Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินและการจำแนกผู้ประสบสาธารณภัย (Triage) - Coggle…
การพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินและการจำแนกผู้ประสบสาธารณภัย (Triage)
การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกและข้อ
Major arterial hemorrhage
การฉีกขาดของหลอดเลือด อาจเป็นการบาดเจ็บแบบ Blunt trauma หรือ Penetrating wound ทำให้มีการเสียเลือดจำนวนมากและเกิด Hypovolemic shock ได้
การบาดเจ็บหลอดเลือดแดงเรียกว่า Hard signs ได้แก่ Pulsatile bleeding บริเวณบาดแผล hematoma มีขนาดใหญ่ขึ้น คลำได้ thrill ฟังได้ bruit และ 6Ps ได้แก่ Pain, Pallor, Poikilothermia, Paresthesia, Paralysis, Pulselessness ภาวะผิดปกติของชีพจรนั้นอาจสบัสนกับ ภาวะ Shock หลังจากรักษาภาวะ Shock แล้วจึงประเมินซำ้เปรียบเทียบกับข้างที่ปกติ อาจประเมินโดยใช้ Doppler ultrasound ตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือด
การช่วยเหลือเบื้องต้น พยาบาลควรทำ Direct pressure บริเวณบาดแผลเพื่อหยุดเลือด และ Fluid resuscitation ในรายที่กระดูกผิดรูปให้ทำการจัดกระดูกให้เข้าที่แล้วทำการ Splint
crush syndrome
มีการบาดเจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณ thigh และ calf muscle ทำให้เซลกล้ามเนื้อขาดเลือดและตายแล้วปล่อย Myoglobin เกิดภาวะ Rhabdomyolysis จะพบอาการตั้งแต่ Creatinin kinase สูง เกิด Renal failure และ Disseminated intravascular coagulopathy (DIC) เสียชีวิตได้
อาการที่พบ ได้แก่ Dark urine, พบ Hemoglobin ได้ผลบวก เมื่อเกิดภาวะ Rhabdomyolysis ผู้ป่วยจะมีอาการของ Hypovolemia, Metabolic acidosis, Hyperkalemia, Hypocalcemia และ DIC ได้
การช่วยเหลือเบื้องต้น เมื่อวินิจฉัยได้จะให้ Fluid resuscitation ให้ Osmotic diuretic แพทย์จะพิจารณาให้ Sodium bicarbonate เพื่อช่วยลด Myoglobin ที่ไปทำลาย Tubular system ในระหว่างการให้สารน้ำและยาจะประเมิน Urine output ให้ได้ 100 cc./ชั่วโมง จนกว่าปัสสาวะจะใส
การรักษาแขนขาคือปริมาณการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงส่วนปลาย กระดูกหักข้อเคลื่อนหลอดเลือดอาจฉีกขากหรืออุดตัน ขาดเลือดของเนื้อเยื่อส่วนปลายจนส่งผลให้สูญเสียการทำงานของเส้นประสาท หรือเกิดการเน่าตายของเนื้อเยื่อส่วนปลาย โดยเฉพาะการขาดเลือด นานกว่า 6 ชั่วโมง ถือว่าเป็น Golden period ที่ต้องรีบใหก้ารช่วยเหลือ
Major pelvic disruption with hemorrhage
Pelvic fracture + Hypovolemic shock คำนึงถึงภาวะ unstable pelvic fracture จากการฉีกขาดของอวัยวะภายใน อาจมีการบาดเจ็บของเส้นเลือด เส้นประสาทด้วย การบาดเจ็บที่เกิดจากแรงกระทำมาจากด้านข้างของเชิงกรานแล้วเกิดการบิดหมุนของเชิงกราน เข้าด้านใน มักมีปัญหาการบาดเจ็บของ Bladder และUrethra
ดู จะพบ Progressive flank พบ Scrotum และ Perineum บวม มีแผลฉีกขาดบริเวณ Perineum และ Pelvic
คลำ พบกระดูก Pelvic แตก PR examination พบ high-riding prostate gland และ มีเลือดออกบรเิวณ Urethral meatus
การเคลื่อนไหว จะพบขาข้างที่ผิดปกติจะสั้น เนื่องจากถูกกล้ามเนื้อดึงขึ้นข้างบน และ หมุนออกด้านนอกจากแรงโน้มถ่วงของโลก
ระบบไหลเวียนจะพบความดันโลหิตต่ำ
เอกซเรย์ในรายที่สงสัย โดยการส่ง film pelvic AP view
การช่วยเหลือเบื้องต้น Control bleeding โดยการทำ Stabilization pelvic ring
ข้อควรระวัง
ผู้ป่วยที่มี่ปัญหากระดูก Pelvic fracture และ Open fracture ต้องระวังเรื่องการเสียเลือดจน อาจทำใหเ้กิด Hypovolemic shock ได้
ผู้ป่วยที่กระดูกหักร่วมกับอาการบวม ปวดมาก ต้องพึงระวังภาวะ Compartment syndrome ร่วมด้วย หากได้รับการช่วยเหลือช้าอาจทำใหเ้กิดความพิการได้
ผู้ป่วยที่มีกระดกูหัก Multiple long bone fracture มีโอกาสเกิดภาวะ Pulmonary embolism และเสียชีวิตได
Definitive care
Recognition เป็นการตรวจประเมินกระดูกหัก ข้อเคลื่อน และการบาดเจ็บอื่น
Reduction เป็นการจัดกระดูกให้เข้าที่ให้ใกล้เคียงกับภาวะปกติมากที่สุด
Retention เป็นการประคับประคองให้กระดูกอยู่นิ่งกับที่จากการจัดกระดูกเข้าที่แล้วและรอ ให้กระดูกติดตามธรรมชาติ
Reconstruction เป็นการแก้ไขซ่อมแซมส่วนที่สูญเสียจากการบาดเจ็บ
Rehabilitation เป็นการฟื้นฟูสมรรถภาพของส่วนที่บาดเจ็บ
Refer เป็นการส่งต่่อไปรักษาที่เหมาะสม
Secondary survey
การซักประวัติ จากผู้ป่วย ผู้นำส่ง ผู้ป่ระสบเหตุ เป็นต้น ได้แก่ สาเหตุการเกิด ระยะเวลา สถานที การรักษาเบื้องต้น
การตรวจร่างกาย จะตรวจพบอาการปวดและกดเจ็บ บวมผิดรูป คลำพบเสียงกระดูกขัดสีกัน กันเมื่อขยับ มองเห็นกระดูกผิดรูป การตรวจและรักษา Life threatening และ Resuscitation การตรวจคร่าวๆ เพื่อ Screening test การตรวจอย่างละเอียด Secondary survey การเอกซเรย์
Primary survey และ Resuscitation
เสียเลือดจากการบาดเจ็บ และ เกิดภาวะ Hypovolemic หรือ Hemorrhage shock ได้ การ Control bleeding ดีที่สุดคือ Direct pressure ด้วย Sterile pressure dressing
ในผู้ป่วยที่กระดูกผิดรูป หรอื fracture ให้ทำการ splint ให้เหมาะสม เพื่อลดอาการปวดและพิจารณาให้สารละลายทางหลอดเลือดดำและ O2 ด้วย
ควรทำการ Immobilization เพื่อจัดกระดูกให้อยู่ในตำแหน่งที่ปกติ แล้วลดการขยับโดยการ Splint ส่วนที่หัก โดยใส่ให้ข้อบนและข้อล่างของตำแหน่งที่หัก
ในผู้ป่วยที่มีปัญหาการบาดเจ็บข้อกระดูก ให้ทำการ Splint ให้ปวดน้อยที่สุด
การพยาบาลผู้ป่วยจมน้ำ
พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นภายหลังการจมน่ำ
น้ำจืดจะมีความเข้มข้นน้อยกว่า เลือด(พลาสมา) ถ้ามีน้ำในปอดจำนวนมากจะถูกดูดซึมกระแสเลือดทันที ทำให้ปริมาตรของเลือดที่ไหลเวียนเพิ่มจากเดิม (hypervolemia) มีผลทำให้ระดับเกลือแร่ (เช่น โซเดียม โพแทสเซียม) ในเลือดลดลง ซึ่งทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหัวใจวายได้ นอกจากนี้ ยังอาจ เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (hemolysis)
น้ำทะเลสำลักอยู่ในปอด จะดูดซึมน้ำเลือด (พลาสมา) จากกระแสเลือดเข้าไปในปอด ทำใหเ้กิดภาวะ ปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ระบบไหลเวียนมีปริมาตรลดลง (hypovolemic) และระดับเกลือแร่ใน เลือดเพิ่มสูงขึ้น ทำใหห้ัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจวายหรือเกิดช็อกได้ คนที่จมน้ำมักตาย เนื่องจากขาดอากาศหายใจมากกว่า การเปลี่ยนแปลงของระดับเกลือแร่และปริมาตรของเลือด
อาการ
หมดสติ และหยุดหายใจ บางคนหัวใจอาจหยุดเต้น
ถ้าไม่ถึงกับหมดสติ ก็อาจมีอาการปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก อาเจียน กระวนกระวาย หรือไอมีฟองเลือดเรื่อ ๆ
ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันต่ำหรือช็อก
ปัจจัยที่มีผลต่อพยาธิสภาพของผู้จมน้ำ
สภาพผู้ป่วยก่อนจมน้ำ อายุ การสูดหายใจเข้าปอดเต็มที่ก่อนจมน้ำ Diving reflexes สุขภาพผู้จมน้ำ การรับประทานอาหารที่อิ่มใหม่ๆ การมึนเมาจากสรุา ความรู้ในการว่ายน้ำ
อุณหภูมิของร่างกายหลังจมน้ำ การสูดสำลักน้ำเข้าปอดจะทําให้อุณหภูมิของร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว ข้อดีคือการเผาผลาญลดลง brain anoxia ช้าลง แต่มีผลทำให้หัวใจเต้นผิดปกติและตายได้
ช่วงเวลาที่จมอยู่ใต้น้ำ
การช่วยฟื้นคืนชีพได้เร็วและถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ CPR ภายใน 10 นาที โอกาสรอด 90%
CPR ภายใน 5 นาที โอกาสรอด 96%
การเปลี่ยนแปลงพยาธิสรีรภาพ
การเปลี่ยนแปลงระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจ
น้ำจืดจะมีความเข้มข้นน้อยกว่าเลือด(พลาสมา) ดังนั้น ถ้ามีน้ำอยู่ในปอดจำนวนมาก ก็จะถูกดูดซึม เข้ากระแสเลือดทันที ทำให้ปริมาตรของเลือดที่ไหลเวียนเพิ่มจากเดิม
Pulmonary edema ในน้ำเค็ม น้ำทะเลจะมีความเข้มข้นมากกว่าเลือด น้ำทะเลที่สำลักอยู่ในปอด จะดูดซึมน้ำเลือด (พลาสมา) จากกระแสเลือดเข้าไปในปอด ท้าให้เกิดภาวะปอดบวมน้ำ
การเปลี่ยนแปลงของเกลือแร่และกรดด่างในเลือด
acidosis จาก เยื่อบุถงุลมอักเสบ , ถุงลมขาด surfactant ,atelectasis, pulmonary edema
น้ำจืดเกิด hyponatremia, hypochloremia, hyperkalemia
น้ำเค็มเกิด hypernatremia, hyperchloremia, hypermagnesemia
การเปลี่ยนแปลงระบบประสาท การจมน้ำทำใหเ้กิด cerebral hypoxia เกิดภาวะสมองบวมตามมา และ ภาวะ circuratory arrest ทำให้ cerebral perfusion ลดลง ทำใหส้มองขาดเลือด Ischemic brain
การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในร่างกาย เด็กจะเร็วกว่าผู้ใหญ่
T 37 - 35 องศา หนาวสั่น ทรงตัวไม่อยู่
T 35 - 32 องศา สับสน หัวใจเต้นเร็ว
T 32 - 28 องศา เกร็ง หัวใจเต้นช้า หายใจช้า
T 28 - 25 องศา หมดสติ หัวใจเต้นผิดปกติ
T 25 - 21 องศา หยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้น
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินหายใจและปอด มีภาวะ Pulmonary congestion หรือ edema
ผู้ป่วยมีการสูดสำลักสารน้ำเข้าไปจะเกิดพยาธิสรรีภาพกบัปอดอย่างรุนแรง
Particles และ micro-organism
Toxicity
Tonicity ของสารน้ำ Hypotonic solution ได้แก่การจมน้ำจืด
Hypertonic solution ได้แก่การจมน้ำทะเล
ผู้ป่วยที่ไม่มีการสำลักน้ำ พบประมาณร้อยละ 10-15 จะพบภาวะสมองขาดออกซิเจน และเกิด neurogenic pulmonary edema ตามมา
การปฐมพยาบาล
ถ้าคลำชีพจรไม่ได้ หรือหัวใจหยุดเต้น ให้ทำการนวดหัวใจทันที
ถ้าผู้ป่วยยังหายใจได้เอง หรือช่วยเหลือจนหายใจได้แล้ว ควรจับผู้ป่วยนอนตะแคงข้าง และศีรษะ หงายไปข้างหลังเพื่อให้น้ำไหลออกปาก ใช้ผ้าห่มคลุมเพื่อใหเ้กิดความอบอุ่น
ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ทำการเป่าปาก ช่วยหายใจทันที ตั้งแต่กอ่นขึ้นฝั่ง จนกว่าผู้ป่วยจะหายใจได้เอง หากรู้สึกว่าลมเข้าปอดได้ไม่เต็มที่เนื่องจากมีน้ำอยู่เต็มท้อง อาจจับนอนคว่ำแล้ว ใช้มือ 2 ข้าง วางอยู่ใต้ท้อง ยกท้องผู้ป่วยขึ้นจะช่วยไล่น้ำออกจากท้องให้ไหลออกทางปากได้ แล้วจับผู้ป่วยพลิกหงาย และทำการเป่าปากต่อไป
ควรส่งผู้ป่วยที่จมน้ำไม่ว่าจะมีอาการหนักเบาต้องไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลทุกรายในรายที่หมดสติและหยุดหายใจ ควรผายปอดด้วยวิธีเป่าปากไปตลอดทาง
กรณีที่คนจมน้ำรู้สึกตัวดี สำลักน้ำไม่มาก
กระตุ้นใหห้ายใจลึกๆ ปลอบโยนให้คลายความตกใจ ดูแลร่างกายให้อบอุ่น แนะน้าให้ไปพบแพทย์เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้