Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และการพยาบาลแบบองค์รวม, นางสาวอาทิตยา …
ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
และการพยาบาลแบบองค์รวม
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
โรคท้องร่วง(Diarrhea)
คือ
อาการถ่ายเหลวเป็นน้ำ หรือถ่ายเป็นมูก บางครั้งอาจจะมีเลือดผสมปนออกมา ท้องร่วงเป็นอาการที่พบได้บ่อย ส่วนใหญ่อาการไม่ค่อยรุนแรงและมักจะหายได้เอง และเป็นส่วนน้อยที่มักจจะมีอาการไม่รุนแรงจึงทำให้มีภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ ก่อให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะกับเด็กเล็กและผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังมีไข้ ปวดท้อง และอาเจียนร่วมด้วย
สาเหตุ
ท้องร่วงชนิดฉับพลัน
1.การติดเชื้อ
อาจเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อบิดฟอยก์ อหิวาต์ มาลาเรีย พยาธิบางชนิด เช่น ไทอาร์เดีย พยาธิแส้ม้า
2.อาหารเป็นพิษ
โดยการปะปนของเชื้อโรคและแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร
3.สารเคมี
เช่น สารตะกั่ว ยาฆ่าแมลง ทำให้อาเจียน ปวดท้องรุนแรงและมีอาการชักร่วมด้วย
4.ยา
เช่น ยาระบาย ยาถ่าย
5.พืช
เช่น เห็ดมีพิษ
ท้องร่วงชนิดเรื้อรัง
1.การติดเชื้อ
เช่น เชื้อโรคบิด วัณโรคลำไส้และพยาธิแส้ม้า
2.อารมณ์และความเครียด
3.โรคเรื้อรัง
เช่น คอพอกเป็นพิษ เบาหวาน
4.การขาดน้ำย่อย
สำหรับการย่อยน้ำตาลที่อยู่ในนม จึงทำให้เกิดอาการท้องเสียหลังดื่มนม
5.ความผิดปกติของการดูดซึมอาการที่ลำไส้
6.เนื้องอก มะเร็งลำไส้ หรือมะเร็งตับอ่อน
7.สาเหตุอื่น
เช่น ผ่าติดกระเพาะอาหาร ทำให้การย่อยอาหารผิดปกติ
อาการและอาการแสดง
ถ่ายบ่อยกว่าปกติหรือมีอาการถ่ายเป็นมูกเลือด1ครั้ง หรือมากกว่านั้นภายใน 24 ชั่วโมง
มีการถ่ายอุจจาระเหลว ถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป
ในบางรายอาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อ่อนเพลีย มีไข้
ภาวะแทรกซ้อน
เกิดภาวะช็อคจากภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
โรคลำไส้แปรปรวน
เกิดภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโตสบกพร่อง
กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกยูรีเมีย ในกรณีท้องเสียจากการติดเชื้อบางชนิด
ร่างกายส่วนอื่นตอบสนองต่อการติดเชื้อในทางเดินอาหารจนเกิดการอักเสบ
การติดเชื้อมลุกลามไปอวัยวะส่วนอื่นๆในร่างกาย
แนวทางการดูแลและการป้องกัน
ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสะอาด ฟอกสบู่ ในกรณีที่ไม่สามารถล้างมือได้ ควรใช้เจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอลล์ก่อนและหลังรับประทานอาหารหรือสัมผัสอาหาร หลังจากเข้าห้องน้ำ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของโรค
เลือกรับประทานอาหารอย่างระมัดระวัง คือ รับประทานอาหารที่ร้อน สดใหม่ หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆดิบๆ ของหมักดอง
ไม่ควรวางอาหารไว้ในอุณหภูมิห้องนานๆ ควรจะเก็บเข้าตู้เย็น เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
ควรรักษาความสะอาดบริเวณที่มีการเตรียมตัวให้ถูกลักษณะ พร้อมทั้งล้างมือให้สะอาดก่อนและขณะเตรียมอาหาร
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
ภาวะท้องผูก(Constipation)
สาเหตุ
รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อย รับประทานอาหารน้อย
การถ่ายอุจาจาระไม่เป็นเวลา หรือการกลั้นอุจจาระบ่อยๆ
ระบบการย่อยทางเดินอาหารเสื่อมลง เช่น การบดเคี้ยวไม่ดีเนื่องจากฟันผุ การเคลื่นไหวลำไส้ลดลง
ไม่มีการเคลื่อนไหวหรือไม่มีการออกกำลังกาย
การรับประทานยาระบายเป็นประจำทำให้ลำไส้ถูกกระตุ้นจากยาอยู่เสมอจนทำให้ลำไส้ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
ความเครียดส่งผลให้ร่างกายรู้สึกเบื่ออาหาร จึงส่งผลให้เกิดการรับประทานอาหารได้น้อย ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบขับถ่าย
ยารักษาโรคบางชนิด อาจจะเกิดอาการท้องผูก เช่น ยาแก้ปวด มอร์ฟีน
คือ
การไม่ถ่ายอุจจาระต่อเนื่อง 3 วันขึ้นไป เป็นอุจจาระที่แห้งและแข็ง ทำให้ต้องแบ่งแรงเบ่ง(American Gastroenterological Association,2008) โดยพบว่ามีความสัมพันธ์กับการบีบตัวของลำไส้ให้ลดลงในผู้สูงอายุ ส่งผลทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบาย แน่น อึดอัดบริเวณทวารหนักแต่ไม่สามารถถ่ายอุจจาระได้
อาการและอาการแสดง
เกิดอาการถ่ายลำบากเวลาถ่ายต้องใช้เวลาและแรงในเบ่งมาก
อุจจาระแข็งจับตัวกันเป็นก้อน หรือถ่ายแล้วแต่ยังรู้สึกว่าถ่ายไม่หมด
ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์
แนวทางการดูแลและการป้องกัน
1.รับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารมากขึ้น เน้นที่ผักปละผลไม้ เช่น ผักบุ้ง คะน้า กวางตุ้ง ส้ม แอปเปิ้ล กล้วย ลูกพรุน
2.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกากใย เช่น เนื้อสัตว์ เค้ก เนย
3.ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว แนะนำให้ดื่มในตอนเช้าหลังตื่นนอนใหม่ เพื่อเป็นการกระตุ้นการทำงานของลำไส้
4.ฝึกขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกๆวัน
5.ควรออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดิน การแกว่งแขน การทำกายบริหารง่ายๆ
ภาวะแทรกซ้อน
ไม่ค่อยก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
อาจได้รับอาการเจ็บในขณะขับถ่าย
หากมีการเกิดอาการท้องผูกบ่อยขึ้นอาจจะส่งผลให้อุจจาระตกค้างอยู่ภายในลำไส้จนแข็งและแห้ง
ทำให้การขับถ่ายอุจจาระลำบาก ส่งผลให้ไปเสียดสีกับผนังลำไส้ได้ อาจก่อให้เกิดโรคริดสีดวงทวารหนักได้เนื่องจากอุจจาระแข็งจึงต้องใช้แรงในการเบ่งอุจจาระ
อาจทำให้ถ่ายเป็นเลือดหรือมีมูกเลือดปน
นางสาวอาทิตยา มุขรักษ์ ชั้นปีที่ 2 รุ่นที่ 26
ห้อง B เลขที่ 33