Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของ ระบบทางเดินอาหาร นางสาวศิริรัตน์ หันประดิษฐ์ เลขที่ 15…
ความผิดปกติของ
ระบบทางเดินอาหา
ร
นางสาวศิริรัตน์ หันประดิษฐ์
เลขที่ 15 ห้อง B
ท้องผูก
ความหมาย
ท้องผูก (Constipation) เป็นอาการถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติหรือถ่ายอุจจาระไม่ออกเป็นเวลานาน ซึ่งพฤติกรรมและความถี่ในการถ่ายอุจจาระปกติของแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกัน แต่ในทางการแพทย์มักหมายถึงการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
สาเหตุ
ท้องผูกเป็นอาการที่มักเกิดขึ้นได้บ่อยเมื่อลำไส้มีการบีบตัวหรือเคลื่อนตัวช้าในระหว่างการย่อยอาหาร ทำให้ไม่สามารถกำจัดอุจจาระออกจากระบบทางเดินอาหารได้อย่างปกติ จึงเกิดการตกค้างในลำไส้ใหญ่เป็นเวลานานจนมีการดูดน้ำในอุจจาระกลับ อุจจาระจึงมีลักษณะแห้ง แข็ง และมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ถ่ายออกได้ลำบาก
อาการ
ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์หรือน้อยกว่าปกติที่เคยเป็น
อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง เป็นเม็ดเล็ก ๆ
รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่ออก หรือถ่ายได้ไม่สุด
ถ่ายอุจจาระออกได้ยาก ต้องใช้แรงเบ่งมากหรือใช้มือช่วยล้วง อาจมีอาการเจ็บขณะถ่ายอุจจาระร่วมด้วย
ท้องอืด ปวดท้อง หรือปวดเกร็งบริเวณหน้าท้อง
การรักษา
การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและรับประทานอาหาร
รับประทานอาหารที่มีกากใยสูงอย่างน้อย 18-30 กรัมต่อวัน โดยเฉพาะผักและผลไม้สด ธัญพืช หรือเติมสารเพิ่มปริมาณ (Bulking Agents) ในอาหารที่รับประทาน เช่น รำข้าวสาลี เพื่อช่วยให้อุจจาระมีความอ่อนตัวมากขึ้นและง่ายต่อการขับถ่าย
ดื่มน้ำอย่างน้อย 2 ลิตร เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะการขาดน้ำ และไม่ทำให้อุจจาระแข็งจนเกินไป
ออกกำลังกายด้วยการเดินเป็นระยะเวลา 10-15 นาที วันละหลาย ๆ ครั้ง เพื่อฝึกกล้ามเนื้อให้ทำงานได้เป็นปกติ
ปรับพฤติกรรมการขับถ่ายให้เป็นเวลาในแต่ละวัน ไม่ควรมีการอั้นอุจจาระหรือรีบร้อนในการขับถ่าย
ไม่ควรใช้ยาระบายติดต่อกันเกิน 1 สัปดาห์ และควรมีการปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
รักษาด้วยการใช้ยา
เมื่อการปรับพฤติกรรมในข้างต้นยังไม่ช่วยให้อาการท้องผูกดีขึ้น การรับประทานยาจะช่วยให้การขับถ่ายอุจจาระทำได้ง่ายขึ้น โดยตัวยาสามารถแบ่งออกได้หลายชนิด และแต่ละชนิดออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหารที่แตกต่างกั
รักษาด้วยซินไบโอติก (Synbiotic)
ถือเป็นการรักษาทางเลือกที่เกิดจากการนำจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์อย่างโพรไบโอติก และอาหารของจุลินทรีย์อย่างพรีไบโอติกมารวมเข้าด้วยกันเป็นซินไบโอติก เพราะซินไบโอติกบางชนิดอาจช่วยเสริมสร้างระบบทางเดินอาหารให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น โดยช่วยบรรเทาอาการท้องผูก ท้องเสีย หรือลำไส้แปรปรวนได้
การฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน หรือที่เรียกว่า ไบโอฟีดแบ็ก (Biofeedback Training)
เป็นการฝึกควบคุมการทำงานและผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน โดยจะมีการสอดอุปกรณ์เข้าไปทางทวารหนัก จากนั้นนักกายภาพบำบัดจะบอกให้ผู้ป่วยลองขมิบหรือคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งเครื่องมือที่ถูกสอดเข้าไปจะบันทึกและประเมินการทำงานของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการขับถ่ายอุจจาระ
การผ่าตัด
มักใช้ในกรณีที่การรักษาอื่น ๆ ในข้างต้นไม่ได้ผลดีและอาการท้องผูกรุนแรง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการลำไส้เกิดการอุดตัน ตีบแคบ หรือหย่อนออกมา โดยแพทย์อาจจะมีการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ในบางช่วงออก
ภาวะแทรกซ้อน
อาการท้องผูกโดยทั่วไปไม่ค่อยก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บในขณะขับถ่าย แต่หากเกิดอาการท้องผูกบ่อยมากขึ้นอาจส่งผลให้อุจจาระตกค้างอยู่ภายในลำไส้จนแห้งและแข็ง ทำให้ถ่ายออกได้ลำบากหรือไปเสียดกับผนังลำไส้และทวารหนักขณะถ่าย จึงอาจทำให้ถ่ายเป็นเลือด ในบางรายอาจพัฒนาเป็นแผลแตกรอบ ๆ ทวารหนักหรือโรคริดสีดวงทวารขึ้นได้ เนื่องจากต้องใช้แรงเบ่งในการขับอุจจาระ
ท้องเสีย
ความหมาย
ท้องเสีย หรือ อุจจาระร่วง (Diarrhea) เป็นอาการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำมากกว่าปกติ หรือในบางครั้งถ่ายเป็นมูกปนเลือด มักเกิดจากการติดเชื้อหรือภาวะอาหารเป็นพิษ หลังจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป โดยอาการจะเกิดขึ้นในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน แต่ในบางรายอาจอาการเรื้อรังเป็นเวลานาน ซึ่งอาจเกิดจากโรคอื่น ๆ ได้ เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory Bowel Disease: IBD) หรือโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS)
สาเหตุ
โดยปกติลำไส้จะดูดซึมสารอาหารในรูปแบบของเหลวจากสิ่งที่รับประทานเข้าไปในร่างกายจนเหลือแต่กากใยทิ้งไว้ แต่เมื่อเกิดอาการท้องเสียขึ้น ทำให้ลำไส้ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ สารอาหารเหล่านั้นจึงไม่ถูกดูดซึมและถูกขับออกมาจากร่างกาย
ท้องเสียแบบเฉียบพลัน
การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียที่มักปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร และก่อให้เกิดอาการท้องเสียตามมา ได้แก่ เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เชื้อซาลโมเนลลา เชื้อชิเกลลา และเชื้ออีโคไล
การติดเชื้อไวรัส มีไวรัสหลายชนิดที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสีย เช่น โรต้าไวรัส โนโรไวรัส ไซโตเมกาโลไวรัส เฮอร์พีส์ซิมเพล็กซ์ไวรัส ไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น
การได้รับเชื้อปรสิต เชื้อปรสิตสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านอาหารและน้ำที่ปนเปื้อน และอาศัยอยู่ในระบบย่อยอาหารของคนเรา เชื้อปรสิตที่มักพบ คือ เชื้อไกอาเดีย เชื้อแอนตามีบาฮิสโตลิติกาหรือเชื้อบิดอะมีบา และเชื้อคริปโตสปอริเดียม
ท้องเสียแบบเรื้อรัง
โรคในระบบทางเดินอาหารและโรคลำไส้ผิดปกติ เช่น โรคโครห์น โรคลำไส้อักเสบ โรคเซลิแอคหรือแพ้กลูเตน โรคลำไส้แปรปรวน โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
อาหาร บางคนอาจมีปัญหาในการย่อยสารอาหารบางประเภท อย่างการขาดน้ำย่อยสำหรับย่อยน้ำตาลแล็กโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่พบมากในนมหรือผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนม นอกจากนี้ การรับประทานสารทดแทนความหวานในปริมาณมากก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียได้เช่นกัน
การตอบสนองต่อยาบางประเภท ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคมะเร็ง รวมถึงยาลดกรดที่มีแมกนีเซียม สามารถทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
การผ่าตัด อาการท้องเสียอาจเกิดขึ้นหลังจากเข้ารับการผ่าตัดบางชนิด อย่างการผ่าตัดลำไส้ หรือการผ่าตัดนำถุงน้ำดีออกไป
อาการ
อาการของโรคที่พบได้บ่อย จะมีการถ่ายอุจจาระเหลว ถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป ถ่ายบ่อยกว่าปกติของแต่ละคน หรือถ่ายเป็นมูกปนเลือด 1 ครั้งหรือมากกว่านั้นภายใน 24 ชั่วโมง ในบางรายอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อ่อนเพลีย รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว และมีไข้
การรักษา
กรณีที่ผู้ป่วยท้องเสียอย่างเฉียบพลัน ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเฉพาะ เพราะอาการป่วยจะค่อย ๆ ดีขึ้นเองตามลำดับ แต่ผู้ป่วยก็ควรดื่มน้ำมาก ๆ หรือดื่มผงน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอส (ORS) เพื่อชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไป
รับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการท้องเสียตามที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำอย่างยา Diosmectite ควบคู่ไปกับการดื่มน้ำและผงเกลือแร่ซึ่งเป็นการรักษาหลักก็อาจช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
โรคลำไส้แปรปรวน
ภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง
กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกยูรีเมีย หากท้องเสียจากการติดเชื้อบางชนิด
ร่างกายส่วนอื่นตอบสนองต่อการติดเชื้อในทางเดินอาหารจนเกิดการอักเสบตามไปด้วย
การติดเชื้อลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย