Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Bone Fracture การดูแลดามกระดูก - Coggle Diagram
Bone Fracture
การดูแลดามกระดูก
ประเภทของกระดูกหัก
:red_flag:
แบ่งตามลักษณะแผล
Closed Fracture
กระดูกหัก แต่ผิวหนังไม่ได้รับบาดเจ็บใด ๆ
Open Fracture
กระดูกที่ทิ่มผิวหนังออกมาหรือได้รับบาดเจ็บจนผิวหนังเปิด ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้สูง
ตามลักษณะการหัก
Simple Fracture
กระดูกที่แตกออกเป็น 2 ชิ้น
Compression Fracture
กระดูกที่เกิดการยุบตัวเมื่อได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรง
Spiral Fracture
ภาวะกระดูกที่หักเป็นเกลียว ซึ่งเกิดจากกระดูกถูกบิด
Greenstick Fracture
กระดูกที่แตกเพียงด้านเดียว ส่วนกระดูกอีกด้านโก่งไปตามแรงกดที่ปะทะเข้ามา
Comminuted Fracture
ภาวะที่กระดูกแตกออกเป็น 3 ชิ้นขึ้นไป
Transverse Fracture
กระดูกที่แตกออกตามแนวขวางซึ่งเป็นส่วนที่สั้นของกระดูก ไม่ได้เกิดรอยแตกไปตามแนวยาวของกระดูก
Oblique Fracture
กระดูกที่เกิดการแตกเป็นแนวโค้งหรือลดหลั่นลงมา
Avulsion Fracture
กระดูกที่หักจากแรงกระชาก มักพบที่หัวไหล่และหัวเข่า
Impacted Fracture
ภาวะที่กระดูกทั้ง 2 ด้านได้รับแรงกด ส่งผลให้กระดูกแตกทั้ง 2 ด้าน
Stress Fracture
กระดูกที่ปริออกจากกัน ซึ่งเกิดจากการใช้งานซ้ำ ๆ
Pathologic Fracture
ภาวะกระดูกหักที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของกระดูกหรือการป่วยเป็นโรคที่ท้าให้มวลกระดูกเสื่อมลง
สาเหตุ
:!!:
ถูกตีหรือได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรง
ประสบอุบัติเหตุ
ตกลงมาจากที่สูง
ได้รับแรงกระแทกจากการเคลื่อนไหว
ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนหรือมะเร็งบางชนิด
ในกรณีของเด็กที่กระดูกหัก อาจเกิดจากการถูกทารุณกรรม
การวินิจฉัย
:question:
X-RAY
MRI
CT scan
การรักษา
:recycle:
การจัดเรียงกระดูก
ใส่เฝือก
การผ่าตัด
อาการ
:warning:
ปวดกระดูก/รอบๆ อาการจะแย่ลงเมื่อเคลื่อนไหว
อาการบวมบริเวณกระดูกที่ได้รับบาดเจ็บ
อวัยวะผิดรูป เกิดการหักบิดในลักษณะที่ผิดปกต
เคลื่อนไหวแขนขาได้น้อยหรือเคลื่อนไหวไม่ได้เลย
รู้สึกชา และเกิดเหน็บชา
เกิดกระดูกทิ่มผิวหนังออกมา
การดามกระดูกบริเวญอวัยวะต่างๆ
:star:
กระดูกปลายแขนหัก
ใช้ไม้แผ่นแบนๆหรือหนังสือพิมพ์พับหนาๆให้มีความยาวตั้งแต่ ปลายนิ้วถึงข้อศอกใช้ เป็นเฝือกแล้วพันด้วยเชือกหรือผ้ายืดให้กระชับใช้ผ้าคล้องคอห้อยแขนข้างที่หักไว้
กระดูกแขนและไหปลาร้าหัก
ใช้ผ้าคล้องแขนแล้วผูกกับคอใช้ผ้าอีกผืนพันรัดแขนข้างที่หักให้ติดกับลำตัว กระดูกแขนหักบริเวณข้อศอกอาจจะหักตอนปลายของกระดูกต้นแขนหรือส่วนบนของกระดูกปลายแขนอย่าพยายามงอแขน เพื่อคล้องแขนให้ดามแขนในลักษณะตรง
กระดูกขาท่อนล่างหัก
ควรดามโดยใช้ เฝือก 2 อันยาวตั้งแต่ ส้นเท้าถึงเหนือเข่าและใช้ผ้าผูกติดกันเป็นเปลาะๆ ใช้ผ้าหนาๆสอดระหว่างขาทั้ ง 2 ข้างแล้วผูกติดกันเป็นเปลาะๆข้อควรระวังควรให้ ปลายเท้าตั้งฉากเสมอและคอยตรวจดูว่าผ้าที่มัดไว้แน่นเกินไปจนเลือดไหลไม่สะดวกหรือไม่และพยายามอย่าเคลื่อนไหวส่วนที่รัด
กระดูกต้นขาหัก
ใช้เฝือก 2 ชิ้นโดยชิ้นหนึ่งยาวตั้งแต่ส้นเท้าถึงใต้รักแร้อีกชิ้นยาวตั้งแต่ส้นเท้าถึงโคนขาแล้วใช้ผ้าผูกเผือกทั้ง 2 ให้ติดกับขาข้างที่หักถ้าไม่มีเฝือกให้ผูกขาทั้ง 2 ข้างติดกันถ้ามีบาดแผลหรือกระดูกโผล่อย่าพยายามล้างทำความสะอาดถ้ามีเลือดออกใช้ผ้าปิดแผลห้ามเลือดก่อน
กระดูกเชิงกรานหัก
ใช้ วิธีผูกขาทั้ง 2 ข้ างติดกันโดยสอดผ้าสามเหลี่ยมพับกว้างๆ 2 ข้างไว้ใต้ ตะโพกและเชิงกรานผูกปมตรงกลางลำตัววางผ้านุ่มๆระหว่างขาทั้ง 2 ข้างบริเวณเข่าและข้อเท้าแล้วผูกติดกันด้วยผ้าสามเหลี่ยมพับผูกเป็นเลข 8 และผูกผ้ารอบเข่าทั้ง 2 ข้าง
กระดูกสันหลังหัก
จะมีอันตรายร้ายแรงกว่ากระดูกสันหลังส่วนล่างหักดังนั้นการเคลื่อนย้ายต้องทำด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะส่วนที่หักอาจจะไปกดหรือบาดไขสันหลังให้ขาดได้ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ก็เป็นอัมพาตไม่ แนะนำให้ทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเองควรแจ้งขอความช่วยเหลือจากหน่วยแพทย์