Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร (นางสาวสุพรรษา กาญจนะ เลขที่59ห้องB) -…
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
(นางสาวสุพรรษา กาญจนะ เลขที่59ห้องB)
ภาวะท้องผูก
ท้องผูก (Constipation) เป็นอาการถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติหรือถ่ายอุจจาระไม่ออกเป็นเวลานาน ซึ่งพฤติกรรมและความถี่ในการถ่ายอุจจาระปกติของแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกัน แต่ในทางการแพทย์มักหมายถึงการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
อาการของท้องผูก
ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์หรือน้อยกว่าปกติที่เคยเป็น
อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง เป็นเม็ดเล็ก ๆ
รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่ออก หรือถ่ายได้ไม่สุด
ถ่ายอุจจาระออกได้ยาก ต้องใช้แรงเบ่งมากหรือใช้มือช่วยล้วง อาจมีอาการเจ็บขณะถ่ายอุจจาระร่วมด้วย
ท้องอืด ปวดท้อง หรือปวดเกร็งบริเวณหน้าท้อง
สาเหตุ
1.สาเหตุที่เกิดจากโรคทางกาย ได้แก่ เบาหวาน
ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง โรคทางระบบประสาทต่างๆ เช่น ได้รับบาดเจ็บหรือมีโรคที่สมองหรือไขสันหลัง โรคพาร์กินสัน เป็นต้น
2.สาเหตุจากยาที่รับประทานประจำ ยาที่พบว่าทำให้เกิดท้องผูกบ่อย ได้แก่ กลุ่มยาทางจิตเวช เช่น ยาที่รักษาอาการซึมเศร้า ยาลดการบีบเกร็งของลำไส้ที่ใช้แก้ปวดท้อง เช่น ยาแก้ปวด Buscopan ยารักษาโรคพาร์กินสัน และยาแก้แพ้บางชนิดที่ใช้กันเป็นประจำ เช่น Chlorpheniramine (CPM) ยากันชัก เช่น Dilantin
3.การอุดกั้นของลำไส้ การอุดกั้นของทางเดินอาหารสามารถทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ ซึ่งภาวะดังกล่าว ได้แก่ มะเร็งหรือเนื้องอกของลำไส้ใหญ่และทวารหนักลำไส้ตีบตันจากสาเหตุต่างๆ ความผิดปกติที่ทวารหนัก เช่น ทวารหนักกลืนกัน ทวารหนักปลิ้น ทวารหนักเป็นกระเปาะยื่นเข้าช่องคลอด (ในสตรี) หรือรูทวารหนักตีบตัน หรือมีการลดน้อยลงของปมประสาทบริเวณลำไส้ใหญ่มาแต่กำเนิด (Hirschprung’s disease)
4.สาเหตุที่เกิดจากการทำงานของลำไส้หรือกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่ายผิดปกติ ได้แก่ การเบ่งไม่เป็นโดยมีการบีบตัวของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักไม่ประสานกับการเบ่ง การเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่น้อยกว่าปกติหรือมีการเคลื่อนไหวไม่ประสานกันทำให้อุจจาระเคลื่อนไหวภายในลำไส้ใหญ่ช้ากว่าปกติ และภาวะลำไส้แปรปรวน
ภาวะแทรกซ้อน
ทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวารหรือแผลปริรอบๆทวารหนักจากอุจจาระที่แห้งแข็งครูดหลอดเลือดจนฉีกขาด
ทำให้ความดันในช่องทรวงอกเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยโรคหัวใจอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้
ทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้นซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดตาและหู
ทำให้แรงดันในช่องท้องสูงขึ้นจนเป็นสาเหตุของไส้เลื่อนได้
ทำให้กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานอ่อนแอ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ท้องผูกเรื้อรังจนทำให้มีอาการของลำไส้อุดตัน ได้แก่ ปวดท้องมาก อึดอัดแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน ไม่ผายลม และไม่ถ่ายอุจจาระ
ลำไส้บวมและโป่งพอง (Acquired megacolon or megarectum)
แนวทางการดูแล
รับประทานอาหารที่มีกากใยหรือไฟเบอร์มากขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณอุจจาระและกระตุ้นการเคลื่อนตัวภายในลำไส้ใหญ่ให้เร็วขึ้น
ออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ เพื่อให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
ดื่มน้ำให้เพียงพอและสม่ำเสมอ เพื่อให้อุจจาระอ่อนนุ่มถ่ายง่าย
รับประทานอาหารเช้าทุกวัน เพราะอาหารเช้าช่วยให้กระเพาะอาหารขยายตัวแล้วไปกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่ทำงานเกิดเป็นความรู้สึกอยากถ่าย
กรณีนอนติดเตียง ควรจัดท่านั่งศีรษะสูงในการขับถ่ายอุจจาระ
กรณีที่อุจจาระอัดแน่นให้ทาการล้วง (Evacuation) ด้วยความนุ่มนวล
ปัญหาของภาวะท้องผูก
การรับประทานอาหารที่ไม่สม่ำเสมอ และมีปริมาณเส้นใยไม่เพียงพอ
ขาดการออกกำลังกาย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ)
กลุ่มอาการลำไส้ทำงานแปรปรวน
การใช้ยาระบายที่ไม่ถูกต้อง
การละเลยที่จะออกแรงเบ่งเพื่อขับถ่ายอุจจาระ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
โรคหรือสภาวะบางอย่าง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง
ได้รับยาบางชนิด เช่น ยาระงับปวด (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มยาระงับปวดที่เป็นสารเสพติด) ยารักษาโรคพาร์กินสัน ยาต้านปวดเกร็ง ยาขับปัสสาวะ ยาต้านซึมเศร้า เป็นต้น
ภาวะท้องเสีย
ท้องเสียหรืออุจจาระร่วง หมายถึง อาการที่ถ่ายอุจจาระเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป หรือถ่ายเป็นมูกเลือดตั้งแต่ 1 ครั้งขึ้นไป ภายใน 24 ชั่วโมง อาการเหล่านี้หากมีอาการไม่เกิน 2 สัปดาห์ จะเรียกว่า ท้องเสียเฉียบพลัน แต่หากนานเกิด 2 สัปดาห์จะเรียกว่า ท้องเสียเรื้อรัง
แนวทางการรักษา
รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ทุกครั้ง
ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร หรือหลังทำกิจกรรมต่าง ๆ ทุกครั้ง
เลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทหมัก ดอง ที่ไม่มั่นใจเรื่องคุณภาพและความสะอาด เพราะอาจมีเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียได้
เมื่อเกิดอาการท้องเสียควรดื่มน้ำ หรือดื่มน้ำผสมผงเกลือแร่ (ORS) เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
รับประทานยาบรรเทาอาการท้องเสีย (Diosmectitie) ซึ่งช่วยยับยั้งเชื้อ แบคทีเรีย และบรรเทาอาการท้องเสียได้
รับประทานอาหารย่อยง่าย เช่น โจ๊ก น้ำซุป เลี่ยงอาหารที่มีรสจัด ของหมัก ดอง และอาหารที่มีไขมันสูง
อาการของภาวะท้องเสีย
ถ่ายเหลวถ่ายเป็นน้ำ ตั้งแต่3 ครั้งขึ้นไป
คลื่นไส้ อาเจียน
มีไข้
ภาวะแทรกซ้อน :
ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
โรคลำไส้แปรปรวน
ภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง
กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกยูรีเมีย หากท้องเสียจากการติดเชื้อบางชนิด
ร่างกายส่วนอื่นตอบสนองต่อการติดเชื้อในทางเดินอาหารจนเกิดการอักเสบตามไปด้วย
การติดเชื้อลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย
สาเหตุ
ท้องเสียแบบเฉียบพลัน
การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียที่มักปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร และก่อให้เกิดอาการท้องเสียตามมา ได้แก่ เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เชื้อซาลโมเนลลา เชื้อชิเกลลา และเชื้ออีโคไล
การติดเชื้อไวรัส มีไวรัสหลายชนิดที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสีย เช่น โรต้าไวรัส โนโรไวรัส ไซโตเมกาโลไวรัส เฮอร์พีส์ซิมเพล็กซ์ไวรัส ไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น
การได้รับเชื้อปรสิต เชื้อปรสิตสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านอาหารและน้ำที่ปนเปื้อน และอาศัยอยู่ในระบบย่อยอาหารของคนเรา เชื้อปรสิตที่มักพบ คือ เชื้อไกอาเดีย เชื้อแอนตามีบาฮิสโตลิติกาหรือเชื้อบิดอะมีบา และเชื้อคริปโตสปอริเดียม
ท้องเสียแบบเรื้อรัง
อาการท้องเสียที่เกิดขึ้นติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป จะถือเป็นอาการท้องเสียเรื้อรัง ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยต่อไปนี้
ปัญหาของภาวะท้องเสีย
รับประทานอาหารปรุงไม่สุก
รับประทานอาหารที่มีแมลงวันตอม
ดื่มน้ำไม่สะอาด
เกิดความเครียดความกังวล
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์มากเกินไป
แพ้อาหารบางชนิดก็สามารถทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
ได้รับยาปฏิชีวนะบางชนิดที่มีผลต่อระบบลำไส้
ได้รับการฉายรังสีที่ทำให้เยื่อบุลำไส้เสียหาย ทำให้ลำไส้ไม่สามารถดูดซึมน้ำและสารอาหารได้ตามปกติ