Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
MEA 206 ผู้นำทางวิชาการ หลักสูตร การจัดการเรียนรู้ - Coggle Diagram
MEA 206
ผู้นำทางวิชาการ หลักสูตร การจัดการเรียนรู้
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมผู้นำวิชาการ
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership ) หมายถึง พฤติกรรมที่ผู้นำแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการจัดการ กระบวนการจัดการที่ผู้นำมีอิทธิพลต่อผู้ตาม ปฏิสัมพันธ์ที่ผู้นำและผู้ตามมีต่อกันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งสองฝ่าย
พฤติกรรมผู้นำวิชาการ
กล้าเสี่ยงและมีแนวคิดใหม่
มีแนวคิดกว้างไกลในเรื่องของการศึกษา
มีความตั้งใจแน่วแน่ในการปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการศึกษา
5.มีพลังที่พร้อมในการทำงานวิชาการ และควบคู่กับงานด้านอื่น
มีมนุษยสัมพันธ์
คุณลักษณะและการพัฒนาผู้นำวิชาการ
สร้างสัมพันธภาพกับทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
พัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนและประพฤติตนเป็นแบบอย่างในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ส่งเสริมการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ควบคู่ไปกับการพัฒนาความรู้ทางวิชาการ
ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน Learning by doing
ให้ความสำคัญต่อการวางแผน จัดทำและพัฒนาหลักสูตร
เน้นการเป็น Learning Facilitator ของครูบุคลากร และผู้เรียน
ฝึกฝนและพัฒนาครูให้จัดทำแผนการสอนตรงกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และประเมินผลอย่างเป็นระบบ
ความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของภาวะผู้นำวิชาการ
ภาวะผู้นำทางวิชาการ หมายถึง คุณลักษณะหรือพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้บริหารสถานศึกษาในการร่วมมือกับคณะครูและผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอนส่งผลให้ผู้เรียนบรรลุผลสำเร็จในการเรียนรู้
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2543 ก : 1) ได้ให้ความสำคัญกับภาวะผู้นำทางวิชาการโดยกล่าวว่า ผู้บริหารโรงเรียนที่มีภาวะผู้นำทางวิชาการจะทำให้ผู้ร่วมงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเชื่อถือ ยอมรับ ศรัทธาและร่วมมือปฏิบัติงานตามภารกิจจนบรรลุผลเป้าหมายของโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบของภาวะผู้นำวิชาการ
การกำหนดเป้าหมายโรงเรียน
การสื่อสารเป้าหมายของโรงเรียน
การนิเทศและประเมินผลด้านการสอน
การประสานงานการนำหลักหลักสูตรไปใช้
การตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน
การควบคุมการใช้เวลาในการจัดการเรียนการสอน
การเอาใจใส่ต่อความคิดเห็นของครูและนักเรียน
การจัดให้มีสิ่งจูงใจสำหรับครู
การบริหารงานวิชาการเพื่อคุณภาพ
การบริหารงานวิชาการเป็นกระบวนการบริหารในกิจกรรมต่างๆ ที่สถานศึกษาจัดขึ้น ซึ่งส่งผลทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อผู้เรียน ทั้งนี้เพื่อปรับปรุง ส่งเสริม และพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพมาตรฐานได้ตามเจตนารมณ์ของการศึกษาให้มากที่สุด
ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
การพัฒนากระบวนการเรียนรู้
การวัดผลประเมินผล
การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี
การพัฒนาแหล่งเรียนรู้
การนิเทศการศึกษา
การแนะแนวการศึกษา
การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน
การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่น
การส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา
การวิเคราะห์และสังเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคม
ด้านครอบครัว ะระบบครอบครัวจะยังเป็นสถาบันหลักของสังคมต่อไป ควบคู่ไปกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ด้านปัญหาสังคม ประชากรของโลกที่เพิ่มขึ้นในอัตราสูงมากที่สุดคือประเทศด้อยพัฒนา ส่งผลกระทบต่างๆตามมาเช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาโรคเอดส์ (AIDS)
ปัญหาสิ่งแวดล้อม จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมและการเพิ่มขึ้นของประชากร
ด้านสังคมวัฒนธรรม เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมศาสนา ชาติพันธุ์ ความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างกลุ่มชนต่าง ๆ
ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับ ชุมชน และท้องถิ่น)
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน หมายถึง การวางแผนดำเนินการบริหารงาน ติดต่อประสานความร่วมมือกับชุมชน ผู้ปกครองนักเรียน บุคคล ในชุมชน สร้างความเข้าใจระหว่างชุมชน ผู้บริหารคณะครูอาจารย์และสร้างความรู้สึกว่าโรงเรียนเป็นของชุมชนอย่างแท้จริง
องค์ประกอบความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
นโยบายของโรงเรียน
ความพร้อมของโรงเรียนและชุมชน
มีความร่วมมือกันทุกฝ่าย
มีกลไกที่ก่อให้เกิดความร่วมมือ
มีการจัดตั้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และสมาคมผู้ปกครองและครู
กำหนดบทบาทหน้าที่ร่วมกันในทิศทางที่พึงประสงค์
มีการดำเนินงานให้เกิดความร่วมมือ มีการวางแผนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนร่วมกันทั้งสองฝ่าย
หลักการ แนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร หลักสูตรสถานศึกษา
คุณสมบัติที่สำคัญของการพัฒนาหลักสูตร คือ หลักสูตรมีความเป็น พลวัต และปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการและความเปลี่ยนแปลงของสังคม
แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร
จุดมุ่งหมาย
การเป็นพลเมืองดี
การประกอบอาชีพ
การรู้จักตนเอง
การเป็นผู้ที่มีวิจารณญาณในการคิด
สอดคล้องกับความต้องการของชีวิตที่เหมาะสมที่สุด
สภาพทางเศรษฐกิจ
การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมทางการศึกษา
การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม
สภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้
สภาพทางการเมืองการปกครอง
สภาพทางด้านขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยมและคุณธรรม
แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ (RULPH W. TYLER)
การกำหนดจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
การเลือกและจัดประสบการณ์การเรียน
การประเมินผล
ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
วอล์กเกอร์
ทฤษฎีความมีเหตุผลในตัวหลักสูตร
ทฤษฎีความมีเหตุผลในกระบวนการสร้างหรือกำหนดหลักสูตร
ทฤษฎีความคิดรวบยอดในปรากฏการณ์ของหลักสูตร
ทฤษฎีการอธิบายปรากฏการณ์ของหลักสูตร
แนวคิดของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
เป็นแนวคิดที่มุ่งให้สถานศึกษามีอิสระและมีความคล่องตัวในการบริหารงานด้านวิชาการ ด้านการเงิน ด้านการบริหารงานบุคคลและการบริหารทั่วไป เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจโดยมีความเชื่อว่าการตัดสินใจที่ดีที่สุดจากการตัดสินใจของคณะบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดและมีส่วนเกี่ยวข้องกับนักเรียนมากที่สุด
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ขั้นที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในด้านต่างๆ ได้แก่
ขั้นที่ 3 การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร
ขั้นที่ 4 การนำหลักสูตรไปใช้
ขั้นที่ 5 การประเมินผลหลักสูตร
ขั้นที่ 2 การร่างหลักสูตร
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การสอนซ่อมเสริม การพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ วิธีการสำคัญที่สามารถสร้างและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดคุณลักษณะต่างๆ ที่ต้องการในยุคโลกาภิวัตน์
การสอนซ่อมเสริม คือ การสอนที่จัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนช้าให้สามารถเรียนทันเพื่อน
การพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลในศตวรรษที่ 21 นั้น หมายความว่า เป็นวิธีที่ครูผู้สอนจะต้องสามารถบูรณาการจัดการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างความรู้ ความสามารถของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน คุณธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผล (measurement) หมายถึง การวัดคุณลักษณะ (attribute) ของบุคคลจากผลการตอบคำถามในแบบทสอบตามกฏเกณฑ์ที่กําหนด
การประเมินผล (evaluation) หมายถึง กระบวนการอย่างมีระบบที่นําข้อมูลจากการวัดผลมาตีค่าและตัดสินคุณค่าของผู้เรียน
คุณธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประเมินผลการเรียนรู้
1) เป็นผู้ที่มีความเที่ยงตรง
2) เป็นผู้ที่สามารถกำหนดระบบการประเมิน ออกแบบการประเมินได้อย่างครอบคลุมครบถ้วนสมบูรณ์
3) เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางการวัดและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4) มีความซื่อสัตย์สุจริต
5) มีความรับผิดชอบ
6) มีความละเอียดรอบคอบ
7) มีความมานะพยายาม
8) มีความรู้ มีความรอบรู้ รู้เท่าทันในความก้าวหน้าและความเปลี่ยนแปลงของศาสตร์ในการวัดและประเมิน
การพัฒนาการนิเทศ และการสร้างเครือข่ายการนิเทศ
กระบวนการสร้างนวัตกรรมการนิเทศการศึกษาต้องอาศัยพื้นฐานทางทฤษฎี หลักการนิเทศ ทฤษฏีการเรียนรู้ หลักการสอน ทฤษฎี หลักการบริหารจัดการศึกษา ผลงานวิจัย หรือประสบการณ์ในการทำงานเป็นหลักอ้างอิงในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมจึงจะน่าเชื่อถือ
ศึกษาทฤษฎี หลักการและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศการศึกษา
คิดนวัตกรรมและวางแผนการสร้างนวัตกรรม
สร้างนวัตกรรม
ทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม
ปรับปรุงนวัตกรรม
การสร้างเครือข่ายการนิเทศ
เกิดจากการก่อตัวของครูผู้สอน ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน
ปรึกษาหารือหาข้อสรุปจากการระดมความคิดเห็นระหว่างสมาชิกเครือข่ายในการวางแนวทาง การดำเนินงาน
จัดทำหลักการและแนวทางการดำเนินงานของเครือข่าย
กำหนดโครงสร้างบุคลากรของเครือข่าย
กำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ภารกิจและกระบวนการดำเนินงานของเครือข่าย
จัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ
กำหนดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะการปฏิบัติ กระบวนการคิดและเจตคติที่ดีต่องานนิเทศการศึกษา
เปิดเวทีสร้างโอกาสให้สมาชิกได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
สร้างทีมที่ปรึกษาทั้งภายในและภายนอกเครือข่าย
กำหนดปฏิทินการดำเนินงาของเครือข่ายอย่างชัดเจน ดำเนินงานต่อเนื่อง
ส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือการปฏิบัติงานของสมาชิกทุกรูปแบบที่สอดคล้องและถูกต้องตามหลักกฎหมาย
สรุปผลการดำเนินงานทุกรอบปี
ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ กระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนชัดเจน พร้อมทั้งมีวิธีการและเครื่องมือที่มีมาตรฐาน คุณภาพ และมีหลักฐานการทำงานที่ตรวจสอบได้โดยมีครู ประจำ ชั้น/ครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงาน โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภายใน และนอกสถานศึกษา
กระบวนการและขั้นตอนของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
การคัดกรองนักเรียน
การป้องกันและแก้ไขปัญหา
การพัฒนาและส่งเสริมนักเรียน
การส่งต่อ
การประกันคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา (Quality Assurance) หมายถึง การทำกิจกรรมหรือการปฏิบัติภารกิจหลักอย่างเป็นระบบตามแบบแผนที่กำหนดไว้ โดยมีการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Auditing) และการประเมินคุณภาพ (Quality Assessment) จนทำให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพ และมาตรฐานของดัชนีชี้วัดระบบและกระบวนการผลิต ผลผลิตและผลลัพธ์ของการจัดการศึกษา
แนวคิดผู้นำวิชาการ
ภาวะผู้นำทางวิชาการ (Instructional leadership) เป็นภาวะผู้นำที่พัฒนามาจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational leadership) เป็นภาวะที่ผู้นำโดยเฉพาะผู้บริหารโรงเรียนอาศัยความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้ ความรู้เกี่ยวกับการสอน และความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรเป็นพลังขับเคลื่อนทางการศึกษา ผู้นำเช่นนี้เรียกว่า ผู้นำทางวิชาการ