Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การช่วยเหลือผู้ป่วย ที่อุดกลั้นทางเดินหายใจ - Coggle Diagram
การช่วยเหลือผู้ป่วย
ที่อุดกลั้นทางเดินหายใจ
สาเหตุของอุบัติเหตุ
:warning:
ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขาดความรู้
ในเด็กมักนำสิ่่งแปลกปลอมต่างๆ เข้าจมูกเข้าปาก เข้าหู โดยไม่ทราบอันตรายที่จะเกิดขึ้น
การขาดความระมัดระวัง
รับประทานอาหารอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดติดคอ การเคี้ยวไม่ละเอียด
เหตุสุดวิสัย ทางเดินหายใจอุดตันได้
เนื่องจากการที่แมลงเข้าไปในจมูก หรือในรูหู เช่น แมลงสาบ
ระดับความรุนแรงของการอุดกั้น
:red_cross:
การอุดกั้นไม่รุนแรง
อาการและอาการแสดง
สามารถหายใจได้ มีการแลกเปลี่ยนก๊าซ
ไอแรงๆได้
อาจได้ยินเสียงหายใจหวีด (wheeze)ระหว่างการไอ
การช่วยเหลือ
กระตุ้นให้ผู้ป่วยไอและพยายามหายใจด้วยตนเอง
สังเกต เฝ้าติดตามอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
หากยังคงมีการอุดกั้นต่อเนื่องหรืออาการอุดกั้นมีความรุนแรงมากขึ้น ให้ขอความช่วยเหลือจาก ระบบการแพทย์ฉุกเฉินหรือโทร 1669
การอุดกั้นรุนแรง
อาการและอาการแสดง
ใช้มือกุมบริเวณลำคอ
พูดหรือร้องไม่มีเสียง
หายใจลำบาก ไม่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซ
ไอเบาๆ หรือไม่สามารไอได้
มีเสียงลมหายใจเข้าเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเสียง
หน้าเขียว ปากเขียว
การช่วยเหลือ
วิธีที่ 1
การรัดกระตุกหน้าท้องในผู้ป่วยที่ยังรู้สติ ในท่ายืนหรือนั่ง ในเด็กโตและผู้ใหญ่
วิธีที่ 2
1.ตะโกนขอความช่วยเหลือ
2.จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายบนพื้นราบ
3.เริ่มทำการกดหน้าอกนวดหัวใจทันที ต่อเนื่อง 30 ครั้ง
4.ทำการช่วยหายใจ
โดยการจัดท่าเปิดปากผู้ป่วย มองหาสิ่งแปลกปลอมก่อนทำการช่วยหายใจ หากมองเห็นสิ่งแปลกปลอมในปากผู้ป่วยให้ใช้นิ้วกวาดสิ่งแปลกปลอมออกมา ทำต่อเนื่องเป็นรอบในอัตรา กดหน้าอก 30 ครั้ง ช่วยหายใจ 2 ครั้ง ทำซ้ำประมาณ 5 รอบ หรือ 2 นาทีจนกว่าความช่วยเหลือทางการแพทย์จะมาถึง หรือจนกว่าจะขจัดสิ่งแปลกปลอมออกมาได้
วิธีที่ 3 การตบหลัง 5 ครั้ง และการกดหน้าอก 5ครั้ง
ขั้นตอนการช่วยเหลือกรณีเด็กทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี ที่ยังรู้สติ แต่ไม่สามารถไอได้ ร้องไม่มีเสียง
1.ผู้ช่วยเหลือนั่งบนเก้าอี้หรือนั่งคุกเข่า วางเด็กบนตักของผู้ช่วยเหลือ
2.ใช้มือข้างหนึ่งประคองศีรษะและกรามเด็กให้มั่นคงในท่าคว่ำหน้า วางตัวเด็กบนท่อนแขนลักษณะศีรษะต่่ำกว่าลำตัว
3.ใช้ส้นมืออีกข้างตบกึ่งกลางระหว่างสะบักทั้งสองข้างในแนวเฉียงลงด้วยแรงที่มากเพียงพอให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออกได้ ทำซ้ำ 5 ครั้ง
4.พลิกตัวเด็กทารกกลับมาในท่านอนหงาย ใช้มือและแขนทั้งสองข้างประคองตัวเด็กวางบนแขนของมืออีกข้าง ประคองศีรษะให้มั่นคงลักษณะศีรษะต่ำกว่าลำตัว
5.กดหน้าอก 5 ครั้ง บริเวณกึ่งกลางหน้าอกบนกระดูกหน้าอกส่วนล่าง ใต้ต่อเส้นราวนมเล็กน้อย
6.ตรวจดูสิ่งแปลกปลอมภายในปากเด็ก หากมีให้ใช้นิ้วกวาดสิ่งแปลกปลอมออกมา
7.หากเด็กหมดสติให้ขอความช่วยเหลือจากระบบการแพทย์ฉุกเฉิน และทำการกดหน้าอก
วิธีที่ 4 ขั้นตอนการช่วยเหลือกรณีเด็กทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี ที่หมดสติ
1.ตะโกนขอความช่วยเหลือและจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายบนพื้นราบ
2.เริ่มทำการกดหน้าอกนวดหัวใจทันทีต่อเนื่อง 30 ครั้ง
3.ทำการช่วยหายใจ โดยการจัดท่าเปิดปากผู้ป่วย มองหาสิ่งแปลกปลอมก่อนทำการช่วยหายใจ
4.ทำการกดหน้าอกนวดหัวใจและช่วยหายใจต่อเนื่อง เป็นรอบในอัตรา กดหน้าอก 30 ครั้ง ช่วยหายใจ 2 ครั้ง ทำซ้้ำประมาณ 5 รอบ หรือ 2 นาที จนกว่าความช่วยเหลือทางการแพทย์จะมาถึงหรือจนกว่าจะขจัดสิ่งแปลกปลอมออกมาได้สำเร็จ
การบำบัดโดยหัตถการ
*การช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ(CPR.)
ความหมาย
:check:
การปฏิบัติการเพื่อช่วยฟื้นการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดที่หยุดทำงานอย่างกระทันหัน เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นเองได้ตามปกติโดยไม่เกิดความพิการของสมอง
ระดับของCPR
:red_cross:
การช่วยชีวิตขั้นสูง Advanced Cardiovascular Life Sopport (ACLS.)
การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน Basic Life Support (BLS.)
ข้อบ่งชี้
:warning:
หมดสติ เรียกไม่ตอบสนอง เกิดขึ้นหลังจากหัวใจหยุดทำงาน 3-6 วินาที
ไม่หายใจ หรือหายใจกระตุกนานๆ ครั้ง
คลำชีพจรที่คอ หรือที่ขาหนีบไม่ได้ และฟังเสียงหายใจไม่ได้
ผิวหนังซีด เขียวคล้ำ
ม่านตาขยาย (หลังหัวใจหยุดเต้น 45 วินาที)
การตรวจระดับปฐมภูมิ ( primary assessment) :pencil2:
A(Airway)
ประเมินทางเดินหายใจโล่งหรือไม่
มีข้อบ่งชี้ในการใส่ท่อช่วยหายใจหรือไม่
ท่อหายใจอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่
ตรวจสอบท่อหายใจได้รับการผูกหรือยึดตรึงและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมบ่อยๆ
B (Breating)
การช่วยการหายใจและการให้ออกซิเจนเพียงพอหรือไม่
มีการประเมินค่า SpO2 & Quantitative waveform coronagraph อย่างต่อเนื่องหรือไม่
C (Circulation)
การอกหน้าอกมีประสิทธิภาพหรือไม่
จังหวะของคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นอย่างไร
D (Disability)
มีการตรวจสอบและประเมินการทำงานของระบบประสาทอย่างไร
Neuro sign
E (Exposure)
มีการตรวจสอบรอยโรคหรือการบาดเจ็บที่เห็นได้ทั่วร่างกายอย่างไร
การตรวจประเมินระดับทุติยภูมิ (Secondary assessment)
ขั้นตอนการ CPR
:red_flag:
BLS:CAB
C : Chest compression
การกดหน้าอกและหากไม่แน่ใจว่าตำแหน่งกระดูกซี่โครงอยู่ตรงไหน ง่ายที่สุดก็คือ ให้วางส้นมือ (ข้างที่ไม่ถนัด) ตรงกลางหน้าอก ระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง
A : Airway
การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง เพราะโดยมากผู้บาดเจ็บที่หมดสติจะมีภาวะโคนลิ้นและกล่องเสียงตกลงไปอุดทางเดินหายใจส่วนบน ดังนั้นจึงต้องเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
B : Breathing
ใช้อัตราการกดหน้าอก 30 ครั้งต่อการช่วยหายใจ 2 ครั้ง (30:2)
ข้อควรระวังในการทำCPR
:star:
ต้องวางมือให้อยู่ ตรงกลางหน้าอก ไม่ต้องค่อนไปทางซ้าย หรือใกล้หัวใจ เพราะอาจทำให้กระดูกซี่โครงหักได้
ต้องกดหน้าอกให้เร็วและแรง แต่อย่ากระแทก ด้วยอัตราความเร็วอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที
กดลึกอย่างน้อย 2 นิ้ว หรือ 5 เซนติเมตร สำหรับผู้ใหญ่
หลังการกดแต่ละครั้งต้องปล่อยให้อกคืนตัวจนสุด เพื่อให้หัวใจรับเลือดสำหรับสูบฉีดครั้งต่อไป หากไม่ปล่อยให้หน้าอกคืนตัวจนสุด จะทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง
กดหน้าอกให้ต่อเนื่องให้ได้มากที่สุด โดยสามารถหยุดการกดหน้าอกได้ไม่เกิน 10 วินาที
ไม่ควรใช้วิธีช่วยหายใจมากเกินไป
การเปิดทางเดินหายใจไม่เต็มที่เป่าลมมากเกินไปทำให้ลมเข้ากระเพาะอาหาร เกิดท้องอืด อาเจียน ลมเข้าปอดไม่สะดวก ปอดขยายตัวไม่เต็มที่