Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 9 อาหารที่เหมาะกับผ้ที่มีปัญหาสุขภาพ - Coggle Diagram
บทที่ 9 อาหารที่เหมาะกับผ้ที่มีปัญหาสุขภาพ
โรคเบาหวาน
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
1.เรียนรู้และนับคาร์บกับอาหารแลกเปลี่ยน การนับคาร์บ หมายถึง การนับปริมาณสารอาหารคาร์โบไฮเดรทในอาหารที่กินเข้าไปทําให้มีผลต่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
เลือกกินเนื้อสัตว์อย่างฉลาด
รู้จักเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์
-เลือกคาร์โบไฮเดรตชนิดดีกินเพราะมีสารอาหารที่มีประโยชน์มากมีใยอาหารและมีค่าดัชนีน้ำตาลตํ่า <55
-เลือกกินชนิดไขมันที่ช่วยลดคอเรสเตอรอลที่ไม่ดี(LDL)โดยไม่ลดคอเรสเตอรอล(HDL)
-กินอาหารที่มีแอนตี้ออกซิเดนซ์ เช่น ผักผลไม้ 5 สี
-กินอาหารที่มีจุลินทรีย์สุขภาพ เช่น โยเกิร์ตสูตรไขมันตํ่า นํ้าตาลน้อย
รู้จักเลือก รู้จักลด และงดอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพ
-ลดและงดคาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดี เพราะมีสารอาหารตํ่า มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างรวดเร็ว
-ลดและงดไขมันที่ได้จากผลิตภัณฑ์สัตว์ และไขมันทรานซ์
-ลดอาหารหมักดองและอาหารเค็มจัด
กินโดยควบคุมปริมาณอาหารจากพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน
โรคตับ ตับอ่อนผิดปกติ
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคตับ ตับอ่อนผิดปกติ
1.อาหารบําบัดโรคตับอักเสบ
-พลังงานควรได้พลังงานสูงกว่าปกติเพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่นํ้าหนักจะลด ควรได้พลังงานวันละประมาณ2500 – 3500 แคลอรี่
-โปรตีน เพื่อรักษาเนื้อเยื่อของตับที่ถูกทําลาย ผู้ป่วยควรได้รับโปรตีนวันละ 75 – 100 กรัม และควรเป็นโปรตีนที่ได้จากสัตว์เป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าการทํางานของตับ สมรรถภาพลดลงมาก จนไม่สามารถกําจัดสารแอมโมเนียที่เกิดจากเมตาโบลิซึมของสารโปรตีนได้ ก็จําเป็นต้องลดโปรตีนเพราะสารแอมโมเนียและของเสียที่เกิดจากการใช้โปรตีน อาจขัดขวางการทํางานของระบบประสาททําให้ผู้ป่วยรู้สึกตัวน้อยลง
-คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารที่ให้พลังงาน ผู้ป่วยควรได้รับวันละ 300 – 400 กรัมในระยะแรกควรให้นํ้าตาลเป็นหลัก อาจให้ในรูปของขนมหวาน นํ้าผึ้ง เครื่องดื่ม
-ไขมัน อาหารไขมันจะจํากัดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะเวลาและความรุนแรงของโรคส่วนใหญ่ก็จะรับประทานได้ปกติ คือ ประมาณร้อยละ 25 - 30 ของพลังงานที่ควรได้ทั้งวัน ยกเว้นถ้าผู้ป่วย คลื่นไส้ ชนิดของไขมันควรได้จากเนื้อสัตว์ ไข่ ไม่ควรได้จากอาหารพวกทอด หรือแกงกะทิข้น ๆ
2.อาหารบําบัดโรคตับแข็งแพทย์จะสั่งเพิมหรือลดปริมาณโปรตีนให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคน ระยะแรกของการเป็นตับแข็งที่ยังไม่มีผลทางสมองสามารถได้รับปริมาณโปรตีนหรือเนื้อสัตว์ไม่แตกต่างจากคนทัวไปประมาณวันละ 6-12 ช้อนโต๊ะ
แต่ถ้าเป็นตับแข็งที่มีอาการทางสมองร่วมด้วย จะลดให้มาเหลือประมาณวันละ 2-3 ช้อนโต๊ะ หรืองดโปรตีนไประยะหนึ่ง
เลือกรับประทานอาหารจําพวกคาร์โบไฮเดรตที่มีโปรตีนตํ่า
3.อาหารบําบัดโรคมะเร็งตับช่วงแรกของการเกิดโรค
ควรได้รับโปรตีนเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 กรัมต่อนํ้าหนักตัว 1 กิโลกรัม
จากเนื้อปลา ไข่ไก่ บริโภคไขมันแต่น้อย เพื่อป้องกันภาวะแน่นท้อง ท้องอืด เกิดแก๊สในทางเดินอาหาร หากมีอาการบวมนํ้าควรเสริมด้วยไข่ขาว
โรคเก๊าท์
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
อาหารที่มีปริมาณพิวรีนมาก ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ควร
งดเว้นหรือหลีกเลี่ยง ได้แก่ ตับอ่อน หัวใจ ตับกึ๋นของไก่ เนื้อไก่ เป็ด ห่าน มันสมองวัว ไข่ปลา ปลาอินทรีย์ ปลาดุก ปลาไส้ตัน กุ้งชีแฮ้
อาหารที่มีปริมาณพิวรีนปานกลาง ผู้ป่วยโรคเก๊าท์รับประทานได้ปริมาณจํากัด ได้แก่ เนื้อหมู วัว ปลากะพง ปลาหมึก ปู ถั่วลิสง ใบขี้เหล็กสะตอ
อาหารที่มีปริมาณพิวรีนน้อย ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ทาน
ได้ปกติ ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์จากนมไข่ ธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวโอ๊ด ข้าวฟ่าง ลูกเดือย ข้าวโพด
โรคไต
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคไต
อาหารจํากัดโปรตีน เป็นอาหารที่จํากัดปริมาณโปรตีนให้เหมาะสมกับการทํางานของไต มักกําหนดให้ประมาณ 20 – 40 กรัมต่อวัน
อาหารเพิ่มโปรตีน เป็นอาหารที่กําหนดให้โปรตีนสูง เพื่อชดเชยโปรตีนที่สูญเสียไปในปัสสาวะในผู้ป่วยที่มีการสูญเสียโปรตีนออกทางปัสสาวะและผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการรักษาด้วยการล้างท้องแบบ CAPD ควรได้รับโปรตีนวันละ 1.2 – 1.5 กรัม
อาหารจํากัดโซเดียม คือ อาหารลดเกลือ (Low salt diet) เป็นอาหารที่มีโซเดียมน้อยใช้สําหรับผู้ป่วยที่มีอาการบวม ความดันโลหิตสูง หรือหัวใจวาย เพื่อช่วยลดอาการคั่งของโซเดียม
อาหารจํากัดโปตัสเซียม ใช้ในผู้ป่วยที่ไตขับถ่ายของเสียได้น้อยมักมีการคังของโปตัสเซียมทําให้มีโปตัสเซียมสูง จึงจําเป็นต้องจํากัดอาหารที่มีโปตัสเซียมมาก ตามปกติโปตัสเซียมจะมีในอาหารทุกชนิด แต่มีมากในสัตว์ ไข่ นํ้านม ผัก และผลไม้
อาหารเพิ่มโซเดียม ใช้ในผู้ป่วยที่มีการขับถ่ายโซเดียมออกทางไตมาก
อาหารจํากัดฟอสเฟต ใช้ในผู้ป่วยที่ไตขับถ่ายของเสียได้น้อย และมีฟอสเฟตในเลือดสูง ฟอสเฟตจะมีมากในไข่แดง นม ถัวเม็ดแห้ง ผลไม้แห้ง
อาหารเพิ่มโปตัสเซียม ใช้ในผู้ป่วยโรคไตระยะปัสสาวะมาก มักมีการสูญเสียโปตัสเซียมทางปัสสาวะมาก หรือในผู้ป่วยที่ใช้ยาขับปัสสาวะบางชนิดซึ่งมีฤทธิ์ขับโปตัสเซียมด้วย ทําให้ร่างกายสูญเสียโปตัสเซียมไป จึงต้องได้รับอาหารที่มีโปตัสเซียมมาชดเชย ผู้ป่วยควรเลือกกินเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ที่มีโปตัสเซียมมากโดยเฉพาะ นํ้าส้มและผลไม้แห้ง
โรคหัวใจ
อาหารที่ทําให้ระดับไขมันตัวร้ายในเลือดสูง
อาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัว พบมากในอาหารและนํ้ามันจากพืชบางชนิด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จําพวกนม เช่น นมครบส่วนหรือนมชนิดที่ยังมีไขมันอยู่ครบ เนยแข็ง เนย ไอศกรีม เนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูงเช่น เนื้อวัว เนื้อหมูปนมัน เบคอน กุนเชียงและไส้กรอก ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว นํ้ามันปาล์ม นํ้ามันมะพร้าว
อาหารที่มีไขมันทรานส์ พบได้ในอาหารที่มีการใช้นํ้ามันที่มีการเติมไฮโดรเจนลงในน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง ทําให้นํ้ามันที่อยู่ในสภาพของเหลวเปลี่ยนเป็นไขมันที่แข็งขึ้น หรือเป็นของกึ่งเหลว
อาหารที่มีคอเลสเตอรอลพบได้ในผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์เท่านั้น ได้แก่ ไข่แดง เนื้อสัตว์ไขมันสูงและผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันสูง เครื่องในสัตว์ เช่นตับ สัตว์ปีก เช่น ไก่ เป็ด สัตว์นํ้าประเภทที่มีเปลือก เช่น หอย กุ้ง ปู
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคหัวใจ
งดน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม
หลีกเลี่ยงอาหารทอด และผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ เช่น ปาท่องโก๋ ไก่ทอด พาย คุกกี้
หลีกเลี่ยงอาหารที่ทําจากไข่แดง และไขมันอิ่มตัว เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น เครื่องในสัตว์ ไข่แดง หอยนางลม ปลาหมึก กุ้ง ฯลฯ
1.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไขมันสัตว์ หนังเป็ด/ไก่ สมองสัตว์ เครื่องในสัตว์ ตับ ไตสมอง และอาหารที่ปรุงด้วยกะทิและอาหารแปรรูปจำพวกกุนเชียง หมูยอ เบคอน แฮม
ใช้นํ้ามันในการปรุงอาหารแต่พอควร และเลือกใช้นํ้ามันที่มีสัดส่วนของกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น นํ้ามันรําข้าว และเลือกนํ้ามันที่มีกรดไขมันจําเป็นเช่น นํ้ามันถัวเหลือง
หากดื่มนมเป็นประจําควรเลือกดื่มนมประเภทไขมันตํ่า (นมพร่องมันเนย) หรือ ไม่มีไขมัน (นมขาดมันเนย)
ลดการกินอาหารเค็ม และอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง เช่น เกลือ นํ้าปลาซีอิ้ว ผงปรุงรส ซุปก้อนนํ้าซอสชนิดต่างๆ รวมไปถึงปลาเค็ม ไข่เค็มกุนเชียง หมูยอ หมูหยอง หมูแผ่น เป็นต้น
กินผัก ผลไม้ เป็นประจํา เพื่อให้ได้รับวิตะมินซีและเบต้าแคโรทีน ทําให้ได้รับกากใยและขัดขวางการดูดซึมไขมันได้อีกด้วย
หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา กาแฟ และงดการสูบบุหรี่
ออกกําลังกายสมํ่าเสมอ ให้เหมาะสมกับสภาพ
ร่างกาย
พักผ่อนให้เพียงพอควบคุมให้เกิดความเครียดทั้งทางอารมณ์และจิตใจ
โรคความดันโลหิตสูง
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
ควบคุมนํ้าหนัก พบว่า คนที่นํ้าหนักเกินปกติจะมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าคนที่มีนํ้าหนักปกติถึง 50%
ลดการบริโภคโซเดียม เกลือ อาหารรสเค็ม เพราะนอกจาจะช่วยลดความดันโลหิตได้แล้ว ยังช่วยเพิ่มโพแทสเซียมในเลือดด้วย การลดความเค็มในอาหารสามารถทําได้ดังนี้
2.1 ลดความเค็มในอาหาร
2.2 หลีกเลี่ยงอาหารสําเร็จรูป
2.3 ลดความถี่และปริมาณการกินอาหารที่มีนํ้าจิ้ม
2.4 หลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่ สารกันเสียที่มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ
2.5 ปรุงอาหารด้วยเครื่องเทศ หรือสมุนไพร
2.6 งดหรือลดอาหารที่มีไขมันมาก
2.7 งดบุหรี่ และเครื่องแอลกอฮอล์
2.8 ควรออกกําลังกายอย่างสมํ่าเสมอ ให้เหมาะสมกับวัย
โรคระบบทางเดินอาหาร
โรคกระเพาะอาหาร
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร
1.อ่อนนุ่ม ไม่มีกากาหรือใย ไม่มีเม็ด และเปื่อยนุ่ม
2.อาหารมีรสอ่อน อาจใส่เครื่องปรุ่งต่างๆ ได้ที่ไม่ทําให้อาการของ โรคกําเริบขึ้น
3.ช่วยให้ความเป็นกรดในกระเพาะลดลง อาหารจําพวกโปรตีน เช่น ไข่ นม
4.เป็นอาหารที่อยู่ในกระเพาะได้นานพอสมควร เพื่อทําให้ฤทธิ์ของกรด ในกระเพาะอาหารลดลง
อาหารไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร
เครื่องเทศต่ างๆ มีรายงานว่า อาหารจําพวกพริก พริกไทย กานพลู ลูกจันทร์ จะกระตุ้นให้มีการหลั่งกรด และความระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะและลำไส้ จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้
เครื่องดื่ม เครื่องดื่มจําพวก ชา กาแฟ ซึ่งมีคาเฟอีนและแอลกฮอล์ จะกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะได้มากจึงควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเหล่านี้
ผัก ผลไม้ดิบ มักทําให้เกิดก๊าซ และมีอาการแน่น ท้องอืดและปวดท้องเพิ่มขึ้น จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีก๊าซมาก
ผลไม้ที่ก๊าซมาก ได้แก่ แตงโม แตงไทย ทุเรียน ขนุน น้อยหน่า พุทรา ฝรั่ง มะม่วงดิบ
ผักที่มีก๊าซมาก ได้แก่ ผักกระถิน ผักกระเฉด กระเทียมดอกกะหลํ่า กะหลํ่าปลี ข้าวโพด ผักคะน้า ชะอม
โรคถุงนํ้าดีอักเสบ
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคถุงนํ้าดีอักเสบ
ระยะที่ยังไม่มีการผ่าตัด ควรให้สารอาหารที่มีไขมันน้อยและไม่ควรเกินร้อยละ 25 ของพลังงานทั้งหมด
อาหารที่ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคถุงนํ้าดีอักเสบ
อาหารที่มีไขมันมาก เช่น อาหารทอด
อาหารที่มีก๊าซมาก เช่น กระถิน ชะอม
ผลไม้ที่มีก๊าซมาก เช่น ทุเรียน ขนุน พุทรา
โรคเอดส์
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคเอดส์
อาหารกลุ่มแป้ง เช่น ข้าว ขนมปัง ธัญพืช เผือก เป็นต้น
ผักและผลไม้:ให้วิตามิน เกลือแร่ และ กากใยอาหาร ควรรับประทานทุกวันวันละ 5 ส่วน
เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว:ให้ทั้งโปรตีน เกลือแร่ และวิตามิน ทานวันละ 2-3 ส่วนทุกวัน
ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น นมสด โยเกิร์ต เนยแข็ง ซึ่ งเป็ นแหล่งของวิตามินเกลือแร่ และแคลเซียม ควรทานวันละ 3 ส่วน
ไขมันจากน้ำมันพืชที่ใช้ปรุงอาหาร เนย เนยเทียม รวมถึงไขมันที่อยู่ในเนื้อสัตว์ซึ่งจะให้พลังงาน กรดไขมันที่จําเป็น วิตามินที่ละลายในไขมัน
โรคมะเร็ง
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
กินอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ได้แก่ ปลา ไก่ หมู ไข่ นม เต้าหู้ ถัว่
ไข่ กินได้ทั้งไข่แดง ไข่ขาว วันละ 1-2 ฟอง
นม เลือกนมวัวไขมันตํ่า
กินอาหารแช่เย็น เช่น ไอศครีม หรืออมนํ้าแข็ง จะช่วยบรรเทาให้อาการเจ็บแสบลดลง
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
อาหารเผ็ด
อาหารหรือผลไม้รสเปรี้ยวจัด
อาหารที่มีลักษณะแข็งที่จะทําให้เจ็บเวลาเคี้ยว
อาหารที่เพิ่งปรุงรสเสร็จกําลังร้อนจัด
ผู้ป่วยหลังผ่าตัด
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยหลังผ่าตัด
โปรตีน ในการผ่าตัด ร่างกายจะสูญเสียโปรตีนไปมากและสารโปรตีนจําเป็นต่อการซ่อมแซมและเสริมสร้างเนื้อเยื่อต่างๆช่วยให้บาดแผลหายเร็วขึ้นขาดโปรตีนและแคลอรีทําให้บาดแผลหายช้า
3.วิตามินและเกลือแร่ ในการผ่าตัด นอกจากจะมีการสูญเสียโปรตีนในเนื้อเยื่อแล้ว ยังมีการสูญเสียโซเดียม โปแตสเซียม ฟอสฟอรัส ซึ่งจะมีผลต่อความสมดุลของกรด ด่างในร่างกายด้วยผู้ป่วยจึงควรได้รับเกลือแร่ให้เพียงพอ
พลังงาน หลังจากผ่าตัดแล้วร่างกายมีการสลายไกลโคเจน ไขมันและโปรตีนเพิมขึ้น ผู้ป่วยจึงจําเป็นต้องได้รับอาหารที่ให้พลังงานให้เพียงพอ
นํ้า หลังผ่าตัดผู้ป่วยจําเป็นต้องได้รับนํ้าให้เพียงพอเพื่อรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย เพราะนํ้าเป็นส่วนประกอบหลักของเลือดซึ่งเป็นตัวช่วยสําคัญที่สุดในการลําเลียงออกซิเจนและสารอาหารต่างๆไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอภายในร่างกาย
อาหารที่ไม่เหมาะกับผู้ป่วยหลังผ่าตัด
ผู้ป่วยหลังผ่าตัดควรหลีกเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ และอาหารประเภทหมักดอง เพราะเป็นอาหารที่ส่งผลร้ายต่อร่างกาย และอาจทําให้ติดเชื้อ เกิดอาการแทรกซ้อนได้
ไฟไหม้ นํ้าร้อนลวก
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยไฟไหม้ นํ้าร้อนลวก
พลังงาน ผู้ป่วยจําเป็นต้องได้รับพลังงานให้เพียงพอประมาณ 50 – 70แคลอรี่ต่อนํ้าหนักตัว 1กิโลกรัม
วิตามิน เกลือแร่ ผู้ป่วยถูกความร้อนลวกและสูญเสียวิตามิน เกลือแร่มากระยะนี้จําเป็นต้องได้อาหารที่มีวิตามินและเกลือแร่ให้พอ
โปรตีน เนื่องจากผู้ป่วยมีการสูญเสียโปรตีนไปมาก จึงจําเป็นต้องได้รับโปรตีนให้เพียงพอมิฉะนั้นอาจขาดโปรตีนและแคลอรีได้
นํ้า ในระยะ 2-3 วันแรกผู้ป่วยจะสูญเสียนํ้าไปมาก ทําให้ปริมาณเลือดลดลง มีผลให้เลือดไปเลี้ยงอัวยวะต่างๆ ได้น้อยทําให้เนื้อเยื่อได้รับอาหารและออกซิเจนไม่พอ
โรคขาดสารอาหาร
โรคขาดโปรตีนและแคลอรี
ควาชิออร์กอร์ (kwashiorkor)เป็นโรคขาดโปรตีน และแคลอรี ประเภทที่มีการขาดโปรตีนอย่างมากเด็กมีอาการบวมเห็นได้ชัดที่ขา ๒ ข้างเส้นผมมีลักษณะบางเปราะ และร่วงหลุดง่าย ตับโต มีอาการซึม และดูเศร้า ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อม ผิวหนังบางและลอกหลุด
มาราสมัส (marasmus)เป็นโรคขาดโปรตีน และแคลอรี ประเภทที่ขาดทั้งกําลังงาน และโปรตีน เด็กมีแขนขาลีบเล็ก เพราะทั้งไขมัน และกล้ามเนื้อ ถูกเผาผลาญมาใช้เป็นกําลังงาน เพื่อการอยู่รอด ลักษณะที่พบเห็น เป็นแบบหนังหุ้มกระดูก ผิวหนังเหี่ยวย่นเหมือนหนังคนแก่ ไม่มีอาการบวม และตับไม่โต
โรคอ้วน
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคอ้วน
ควบคุมพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน
ลดการรับประทานอาหารกลุ่มพลังงานสูง กลุ่ม ข้าวแป้ง ไขมัน
เลือกบริโภคอาหารที่มีพลังงานตํ่า ไขมันตํ่า หวานน้อย ใยอาหารสูง
เลือกดื่ม ชา กาแฟ ที่ไม่ใส่นํ้าตาล