Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่5.6.3 - Coggle Diagram
บทที่5.6.3
โรคเอดส์ (Acquired immune defiency syndrome)
การวินิจฉัย
การซักประวัติ เช่น ร่วมเพศกับผู้ติดเชื้อ หรือใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ รวมทั้งมีอาการทางคลินิกของการติดเชื้อ HIV
การตรวจร่างกาย มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต น้ำหนักลด เป็นต้น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ELISA
Western Blot (WB)
และ Immunofluorescent assay (IFA)
อาการ
กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ไม่มีอาการทางคลินิก
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มอาการคล้ายเอดส์ คือ ไข้ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย ผื่นตามตัว ปวดศีรษะ เจ็บคอ ผล CD4 ต่ำกว่า 500-200 cm3
กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มอาการที่มีอาการสัมพันธ์กับเอดส์ คือ มีไข้สูงฉับพลัน ไข้ต่ำ ๆ นานกว่า 2-3 เดือนปวดศีรษะ เจ็บคอ คลื่นไส้อาเจียน ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วไป
การติดต่อ
1.การมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงมากที่สุดคือ การร่วมเพศทางทวารหนัก ในปัจจุบันพบว่าการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทำให้เอดส์แพร่เชื้อมากที่สุด
2.จากมารดาสู่ทารก (vertical transmission) พบว่าในหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอดส์และไม่ได้รับการรักษา ทารกในครรภ์จะมีโอกาสติดเชื้อ 15-25%
3.ทางกระแสเลือด
การรักษา
ยากลุ่ม Nucleoside analogues reverse transcriptase inhibitor เช่น การให้ Azidothymidine (AZT) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ zidovudine (ZDU)
ยากลุ่ม Non-nucleoside analogues reverse transcriptase inhibitorได้แก่ nevirapine, delarvirdine และ efavirenz
ยากลุ่ม Protease inhibitors ได้แก่ indinavir, ritonavir, saquinavir, nelfinavir และ amprenavir
สูตรยาที่แนะนำ
ขณะตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์ไม่เคยได้รับยาต้านไวรัสมาก่อน1. สูตรแรก TDF + 3TC + EFV โดยแนะนำให้ยาต่อหลังคลอดทุกราย 2. สูตรที่ 2 AZT + 3TC + LPV/r หรือ TDF + 3TC + LPV/r
หญิงตั้งครรภ์ ได้รับยาต้านไวรัสมาก่อนตั้งครรภ์ ไม่ต้องหยุดยา ให้พิจารณารักษาดังนี้ 1. ควรใช้สูตรยาที่ทำให้ viral load ลดลง จนวัดไม่ได้จะดีที่สุด 2. หากพบว่า viral load มากกว่า 1000 copies / ml ทั้งที่กินยาสม่ำเสมอนาน 6 เดือน ให้ส่งปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทันที
ระหว่างเจ็บครรภ์คลอด
ให้เพิ่ม AZT 300 mg ทุก 3 ชม. หรือ AZT 600 mg ครั้งเดียว ไม่ว่าจะใช้ยาสูตรใด
หากคลอดโดยการผ่าตัดให้กินยาก่อนเริ่มผ่าตัดอย่างน้อย 4 ชม.
ในรายที่ viral load น้อยกว่า 50 copies / ml ไม่ต้องให้ยาระหว่างเจ็บครรภ์คลอด
หลีกเลี่ยงการให้ยา Methergine
หลังคลอด
ให้ยาหลังคลอดต่อทุกรายที่สมัครใจ
ในทารกแรกเกิด
-AZT ขนาด 4 mg/kg/dose ทุก 12 ชม. ให้นานต่อเนื่อง 4 สัปดาห์
การพยาบาล
ระยะการตั้งครรภ์
ให้ความเห็นใจและให้กำลังใจผู้ป่วยและแนะนำการปฏิบัติตัวในการรักษาสุขภาพตนเองและป้องกันการแพร่เชื้อในครอบครัว ควรให้สามีมารับคำแนะนำปรึกษาด้วย
ตรวจหาระดับCD4 ถ้าต่ำกว่า 400 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร อาจพิจารณาให้ prophylaxis pneumocystis carinii pneumonia (PCP)
ให้ AZT โดยให้ AZT 300 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง ตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์จนกระทั่งคลอด ในระหว่างเจ็บครรภ์คลอดเริ่มให้ AZT 300 มก. ทุก 3 ชั่วโมง
ระยะคลอด หลีกเลี่ยงการทำให้ถุงน้ำแตกหรือรั่วทำคลอดโดยยึดหลัก Universal precaution
ระยะหลังคลอด
ให้อยู่ในห้องแยก ใช้ห้องน้ำและส้วมแยกจากผู้อื่น และแนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้านเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในครอบครัวและผู้อื่น
งดให้นมบุตร เพราะทารกอาจติดเชื้อจากแม่ทางน้ำนมได้
เน้นให้มาตรวจหลังคลอดตามกำหนด และแนะนำวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ เช่น การทำหมัน
ในทารกหลังคลอด ให้ NPV 2 มก./กก. ทันที และให้ AZT 2 มก./กก./วัน และติดตามตรวจหาการติดเชื้อในทารกหลังคลอด 12-18 เดือน
การติดเชื้อไวรัสซิกกา (Zika fever)
อาการไข้ซิกามีระยะฟักตัว 2-7 วัน มีอาการไข้ ปวดศีรษะ ออกผื่นที่ลำตัว และแขนขา ปวดข้อ ปวดในกระบอกตาเยื่อบุตาอักเสบ โรคไข้ซิกามักมีอาการไม่รุนแรง
วินิจฉัย
1.การซักประวัติ อาการ การเดินทาง ลักษณะที่อยู่อาศัย
2.การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ -การตรวจหาแอนติบอดี IgM และ IgG ต่อไวรัสซิกา
สำหรับการวินิจฉัยการติดเชื้อของทารกในครรภ์ สามารถตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยใช้สิ่งส่งตรวจ เช่น น้ำคร่ำ เลือดจากสะดือหรือรก
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดของทารกในครรภ์ (Bureau of Emerging Infectious Diseases, 2017) โดยทารกที่มีศีรษะเล็ก คือทารกที่คลอดมาไม่เกิน 1 เดือน
การป้องกัน
ป้องกันยุงกัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง ยุงลายที่เป็นพาหะมักออกหากินเวลากลางวัน
การรักษา
ยังไม่ยารักษาโรคไข้ซิกาโดยตรง การรักษาคือการให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ดื่มน้ำในปริมาณ 2,000-3,000 ลิตรต่อวัน นอกจากการรักษาประคองไปตามอาการ