Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ, อ้างอิง สิรินาท…
บทที่ 8 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ
ระบบทางเดินหายใจ
ขบวนการแลกเปลี่ยน Gas เกิดที่ถุงลม จึงต้องส่งออกซิเจนไปให้ถึงให้ได้อย่างเพียงพอ
อัตราการหายใจ
2-12 m. ไม่เกิน 50 ครั้ง/นาที
1-5 ปี ไม่เกิน 40 ครั้ง/นาที
ตำ่กว่า 2 m. ไม่เกิน 60 ครั้ง/นาที
SpO2 > 95-100%
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
ลักษณะการหายใจ เสียงคล้ายเสียงคราง Stridor
อัตราการหายใจเร็วกว่าปกติ Tachypnea
หายใจช้ากว่าปกติ Bradypnea หายใจลำบาก Dypnea
การหายใจมีปีกจมูกบาน Nasal flaring
ขณะหายใจเข้ามีการยุบลง Retraction
Sternal retraction
Costal retraction
Subcostal retraction
เสียงหายใจผิดปกติ
Crepitation sound เกิดจากที่ลมผ่านท่อทางเดินหายใจที่มีน้ำ/เสมหะ เสียงแตกกระจายเป็นช่วงๆ พบได้ Pneumonia
Rhonchi sound เกิดจากมีการไหลเวียนวนของอากาศผ่านเข้าไปในส่วนของทางเดินหายใจที่ตีบแคบกว่าปกติ อาจเกิดจากเสมหะอุดตัน เยื่อบุทางเดินหายใจบวม หลอดลมบีบเกร็จ(ภูมิแพ้)
Stridor sound เกิดจากมีการตีบแคบบริเวรกล่องเสียง/หลอดลม ได้ยินตอนหายใจเข้าและออก คล้ายเสียงคราง พบได้บ่อยในกลุ่มอาการ Croup
Wheezing เกิดจากหลอดลมเล็กๆ / หลอดลมฝอยเกิดการบีบเกร็ง เสียงมีความถี่สูง/เสียงหวีด ได้ยินชัดช่วงหายใจออก พบใน Bronchial asthma , Bronchial hyperreactivity
กลไกการสร้างเสมหะ
กลไกทางธรรมชาติของร่างกายในการขจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจ
ประกอบด้วย 3 กลไก
การพัดโบกของขน Cilia
กลไกการไอ Cough Reflex
กระบวนการสร้างสารมูก Mucous
ลักษณะของเสมหะ
เสมหะเหนียว เป็นมูกคล้ายแป้งเปียก อยู่ติดรวมกันเป็นก้อน มีความยืดและหนืดมาก
เสมหะไม่เหนียว เป็นเมือกดหลว มีความยืดและความหนืดน้อย ไม่รวมตัวกันเป็นก้อน
ทำไมต้องเพิ่มน้ำใน Pt.ที่มีเสมหะ
Cilia ทำหน้าที่ในการพัดโบกได้ดีขึ้น Pt.ไอขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น
ให้เท่าไร? ขึ้นอยู่กับผลการประเมินจากสีปัสสาวะ เช่นขาดน้ำปัสสาวะสีเข้ม *การขาดน้ำPt.ปากแห้ง
ช่วยให้ความชุ่มชื้นต่อทางเดินหายใจ เสมหะเหนียวน้อยลงขับออกได้ดี
Croup
เป็นกลุ่มอาการอุดกลั้นทางเดินหายใจส่วนบนบริเวณกล่องเสียง Larynx และส่วนที่่อยู่ใต้ต่อมา
สาเหตุมีการอักเสบที่บริเวณ
กล่องเสียง Acute laryngitis
กล่องเสียง หลอดลมใหญ่ และหลอดลมฝอยในปอด Laryngotracheobronchitis
ฝาปิดกล่องเสียง Acute epiglottitis
เกิดการติดเชื้อ
Virus
Bacteria
H.influenzae
*S.pneumoniae gr.A Streptococus
อาการ
*Inspiratory stridor
*Barking cough
ไข้เจ็บคอ ,Dyspnea
Drooling
อาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
ไม่ตอบสนองต่อการพ่นยาทั่วไป ส่วนใหญ่พ่นด้วย Adrenaline ใส่ Endotracheal tube
*ปห.สำคัญ " เสี่ยงต่อการเกิดภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากมีการอุดกลั้นทางเดินหายใจ"
Tonsilitis/Pharyngitis
อาการ: ไข้ ปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ มีตุ่มใสหรือแผลตื้นที่คอหอย / เพดานปาก เกิดจาก Coxsackie Virus เรียกว่า Herpangina แนะนำให้กินยา Antibiotic ให้ครบ 10 วัน ป้องกัน
ไข้รูห์มาติก หัวใจรูห์มาติค
AGN
การผ่าตัด Tonsillectomy
ข้อบ่งชี้
การติดเชื้อเรื้อรัง Chronic tonsillitis / เป็นๆหายๆ Recurrent acute tonsillitis
มีไข้ เจ็บคอ เจ็บคอมากเวลากลืน/กลืนลำบาก รบกวนคุณภาพชีวิต หยุดเรียนบ่อยๆ
การอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้มีอาการ Snoring,Obstructive sleep apnea
Carcinoma of tonsils
การดูแลหลังผ่าตัด
รู้ตัวดี จัดให้นั่ง 1-2 ชม. อมน้ำแข็งก้อนเล็กๆ รับประทานอาหารเหลว ในรายที่ปวดแผลผ่าตัดให้ใช้กระเป๋าน้ำแข็งวางรอบคอ ปวดมากให้ยาแก้ปวด
สามารถกลับบ้านได้หลังผ่าตัด 24-48 ชม. รับประทานน้ำและอาหารได้ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
สังเกตอาการและการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด
อาจจะมีไข้ รู้สึกตึงๆ เสียงเปลี่ยนได้ อาการจะหายไปภายใน 1 สัปดาหื
ให้นอนตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อสะดวกต่อการระบายเสมหะ
หลังผ่าตัด 1-2 วันแรก เพด่านอ่อน/ผนังในคออาจบวมมาก ทำให้หายใจอึดอัด ไม่สะดวก ควรนอนศีรษะสูงใช้หมอนหนุน อมและประคบด้วยน้ำแข็งบ่อยๆ
ประคบ/อมน้ำแข็งควรประคบหรืออมประมาณทุกๆ 10 นาที จึงเอาออก และค่อยประคบหรืออมใหม่เป็นเวลา10 นาทีไปเรื่อย จนเลือดหยุด
หลีกเลี่ยงการแปลงฟันเข้าไปในช่องปากลึกเกินไป การออกแรงมากๆ เล่นกีฬาที่หักโหม หลังผ่าตัดภายใน 24-48 ชม.
รับประทานอาหารอ่อน เป็นอาหารเหลวหรืออาหารอ่อนที่เย็น หรือ ไอศสกรีม และกลั้วคอทำความสะอาดบ่อยๆ แปรงฟันหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง
หลังผ่าตัด 2-4 สัปดาห์ แผลจะหายเป็นปกติ
สาเหตุ:ติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส * Beta Hemolytic streptococcus gr.A (ภาวะแทรกซ้อนตามมา)
ไซนัสอักเสบ Sinusitis
ผลของการติดเชื้อ
ความดันในโพรงอากาศเป็นลบ เมื่อจาม สูด/ สั่งน้ำมูก เชื้อแบคทีเรียบริเวณ Nasopharynx เข้าไปในโพรงอากาศข้างจมุกได้ง่าย
การทำงานของ Cilia ผิดปกติ มีสารคัดหลั่งออกมามาก มีความหนืดมากขึ้น
เกิดการบวมของเยื่อบุในโพรงอากาศ เกิดภาวะอุดตั้นช่องระบายของโพรงอากาศข้างจมูก Osteomeatal complex เกิดการคั่งของสารคัดหลั่ง
ระยะ
Acute sinusitis ไม่เกิน 12 สัปดาห์
Chhronic sinusitis เกิน 12 สัปดาห์
สาเหตุ:เกิดจากการติดเชื้อ ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา
อาการ
ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว น้ำมูกไหล ไอ
ติดเชื้อแบคทีเรีย อาการนานกว่า 10 วัน อาการรุนแรง น้ำมูกใส/ข้นเหนียวเป็นหนอง ไอ ลมหายใจเหม็น ปวดหน้าผากและหัวคิ้ว
ไข้สูงมากกว่า 39 องศา
อาการ Acute รุนแรงกว่า Chronic
การวินิจฉัย
CT scan
การส่องไฟผ่าน Transilumination
X-ray paranasal sinus * อายุเกิน 6 ปี
การดูแลรักษา
ให้ยาแก้แพ้ เฉพาะในรายที่ไซนัสอักเสบเรื้อรังที่มีสาเหตุชักนำจาก"โรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้เท่านั้น" ลดอาการจาม น้ำมูกไหล เยื่อบุจมูกบวม *ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยเฉียบพลันเพราะจะทำให้จมูกและไซนัสแห้ง
ให้ยา Steroid เพื่ออลดอาการบวม การคั่งของเลือดที่จมูก
ให้ยาแก้ปวด ลดไข้
การล้างจมูก
การทำความสะอาดโพรงจมูก ช่วยชะล้างมูก คราบมูก หนองบริเวณโพรงจมูก/ไซนัส และหลังโพรงจมูกออก ทำให้โพรงจมูกสะอาด ป้องกันการลุกลามของเชื้อโรคจากจมุกและไซนัสไปสู่ปอด
ล้างจมูกก่อนใช้ยาพ่นจมูก
ล้างจมูกวันละ 2-3 ครั้ง ลดปวด
ใช้ 0.9% NSS ในการล้าง จะช่วยลดความเหนียวของน้ำมูก เชื้อโรคไม่เจริญเติบโต
ให้ยา Antibiotic ตามแผนการรักษา
หอบหืด Asthma
ภาวะที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม Chronic airway inflammation
ผลของการอักเสบ
เยื่อบุผนังหลอดลมมีปฏิกริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้มากกว่าปกติ Bronchial hyper-reactivity มีความไวต่อสิ่งกระตุ้น เกิดพยาธิสภาพ 3 อย่าง
หลอดลมตีบแคบลง Stenosis เยื่อบุภายในหลอดลมบวมขึ้น
สร้างเมือกเหนียวจำนวนมาก Hypersecretion ช่องทางเดินอากาศในหลอดลมแคบลง เกิดอาการหอบหืดขึ้น
หลอดลมหดเกร็จตัว Brochospasm
อาการ
เริ่มต้นด้วยอาการ หวัด ไอ มีเสมหะ ถ้าไอมากขึ้นๆเรื่อย ก็มักจะมีเสียง Wheezing ในช่วงหายใจออก ร่างกายขาด O2 มาก จะเกิดการหอบมาก ปากซีดเขียว ใจสั่น
Pt.บางคนมีอากาารไออย่างเดียว มักจะมีอาการอาเจียนร่วมด้วย อาการไอจะดีขึ้น เมื่อได้อาเจียนเอาเสมหะเหนียวๆออกมา
ความรุนแรง
ขั้นปานกลาง:ตื่นกลางคืนบ่อยๆ วิ่งเล่นซนไม่ค่อยได้ ขณะเล่นมักไอ มีเสียง Wheezing ไปด้วย
ขั้นรุนแรง:กระสับกระส่ยจนนอนไม่ได้ เล่นซนไม่ได้ เหนื่อย หอบจนพูด/กินอาหารไม่ได้
ขั้นเล็กน้อย:เริ่มไอ / มีเสียงวี้ด เล่นซนได้ตามปกติ
การรักษา
การลดอาการของเด็ก ให้เด็กมีกิจกรรมได้ตามปกติ พยายามหลีกเลี่ยงจากสิ่งกระตุ้นและการใช้ยาอย่างถุกต้อง
ยาที่ใช้
ยาขยายหลอดลม Relievers มีทั้งชนิดพ่นและชนิดรับประทาน
*ชนิดพ่น ให้ผลเร็ว ช่วยให้หายใจโล่งขึ้น ได้แก่ Venntolin
การใช้ Baby haler
ต้องล้างทำความสะอาดบ่อยๆ แต่ไม่จำเป็นต้องทุกครั้งหลังใช้ ล้างด้วยน้ำยาล้างจานตากให้แห้ง ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดถู เเพราะจะทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตที่ผนังของ Spacer
หลังทำความสะอาด
พ้นยาทิ้ง 1 ครั้ง เพื่อให้ยาจับผนังของ Spacer ก่อน
การพ่นยาครั้งต่อๆไป ยาก็จะเข้าผู้ป่วย
ยาลดการบวมและการอักเสบบของหลอดลม Steroid ควรใช้เพียงระยะสั้นๆ 3-5 วัน ได้แก่ Dexa, Hydrocortisone ให้ภายใต้แผนการรักษาของแพทย์เท้านั้น
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
หมอน ซักผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ไม่นำสัตว์เลี้ยงเข้าห้องนอน
ไม่ควรมีตุ๊กตาที่มีขนในห้องนอน ไม่ใช้พรมในห้องนอน ควรเช็ดฝุ่นทุกวัน
การออกกำลังกายที่หนักเกินไป
ตัวไรฝุ่น
อากาศเย็น
ควันบุหรี่
หลอดลมอักเสบBronchitis หลอดลมฝอยอักเสบ Bronchiolitis
กลไกการเกิด:เชื้อไวรัสทำลายเนื้อเยื่อของหลอดลมฝอยทำให้เกิดอาการอักเสบ บวม มีการคั่งของเสมหะเกิดการอุดกั้นของหลอดลมฝอย Atelectasis
อาการ: เริ่มจากไข้หวัด น้ำมูุกใส จาม เบื่ออาหาร ต่อมาไอเป็นชุดๆ ร้องกวน หายใจเร็วหอบ ปีกจมูกบาน ดูดนม/น้ำได้น้อย ไม่ดูดเลย
สาเหตุ: เนื่องจากมีการอักเสบและอุดกลั้นของหลออดลม เชื้อที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อย คือ Respiratory syncytial virus :RSV เด็กที่ไม่กินนมแม่จะพบได้ค่อนข้างสูง และพบในเด็กเล็กมากว่าเด็กโต (อายุประมาณ 6 m. พบบ่อยสุด)
การรักษา
ดูแลให้ได้รับ O2 อย่างเพียงพอ รับน้ำ ดูแลไข้
ดูแลปัญหาการติดเชื้อ เสริมสร้างภูมิต้านทาน ให้อาหารที่มีประโยชน์
ให้ยาลดไข้ ยาปฏิชีวนะ ยาต้านการอักเสบCorticosteroid ยาขยายหลอดลม
ปอดบวมPneumonia
อาการ:ไข้ ไอ หอบ ดูดน้ำ ดูดนมน้อยลง ซึม
เกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกใช้ตัดสิน
เด็กอายุ 2 m.ถึง 1 ปี อัตราการหายใจมากกว่า 50 ครั้ง/นาที
เด็กอายุ1-5 ปี อัตราการหายใจที่มากกว่า 40 ครั้ง/นาที
เด็กแรกเกิดอัตราการหายใจถี่มากกว่า 60 ครั้ง/นาที
สาเหตุ:สำลักสิ่งแปลกปลอม ติดเชื้อ แบคทีเรีย ไวรัส
การรักษา
ดูแลเรื่องไข้ Clear airway suction
ดูแลแก้ไขปัญหาพร่องออกซิเจน ให้ยาขยายหลอดลม ยาขับเสมหะ ยาฆ่าเชื้อ
ดูแลให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
การพยาบาล
Postural drainage ช่วยทำให้เสมหะที่อยู่ส่วนปลายถูกกระตุ้นให้้เลื่อนขึ้นมาถึงปลายสสายดูดเสมหะ ช่วยให้เสมหะถูกดูดออก
จัดให้นอนศีรษะสูง นอนทับข้างที่มีพยาธิสภาพ
เสมหะอยู่ลึก ให้ Postural drainage โดยการเคาะปอดและSuction ป้องกัน Atelectasis
ดูแลให้ได้รับ O2 อย่างเพียงพอตามแผนการรักษา
เด็กโตสอนการไออย่างถูกวิธี กระตุ้นให้ดื่มน้ำมากๆ
ปห.การอุดกั้นทางเดินหายใจเป็นปห.สำคัญที่จำเป็นต้องดูแลแก้ไข
การระบายเสมหะ
การเคาะ Percussion:ใช้อุ้งมือไม่ควรใช้ฝ่ามือ ทำมือให้เป็นลักษณะคุ้ม นิ้วแต่ละนิ้วชิดกัน "Cupped hand" เคาะบริเวณทรวงอก ใช้ผ้ารองบนส่วนที่จะเคาะ เคาะแต่ละท่าใช้เวลา 1 นาที *Pt.ไอขณะเคาะควรหยุดเคาะ ใช้การสั่นสะเทือนแทน ควรเคาะก่อนรับประทานอาหาร ท้องว่าง หลังรับประทานอาหารอย่างน้อย 2 ชม.
การสั่นสะเทือน Vibration:ใช้มือวางราบพร้อมทั้งหดเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณต้นแขนและหัวไหล่ในจังหวะการหายใจเข้าเต็มที่ และกำลังหายใจออก
กาารจัดท่าผู้ป่วย: Postural drainage:เป็นวิธีการที่อาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก Gravity จัดให้ส่วนของปอดที่ต้องการระบายอยู่เหนือกว่าหลอดลมและปาก
Anterior นอนหงาย Posterior นอนคว่ำ
Right นอนตะแคงซ้าย Left นอนตะแคงขวา
Upper นอนศีรษะสูง Lower นอนศีรษะต่ำ
การสอนการไออย่างมีประสิทธิภาพ Effective cough:หายใจเข้าเต็มที่ช้าๆ กลั้นไว้สักครู่ และไอออกมาโดยเร็วและแรง
การพ่นยาในเด็ก
ประโยชน์
เพิ่มประสิทธิภาพในการไอขับเสมหะ
ให้ความชุ่มชื้นแก่อากาศ/ก๊าซที่หายใจเข้า
ง่ายต่อการระบายออกจากปอด
เป็นหนทางในการบริหารยาทางระบบหายใจ
เสมหะที่เหนียวอ่อนตัวลง
ข้อปฏิบัติ "Neubulizer"
เคาะกระเปาะพ่นยาเป็นระยะๆ ไม่ให้ยาตกค้าง จนกว่ายาจะหมด 10 นาที
ไม่เห็นละอองยา หรือละอองยาออกไม่หนาแน่นเท่าที่ควร สำรวจเครื่องพ่นยา
ใช้มือประคองกระเปาะพ่นยา อุณหภูมิคงที่
เปิด O2 6-8 ลิตรต่อนาที
ไม่ควรให้เด็กร้อง ยาเข้าสู่ปอดน้อยลง
การให้ออกซิเจนในเด็ก
Nasal cannula: O2 ที่ต้องการความเข้มข้นไม่สูงมาก ในเด็กเล็กปรับอัตราการไหลไม่เกิน 2 lit/min เด็กโตปรับที่ 2 lit/min
Oxygen hood/Box: เป็นกล่องพลาสติก วางครอบศีรษะเด็ก เหมาะกับทารกแรกเกิดและเด็กเล็ก ความเข้มข้นของ O2ประมาณ 30-70% ขึ้นอยู่กับขนาด Hood/Box เปิด O2 อย่างน้อย 7 lit/min *Hood เล็ก เปิด O2 ไม่จำเป็นต้องมากเปิด 3-5 lit/min ไม่ลด Flow rate ลงเหลือน้อยกว่า 3 lit/min
Face mask: เป็น O2 แบบหน้ากากครอบบริเวณจมูกและปากมีสายรัดเสมหะ เหมาะกับ Pt.ที่ต้องการO2 ระดับปานกลาง ความเข้มข้น 35-50% เปิดO2 fiow rate 5-10 lit/min ไม่ควรให้น้อยกว่า 5 lit/min
หลักการให้คำแนะนำ
บวมให้ยาลดบวม อัดเสบติดเชื้อให้ยา ATB ตีบให้ยาขยาย มีเสมหะเอาเสมหะออก/ลดไม่ให้สร้างมากขึ้น
ให้ออกซิเจนก็เลือกตามความเหมาะสมกับเด็กตามแผนการรักษาของแพทย์
การดูแลเด็กที่มีปห.พร่องออกซิเจน หลักสำคัญคือต้องแก้ไขเส้นทางผ่านของออกซิเจน เพื่อให้ออกซิเจนลงไปถึงจุดที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซให้ได้
อ้างอิง
สิรินาท เรืองเผ่าพันธุ์.2017.การดูแลภาวะพร่องออกซิเจนในเด็ก.สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2563 จากเว็บไซต์:
http://www.http://acmrrama.com/