Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยโรคระบบไหลเวียนเลือดเเละน้ำเหลือง - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยโรคระบบไหลเวียนเลือดเเละน้ำเหลือง
ระบบไหลเวียนเลือดเเดง
โรคหลอดเลือดเเดงโป่งพอง
ปัจจัยเสี่ยง
1.มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
2.เป็นความดันโลหิตสูง
3.การสูบบหรี่
4.เป็นโรคหัวใจ
5.เป็นโรคเบาหวาน
6.มีภาวะอ้วนลงพุง
7.ขาดการออกกำลังกาย
แนวทางการรักษาและการพยาบาล
การควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
ควบคุมความดันโลหิต
งดสูบบหรี่
หลีกเลี่ยงภาวะตั้งครรภ์
หลีกเลี่งการเบ่งอุจาระ
วิธีการผ่าตัด
แพทย์จะเลือกจากตำแหน่งพยาธิสภาพของหลอดเลือด
การผ่าตัดผ่านช่องทรวงอก
การผ่าตัดผ่านช่องท้อง
การผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดหุ้มด้วยขดเลือดทางขาหนีบ
การพยาบาล
กรณีที่หลอดเลือดเอออร์ตายังมีขนาดไม่ใหญ่ถึงขั้นที่จะต้องผ่าตัด
แนะนำให้ตรวจติดตาม
แนะนำให้รับประทานยาลดความดันโลหิต เพื่อลดแรงดันเลือดที่กระทำต่อผนังหลอดเลือด
กรณีที่มีความเสี่ยงในการมีโรคหลอดเลือดหัวใจ
แนะนำให้ออกกำลังกาย
แนะนำให้หยุดสูบบุหรี่
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน
ถ้าตรวจพบระดับไขมันในเลือดสูง
อาจต้องให้ยาลดไขมันด้วย
แบ่งเป็น
โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องอก
อาการ
อาจมีการกดเบียดของหลอดเลือดต่ออวัยวะข้างเคียง
1.กดหลอดลมทำให้หายใจลำบาก
2.กดเบียดหลอดอาหารทำให้กลืนลำบาก
3.กดเบียดเส้นประสาทที่เลี้ยงกล่องเสียงทำให้เสียงแหบ
โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้อง
อาการ
อาจคลำพบก้อนในช่องท้องที่เต้นได้ตามจังหวะหัวใจ
ปวดท้อง
ปวดหลัง
เป็นภาวะความผิดปกติที่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของหลอดเลือดแดงใหญ่มีขนาดโตขึ้นผนังของหลอดเลือดแดงจะบางลง
การตรวจวินิจฉัย
ตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
แพทย์จะวินิจฉัยจากการสอบถามประวัติอาการ
ตรวจร่างกายร่วมกับการตรวจค้นเพิ่มเติม
การถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอก
การถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวน์
โรคหลอดเลือดเเดงอุดตัน
การตรวจหาการอุดตัน
Fixed wave Doppler examination ใช้ probe ส่งคลื่นไปสะท้อนกับเม็ดเลือดเเดง ทำให้ทราบถึงการไหลเวียนของเลือด โดยจะวัดออกมาเป็นค่า ABI
ถ้าค่า ABI น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.9 เเสดงว่ามีการอุดตันของหลอดเลือดเเดงส่วนปลาย
การตรวจ ABI วัดความดัน โดยวัดความดันโลหิตที่เเขนทั้ง 2 ข้างเเละวัดความดันโลหิตที่ข้อเท้าทั้ง 2 ข้างบริเวณเส้นเลือดเเดงพร้อมกัน
เเบ่งเป็น
หลอดเลือดเเดงอุดตันเเบบเฉียบพลัน
สาเหตุ
1.มีลิ่มเลือดไหลมาตามกระเเสเลือดเเล้วอุดตันหลอดเลือด
2.หลอดเลือดตีบตัน จากที่ลิ่มเลือดที่ไม่เคลื่อนไหวเเล้วเกิดการอุดตัน
อาการ
เกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ ปวดทันที ปวดตลอดเวลา ปวดขณะพัก คลำชีพจรไม่ได้ ผิวหนังเย็น ซีด ชา
การรักษาเเละการพยาบาล
การรักษา
การผ่าตัดขจัดลิ่มเลือด
การพยาบาล
ก่อนผ่าตัด
การเตรียมผิวหนังก่อนผ่าตัด
การฝึกหายใจ
หลังผ่าตัด
นอนราบ งอขาได้เล็กน้อย ประเมิน 5P ดื่มน้ำมากๆ
ห้ามวางประเป๋าน้ำร้อน บริเวณผ่าตัด ห้ามใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
หลอดเลือดเเดงอุดตันเเบบเรื้อรัง
สาเหตุ
หลอดเลือดเเดงเเข็ง ทำให้หลอดเลือดเเดงเเข็งเเละตีบตันหลอดเลือดเเดงอุดตันเเบบเรื้อรัง
โรคเบาหวาน
โรคความดันโลหิตสูง
โรคไขมันในเลือดสูง
สูบบุหรี่
อาการ
เกิดขึ้นนานกว่า 2 สัปดาห์ จะมีอาการเมื่อออกเเรงเเละจะดีขึ้นเมื่อพัก อาจมีปวดน่องเวลาเดินไกลๆ เกิดแผลหรือเนื้อตาย อาจพบปลายเท้าเย็น สีผิวหนังเปลี่ยนไป
การรักษาเเละการพยาบาล
การรักษา
การผ่าตัดเปลี่ยนทางเดินหลอดเลือดเเดง เเละการรักษาผ่านทางสายสวนหลอดเลือดเเดง
การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิต
ออกกำลังกายด้วยการเดินมากขึ้น
หยุดสูบบุหรี่
การลดน้ำหนัก
Angioplasty
เป็นการรักษาการตีบของหลอดเลือดโดยใช้ balloon ไปถ่างขยายหลอดเลือด
การทำผ่าตัด Bypass Surgery
เเก้ปัญหาการอุดตันของหลอดเลือดโดยการหาทางให้เลือดลัดจากบริเวณเหนื่อจุดอุดตันไปตามท่อไปสู่บริเวณใต้จุดอุดตัน
การตัด (Amputation)
เป็นวิธีที่เร็วที่สุดที่สามารถทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ปราศจากเจ็บปวดในระยะเวลาอันสั้น
เเบ่งออกเป็น
Above knee amputation
Below knee amputation
การพยาบาล
นอนราบ งอขาได้เล็กน้อย ประเมิน 5P ดื่มน้ำมากๆ ห้ามใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ดูเเลเรื่องการมีเลือดออกง่ายจากการได้ยาละลายลิ่มเลือด ห้ามนั่งไขว้ห้าง
ระบบไหลเวียนน้ำเหลือง
การบวมที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำเหลือง
(Lymphedema)
ข้อมูลทางพยาธิสรีรวิทยา
การไหลเวียนของน้ำเหลืองในท่อน้ำเหลืองทำได้ไม่ดี เนื่องจากมีการอุดตันที่ท่อน้ำเหลือง
หรือมีการทำลายให้ท่อน้ำเหลืองผิดรูป(lymphatic malformations)
หลังจากที่ได้รับการรักษา
มะเร็งด้วยวิธีการตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองร่วมกับการฉายรังสีรักษา ก็ทำให้การไหลเวียนของน้ำเหลืองเข้าสู่กระแสเลือดไม่ได้ จึงทำให้มีของเหลวสะสมที่เนื้อเยื่อรอบๆ จนกระทั่งเกิดอาการ
บวมตามมา
สาเหตุ
Primary lymphedema
วัยรุ่น(Precox ,Adolescence)
Meige disease
ถ่ายทอดแบบ autosomal dominant ส่วนมากจะมีอาการบริเวณขา
Lymphedema-distichiasis syndrome
มีความผิดปกติของขน
ตา(distichiasis)
วัยผู้ใหญ่(Tarda,Adulthood)
จะเริ่มแสดงอาการเมื่ออายุมากกว่า35ปี
เป็นตั้งแต่เกิด(Congenital)
ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงไม่เกินอายุ 1 ปี พบได้น้อยมาก
Secondary lymphedema
การติดเชื้อFilariasis
เชื้อที่เป็นสาเหตุของการเกิด lymphedema
ภายหลังการท้าหัตถการบางอย่าง(Iatrogenic lymphedema)
การผ่าตัด และการฉายรังสี จะเป็นมีการทำลายท่อน้ำเหลืองหรือเกิดพังผืดไปอุดกั้นท่อน้ำเหลือง จนเกิดภาวะ lymphedema
Recurrent cellulitis
การติดเชื้อในกลุ่ม streptococcusไม่ว่าจะเพียงครั้งเดียว
หรือหลายครั้ง มีผลทำให้เกิดcellulitusหรือlymphangitis
Inflammatory arthritis
เกิดได้ทั้งแขน ขา และบางทีอาจจะเป็นทั้ง 2 ข้าง พบได้ในโรคสะเก็ดเงิน(psoriasis)โดยยังไม่รู้สาเหตุที่ชัดเจน
โรคมะเร็ง
มะเร็งมีการแพร่กระจายไปทางท่อน้ำเหลืองและต่อมน้ำเหลือง
หรือมีการกดเบียด lymphatic ducts จากภายนอก
อาการบวมจากน้ำเหลือง
การกดบุ๋ม(pitting)
3+
กดบุ๋มลงไป 6 มม. สังเกตได้ชัด คงอยู่นานหลายนาที
4+
กดบุ๋มลงไป 8 มม. รอยบุ๋มลึกชัดเจน อยู่นานประมาณ 2-5 นาที
2+
กดบุ๋มลงไป 4 มม. สังเกตได้ยาก หายไปใน 15 วินาที
1+
กดบุ๋มลงไป 2มม. มองไม่เห็นชัดเจน รอยบุ๋มหายเร็ว
การรักษา
การรักษาด้วยความร้อน
ใช้ความร้อนจากคลื่นไมโครเวฟที่จะส่งผ่านไปยังชั้นเนื้อเยื่อไปกระตุ้นให้ระบบการหมุนเวียนเลือดและน้ำเหลืองดีขึ้น ครั้งละ30-45นาที/วัน
อาหาร
การงดอาหารเค็ม และ งดอาหารไขมันสูง
ยกอวัยวะที่บวมให้สูงไว้
ให้น้ำเหลืองที่คั่งคืนสู่กระแสเลือด
การใช้ยา
diethylcarbamazine citrate ,macrolide, ยาปฏิชีวนะivermectin
การพันผ้ายืด(Elastic bandage)
ไม่แน่น หรือหลวมไปสวมใส่ไว้ตลอด ทั้งกลางวัน และเวลานอน ถอดเฉพาะเวลาอาบน้ำ
การใช้ผ้าขันชะเนาะเพื่อลดบวม (Twisting Tourniquet decongestive therapy)
ใช้ผ้าชะเนาะที่ตัดเย็บพิเศษโอบรอบอวัยวะที่บวมแล้วขันให้แน่นด้วยไม้
การผ่าตัด
การตัดต่อหลอดน้ำเหลืองใหม่, การต่อหลอดน้ำเหลืองเข้ากับหลอดเลือดดำ หรือ การเฉือนเนื้อที่บวมออก
การนวดด้วยเครื่องอัดลม (Intermittent pneumatic compression)
ช่วยให้ขับน้ำส่วนเกินออกและสามารถใช้เป็นหลักหรือเป็นตัวเสริมในการรักษา
Complex physical therapy
ใช้กายภาพบำบัดเข้ามาช่วยเพื่อให้มีการระบายน้ำเหลืองได้ดีขึ้นรวมถึงการออกกำลังกายการใส่เสื้อผ้ากดรัดร่วมกับการทำครีมบำรุงผิวก่อนพันหรือสวมป้องกันอาการคัน
การพยาบาล
การระบายน้ำเหลืองหลังการผ่าตัด
การออกกำลังกาย
ประเมินการบวม
การประเมิน 5P
การอุดตันของท่อน้ำเหลือง
สาเหตุ
หลอดเลือดดำขอด ลิ้นหลอดเลือดดำเสื่อม ลิ่มหลอดเลือดดำลึก
เนื้องอกหลอดน้ำเหลือง
เนื้องอกหลอดเลือด
เนื้องอกปลอกหุ้มเส้นประสาท โรคทางพันธุกรรมของโรคโคโมโซมคู่ที่ 22
อาการบวมภายหลังการศัลยกรรม หรือทำรังสีบำบัด
SLE
หนอนพยาธิโรคเท้าช้าง
(Lymphatic filarial parasites)
เก๊าท์
เบาหวานลงเท้า
อาการ
อาการเด่นชัด คือ บวม
มีอาการเจ็บ ปวด พบได้น้อย
ช่วงเวลาแรกอาจจะไม่บวมชัดเจนแต่รู้สึกว่าใส่เสื้อผ้าแล้วจะคับกว่าปกติ
การเกิดพังพืดเกิดจากที่มีการอุดตันและเกิดการรั่วไปที่บริเวณเนื้อเยื่อผิวหนังรอบๆ พอมีโปรตีนสะสมแล้วไม่ได้กดนวด สะสมกลายเป็นพังพืด แข็ง หนาตัว
ตรวจวินิจฉัย
การตรวจวัดปริมาตรโดยการแทนที่น้ำ
การฉีดสารทึบรังสีเข้าไปประเมินการอุดกั้น
การวัดเส้นรอบวงของอวัยวะข้างที่บวมกับอวัยวะข้างที่ปกติ
การรักษา
การลดการบวม
ยกเท้าหรือแขนสูงกว่าหัวใจ
พันผ้ายางยืด
การขันชะเนาะของโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน
การนวดโดยนักกายภาพบำบัด
การใช้เครื่องอัดลม จะไล่ลมจากส่วนปลายไปที่ส่วนต้นอวัยวะ
การออกกำลังกาย
เฝ้าระวังการที่เนื้อเยื่อขาดเลือดไปเลี้ยง
ระบบไหลเวียนเลือดดำ
เส้นเลือดขอด
สาเหตุ
เกิดจากผนังหลอดเลือดและลิ้นควบคุมการไหลของเลือดที่อ่อนแอ
เมื่อลิ้นที่คอยเปิดปิดนี้อ่อนแอลง ลิ้นหลอดเลือดไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
จึงทำให้เลือดรั่วออกมาและไหลย้อนกลับไปที่ส่วนล่างของร่างกาย
ส่งผลให้เลือดสะสมในหลอดเลือดและเกิดอาการบวมพองตามมา
อาการ
ส่วนใหญ่เส้นเลือดขอดมักไม่แสดงอาการให้เห็น ยกเว้นจากการสังเกตความผิดปกติ
ได้แก่
มองเห็นเส้นเลือดคดเคี้ยวและนูนออกมา
เส้นเลือดปรากฏสีม่วงเข้มหรือสีฟ้าบริเวณขา
เมื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ หนักขา
บวม ร้อนขาส่วนล่าง
ปวดเมื่อนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน
เลือดออกจากเส้นเลือดขอด
ผิวหนังอักเสบหรือมีแผลพุพองบริเวณผิวหนังใกล้ข้อเท้า
ภาวะแทรกซ้อน
หลอดเลือดที่ขอดเกิดการอักเสบและอุดตัน
หากเกิดอุบัติเหตุแล้วเส้นเลือดขอดฉีกขาดจะเสียเลือดมาก
หากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจเกิดการแตกของเส้นเลือดขอดที่อยู่ชิดผิวหนัง
ทำให้มีแผลโดยตรงบนผนังหลอดเลือด ส่งผลให้เลือดออกเป็นจำนวนมากจากหลอดเลือดโดยตรง
การรักษาเเละการพยาบาล
การรักษา
การรักษาแบบประคับประคอง (Conservative Treatment)
สวมถุงน่องทางการแพทย์ชนิดใส่ใต้เข่าที่ขนาดของความดัดประมาณ 20-30 mmHg
ผลแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
ภาวะขาดเลือด ดังนั้นต้องตรวจสอบโดยการคลำชีพจรที่ข้อเท้าเสมอก่อนการใช้
การฉีดสารเคมีที่เส้นเลือดขอด (Sclerosing Therapy)
ข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยการฉีดยาเข้าหลอดเลือดขอด
หลอดเลือดขอดที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ประมาณ 0.5 mm
หลอดเลือดขอดที่มีขนาดอยู่ระหว่าง 1-3 mm
หลอดเลือดขอดเดี่ยว ๆ
หลอดเลือดขอดบริเวณใต้เข่า
ข้อห้าม
ประวัติการแพ้สารที่ใช้ฉีด
หลอดเลือดขอดอักเสบ
หลอดเลือดขอดขนาดใหญ่ร่วมกับปัญหาในหลอดเลือดดำส่วนลึก
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการฉีดย
การแพ้สารที่ฉีด
รุนแรง
ช็อคและเสียชีวิตได้
ไม่รุนแรง
อาการคัน
ขึ้นผื่น
การใช้เลเซอร์ความร้อนหรือคลื่นวิทยุความถี่สูง (Radio Frequency)
ใช้เวลาในการทำประมาณ 30 นาที
หลังการรักษาเส้นเลือดขอดจะยุบลงประมาณ 50% และอีกใน 6-8 สัปดาห์ จะยุบตัวลงอีก 90-100%
การผ่าตัด
งดน้ำและอาหาร 6 - 8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
ใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง
หลังผ่าตัดจะพันขาด้วย Elastic Bandage และแนะนำให้ใส่ถุงน่องชนิดพิเศษต่อ
นัดF/U 1 - 2 Week
การดูแลหลังกำจัดเส้นเลือดขอด
งดยกของหนัก หรือยืนนานๆ เป็นเวลา 3-7 วัน
ใส่ผ้ายืด หรือซัพพอร์ทในบริเวณที่ทำการรักษา เพื่อประคองกล้ามเนื้อและเส้นเลือดบริเวณนั้น
ควรออกกำลังกายด้วยการเดินทุกวัน เพื่อกระตุ้นให้ยากระจายตัวอย่างมีประสิทธิภาพ
ควรพบแพทย์ตามนัดภายใน 2 - 4 Week เพื่อติดตามผลการรักษา
การพยาบาล
1.จำกัดกิจกรรม Bed rest
2.ยกขาสองข้าง ทุก 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจสะดวกขึ้น
3.สวมถุงน่องหรือผ้ายืด เมื่อต้องยืนหรือนั่งเป็นเวลานานๆ
6.ประเมินอาการปวด บวม ลักษณะผิวหนังที่เปลี่ยนแปลง
4.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
5.บริหารข้อเท้า โดยเหยียดปลายเท้าและกระดกปลายเท้าสลับกันตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกา เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
ป้องกัน
ออกกำลังกาย การเดินเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการช่วยให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณขาดีขึ้น
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
เลี่ยงการนั่งหรือยืนนาน ๆ ให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ
บริหารข้อเท้าขณะนั่ง โดยเหยียดปลายเท้าและกระดกปลายเท้าสลับกันตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกาเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด
ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดขอด
1.การทำงานโดยต้องยืน เดิน นานๆ เช่น พนักงานขายสินค้า พนักงานเก็บค่าโดยสาร
2.จากกรรมพันธุ์ มีประวัติครอบครัวเป็นเส้นเลือดขอด
3.อายุที่เพิ่มมากขึ้น จะเป็นหลอดเลือดขอดเพิ่มขึ้น เนื่องจากความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของลิ้นหลอดเลือดลดน้อยลง
4.ฮอร์โมนเพศ ซึ่งเพศหญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศชาย
5.การมีน้ำหนักมากเกินไป คนที่น้ำหนักมากเลือดจะหมุนเวียนได้ไม่สะดวก จะเกิดการคั่งค้างของเลือดบริเวณขามากขึ้น ทำให้เกิดหลอดเลือดขอดได้มาก
6.จากการกระทบกระแทก หรือกดทับ เช่น ไขว่ห้าง ทำให้เลือดเดินไม่สะดวก
7.การใส่รองเท้าส้นสูง ซึ่งจะทำให้เลือดหมุนเวียนได้ไม่ดี
ตรวจวินิจฉัยโรค
ซักประวัติ
ตรวจร่างกาย
การตรวจด้วยอัลตราซาวนด์ชนิดพิเศษสำหรับหลอดเลือด
โรคหลอดเลือดดำอุดตัน
เป็นภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด และเป็นสาเหตุของการตายได้บ่อยถ้าก้อนเลือด (Thrombus) เคลื่อนไปอุดตันหลอดเลือดในปอด (pulmonary artery) ซึ่งเรียกว่า Pulmonary embolism
Virchow เสนอทฤษฎีที่อธิบายการเกิด deep vein thrombosis
การ stasis ของเลือด
Endothelial injury
Hypercoagulable ของเลือด
อาการและอาการแสดง
ร้อยละ 60 ไม่มีอาการ
แบ่งได้ 2 กลุ่ม
Calf vein thrombosis calf
ปวดและร้อนน่อง ข้อเท้าบวม มีไข้ต่ำๆ
ลิ่มเลือดมีโอกาสหลุดเป็น emboli
บางครั้งไม่จำเป็นต้องให้การรักษา
Iliofemoral thrombosis
ปวดกระจายทั่วขา บวมแบบกดบุ๋ม บวมกระจายถึงหัวเข่า
มีโอกาสขาเป็นสีเขียวคล้ำให้เกิด venous gangrene
การตรวจสืบค้นของภาวะหลอดเลือดดำขาอุดตัน
อัลตราซาวนด์ดูหลอดเลือดดำที่ขา
ตรวจหลอดเลือดดำตั้งแต่ common femoral vein
จนถึง popliteal vein
มีความไวและความจำเพาะค่อนข้างสูงในผู้ป่วยที่หลอดเลือดดำส่วนต้นอุดตัน
การฉีดหลอดเลือดดำ (venography)
ข้อเสียคือ เป็นวิธี invasive
เป็นมาตรฐาน (gold standard)
ของการวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดดำขาอุดตัน
ต้องใช้แพทย์ที่มีความชำนาญในการฉีดสี
ผู้ป่วยอาจเกิดอาการแพ้สารทึบแสงที่ฉีด
การรักษา
รักษาทั่วไป
ให้สารน้ำ นอนพัก และรักษาสาเหตุของ DVT
รักษาเฉพาะ
ให้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด anticoagulation
ฉีดสารละลายลิ่มเลือด Throbolysis ใช้กับผู้ป่วยเข่า
ใส่ที่กรอง Caval fillter ใน inferor vena cava
กรณีมีลิ่มเลือดหลุดลอยในกระแสเลือด
การพยาบาล
การดูแลภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาละลายลิ่มเลือด หรือ ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
การประเมินและดูแลอาการปวด ด้วยการประคบร้อนหรือเย็น
การให้ bed rest
การยกเท้าสูง ลดการบวมแต่ต้องระวัง pulmonary embolism
เปลี่ยนอิริยาบถทุก 2 ชม. นาน 5 นาที
ประเมิน 5P
โรคหลอดเลือดดำอักเสบ
เป็นภาวะที่เกิดจากการอักเสบของหลอดเลือดดำ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดสิ่งที่ตามมา ดังนี้ ปวด บวม แดง ร้อนและ/หรือ เห็นลำเส้นเลือดได้ อาจเกิดขึ้นได้จากการให้ยาทางหลอดเลือดดำระหว่างหรือหลังฉีดยาพบมากในผู้ป่วยที่ใส่สาย catheterเป็นเวลานาน
แบ่งเป็น 3 ลักษณะ
Mechanical Phlebitis (irritation by catheter)
สาเหตุ
Catheterมีขนาดใหญ่กว่าหลอดเลือดดำ
ใส่Catheterใกล้กับบริเวณข้อต่อหรือCatheterถูกผนังหลอดเลือดดำเมื่อมีการเคลื่อนไหว
การพยาบาล
ย้ายตำแหน่งCatheterและเริ่มให้สารละลายทางหลอดเลือดดำในตำแหน่งใหม่
ประคบด้วยความร้อนบริเวณที่เกิดPhlebitisเป็นเวลา 20นาที วันละ2-3ครั้ง
ควรใช้ Catheterที่สั้นที่สุดในเส้นเลือดดำใหญ่เพื่อส่งเสริมให้มีการไหลเวียนของ เลือดรอบๆCatheterและควรใช้Catheterที่ทำมาจาก vialon,ประเภท polyurethaneซึ่งจะช่วยลดกลไกการเกิดการระคายเคืองได้
บริเวณที่ใส่Catheterให้มีการเคลื่อนไหวน้อยที่สุด
หลีกเลี่ยงการใส่Catheterใกล้กับข้อต่อเพราะทำให้เคลื่อนไหวได้ยาก
2.Chemical Phlebitisn ( irritation by I.V.medication or fluid )
สาเหตุ
ความเป็นกรด-เบสของสารละลาย
การให้สารละลายที่เร็วเกินไป
การพยาบาล
ย้ายตำแหน่งCatheterและเริ่มให้สารละลายทางหลอดเลือดดำในตำแหน่งใหม่
ประคบด้วยความร้อนบริเวณที่เกิด Phlebitisเป็นเวลา 20นาที วันละ2-3ครั้ง
ควรใช้ Catheter ที่สั้นที่สุดในเส้นเลือดดำใหญ่เพื่อส่งเสริมให้มีการไหลเวียนของเลือด รอบๆCatheterและทำให้เลือดเจือจางได้ดีกว่า
การให้สารละลายที่เจือจางและการลดอัตราการไหลของสารละลายเพื่อให้เลือดเจือจางได้ดีกว่า
3.Bacterial or supperative Phlebitis (irritation by bacteriaor bacterial toxin)
สาเหตุ
การใส่Catheter โดยไม่ใช้หลักปราศจากเชื้อ
ยาหรือสารละลายมีการปนเปื้อน
ระยะเวลาในการลงเข็ม
การพยาบาล
ย้ายตำแหน่งCatheterและเริ่มให้สารละลายทางหลอดเลือดดำในตำแหน่งใหม่
ประคบด้วยความร้อนบริเวณที่เกิด Phlebitisเป็นเวลา 20นาที วันละ2-3ครั้ง
เก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อเพาะเชื้อ
ล้างมือทุกครั้งเมื่อมีการสัมผัสสายให้สารละลาย
ตรวจเช็ควันหมดอายุด้วยความระมัดระวัง
เปลี่ยน สายให้สารละลายและCatheterทุก 48 ชั่วโมง (ทุก 24ชั่วโมงสำหรับเลือด ผลิตภัณฑ์เลือด และสารละลายประเภทไขมัน )และเปลี่ยนตำแหน่งที่แทงเข็มด้วย