคิดของเรื่อง
เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูก รักและตามใจลูกทุกอย่าง แม้กระทั่งตัวตายก็ยอม
ฉาก
เรื่องอิเหนาเป็นเรื่องของชวา ซึ่งผู้แต่งได้ดัดแปลงให้สอดคล้องกับขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมไทยอย่างกลมกลืน เช่นพระราชพิธีการพระเมรุที่เมืองหมันหยา พระราชพิธีรับแขกเมือง พระราชพิธีโสกันต์ เป็นต้น
ปมขัดแย้ง
มีหลายข้อขัดแย้ง แต่ละปมปัญหาเป็นเรื่องที่อาจเกิดได้ในชีวิตจริง และสมเหตุสมผล เช่น
ปมแรก คือ ท้าวกุเรปันจะให้อิเหนาอภิเษกกับบุษบา แต่อิเหนาหลงรักจินตะหรา ไม่ยอมอภิเษกกับบุษบา
กลวิธีในการแต่ง
จินตภาพ
กวีใช้คำบรรยายได้ชัดเจนทำให้ผู้อ่านคิดภาพตามได้และได้อรรถรสในการอ่าน
ความรู้ความคิด
แสดงให้เห็นความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรมโบราณ และการทำศึกสงคราม
คุณค่าด้านสังคม
เรื่องฤกษ์ยาม
โหรทำนายดวงชะตาและดูฤกษ์ยามให้ท้าวกะหมังกุหนิงและวิหยาสะกำ
เรื่องบุญกรรม
ตอนที่ท้าวกะหมังกุหนิงกล่าวว่าจะยกทัพไปรบที่เมืองดาหา สุดแต่บุญกรรม ไม่ฟังคำทัดทานของโหร
การแต่งตัวตามวันและวันที่เป็นมงคลแก่ผู้สวมใส่
ตอนที่กะหรัดตะปาตีแต่งตัวก่อนยกทัพไปทำศึก
เรื่องบุพเพสันนิวาสและเทพอุ้มสม
ตอนที่ท้าวกะหมังกุหนิงส่งราชทูตไปสู่ขอนางบุษบาว่าเป็นเพราะบุพเพสันนิวาสและเทพอุ้มสม
พิธีกรรม
พิธีเบิกโขนทวาร
พิธีฟันไม้ข่มนาม
พิธีตัดไม้ข่มนามหรือพิธีฟันไม้ข่มนาม โดยนำเอาต้นไม้ที่มีชื่อร่วมตัวอักษรกับชื่อฝ่ายข้าศึก มาฟันให้ขาดประหนึ่งว่าได้ฟันข้าศึก
ค่านิยม ที่ปรากฏในเรื่อง
การเลือกคู่ครองของตัวละคร และการสมรสในวงศ์เดียวกัน
อิเหนาเป็นคู่ตุนาหงันกับบุษบา (วงศ์อสัญแดหวา)
การทำศึกชิงนาง
ถือว่าไม่ผิดประเพณีเพราะได้ปฏิบัติมาตั้งแต่โบราณ ถ้าหญิงนั้นยังไม่ได้แต่งงาน
การมีเมตตาธรรมของกษัตริย์
กษัตริย์เปรียบดังสมมติเทพ
ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
การใช้อารมณ์
ในชีวิตของมนุษย์ทุกคนนั้น ย่อมต้องประสบพบกับเรื่องที่ทำให้เราโมโห ซึ่งเมื่อเป็นดังนั้น เราควรจะต้องรู้จักควบคุมตนเอง (สะท้อนพฤติกรรมท้าวดาหา)
การใช้กำลังในการแก้ปัญหา
โดยปกติแล้ว เวลาที่เรามีปัญหาเราควรจะใช้เหตุผลในการแก้การปัญหานั้น (สะท้อนพฤติกรรมท้าวกะหมังกุหนิง)
การทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด หรือคำนึงถึงผลที่จะตามมา การจะทำอะไรลงไป (สะท้อนพฤติกรรมอิเหนา)
ความรู้เสริม
กษัตริย์ในวงศ์เทวามีมเหสีได้ ๕ องค์ตำแหน่งมเหสี มี ๕ ตำแหน่งดังนี้
2.มะเดหวี
1.ประไหมสุหรี
4.ลิกู
5.เหมาหราหงี
3.มะโต
สำนวนไทย “ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง”
หมายถึง การต่อว่าผู้อื่นว่าทำในสิ่งผิด แต่ตนเองกลับประพฤติผิดแบบนั้นเสียเอง
ที่มา: พฤติกรรมของอิเหนาที่ต่อว่าผู้อื่นที่มาหลงรักนางบุษบา แต่ตนเองกลับหลงรักนางบุษบาเสียเองจนต้องทำอุบายชิงตัวนาง
ว่าพลางทางชมคณานก โผนผกจับไม้อึงมี่
เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา
นางนวลจับนางนวลนอน เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา
จากพรากจับจากจำนรรจา เหมือนจากนางสการะวาตี
แขกเต้าจับเต่าร้างร้อง เหมือนร้างห้องมาหยารัศมี
นกแก้วจับแก้วพาที เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา
ตระเวนไพรร่อนร้องตระเวนไพร เหมือนเวรใดให้นิราศเสน่หา
เค้าโมงจับโมงอยู่เอกา เหมือนพี่นับโมงมาเมื่อไกลนาง
คับแคจับแคสันโดษเดี่ยว เหมือนเปล่าเปลี่ยวคับใจในไพรกว้าง
ชมวิหคนกไม้ไปตามทาง คะนึงนางพลางรีบโยธี
ชื่อ นายภูผา ถาวรเรืองฤทธิ์ ชั้น ม ๔/๘ เลขที่ ๑๘
เบญจวรรณ
วัลย์ชาลี
นกนางนวล
ต้นนางนวล
นกจากพราก
ต้นจาก
นกแขกเต้า
ต้นเต่าร้าง
นกแก้ว
ต้นแก้ว
นกตระเวนไพร
นกเค้าโมง
ต้นโมง
คับแค
ต้นแค